By มาร์ตี้ แม็คฟลาย
การนั่งอยู่บนรถไฟทุกวัน เราได้เห็นอะไรซ้ำเดิม ๆ คนหน้าเดิม สถานที่เดิม ความเป็นไปได้ถึงการมองเห็น สิ่งต่าง ๆที่เราไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง แต่เพราะเราผูกพันกับสิ่งต่าง ๆที่เราได้เพราะได้เห็นเป็นกิจวัตร จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต
เรเชล วัตสัน หญิงสาวขี้เมาที่ดื่มเหล้าเป็นน้ำ เป็นคนหนึ่งที่โดยสารรถไฟทุกวัน เธอเห็นสิ่งต่าง ๆมากมาย ทั้งอดีตของตัวเองที่ปกปิดไว้ และเรื่องราวปัจจุบันของคนอื่น เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่เป็นความเป็นความตายขึ้นมา เมื่อ เมแกน หญิงสาวที่เธอได้เห็นทุกวันบนรถไฟ หายตัวไปอย่างเป็นปริศนา แน่นอนว่าการมองเห็นของเธอ กลับเป็นส่วนหนึ่งของเหตุการณ์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้… แล้วเธอเห็นอะไร?
ในมุมมองการเล่าเรื่องผ่านตัวหนังสือ
จากนิยายที่ขายดีที่สร้างปรากฏการณ์ไปทั่วโลกจากปลายปากกาของ พอลลา ฮอว์กินส์ ที่แน่นอนว่าเมื่อมีพล็อตเรื่องที่เหมาะกับการนำมาสร้างภาพยนตร์และได้รับความนิยมระดับนี้ การถูกหยิบมาสร้างภาพยนตร์จึงถือได้ว่าเป็นฮอลลิวูดสไตล์มาแต่ไหนแต่ไร
ในฉบับนิยายเป็นการเล่าเรืองในรูปแบบต่างมุมมองบุคคล ในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน (ในบางครั้งเป็นการเล่าเรื่องย้อนอดีต) แต่เชื่อมโยงกัน โดยเล่าผ่านสามตัวละครหลักอย่าง เรเชล เมแกน และ แอนนา หญิงสาวสามคนที่มีเรื่องราวบางอย่างเกี่ยวข้องกันอยู่ ในการเล่าเรื่องแบบนี้ในฐานะผู้อ่าน มันช่วยให้จินตนาการ เกิดความหลงใหลใคร่รู้ และคาดเดาล่วงหน้าไปต่าง ๆนา ๆ ตามที่เราได้รู้เรื่องราวและมุมมองความรู้สึกต่อสถานการณ์หรือแม้แต่ตัวละครอีกตัวด้วยอารมณ์ความรู้สึกที่แตกต่างกัน ด้วยความสนุกและน่าติดตามอย่างมาก ที่ในจุดนี้ต้องชื่นชมการวิธีการเขียนของผู้เขียนด้วยที่ใช้วิธีการแบบเรื่อย ๆ ที่เหมือนจะไม่มีอะไร รวมถึงภาษาที่ก็ไม่ได้ดูประดิดประดอยอะไรมากนัก แต่ยังความน่าติดตามไปได้เรื่อย ๆ ด้วยการใส่สถานการณ์และปมความน่าสงสัยใหม่มาเรื่อย ๆ ที่แสดงให้เห็นถึงการวางแผนในการเล่าเรื่องมาอย่างชาญฉลาด จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าด้วยวิธีการเล่าเรื่องและความเก่งของผู้เขียนเป็นจุดเด่นหลักของหนังสือเรื่องนี้
ในมุมมองการเล่าเรื่องแบบภาพยนตร์
