ปฐมบทศึกแดงเดือด series-1 (source)
ในโลกของฟุตบอลมีเกมส์นัดสำคัญมากมายหลายแมท ที่มีคนตั้งตารอคอยจะชมเกมส์การแข่งขันหากคู่แข่งตัวสำคัญสองทีมต้องโคจรมาพบกัน และหนึ่งในแมทสำคัญเหล่านั้น ก็อยู่บนเกาะบริเตนใหญ่กลางมหาสมุทรแอตแลนติก หรือที่รู้จักกันประเทศอังกฤษ ประเทศที่อ้างตนว่า ตนเองเป็นต้นตำรับผู้ให้กำเนิดเกมส์ลูกหนังขึ้นมาบนโลกหล้าใบนี้
แม้ว่าฝรั่งเศสและอิตาลี ก็เคยอ้างสิทธิ์นี้เช่นกัน เพราะตามประวัติศาสตร์ชาติตนเอง ฝรั่งเศษได้มีการละเล่นชนิดหนึ่งที่เรียกว่า "ซูเลอ" (Soule) แต่อิตาลีเรียกว่าจิโอโค เดล คาซิโอ (Gioco Del Calcio) แต่อังกฤษก็ได้รับการยอมรับจากนานาชาติเหนือกว่าอีกสองประเทศ เพราะการเล่นฟุตบอลในอังกฤษนั้น มีกติการการแข่งขันที่แน่นอน และเพราะอังกฤษตั้งสมาคมฟุตบอลในปี 1863 และให้กำเนิดฟุตบอลอาชีพขึ้นเป็นชาติแรก ค.ศ. 1888 ฝรั่งเศสและอิตาลีจึงยอมรามือ ยกให้คำว่า”
ประเทศต้นตำรับฟุตบอล” ตกอยู่ภายใต้การถือครองของอังกฤษนับแต่นั้น เป็นต้นมา
และหนึ่งแมทที่วงการฟุตบอลต้องจับตามองทุกครั้ง ก็มาจากแผ่นดินต้นตำรับฟุตบอลแห่งนี้นั้นเอง และเป็นแมทการแข่งขันกีฬาที่ว่ากันว่ามีแฟนกีฬาฟุตบอลติดตามมากที่สุดในโลก และคนไทยรู้จักกันดีกับแมทนี้เป็นอย่างดีในชื่อว่า “
ศึกแดงเดือด” ของสโมสร แมนเชสตอร์ ยูไนเต็ด และ ลิเวอร์พูล จากชื่อเรียกขานแมทนี้ ก็ไม่น่าแปลกใจเลย เพราะคู่แข่งทั้งสองทีมที่ต้องโคจรมาเจอกันนัดนี้ ต่างใช้สีแดงเหมือนกันในการใช้เป็นสีสัญลักษณ์ของสโมสร
ในฐานะที่ผมไม่นิยมที่จะทำตัวให้เป็นแฟนบอลประเภท”กากๆ” (เกรียนๆก็อาจจะมีบ้างแค่เล็กน้อยแต่พองาม)
เพราะการทำตัว”กาก”นั้น มันเสื่อมเสียชื่อเสียงของสถาบันการศึกษา ตลอดจนบิดามารดาที่ให้การอบรมสั่งสอน เพื่อไม่ให้เป็นเช่นนั้น ผมจึงขอเริ่มด้วยการเติมสาระประวัติความเป็นมา ของเกมส์การแข่งขันที่มีคนรอชมมากที่สุดในโลกหล้าว่ามีที่มาที่ไปเป็นอย่างไร
จุดกำเนิดแดงเดือด
หากจะดูให้ถึงต้นตอการเริ่มต้นสงครามบนโลกฟุตบอลที่ชื่อว่า “นัดแดงเดือด”แล้วล่ะก็ ต้องย้อนไปดูหน้าประวัติศาสตร์ของประเทศอังกฤษในช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรม (คริสต์ศตวรรษที่ 18 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19)กันเลยทีเดียว ที่ประวัติศาสตร์บ่งชี้ว่า ทั้งเมืองลิเวอร์พูล และแมนเชสเตอร์ ต่างพยายามชิงดีชิงเด่นกันในฐานะเมืองสำคัญทางเศรษฐกิจของภูมิภาคตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองผู้ดีมาโดยตลอด
