คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
ผู้ที่มีหมายเลขประจำตัวประชาชน ขึ้นต้นด้วยเลข 8 หมายถึง
1. คนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยถูกต้องตามกฎหมาย
2. คนที่ได้รับการแปลงสัญชาติเป็นสัญชาติไทย
เงื่อนไขคุณสมบัติของ สัญชาติ ของผู้ที่จะสมัครสอบเป็นข้าราชการ แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
1. มีสัญชาติไทย
2. มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
3. มีสัญชาติไทยโดยการเกิด และบิดามารดาผู้ให้กำเนิดมีสัญชาติไทยโดยการเกิด แต่ถ้าบิดาเป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตรหรือชั้นประทวน หรือเป็นข้าราชการตำรวจซึ่งมีสัญชาติไทยโดยการเกิดแล้ว มารดาจะมิใช่เป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิดก็ได้
คุณสมบัติ 1. มีสัญชาติไทย (เฉยๆ) จะเป็นคุณสมบัติของข้าราชการพลเรือนทั่วๆไป (ข้าราชการที่สังกัดกระทรวง กรม ฝ่ายพลเรือน)
คือไม่ต้องมีสัญชาติไทยโดยการเกิดก็ได้ (ได้สัญชาติไทยหลังการเกิด)
คุณสมบัติ 2. มีสัญชาติไทยโดยการเกิด จะเป็นคุณสมบัติของ ข้าราชการตุลาการ, ข้าราชการอัยการ, ข้าราชการทหาร, ข้าราชการตำรวจ ในกรณีสมัครในฐานะบุคคลภายนอก, นักเรียนนายสิบตำรวจ
คุณสมบัติ 3. มีสัญชาติไทยโดยการเกิด และบิดามารดาผู้ให้กำเนิดมีสัญชาติไทยโดยการเกิด แต่ถ้าบิดาเป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตรหรือชั้นประทวน หรือเป็นข้าราชการตำรวจซึ่งมีสัญชาติไทยโดยการเกิดแล้ว มารดาจะมิใช่เป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิดก็ได้
เป็นคุณสมบัติของ ผู้ที่จะสมัครเป็น นักเรียนเตรียมทหาร นักเรียนนายร้อย นักเรียนนายร้อยตำรวจ
เพราะฉะนั้น
ไม่สำคัญว่า บัตรประชาชนของคุณจะขึ้นต้นด้วยเลขอะไร
เพราะการจะสมัครสอบเป็นข้าราชการประเทศไทย สำคัญที่ สัญชาติ
ถ้าบัตรประชาชนของคุณจะขึ้นต้นด้วยเลข 8 แต่คุณเป็นคนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยถูกต้องตามกฎหมาย (ไม่มีสัญชาติไทย)
คุณก็สอบไม่ได้
แต่ถ้า ถ้าบัตรประชาชนของคุณจะขึ้นต้นด้วยเลข 8 แต่คุณเป็นคนที่ได้รับการแปลงสัญชาติเป็นสัญชาติไทย
คุณก็สอบได้
กรณีนี้ข้าราชการที่คุณสามารถจะเป็นได้ คือข้าราชการที่กำหนดคุณสมบัติสัญชาติ ไว้เพียง มีสัญชาติไทย เท่านั้น
ที่ได้
- ข้าราชการพลเรือนสามัญ (ข้าราชการที่สังกัดกระทรวง กรม หรือหน่วยงานที่มีชื่อเรียกอย่างอื่น ฝ่ายพลเรือน)
- ข้าราชการส่วนท้องถิ่น (ข้าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการ อบจ. อบต. เทศบาล เมืองพัทยา)
- ข้าราชการครูฯ
- ข้าราชการธุรการ สำนักงานอัยการฯ (ข้าราชการในสำนักงานอัยการสูงสุดอื่นๆ นอกเหนือจากข้าราชการอัยการ)
- ข้าราชการศาลยุติธรรม (ข้าราชการตำแหน่งอื่นๆ นอกเหนือจากผู้พิพากษา)
- ฯลฯ
ที่ไม่ได้
- ข้าราชการตุลาการ (ผู้พิพากษา) << มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
- ข้าราชการอัยการ << มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
- ข้าราชการทหาร (กรณีสมัครเป็น นักเรียนเตรียมทหาร นักเรียนนายร้อย นักเรียนนายเรือ นักเรียนนายเรืออากาศ นักเรียนนายร้อยตำรวจ) << มีสัญชาติไทยโดยการเกิด และบิดามารดาผู้ให้กำเนิดมีสัญชาติไทยโดยการเกิด แต่ถ้าบิดาเป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตรหรือชั้นประทวน หรือเป็นข้าราชการตำรวจซึ่งมีสัญชาติไทยโดยการเกิดแล้ว มารดาจะมิใช่เป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิดก็ได้
- ข้าราชการทหาร ข้าราชการตำรวจ (กระณีสมัครในฐานะบุคคลภายนอก, นักเรียนนายสิบตำรวจ << มีสัญชาติไทยโดยการเกิด)
