การทำจีวร (ย้อมด้วยแก่นขนุน) - บริขารพระป่าในปฏิปทาพ่อแม่ครูอาจารย์












ในลำดับนี้ ก็จักแสดงบริขารต่างๆที่นิยมทำกันในสายพระป่า พอให้เป็นแนวทางปฏิบัติโดยสังเขป และเป็นแบบอย่างแก่กุลบุตรผู้มาสุดท้ายภายหลังได้เรียนรู้ และสืบทอดปฏิปทาอันดีงาม และถูกต้องตามพระวินัย ดังต่อไปนี้ :-
การกะ ตัด เย็บ ย้อม จีวร

จีวร เป็นบริขารสำคัญของพระที่จำเป็นต้องมี และต้องทำให้ถูกต้องตามพระวินัยด้วย  สำหรับใช้นุ่งห่มปกปิดร่างกาย
ประกอบด้วย ผ้า ๓ ผืน เรียกว่า ไตรจีวร ดังนี้

          ๑. สังฆาฏิ  คือ ผ้าพาดหรือผ้าทาบไหล่ (สำหรับธรรมยุต ใช้ผ้า ๒ ชั้น)
          ๒. อุตราสงค์   คือ  ผ้าสำหรับห่ม ที่เราเรียกกันว่า จีวร
          ๓. อันตรวาสก  คือ ผ้านุ่ง ที่เรียกกันว่า สบง

สำหรับงานตัดเย็บจีวรนั้น ค่อนข้างเป็นงานที่สลับซับซ้อนพอสมควรทีเดียว หากมิได้ตั้งใจศึกษา ฝึกหัดกันอย่างจริงๆจังๆแล้ว คงทำสำเร็จได้ยากมาก

เริ่มต้นจากการกะขนาดให้นุ่งห่มได้พอดีเสียก่อน  ซึ่งก็มีมาตรฐานของแต่ละบุคคลดังนี้ ให้ผู้สวมใส่ งอข้อศอกตั้งฉากแล้ววัดจากส่วนปลายข้อศอกถึงปลายนิ้วกลาง ว่ายาวเท่าไร


        * สมมติว่า ศอกยาว ๔๕ ซม.

ขนาดมาตรฐานของสบง คือ ยาว ๕ ศอก กับ ๑ คืบ ( ๑ คืบ = ๓๐ ซม.) จะได้ขนาดของสบง คือ ยาว (๔๕ x ๕) + ๓๐ =  ๒๕๕ ซม. (คำว่า ศอกในที่นี้ คือความยาวศอกของผู้ใช้)  ส่วนกว้างมาตรฐาน  ๒ ศอก  ก็จะได้ส่วนกว้างคือ  ๔๕ x ๒  =  ๙๐ ซม.

ขนาดมาตรฐานของจีวร คือ ยาว ๖ ศอก กับ ๑ คืบ ก็จะได้ขนาดของจีวร คือ ยาว (๔๕ x ๖) + ๓๐ = ๓๐๐ ซม. ส่วนกว้าง (สูง) มาตรฐาน  = ๔ ศอก กับ ๑/๒ คืบ (ครึ่งคืบ = ๑๕ ซม.) ก็จะได้ความกว้าง(สูง) ของจีวร  =  (๔๕ x ๔) + ๑๕ = ๑๙๕ ซม.

ส่วนสังฆาฏิ นั้น ใช้ขนาดเท่ากับจีวร โดยมาก เมื่อตัดเย็บเสร็จแล้ว สังฆาฏิจะขนาดใหญ่กว่าจีวรเล็กน้อย เผื่อเวลาเดินไปบิณฑบาต ต้องซ้อนจีวรเข้ากับสังฆาฏิแล้ว จีวรจะไม่เลยสังฆาฏิออกไป

ขนาดมาตรฐานคือ รูปร่างคนปกติ ไม่อ้วนใหญ่เกินไป หรือสูงเกินไป ถ้าคนอ้วนใหญ่ จะต้องเพิ่มด้านยาวออกไปอีก ส่วนคนสูงก็ต้องเพิ่มด้านกว้าง (สูง)ให้มากขึ้น
  

เมื่อรู้จักขนาดมาตรฐานของจีวรดังนี้ แล้ว จากนั้นจึงทำการคำนวน หรือที่เรียกว่า กะขนาด โดยจีวร จะมีขนาดตั้งแต่  ๕, ๗, ๙ หรือ ๑๑ ขัณฑ์สูงสุด  แต่ส่วนใหญ่นิยมใช้ จีวร ๙ ขัณฑ์ เป็นมาตรฐาน  ดังนั้น หากจะตัดจีวร ๙ ขัณฑ์ ก็ต้องคำนวนให้ได้ว่า แต่ละขัณฑ์จะกว้างเท่าไร และยาวเท่าไร เมื่อเย็บเข้ากันเป็นจีวรแล้ว จะต้องได้จีวรขนาดที่นุ่งห่มได้พอดี

  
สำหรับการคำนวนขนาดของแต่ละขัณฑ์ ก็มีหลายวิธี แล้วแต่ว่า ใครจะถนัดแบบไหน  ขอให้ตัดเย็บออกมาแล้ว ได้ตามขนาดที่ต้องการก็เป็นอันใช้ได้  เมื่อคำนวนได้ขนาดของขัณฑ์จีวรเท่าไรแล้ว บวกเพิ่มเข้าไปอีกขัณฑ์ละ ๒ ซม. ก็จะเป็นขนาดขัณฑ์ของสังฆาฏิ เมื่อเย็บเสร็จแล้ว ก็จะได้สังฆาฏิขนาดพอดีกับจีวร โดยมากสังฆาฏิจะใหญ่กว่าจีวรเล็กน้อย







อมยิ้ม31
ดาวน์โหลดไฟล์ pdf เนื้อหาและรูปภาพทั้งหมดได้จาก
http://www.doisaengdham.org/images/column_1346237902/Borikhan%20Phra%20Pa.pdf






เม่าอ่าน
การทำจีวร - วัดป่าดอนหายโศก


อมยิ้ม31
คลิ๊กที่ลิงค์เพื่อดูภาพ
https://wpdhs.org/gallery/kathina-rope-process-2555/



แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่