เมือง ลิเวอร์พูล นั้นจัดว่าเป็นเมืองท่าสำคัญอันดับต้นๆ ของโลก ซึ่งสะดวกต่อการติดต่อซื้อขายสินค้ากับต่างประเทศ กล่าวกันว่าในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 นั้น การค้าขายทางเรือกว่า 40% ของทั้งโลกต้องมาเทียบท่าที่เมอร์ซี่ย์ไซด์ ในขณะที่แมนเชสเตอร์ เองก็ถือเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมแห่งแรกและใหญ่ที่สุดของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อุตสาหกรรมทอฝ้ายที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรในเวลานั้น จนได้รับการขนามนามว่าเป็นเมืองที่มีความสำคัญอันดับสองของอังกฤษรองจากมหานครลอนดอน
อีกหนึ่งประเด็นที่น่าสนใจที่นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าเป็นต้นตอของความบาดหมางระหว่างเมืองลิเวอร์พูล และแมนเชสเตอร์ คือการขุดลอก ''
คลองเดินเรือแมนเชสเตอร์'' ซึ่งเปิดให้ใช้งานอย่างเป็นทางการในปี 1894 เมื่อเมืองแมนเชสเตอร์ กำลังเฟื่องฟูสุดขีดในด้านอุตสาหกรรมทอฝ้าย อย่างไรก็ตาม วัตถุดิบสำคัญอย่าง ฝ้ายดิบ นั้นต้องขนส่งผ่านทางเรือเท่านั้น แถมต้องเสียค่าธรรมเนียมมหาศาลให้กับท่าเรือที่เมืองลิเวอร์พูล
สภาเมืองแมนเชสเตอร์ จึงแก้เกมเพื่อความเป็นผู้นำของเมืองเศรษฐกิจ ด้วยการขุดลอก ''คลองเดินเรือแมนเชสเตอร์'' ซึ่งเป็นเส้นทางเดินเรือที่ทำให้เรือขนฝ้ายดิบสามารถล่องไปยังท่าเรือที่เมืองแมนเชสเตอร์ ได้โดยตรงและไม่ต้องจอดเทียบท่าเพื่อเสียภาษีปากเรือที่ เมอร์ซี่ย์ไซด์ อีกต่อไป
จากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ชาวเมืองลิเวอร์พูลซี่งส่วนใหญ่มีรายได้หลักมาจากการท่าเรือที่เมอร์ซีไซด์ ต้องสูญรายได้มหาศาลและตกงานกันไปเป็นแถบๆ เลยทีเดียว
และการห้ำหั่นกันทางเมืองและเศรษฐกิจที่สั่งสมกันมาในอดีตนั้น ส่งผลให้ ชาวลิเวอร์พัดเลี่ยน และ ชาวแมนคูเนี่ยน ก็ยังชิงดีชิงเด่นกันในแทบทุกๆเรื่องในเวลาต่อๆมา และมาแสดงผลในโลกของฟุบอลที่ทำให้ทั้งสองทีมกลายเป็นคู่พิพาททางลูกหนังแบบจริงจังในยุคทศวรรษ 60(1960-1970) หลังจากขุดคลองเดินเรือแมนเชสเตอร์แล้ว เกือบ 70 ปี ข้อพิพาทเก่าๆในอดีตเหล่านี้ ก็ตามติดมาถึงเรื่องฟุตบอลด้วย
เมื่อ ลิเวอร์พูล ในยุคของ บิลล์ แชงค์ลี่ย์ และแมนฯยูไนเต็ด ของ แม็ตต์ บัสบี้ กำลังห้ำหั่นกันสูสีบนลีกสูงสุดเมืองผู้ดี โดยผลัดกันเป็นแชมป์กันอยู่แค่สองทีมระหว่างปี 1963-1967 แชงค์ลี่ย์ พาลิเวอร์พูล เข้าป้ายในฐานะแชมป์ลีกเมื่อจบฤดูกาล 1963-64 โดยมีแต้มเหนือ ยูไนเต็ด ที่เข้าป้ายเป็นอันดับ 2 อยู่ 4 แต้ม แต่ในฤดูกาลถัดมา (1964-65 ) บัสบี้ ก็พา ปีศาจแดง เข้าวินเป็นแชมป์ลีกได้บ้าง