- ฯลฯ
1. คนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยถูกต้องตามกฎหมาย
2. คนที่ได้รับการแปลงสัญชาติเป็นสัญชาติไทย
เงื่อนไขคุณสมบัติของ สัญชาติ ของผู้ที่จะสมัครสอบเป็นข้าราชการ แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
1. มีสัญชาติไทย
2. มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
3. มีสัญชาติไทยโดยการเกิด และบิดามารดาผู้ให้กำเนิดมีสัญชาติไทยโดยการเกิด แต่ถ้าบิดาเป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตรหรือชั้นประทวน หรือเป็นข้าราชการตำรวจซึ่งมีสัญชาติไทยโดยการเกิดแล้ว มารดาจะมิใช่เป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิดก็ได้
คุณสมบัติ 1. มีสัญชาติไทย (เฉยๆ) จะเป็นคุณสมบัติของข้าราชการพลเรือนทั่วๆไป (ข้าราชการที่สังกัดกระทรวง กรม ฝ่ายพลเรือน)
คือไม่ต้องมีสัญชาติไทยโดยการเกิดก็ได้ (ได้สัญชาติไทยหลังการเกิด)
คุณสมบัติ 2. มีสัญชาติไทยโดยการเกิด จะเป็นคุณสมบัติของ ข้าราชการตุลาการ, ข้าราชการอัยการ, ข้าราชการทหาร, ข้าราชการตำรวจ ในกรณีสมัครในฐานะบุคคลภายนอก, นักเรียนนายสิบตำรวจ
คุณสมบัติ 3. มีสัญชาติไทยโดยการเกิด และบิดามารดาผู้ให้กำเนิดมีสัญชาติไทยโดยการเกิด แต่ถ้าบิดาเป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตรหรือชั้นประทวน หรือเป็นข้าราชการตำรวจซึ่งมีสัญชาติไทยโดยการเกิดแล้ว มารดาจะมิใช่เป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิดก็ได้
เป็นคุณสมบัติของ ผู้ที่จะสมัครเป็น นักเรียนเตรียมทหาร นักเรียนนายร้อย นักเรียนนายร้อยตำรวจ
เพราะฉะนั้น
ไม่สำคัญว่า บัตรประชาชนของคุณจะขึ้นต้นด้วยเลขอะไร
เพราะการจะสมัครสอบเป็นข้าราชการประเทศไทย สำคัญที่ สัญชาติ
ถ้าบัตรประชาชนของคุณจะขึ้นต้นด้วยเลข 8 แต่คุณเป็นคนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยถูกต้องตามกฎหมาย (ไม่มีสัญชาติไทย)
คุณก็สอบไม่ได้
แต่ถ้า ถ้าบัตรประชาชนของคุณจะขึ้นต้นด้วยเลข 8 แต่คุณเป็นคนที่ได้รับการแปลงสัญชาติเป็นสัญชาติไทย
คุณก็สอบได้
กรณีนี้ข้าราชการที่คุณสามารถจะเป็นได้ คือข้าราชการที่กำหนดคุณสมบัติสัญชาติ ไว้เพียง มีสัญชาติไทย เท่านั้น
ที่ได้
- ข้าราชการพลเรือนสามัญ (ข้าราชการที่สังกัดกระทรวง กรม หรือหน่วยงานที่มีชื่อเรียกอย่างอื่น ฝ่ายพลเรือน)
- ข้าราชการส่วนท้องถิ่น (ข้าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการ อบจ. อบต. เทศบาล เมืองพัทยา)
- ข้าราชการครูฯ
- ข้าราชการธุรการ สำนักงานอัยการฯ (ข้าราชการในสำนักงานอัยการสูงสุดอื่นๆ นอกเหนือจากข้าราชการอัยการ)
- ข้าราชการศาลยุติธรรม (ข้าราชการตำแหน่งอื่นๆ นอกเหนือจากผู้พิพากษา)
- ฯลฯ
ที่ไม่ได้
- ข้าราชการตุลาการ (ผู้พิพากษา) << มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
- ข้าราชการอัยการ << มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
- ข้าราชการทหาร (กรณีสมัครเป็น นักเรียนเตรียมทหาร นักเรียนนายร้อย นักเรียนนายเรือ นักเรียนนายเรืออากาศ นักเรียนนายร้อยตำรวจ) << มีสัญชาติไทยโดยการเกิด และบิดามารดาผู้ให้กำเนิดมีสัญชาติไทยโดยการเกิด แต่ถ้าบิดาเป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตรหรือชั้นประทวน หรือเป็นข้าราชการตำรวจซึ่งมีสัญชาติไทยโดยการเกิดแล้ว มารดาจะมิใช่เป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิดก็ได้
- ข้าราชการทหาร ข้าราชการตำรวจ (กระณีสมัครในฐานะบุคคลภายนอก, นักเรียนนายสิบตำรวจ << มีสัญชาติไทยโดยการเกิด)
- ฯลฯ
แสดงความคิดเห็น
ไม่ได้ถือสัญชาติไทยโดยกำเนิด สามารถรับราชการด้านไหนได้บ้างครับ