วิธีการเล่าเรื่องแบบในหนังสือพอมาเป็นหนัง ผู้กำกับได้ดึงวิธีการเล่าเรื่องแบบหนังสือมาเพียงฉากเปิดเท่านั้น คาดว่าจุดประสงค์คงเพื่อแนะนำตัวละครแต่ละตัว ถึงที่มา Background ของตัวละคร ลักษณะนิสัย และความคิดต่อคนอีกสองคน แต่เพียงแค่นั้นหนังก็กลับมาใช้การเล่าเรื่องแบบปกติ คือเล่าเป็นเส้นตรง สลับอดีตกับปัจจุบันในบางครั้ง ทำให้เสน่ห์และจุดเด่นที่เคยมีในฉบับนิยายหายไป เหลือเพียงเรื่องราวแต่วิธีการนำเสนอกลับไม่ดึงดูดเท่า ทั้งที่หากใช้วิธีเดียวกับหนังสือ คงทำให้น่าสนใจขึ้นและสนุกขึ้นเป็นกอง
และปัญหาใหญ่ที่สุดของหนัง เป็นเรื่องของการเปิดเผยความจริงชวนช็อคในตอนท้าย ที่เป็นการสรุปเรื่องถึงผู้ร้ายตัวจริง ที่หากเป็นฉบับหนังสือ เมื่อเป็นการเล่าต่างมุมมองบุคคล การติดตามการเปิดเผยความจริงนั้นน่าติดตามอย่างมาก เพราะในตอนนั้นเหมือนผู้อ่านกำลังจะต่อจิ๊กซอว์หลายชิ้นใกล้และเสร็จสมบูรณ์เต็มที เรียกได้ว่าต้องพลิกหน้ากระดาษอ่านอย่างรวดเร็ว แต่ในหนังกลับออกมาเสียของ เมื่อในฉากนั้นกลับเล่าออกมาได้แห้งแล้ง จืดชืด ไร้ชั้นเชิง และเล่าออกไปตรง ๆ ไม่มีจังหวะจะโคนใด ๆให้รู้สึกถึงความตื่นตกใจ ที่ไม่สมกับคำตอบที่เหล่าคนดูคาดหวังได้เห็น
แต่นักแสดงช่วยคุณได้ ...
จุดหนึ่งที่น่าชื่นชมคือการคัดเลือกนักแสดงที่มารับบทต่าง ๆอาทิ เอมิลี บลันท์ มารับบทเรเชล ด้วยเสน่ห์และความสวย (ที่อาจจะเกินเรเชลในจินตนาการที่คิดจากหนังสือไปพอสมควร) แต่ด้วยการฝีมือการแสดงของเธอ เรารู้สึกเชื่อว่านี่คือคนเมา คนที่ไม่รู้ หวาดกลัวและสับสน เป็นคนที่เคยสวย จนไปเจอเรื่องราวที่ทำลายชีวิต และโดยเฉพาะ ฮาลีย์ เบนเนตต์ หญิงสาวที่อาจจะเคยคุ้นหน้าจากหนังแนว FPS อย่าง Hardcore Henry ที่มารับบท เมแกน ในหนังสือ เมแกนคือตัวละครที่คาดเดารูปลักษณ์ค่อนข้างยาก รู้เพียงว่าเป็นตัวละครที่ต้องมี Sex appeal ที่สูงเสียจนเหล่าชายกลัดมันทั้งหลายต้องหลงใหล และฮาลีย์ เบนเนตต์ตอบโจทย์นั้นได้ดีมากด้วยรูปลักษณ์และการแสดงที่เย้ายวนอารมณ์ ที่เติมเต็มความเป็นเมแกน ในมุมมองของคนอ่านหนังสือได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
โดยรวม ๆแล้ว หนังเรื่องนี้ไม่ได้เป็นหนังที่แย่ แต่ด้วยมาตรฐานที่หนังสือได้วางเอาไว้ ทำให้ยากมากที่หนังจะทำได้ดีกว่าหนังสือ แต่จุดนี้คงนำมากล่าวอ้างไม่ได้ เมื่อวิสัยทัศน์และความสามารถของผู้กำกับเป็นตัวตัดสิน
เพราะเดวิด ฟินเชอร์ เคยแสดงให้เห็นแล้วว่าหนังอย่าง Gone Girl (ที่เรื่องราวและอารมณ์คล้าย ๆกับเรื่องนี้) ของเขาก็ทำได้ดีไม่แพ้หนังสือนิยาย
ขอบคุณภาพจาก Fanpage FB : United International Pictures Thailand
หากอ่านแล้วชอบ ติดตามบทความจากหนังได้ที่
https://www.facebook.com/thelastseatsontheleft/ นะครับ
รีวิว The Girl on the Train : ด้วยน้ำมือผู้กำกับ ..