ในอีกสองฤดูกาลถัดมาก็ยังเหมือนหนังม้วนเดิม เมื่อลิเวอร์พูล ได้แชมป์ลีกไปก่อนในฤดูกาล 1965-1966 ก่อนแมนฯ ยูไนเต็ด จะตามติดมาเข้าป้ายเป็นที่ 1 อีกครั้ง ในฤดูกาล 1966-1967 ซึ่งดูเหมือนว่าทั้ง “หงส์” และ “'ผี”' จะกินกันไม่ลงสำหรับการแข่งขันระดับประเทศ เพราะในเวลานั้นทั้งคู่สะสมแชมป์ลีกสูงสุดเท่ากันพอดีที่ 7 สมัยซะอย่างนั้น และความอาฆาตริษยาในความสำเร็จของทีมคู่อริของแฟนบอลทั้งสองทีมจึงเริ่มอุบัติและทวีความรุนแรงขึ้น กลายเป็น “
คู่อริที่ไม่สามารถยอมปล่อยให้มีชีวิตรอดอยู่ใต้ฟ้าเดียวกัน”
ที่สุดถ้าย้อนดูแล้ว ต้อตอหริอว่า source มันคือ ความอิจฉาริษยา
ที่มาจากการชิงดีชิงเด่นทางการเมืองในสังคมชนชั้นกลางชาวอังกฤษจากทั้งสองเมือง
ที่อังกฤษเริ่มต้นอย่างไร ที่สยามแดนไทย ก็เริ่มต้นเหมือนกันแบบนั้น เพียงแต่เราไม่มีปมประเด็นทางการเมืองเข้ามาเกี่ยว
มีแต่ความอิจฉาริษยาเพียวๆเป็นแรงขับเคลื่อน เพราะแฟนบอลทั้งสองทีมในเมืองไทยนั้น มีจำนวนไม่น้อยที่เกิดขึ้นโดยมีถิ่นลำเนาภูมิภาคอาศัยแถวๆ
เขตล้อสำราญ บ้านหนองอีเสี้ยม เขาเทียมปลอมปน คลองชลบางแขวะ ที่คนมาจากถิ่นสถานเหล่านี้..นั้นก็เริ่มต้นเชียร์ฟุตบอลด้วย ความอิจฉาริษยาที่มากเกินบรรยาย ในพันทิปก็เช่นกัน หรือท่านที่เข้ามา จะมีใครเถียงผมไหมล่ะครับ ว่าไม่จริง ในพันทิปนี้ อ่านไม่เห็นเช่นนั้นเลย
ทุกคนในที่นี้ล้วนแต่มีปัจจัยของแรงอิจฉาริษยาเป็นแรงขับเคลื่อนในการแสดงความเห็น ร่วมกับปัจจัยอื่นๆ อย่างความชอบใจ หลงใหล ความผูกพัน และเหตุผลอีกสารพันในมุมองดีๆอยู่แล้วที่สามารถยกมามากล่าวอ้างได้
ส่วนอิจฉาริษยาที่มีกันทั้งนั้น แต่ละคนจะมากจะน้อย แตกต่างกันไปตามลักษณะนิสัย และทัศนะคติ ดังนั้นไม่ต้องมาออกตัว ที่จะยอมรับตรงๆหรือว่าปากแข็งปฏิเสธนะครับ เพราะมันเป็นพื้นฐานนิสัยที่มีอยู่ในมนุษย์ทุกคนอยู่แล้ว
ผมเองก็ไม่ได้จะออกตัว ว่าผมเองเป็นคนดีศรีประเสริฐกว่าคนอื่น เพราะผมเองก็ยังมีความอิจฉาริษยาเช่นกัน ไม่เช่นนั้นคงไม่เข้ามาตั้งกะทู้ที่นี้แน่ๆ เพียงแต่ผมเลือกที่จะแสดงความอิจฉาริษยาผ่านข้อเท็จจริงทางตัวเลขสถิติมากกว่า ที่จะใช้อัตตาหรืออคติมา ชี้นำการแสดงความเห็นเพียวๆ
ท่านที่เคยอ่านบทความ หรือไม่เคยอ่านบทความของผมมาก่อนว่า ด้วยลักษณะที่ผมจะวิเคราะห์วิจารณ์อะไร ผมใช้ปัจจัยหลักที่ผมให้ความสำคัญที่สุดเสมอมา นั้นคือ”สถิติตัวเลข”มาเป็นตัวแปรเดียวในการคิดวิเคราะห์ ไม่ได้ให้ความสำคัญมากนักกับ”ความเชื่อ” “หน้าตา” หรือ “มูลค่าปริมาณยอดขายเสื้อ” ตลอดจนการ “ร้องขอเวลาในการพัฒนาหรือปรับปรุงแก้” ใดๆทั้งสิ้น
เพราะผมหาข้อสรุปไม่ได้กับ “ความเก่งที่อาจจะเห็นได้ในอนาคต” กับ“ความเก่งเท่าที่ผมเห็นได้จากอดีต” จากนักเตะคนนั้นๆแล้ว
