
ตามที่สำนักงานราชบัณฑิตยสภา ประกาศไว้นั้น
เป็นเรื่องเก่า เมื่อครั้งพระราชพิธีพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
ซึ่งทางสำนักพระราชวังได้มีหนังสือแจ้งมา แต่ทางสำนักงานราชบัณฑิตยสภา ไม่เคยนำออกมาเผยแพร่
ความหมายต่างๆในคำราชาศัพท์ มักจะมีการอนุโลมให้ใช้ได้ ถึงแม้จะไม่คงความหมายเดิม หรือไม่เคยมีมาก่อน
ในคัมภีร์บาลีหลายๆ ฉบับ ยังไม่เคยปรากฏคำว่า สวรรคาลัย (สคฺค + อาลย)
ซึ่งถ้าแปลตามภาษาบาลี จะมีความหมายซ้อนกัน
"สคฺค" (สันสกฤตเป็น สฺวรฺค) แปลตามศัพท์ว่า “สถานที่ที่ดำรงอยู่ยืนนานและสวยงาม”
"อาลย" แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ใจไปติดแน่นอยู่” แต่สำนักงานราชบัณฑิตยสภา แปลว่า "ที่อยู่"
"สวรรคาลัย" ก็จะแปลว่าที่อยู่แห่งดินแดนที่ดำรงอยู่นานและสวยงาม มันซ้ำซ้อนกันนะครับ
ที่มีใช้แต่เดิมคือ "สวรรคต" (สฺวรฺค+คต อ่าน คะตะ แปลว่า "สวรรค์+ไปแล้ว")
แต่ในเมื่อผู้ใหญ่กำหนดว่าอย่างนี้ ก็ต้องตามนี้
อีกเรื่องคือ "ส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย"
คำนี้ไม่ใช่ราชาศัพท์อย่างเป็นทางการ แต่เป็นคำที่ประชาชนใช้แสดงความเทิดทูนในพระเกียรติ
เป็นภาษาชาวบ้าน หมายความว่า ไปรอส่ง คือไปรอดูจนลับตา
คล้ายๆ การ "เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทส่งเสด็จ" เมื่อครั้งเสด็จเยือนต่างประเทศ
ไม่ได้หมายถึงการนำไปส่งอย่างเช่นนักภาษาเก่าๆ ว่ากัน ว่า "คนธรรมดาไม่สามารถส่งพระองค์ไปสวรรค์ได้"
ท่านอาจะแปลคำว่า "ส่ง" ตรงตัวเกินไป หรือแปลตามภาษาอังกฤษ ที่คำว่า send มีความหมายเดียว
คำนี้ ในอดีต สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงได้เคยใช้ในหนังสือพระนิพนธ์ของพระองค์
สุดท้าย ที่ดูแปลกๆ คือคำว่า "ถวายความอาลัย"
ตามหลักภาษาแล้ว ความอาลัย เป็นความรู้สึก ซึ่งไม่สามารถให้กันได้ แต่แสดงออกได้
ทางทีดี ควรใช้คำว่า "แสดงความอาลัยถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ" จะเหมาะกว่า
เหมือนคำที่เคยมีใช้ในอดีตว่า "แสดงความจงรักภักดีถวายแด่ในหลวงของเรา"
"สวรรคาลัย" ในความหมายที่ต่าง
ตามที่สำนักงานราชบัณฑิตยสภา ประกาศไว้นั้น
เป็นเรื่องเก่า เมื่อครั้งพระราชพิธีพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
ซึ่งทางสำนักพระราชวังได้มีหนังสือแจ้งมา แต่ทางสำนักงานราชบัณฑิตยสภา ไม่เคยนำออกมาเผยแพร่
ความหมายต่างๆในคำราชาศัพท์ มักจะมีการอนุโลมให้ใช้ได้ ถึงแม้จะไม่คงความหมายเดิม หรือไม่เคยมีมาก่อน
ในคัมภีร์บาลีหลายๆ ฉบับ ยังไม่เคยปรากฏคำว่า สวรรคาลัย (สคฺค + อาลย)
ซึ่งถ้าแปลตามภาษาบาลี จะมีความหมายซ้อนกัน
"สคฺค" (สันสกฤตเป็น สฺวรฺค) แปลตามศัพท์ว่า “สถานที่ที่ดำรงอยู่ยืนนานและสวยงาม”
"อาลย" แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ใจไปติดแน่นอยู่” แต่สำนักงานราชบัณฑิตยสภา แปลว่า "ที่อยู่"
"สวรรคาลัย" ก็จะแปลว่าที่อยู่แห่งดินแดนที่ดำรงอยู่นานและสวยงาม มันซ้ำซ้อนกันนะครับ
ที่มีใช้แต่เดิมคือ "สวรรคต" (สฺวรฺค+คต อ่าน คะตะ แปลว่า "สวรรค์+ไปแล้ว")
แต่ในเมื่อผู้ใหญ่กำหนดว่าอย่างนี้ ก็ต้องตามนี้
อีกเรื่องคือ "ส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย"
คำนี้ไม่ใช่ราชาศัพท์อย่างเป็นทางการ แต่เป็นคำที่ประชาชนใช้แสดงความเทิดทูนในพระเกียรติ
เป็นภาษาชาวบ้าน หมายความว่า ไปรอส่ง คือไปรอดูจนลับตา
คล้ายๆ การ "เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทส่งเสด็จ" เมื่อครั้งเสด็จเยือนต่างประเทศ
ไม่ได้หมายถึงการนำไปส่งอย่างเช่นนักภาษาเก่าๆ ว่ากัน ว่า "คนธรรมดาไม่สามารถส่งพระองค์ไปสวรรค์ได้"
ท่านอาจะแปลคำว่า "ส่ง" ตรงตัวเกินไป หรือแปลตามภาษาอังกฤษ ที่คำว่า send มีความหมายเดียว
คำนี้ ในอดีต สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงได้เคยใช้ในหนังสือพระนิพนธ์ของพระองค์
สุดท้าย ที่ดูแปลกๆ คือคำว่า "ถวายความอาลัย"
ตามหลักภาษาแล้ว ความอาลัย เป็นความรู้สึก ซึ่งไม่สามารถให้กันได้ แต่แสดงออกได้
ทางทีดี ควรใช้คำว่า "แสดงความอาลัยถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ" จะเหมาะกว่า
เหมือนคำที่เคยมีใช้ในอดีตว่า "แสดงความจงรักภักดีถวายแด่ในหลวงของเรา"