By มาร์ตี้ แม็คฟลาย
การนั่งอยู่บนรถไฟทุกวัน เราได้เห็นอะไรซ้ำเดิม ๆ คนหน้าเดิม สถานที่เดิม ความเป็นไปได้ถึงการมองเห็น สิ่งต่าง ๆที่เราไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง แต่เพราะเราผูกพันกับสิ่งต่าง ๆที่เราได้เพราะได้เห็นเป็นกิจวัตร จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต
เรเชล วัตสัน หญิงสาวขี้เมาที่ดื่มเหล้าเป็นน้ำ เป็นคนหนึ่งที่โดยสารรถไฟทุกวัน เธอเห็นสิ่งต่าง ๆมากมาย ทั้งอดีตของตัวเองที่ปกปิดไว้ และเรื่องราวปัจจุบันของคนอื่น เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่เป็นความเป็นความตายขึ้นมา เมื่อ เมแกน หญิงสาวที่เธอได้เห็นทุกวันบนรถไฟ หายตัวไปอย่างเป็นปริศนา แน่นอนว่าการมองเห็นของเธอ กลับเป็นส่วนหนึ่งของเหตุการณ์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้… แล้วเธอเห็นอะไร?
ในมุมมองการเล่าเรื่องผ่านตัวหนังสือ
จากนิยายที่ขายดีที่สร้างปรากฏการณ์ไปทั่วโลกจากปลายปากกาของ พอลลา ฮอว์กินส์ ที่แน่นอนว่าเมื่อมีพล็อตเรื่องที่เหมาะกับการนำมาสร้างภาพยนตร์และได้รับความนิยมระดับนี้ การถูกหยิบมาสร้างภาพยนตร์จึงถือได้ว่าเป็นฮอลลิวูดสไตล์มาแต่ไหนแต่ไร
ในฉบับนิยายเป็นการเล่าเรืองในรูปแบบต่างมุมมองบุคคล ในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน (ในบางครั้งเป็นการเล่าเรื่องย้อนอดีต) แต่เชื่อมโยงกัน โดยเล่าผ่านสามตัวละครหลักอย่าง เรเชล เมแกน และ แอนนา หญิงสาวสามคนที่มีเรื่องราวบางอย่างเกี่ยวข้องกันอยู่ ในการเล่าเรื่องแบบนี้ในฐานะผู้อ่าน มันช่วยให้จินตนาการ เกิดความหลงใหลใคร่รู้ และคาดเดาล่วงหน้าไปต่าง ๆนา ๆ ตามที่เราได้รู้เรื่องราวและมุมมองความรู้สึกต่อสถานการณ์หรือแม้แต่ตัวละครอีกตัวด้วยอารมณ์ความรู้สึกที่แตกต่างกัน ด้วยความสนุกและน่าติดตามอย่างมาก ที่ในจุดนี้ต้องชื่นชมการวิธีการเขียนของผู้เขียนด้วยที่ใช้วิธีการแบบเรื่อย ๆ ที่เหมือนจะไม่มีอะไร รวมถึงภาษาที่ก็ไม่ได้ดูประดิดประดอยอะไรมากนัก แต่ยังความน่าติดตามไปได้เรื่อย ๆ ด้วยการใส่สถานการณ์และปมความน่าสงสัยใหม่มาเรื่อย ๆ ที่แสดงให้เห็นถึงการวางแผนในการเล่าเรื่องมาอย่างชาญฉลาด จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าด้วยวิธีการเล่าเรื่องและความเก่งของผู้เขียนเป็นจุดเด่นหลักของหนังสือเรื่องนี้
ในมุมมองการเล่าเรื่องแบบภาพยนตร์