เนื้อหาในบทความชุด ปฐมบทศึกแดงเดือด ของผมชุดนี้ก็เช่นกัน ที่ยังจะทำอย่างนั้น เพียงแต่คงไม่ย้อนไปขุดหาสถิติสมัยพระเจ้าเหา เก่ากรุอันใด เอามาแสดงให้ทุกท่านได้อ่านทุกช่วงทุกตอนแน่ๆ (แต่เนื้อหาก็ยังยาวมากอยู่ดี) คงเอาแค่สถิตินักเตะและฟอร์มของทีมที่ยังส่งผลกับค่าตัวแปรในทีมยุคปัจจุบันของทั้งสองสโมสร มาเทียบเคียง คิด วิเคราะห์ เพื่อต่อยอดไปหาข้อสรุปที่น่าจะเกิดขึ้น ในแมทการแข่งขันแดงเดือดที่กำลังจะมาถึงนี้
แต่ถึงกระนั้น ด้วยความที่ผมเป็นคนประเภท ชอบพล่ามไม่ยอมหยุด เนื้อหามันจึงเขียนออกมาและยาวเกินกว่าที่จะจบลงแค่กะทู้เดียว (เท่าที่เขียนเสร็จแล้ว มีเนื้อหาประมาณ 17 หน้ากระดาษA4 ที่มีแต่ตัวหนังสือและยังไม่ได้ใส่รูปภาพเข้าไป) ซึ่งท่านที่อ่านมาถึงตรงนี้ และคิดว่าจะอ่านไปเรื่อยๆให้จบ ก็คงเข้าใจเหตุผลได้ไม่ยาก ว่าทำไมจึงไม่เขียนให้จบในกะทู้เดียว
หัวกะทู้ ผมใช้คำว่า source (ต้นตอ) ปิดท้ายการจั่วหัว ไม่ได้มีความหมายถึงการที่ผมจะเล่าจุดกำเนิดความเป็นคู่แค้นของสองทีมนี้เท่านั้น เพราะมันยังต่อเนื่องไปถึง ตัวต้นตอสำคัญที่เป็นปัจจัยที่ขาดไม่ได้ในการตัดสินศึกแดงเดือดครั้งนี้ แน่นอนว่าไม่ใช่ทั้งหมด เพราะ source ในที่นี้อีกความหมายของผม นั้นคือการกล่าวถึง โจเซ่ มูริญโญ่ กับ เจอร์เก้น คล้อป นั้นเอง
และเมื่อกล่าวถึงสองคนนี้ ก็ย่อมรู้กันดี ว่าหากมีการจัดอันดับทำเนียบกุนซือระดับแถวหน้า ไม่ว่าจะเป็นสื่อมวลชนสำนักใด ก็ย่อมต้องใส่ชื่อสองสุดยอดกุนซือนี้ไว้เป็นตัวตั้งด้วยแน่ๆ
แต่เสียใจด้วยนะครับ คุณจะยังไม่ได้อ่านในกะทู้ เพราะเนื้อหาที่ผมเขียนจากการเตรียมข้อมูลสืบค้นมาอย่างดี จะถูกนำมาใช้ในกะทู้ ปฐมบทศึกแดงเดือด series-2 (Manager) ตอนต่อไปจากกะทู้นี้ จะมาชี้ชัดให้เห็นถึงพลังวัตร ของสองสุดยอดดัชนี ที่จะใช้นิ้วชี้บงการเกมส์ มาดูกันชัดๆว่ากุนซือจากฝ่ายไหน ทั้ง “หงส์” ทั้ง “ผี” ใครมีดีและคู่ควรที่จะได้ชัยชนะ
ป.ล.บทความชุดนี้ ถูกแบ่งเป็น ตอนย่อยๆ ซึ่งตอนนี้เขียนจบแล้ว 4 ตอน แต่จะเขียนจบจริงๆ กี่ตอน ผมเองก็ยังไม่รู้เหมือนกัน แต่คงจบก่อนถึงวันแข่งแน่นอน ซึ่งรายละเอียดส่วนใหญ่ของเนื้อหาส่วนที่เหลือ เป็นการเทียบข้อมูลผลงานของนักเตะแต่ล่ะตำแหน่งของทั้งสองทีม ว่าทีมไหนมีจุดเด่นจุดด้อยตรงไหน โดยใช้สถิติที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่า ประสิทธิภาพของทั้งคู่เป็นอย่างไร ใครจะดี จะห่วย ชี้วัดกันไปเลย เพราะมันอาจเป็นปัจจัยที่จะส่งผลต่อการแพ้ชนะนัดนี้ สำหรับใครที่ไม่เบื่อหน่ายกับการอ่านที่มากกว่า 7 บรรทัด ก็ถือว่าอ่านเล่นกันไปเพลินๆนะครับ ผมจะทยอยเอามาลงเรื่อยๆ แต่อาจจะไม่ได้ต่อเนื่องทุกวัน อาจเว้นช่วงบ้างตามเหมาะสมนะครับ จนกว่าจะถึงวันแข่งขันจริง
*แก้ไขคำผิด
