คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 5
องค์ประกอบหลักของหิมะในญี่ปุ่นมี 3 ข้อครับ
I. กระแสลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดเข้าญี่ปุ่นในฤดูหนาว เป็นกระแสลมความกดอากาศสูง มวลเย็นจากไซบีเรีย
II. ไอน้ำที่หนาแน่น จากกระแสน้ำอุ่น Tsushima ที่ไหลระหว่างญี่ปุ่น-เกาหลี-รัสเซีย
III. ปรากฏการณ์ลานินญ่า
ภาพนี้ใช้อธิบายผลของลานิญญ่าต่อสภาพอากาศในแต่ละภูมิภาคแบบคร่าวๆ
ปัจจัย I. / II. ค่อนข้างเกิดคงที่ครับ มีปัจจัยที่ III. เป็นตัวควบคุมความแตกต่างในแต่ละปีเป็นหลัก
ภาพข้างล่างคืออุณหภูมิผิวน้ำมหาสมุทรแถวๆแปซิฟิกตะวันออก ตรงเส้นศูนย์สูตร (แถวๆฮาวายถึงแคลิฟอร์เนีย)
ใช้ดูว่าปีไหนเกิดเอลนิญโญ่ (0.5 ขึ้นไป) หรือลานิญญ่า (-0.5 ลงไป) หรือปกติ (ระหว่าง 0.5,-0.5)
ถ้าต่ำกว่า -1.0 จะเป็นลานิญญ่าประเภทรุนแรง จะเห็นว่าปีที่ต่ำกว่า -1.0 มีปี 1955/1971/1974/1976/1989/1999/2000/2008/2011
ลองหาข่าวย้อนหลังดูจะพบว่าตอนปี 2011 เกิด Heavy Snowfall ในพื้นที่ที่ La Nina มีผลเช่น ภาคเหนือ US/ญี่ปุ่นทั้งประเทศ
ปีนี้เท่าที่ผมตามเช็คดูจากการ Forecast ของหน่วยงานรัฐบาล องค์กรต่างๆทั่วโลก พบว่าถ้านำมาพล็อตและหาค่าเฉลี่ย จะได้ความแรงลานิญญ่าประมาณ -0.75 ถึง -1.00 ช่วงธันวา-กุมภา (ที่แรเงาสีเหลืองๆ) มีโอกาสสูงมากที่จะหนาวมากกว่าและหิมะหนากว่าปี 2013 2014 และ 2015 แต่อาจจะน้อยกว่าตอนปี 2011 และสูสีปี 2012
อ้างอิง: http://www.cpc.ncep.noaa.gov/products/analysis_monitoring/lanina/enso_evolution-status-fcsts-web.pdf
I. กระแสลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดเข้าญี่ปุ่นในฤดูหนาว เป็นกระแสลมความกดอากาศสูง มวลเย็นจากไซบีเรีย
II. ไอน้ำที่หนาแน่น จากกระแสน้ำอุ่น Tsushima ที่ไหลระหว่างญี่ปุ่น-เกาหลี-รัสเซีย
III. ปรากฏการณ์ลานินญ่า
ภาพนี้ใช้อธิบายผลของลานิญญ่าต่อสภาพอากาศในแต่ละภูมิภาคแบบคร่าวๆ
ปัจจัย I. / II. ค่อนข้างเกิดคงที่ครับ มีปัจจัยที่ III. เป็นตัวควบคุมความแตกต่างในแต่ละปีเป็นหลัก
ภาพข้างล่างคืออุณหภูมิผิวน้ำมหาสมุทรแถวๆแปซิฟิกตะวันออก ตรงเส้นศูนย์สูตร (แถวๆฮาวายถึงแคลิฟอร์เนีย)
ใช้ดูว่าปีไหนเกิดเอลนิญโญ่ (0.5 ขึ้นไป) หรือลานิญญ่า (-0.5 ลงไป) หรือปกติ (ระหว่าง 0.5,-0.5)
ถ้าต่ำกว่า -1.0 จะเป็นลานิญญ่าประเภทรุนแรง จะเห็นว่าปีที่ต่ำกว่า -1.0 มีปี 1955/1971/1974/1976/1989/1999/2000/2008/2011
ลองหาข่าวย้อนหลังดูจะพบว่าตอนปี 2011 เกิด Heavy Snowfall ในพื้นที่ที่ La Nina มีผลเช่น ภาคเหนือ US/ญี่ปุ่นทั้งประเทศ
ปีนี้เท่าที่ผมตามเช็คดูจากการ Forecast ของหน่วยงานรัฐบาล องค์กรต่างๆทั่วโลก พบว่าถ้านำมาพล็อตและหาค่าเฉลี่ย จะได้ความแรงลานิญญ่าประมาณ -0.75 ถึง -1.00 ช่วงธันวา-กุมภา (ที่แรเงาสีเหลืองๆ) มีโอกาสสูงมากที่จะหนาวมากกว่าและหิมะหนากว่าปี 2013 2014 และ 2015 แต่อาจจะน้อยกว่าตอนปี 2011 และสูสีปี 2012
อ้างอิง: http://www.cpc.ncep.noaa.gov/products/analysis_monitoring/lanina/enso_evolution-status-fcsts-web.pdf
แสดงความคิดเห็น
ไปchubu ธันวาคม ปีนี้ จะได้เจอหิมะไหมครับ
แผนคือ nagoya takayama shirakawago kanazawa nagoya karuizawa
หิมะจะตกรึเปล่าครับ ลุ้นมากๆ
จะได้เตรียมอุปกรณ์ไปเผื่อด้วย