วิธีการเล่าเรื่องแบบในหนังสือพอมาเป็นหนัง ผู้กำกับได้ดึงวิธีการเล่าเรื่องแบบหนังสือมาเพียงฉากเปิดเท่านั้น คาดว่าจุดประสงค์คงเพื่อแนะนำตัวละครแต่ละตัว ถึงที่มา Background ของตัวละคร ลักษณะนิสัย และความคิดต่อคนอีกสองคน แต่เพียงแค่นั้นหนังก็กลับมาใช้การเล่าเรื่องแบบปกติ คือเล่าเป็นเส้นตรง สลับอดีตกับปัจจุบันในบางครั้ง ทำให้เสน่ห์และจุดเด่นที่เคยมีในฉบับนิยายหายไป เหลือเพียงเรื่องราวแต่วิธีการนำเสนอกลับไม่ดึงดูดเท่า ทั้งที่หากใช้วิธีเดียวกับหนังสือ คงทำให้น่าสนใจขึ้นและสนุกขึ้นเป็นกอง
และปัญหาใหญ่ที่สุดของหนัง เป็นเรื่องของการเปิดเผยความจริงชวนช็อคในตอนท้าย ที่เป็นการสรุปเรื่องถึงผู้ร้ายตัวจริง ที่หากเป็นฉบับหนังสือ เมื่อเป็นการเล่าต่างมุมมองบุคคล การติดตามการเปิดเผยความจริงนั้นน่าติดตามอย่างมาก เพราะในตอนนั้นเหมือนผู้อ่านกำลังจะต่อจิ๊กซอว์หลายชิ้นใกล้และเสร็จสมบูรณ์เต็มที เรียกได้ว่าต้องพลิกหน้ากระดาษอ่านอย่างรวดเร็ว แต่ในหนังกลับออกมาเสียของ เมื่อในฉากนั้นกลับเล่าออกมาได้แห้งแล้ง จืดชืด ไร้ชั้นเชิง และเล่าออกไปตรง ๆ ไม่มีจังหวะจะโคนใด ๆให้รู้สึกถึงความตื่นตกใจ ที่ไม่สมกับคำตอบที่เหล่าคนดูคาดหวังได้เห็น
แต่นักแสดงช่วยคุณได้ ...
จุดหนึ่งที่น่าชื่นชมคือการคัดเลือกนักแสดงที่มารับบทต่าง ๆอาทิ เอมิลี บลันท์ มารับบทเรเชล ด้วยเสน่ห์และความสวย (ที่อาจจะเกินเรเชลในจินตนาการที่คิดจากหนังสือไปพอสมควร) แต่ด้วยการฝีมือการแสดงของเธอ เรารู้สึกเชื่อว่านี่คือคนเมา คนที่ไม่รู้ หวาดกลัวและสับสน เป็นคนที่เคยสวย จนไปเจอเรื่องราวที่ทำลายชีวิต และโดยเฉพาะ ฮาลีย์ เบนเนตต์ หญิงสาวที่อาจจะเคยคุ้นหน้าจากหนังแนว FPS อย่าง Hardcore Henry ที่มารับบท เมแกน ในหนังสือ เมแกนคือตัวละครที่คาดเดารูปลักษณ์ค่อนข้างยาก รู้เพียงว่าเป็นตัวละครที่ต้องมี Sex appeal ที่สูงเสียจนเหล่าชายกลัดมันทั้งหลายต้องหลงใหล และฮาลีย์ เบนเนตต์ตอบโจทย์นั้นได้ดีมากด้วยรูปลักษณ์และการแสดงที่เย้ายวนอารมณ์ ที่เติมเต็มความเป็นเมแกน ในมุมมองของคนอ่านหนังสือได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
โดยรวม ๆแล้ว หนังเรื่องนี้ไม่ได้เป็นหนังที่แย่ แต่ด้วยมาตรฐานที่หนังสือได้วางเอาไว้ ทำให้ยากมากที่หนังจะทำได้ดีกว่าหนังสือ แต่จุดนี้คงนำมากล่าวอ้างไม่ได้ เมื่อวิสัยทัศน์และความสามารถของผู้กำกับเป็นตัวตัดสิน
เพราะเดวิด ฟินเชอร์ เคยแสดงให้เห็นแล้วว่าหนังอย่าง Gone Girl (ที่เรื่องราวและอารมณ์คล้าย ๆกับเรื่องนี้) ของเขาก็ทำได้ดีไม่แพ้หนังสือนิยาย
ขอบคุณภาพจาก Fanpage FB : United International Pictures Thailand
หากอ่านแล้วชอบ ติดตามบทความจากหนังได้ที่ https://www.facebook.com/thelastseatsontheleft/ นะครับ