วิเคราะห์เปิดประวัติ ที่มาความเกลียดชัง ลั่นกลองรบให้ดัง ปฐมบทศึกแดงเดือด series-1 (source)
ในโลกของฟุตบอลมีเกมส์นัดสำคัญมากมายหลายแมท ที่มีคนตั้งตารอคอยจะชมเกมส์การแข่งขันหากคู่แข่งตัวสำคัญสองทีมต้องโคจรมาพบกัน และหนึ่งในแมทสำคัญเหล่านั้น ก็อยู่บนเกาะบริเตนใหญ่กลางมหาสมุทรแอตแลนติก หรือที่รู้จักกันประเทศอังกฤษ ประเทศที่อ้างตนว่า ตนเองเป็นต้นตำรับผู้ให้กำเนิดเกมส์ลูกหนังขึ้นมาบนโลกหล้าใบนี้
แม้ว่าฝรั่งเศสและอิตาลี ก็เคยอ้างสิทธิ์นี้เช่นกัน เพราะตามประวัติศาสตร์ชาติตนเอง ฝรั่งเศษได้มีการละเล่นชนิดหนึ่งที่เรียกว่า "ซูเลอ" (Soule) แต่อิตาลีเรียกว่าจิโอโค เดล คาซิโอ (Gioco Del Calcio) แต่อังกฤษก็ได้รับการยอมรับจากนานาชาติเหนือกว่าอีกสองประเทศ เพราะการเล่นฟุตบอลในอังกฤษนั้น มีกติการการแข่งขันที่แน่นอน และเพราะอังกฤษตั้งสมาคมฟุตบอลในปี 1863 และให้กำเนิดฟุตบอลอาชีพขึ้นเป็นชาติแรก ค.ศ. 1888 ฝรั่งเศสและอิตาลีจึงยอมรามือ ยกให้คำว่า”ประเทศต้นตำรับฟุตบอล” ตกอยู่ภายใต้การถือครองของอังกฤษนับแต่นั้น เป็นต้นมา
และหนึ่งแมทที่วงการฟุตบอลต้องจับตามองทุกครั้ง ก็มาจากแผ่นดินต้นตำรับฟุตบอลแห่งนี้นั้นเอง และเป็นแมทการแข่งขันกีฬาที่ว่ากันว่ามีแฟนกีฬาฟุตบอลติดตามมากที่สุดในโลก และคนไทยรู้จักกันดีกับแมทนี้เป็นอย่างดีในชื่อว่า “ศึกแดงเดือด” ของสโมสร แมนเชสตอร์ ยูไนเต็ด และ ลิเวอร์พูล จากชื่อเรียกขานแมทนี้ ก็ไม่น่าแปลกใจเลย เพราะคู่แข่งทั้งสองทีมที่ต้องโคจรมาเจอกันนัดนี้ ต่างใช้สีแดงเหมือนกันในการใช้เป็นสีสัญลักษณ์ของสโมสร
ในฐานะที่ผมไม่นิยมที่จะทำตัวให้เป็นแฟนบอลประเภท”กากๆ” (เกรียนๆก็อาจจะมีบ้างแค่เล็กน้อยแต่พองาม) เพราะการทำตัว”กาก”นั้น มันเสื่อมเสียชื่อเสียงของสถาบันการศึกษา ตลอดจนบิดามารดาที่ให้การอบรมสั่งสอน เพื่อไม่ให้เป็นเช่นนั้น ผมจึงขอเริ่มด้วยการเติมสาระประวัติความเป็นมา ของเกมส์การแข่งขันที่มีคนรอชมมากที่สุดในโลกหล้าว่ามีที่มาที่ไปเป็นอย่างไร
จุดกำเนิดแดงเดือด
หากจะดูให้ถึงต้นตอการเริ่มต้นสงครามบนโลกฟุตบอลที่ชื่อว่า “นัดแดงเดือด”แล้วล่ะก็ ต้องย้อนไปดูหน้าประวัติศาสตร์ของประเทศอังกฤษในช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรม (คริสต์ศตวรรษที่ 18 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19)กันเลยทีเดียว ที่ประวัติศาสตร์บ่งชี้ว่า ทั้งเมืองลิเวอร์พูล และแมนเชสเตอร์ ต่างพยายามชิงดีชิงเด่นกันในฐานะเมืองสำคัญทางเศรษฐกิจของภูมิภาคตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองผู้ดีมาโดยตลอด
เมือง ลิเวอร์พูล นั้นจัดว่าเป็นเมืองท่าสำคัญอันดับต้นๆ ของโลก ซึ่งสะดวกต่อการติดต่อซื้อขายสินค้ากับต่างประเทศ กล่าวกันว่าในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 นั้น การค้าขายทางเรือกว่า 40% ของทั้งโลกต้องมาเทียบท่าที่เมอร์ซี่ย์ไซด์ ในขณะที่แมนเชสเตอร์ เองก็ถือเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมแห่งแรกและใหญ่ที่สุดของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อุตสาหกรรมทอฝ้ายที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรในเวลานั้น จนได้รับการขนามนามว่าเป็นเมืองที่มีความสำคัญอันดับสองของอังกฤษรองจากมหานครลอนดอน
อีกหนึ่งประเด็นที่น่าสนใจที่นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าเป็นต้นตอของความบาดหมางระหว่างเมืองลิเวอร์พูล และแมนเชสเตอร์ คือการขุดลอก ''คลองเดินเรือแมนเชสเตอร์'' ซึ่งเปิดให้ใช้งานอย่างเป็นทางการในปี 1894 เมื่อเมืองแมนเชสเตอร์ กำลังเฟื่องฟูสุดขีดในด้านอุตสาหกรรมทอฝ้าย อย่างไรก็ตาม วัตถุดิบสำคัญอย่าง ฝ้ายดิบ นั้นต้องขนส่งผ่านทางเรือเท่านั้น แถมต้องเสียค่าธรรมเนียมมหาศาลให้กับท่าเรือที่เมืองลิเวอร์พูล
สภาเมืองแมนเชสเตอร์ จึงแก้เกมเพื่อความเป็นผู้นำของเมืองเศรษฐกิจ ด้วยการขุดลอก ''คลองเดินเรือแมนเชสเตอร์'' ซึ่งเป็นเส้นทางเดินเรือที่ทำให้เรือขนฝ้ายดิบสามารถล่องไปยังท่าเรือที่เมืองแมนเชสเตอร์ ได้โดยตรงและไม่ต้องจอดเทียบท่าเพื่อเสียภาษีปากเรือที่ เมอร์ซี่ย์ไซด์ อีกต่อไป
จากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ชาวเมืองลิเวอร์พูลซี่งส่วนใหญ่มีรายได้หลักมาจากการท่าเรือที่เมอร์ซีไซด์ ต้องสูญรายได้มหาศาลและตกงานกันไปเป็นแถบๆ เลยทีเดียว
และการห้ำหั่นกันทางเมืองและเศรษฐกิจที่สั่งสมกันมาในอดีตนั้น ส่งผลให้ ชาวลิเวอร์พัดเลี่ยน และ ชาวแมนคูเนี่ยน ก็ยังชิงดีชิงเด่นกันในแทบทุกๆเรื่องในเวลาต่อๆมา และมาแสดงผลในโลกของฟุบอลที่ทำให้ทั้งสองทีมกลายเป็นคู่พิพาททางลูกหนังแบบจริงจังในยุคทศวรรษ 60(1960-1970) หลังจากขุดคลองเดินเรือแมนเชสเตอร์แล้ว เกือบ 70 ปี ข้อพิพาทเก่าๆในอดีตเหล่านี้ ก็ตามติดมาถึงเรื่องฟุตบอลด้วย
เมื่อ ลิเวอร์พูล ในยุคของ บิลล์ แชงค์ลี่ย์ และแมนฯยูไนเต็ด ของ แม็ตต์ บัสบี้ กำลังห้ำหั่นกันสูสีบนลีกสูงสุดเมืองผู้ดี โดยผลัดกันเป็นแชมป์กันอยู่แค่สองทีมระหว่างปี 1963-1967 แชงค์ลี่ย์ พาลิเวอร์พูล เข้าป้ายในฐานะแชมป์ลีกเมื่อจบฤดูกาล 1963-64 โดยมีแต้มเหนือ ยูไนเต็ด ที่เข้าป้ายเป็นอันดับ 2 อยู่ 4 แต้ม แต่ในฤดูกาลถัดมา (1964-65 ) บัสบี้ ก็พา ปีศาจแดง เข้าวินเป็นแชมป์ลีกได้บ้าง
ในอีกสองฤดูกาลถัดมาก็ยังเหมือนหนังม้วนเดิม เมื่อลิเวอร์พูล ได้แชมป์ลีกไปก่อนในฤดูกาล 1965-1966 ก่อนแมนฯ ยูไนเต็ด จะตามติดมาเข้าป้ายเป็นที่ 1 อีกครั้ง ในฤดูกาล 1966-1967 ซึ่งดูเหมือนว่าทั้ง “หงส์” และ “'ผี”' จะกินกันไม่ลงสำหรับการแข่งขันระดับประเทศ เพราะในเวลานั้นทั้งคู่สะสมแชมป์ลีกสูงสุดเท่ากันพอดีที่ 7 สมัยซะอย่างนั้น และความอาฆาตริษยาในความสำเร็จของทีมคู่อริของแฟนบอลทั้งสองทีมจึงเริ่มอุบัติและทวีความรุนแรงขึ้น กลายเป็น “คู่อริที่ไม่สามารถยอมปล่อยให้มีชีวิตรอดอยู่ใต้ฟ้าเดียวกัน”
ที่มาจากการชิงดีชิงเด่นทางการเมืองในสังคมชนชั้นกลางชาวอังกฤษจากทั้งสองเมือง
ที่อังกฤษเริ่มต้นอย่างไร ที่สยามแดนไทย ก็เริ่มต้นเหมือนกันแบบนั้น เพียงแต่เราไม่มีปมประเด็นทางการเมืองเข้ามาเกี่ยว มีแต่ความอิจฉาริษยาเพียวๆเป็นแรงขับเคลื่อน เพราะแฟนบอลทั้งสองทีมในเมืองไทยนั้น มีจำนวนไม่น้อยที่เกิดขึ้นโดยมีถิ่นลำเนาภูมิภาคอาศัยแถวๆ เขตล้อสำราญ บ้านหนองอีเสี้ยม เขาเทียมปลอมปน คลองชลบางแขวะ ที่คนมาจากถิ่นสถานเหล่านี้..นั้นก็เริ่มต้นเชียร์ฟุตบอลด้วย ความอิจฉาริษยาที่มากเกินบรรยาย ในพันทิปก็เช่นกัน หรือท่านที่เข้ามา จะมีใครเถียงผมไหมล่ะครับ ว่าไม่จริง ในพันทิปนี้ อ่านไม่เห็นเช่นนั้นเลย
ทุกคนในที่นี้ล้วนแต่มีปัจจัยของแรงอิจฉาริษยาเป็นแรงขับเคลื่อนในการแสดงความเห็น ร่วมกับปัจจัยอื่นๆ อย่างความชอบใจ หลงใหล ความผูกพัน และเหตุผลอีกสารพันในมุมองดีๆอยู่แล้วที่สามารถยกมามากล่าวอ้างได้ ส่วนอิจฉาริษยาที่มีกันทั้งนั้น แต่ละคนจะมากจะน้อย แตกต่างกันไปตามลักษณะนิสัย และทัศนะคติ ดังนั้นไม่ต้องมาออกตัว ที่จะยอมรับตรงๆหรือว่าปากแข็งปฏิเสธนะครับ เพราะมันเป็นพื้นฐานนิสัยที่มีอยู่ในมนุษย์ทุกคนอยู่แล้ว
ผมเองก็ไม่ได้จะออกตัว ว่าผมเองเป็นคนดีศรีประเสริฐกว่าคนอื่น เพราะผมเองก็ยังมีความอิจฉาริษยาเช่นกัน ไม่เช่นนั้นคงไม่เข้ามาตั้งกะทู้ที่นี้แน่ๆ เพียงแต่ผมเลือกที่จะแสดงความอิจฉาริษยาผ่านข้อเท็จจริงทางตัวเลขสถิติมากกว่า ที่จะใช้อัตตาหรืออคติมา ชี้นำการแสดงความเห็นเพียวๆ
ท่านที่เคยอ่านบทความ หรือไม่เคยอ่านบทความของผมมาก่อนว่า ด้วยลักษณะที่ผมจะวิเคราะห์วิจารณ์อะไร ผมใช้ปัจจัยหลักที่ผมให้ความสำคัญที่สุดเสมอมา นั้นคือ”สถิติตัวเลข”มาเป็นตัวแปรเดียวในการคิดวิเคราะห์ ไม่ได้ให้ความสำคัญมากนักกับ”ความเชื่อ” “หน้าตา” หรือ “มูลค่าปริมาณยอดขายเสื้อ” ตลอดจนการ “ร้องขอเวลาในการพัฒนาหรือปรับปรุงแก้” ใดๆทั้งสิ้น เพราะผมหาข้อสรุปไม่ได้กับ “ความเก่งที่อาจจะเห็นได้ในอนาคต” กับ“ความเก่งเท่าที่ผมเห็นได้จากอดีต” จากนักเตะคนนั้นๆแล้ว
เนื้อหาในบทความชุด ปฐมบทศึกแดงเดือด ของผมชุดนี้ก็เช่นกัน ที่ยังจะทำอย่างนั้น เพียงแต่คงไม่ย้อนไปขุดหาสถิติสมัยพระเจ้าเหา เก่ากรุอันใด เอามาแสดงให้ทุกท่านได้อ่านทุกช่วงทุกตอนแน่ๆ (แต่เนื้อหาก็ยังยาวมากอยู่ดี) คงเอาแค่สถิตินักเตะและฟอร์มของทีมที่ยังส่งผลกับค่าตัวแปรในทีมยุคปัจจุบันของทั้งสองสโมสร มาเทียบเคียง คิด วิเคราะห์ เพื่อต่อยอดไปหาข้อสรุปที่น่าจะเกิดขึ้น ในแมทการแข่งขันแดงเดือดที่กำลังจะมาถึงนี้
แต่ถึงกระนั้น ด้วยความที่ผมเป็นคนประเภท ชอบพล่ามไม่ยอมหยุด เนื้อหามันจึงเขียนออกมาและยาวเกินกว่าที่จะจบลงแค่กะทู้เดียว (เท่าที่เขียนเสร็จแล้ว มีเนื้อหาประมาณ 17 หน้ากระดาษA4 ที่มีแต่ตัวหนังสือและยังไม่ได้ใส่รูปภาพเข้าไป) ซึ่งท่านที่อ่านมาถึงตรงนี้ และคิดว่าจะอ่านไปเรื่อยๆให้จบ ก็คงเข้าใจเหตุผลได้ไม่ยาก ว่าทำไมจึงไม่เขียนให้จบในกะทู้เดียว
หัวกะทู้ ผมใช้คำว่า source (ต้นตอ) ปิดท้ายการจั่วหัว ไม่ได้มีความหมายถึงการที่ผมจะเล่าจุดกำเนิดความเป็นคู่แค้นของสองทีมนี้เท่านั้น เพราะมันยังต่อเนื่องไปถึง ตัวต้นตอสำคัญที่เป็นปัจจัยที่ขาดไม่ได้ในการตัดสินศึกแดงเดือดครั้งนี้ แน่นอนว่าไม่ใช่ทั้งหมด เพราะ source ในที่นี้อีกความหมายของผม นั้นคือการกล่าวถึง โจเซ่ มูริญโญ่ กับ เจอร์เก้น คล้อป นั้นเอง
และเมื่อกล่าวถึงสองคนนี้ ก็ย่อมรู้กันดี ว่าหากมีการจัดอันดับทำเนียบกุนซือระดับแถวหน้า ไม่ว่าจะเป็นสื่อมวลชนสำนักใด ก็ย่อมต้องใส่ชื่อสองสุดยอดกุนซือนี้ไว้เป็นตัวตั้งด้วยแน่ๆ
แต่เสียใจด้วยนะครับ คุณจะยังไม่ได้อ่านในกะทู้ เพราะเนื้อหาที่ผมเขียนจากการเตรียมข้อมูลสืบค้นมาอย่างดี จะถูกนำมาใช้ในกะทู้ ปฐมบทศึกแดงเดือด series-2 (Manager) ตอนต่อไปจากกะทู้นี้ จะมาชี้ชัดให้เห็นถึงพลังวัตร ของสองสุดยอดดัชนี ที่จะใช้นิ้วชี้บงการเกมส์ มาดูกันชัดๆว่ากุนซือจากฝ่ายไหน ทั้ง “หงส์” ทั้ง “ผี” ใครมีดีและคู่ควรที่จะได้ชัยชนะ
ป.ล.บทความชุดนี้ ถูกแบ่งเป็น ตอนย่อยๆ ซึ่งตอนนี้เขียนจบแล้ว 4 ตอน แต่จะเขียนจบจริงๆ กี่ตอน ผมเองก็ยังไม่รู้เหมือนกัน แต่คงจบก่อนถึงวันแข่งแน่นอน ซึ่งรายละเอียดส่วนใหญ่ของเนื้อหาส่วนที่เหลือ เป็นการเทียบข้อมูลผลงานของนักเตะแต่ล่ะตำแหน่งของทั้งสองทีม ว่าทีมไหนมีจุดเด่นจุดด้อยตรงไหน โดยใช้สถิติที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่า ประสิทธิภาพของทั้งคู่เป็นอย่างไร ใครจะดี จะห่วย ชี้วัดกันไปเลย เพราะมันอาจเป็นปัจจัยที่จะส่งผลต่อการแพ้ชนะนัดนี้ สำหรับใครที่ไม่เบื่อหน่ายกับการอ่านที่มากกว่า 7 บรรทัด ก็ถือว่าอ่านเล่นกันไปเพลินๆนะครับ ผมจะทยอยเอามาลงเรื่อยๆ แต่อาจจะไม่ได้ต่อเนื่องทุกวัน อาจเว้นช่วงบ้างตามเหมาะสมนะครับ จนกว่าจะถึงวันแข่งขันจริง
*แก้ไขคำผิด