เมื่อนึกถึงจังหวัด “พิจิตร” คงหนีไม่พ้น “ชาละวัน ไกรทอง” เรื่องเล่าสุดคลาสสิคของคนยุค 30 ปี++ (คนเขียนก็ทันยุคนั้นนะ 5555) แต่ถ้าจะมองหาสถานที่ท่องเที่ยวใหม่ๆ ก็คงยากที่จะคิดออก จนในที่สุด “พิจิตร” กลายเป็นเมืองทางผ่านเท่านั้น
ล่าสุดผมได้มีโอกาสกลับไป “พิจิตร” อีกครั้ง แต่ไม่ได้กลับไปในฐานะนักท่องเที่ยวเพียงอย่างเดียวเหมือนที่ผ่านมา (มีแอบแวะไปเที่ยวตามประสาคนโสดบ้างไรบ้าง) การเดินทางครั้งนี้มีอีกจุดมุ่งหมายหนึ่งที่สำคัญยิ่ง นั้นก็คือการค้นหาความจริง หลังจากกระแสข่าวดราม่าที่ว่า “ชาวบ้านรอบเหมืองป่วย ได้รับสารโลหะหนักจากพืชผักที่ปลูกรอบเหมืองทอง” ในขณะที่ทางเหมืองแร่ทองคำชาตรีออกยืนยันนอนยันเสียงดังฟังชัดว่าเหมืองแร่ทองคำชาตรีดำเนินงานตามมาตรฐานสากลได้รับการยอมรับระดับโลก มั่นใจว่า “สารโลหะหนักเหล่านั้นไม่ได้ออกมาจากเหมืองอย่างแน่นอน” พร้อมให้ทุกหน่วยงานเข้าตรวจสอบในทุกกระบวนการอย่างเปิดเผย
จากเดินทางมาเกือบ 5 ชั่วโมง ผมก็สลบยาวในโฮมสเตย์กึ่งไม้กึ่งปูนริมทุ่งนาเขียวขจี กว่าจะตื่นขึ้นมาก็สายๆ ผมเริ่มใช้ชีวิตแบบสโลว์ไลฟ์ ออกจากห้องพักมากินข้าว กินปลา กินน้ำพริกกับผักสด จากสวนครัวรอบรั้วของคุณป้าเจ้าของโฮมสเตย์ อยากบอกว่าน้ำพริกแซ่บมากกกกก ทำตัวประหนึ่งคนในครอบครัว (ในใจคิดว่าเราจะได้รับสารโลหะหนักไหมนะ) จึงเปิดประเด็นถามคุณป้าและลูกชายของแกว่า ข้าว ผัก ปลา น้ำ ในพื้นที่กินได้หรอ ไม่อันตรายหรอครับ เมื่อคุณคุณป้าวัย 77 ปี ได้ยินก็หัวเราะ พร้อมบอกกับผมว่า ไอ้หนุ่มดูข่าวมากเกินไปรึเปล่า ป้าอยู่ที่นี้ตั้งแต่เกิดจนตอนนี้ อายุ 77 ปีแล้ว ก็ใช้น้ำ กินข้าวที่ปลูกเอง เก็บผักที่ปลูกตามรั้วมากินโดยตลอด ส่วนปลา เขียด กบ ก็ให้คนไปจับมาตามบึง ตามท้องนา มาทำกินกันเป็นประจำ ถ้ามีสารโลหะหนักจริง ป้าคงอยู่ไม่ถึงอายุ 77 ปีหรอ แถมยังแข็งแรงทำสวนทำไร่เองด้วยนะพ่อหนุ่ม
จากการได้คุยกับคุณป้าและลูกชายที่มีอาชีพทำเกษตร ที่หันมาเปิดบ้านเป็นโฮมสเตย์ให้นักท่องเที่ยวไทย-ต่างชาติมาพัก ภายหลังจากที่พิจิตรเริ่มมีสถานที่เที่ยวใหม่ๆ เพิ่มขึ้น พอกินข้าวจนอิ่ม ผมก็ขอตัวไปตลาดกะไปตีสนิทกับแม่ค้า พ่อค้าในตลาด คลุกคลีกลับชาวบ้านที่ขายข้าวแกง และร่วมวงสภากาแฟยามสายๆ กับพวกน้าๆ ลุงๆ ระแวงไม่ไกลจากเหมืองฯ มากนัก ทุกคนชวนผมคุยเหมือนลูกเหมือนหลาน คนที่นี้มีน้ำใจและใจดีมากๆ ทำให้การสนทนาลื่นไหลไปเข้าประเด็นที่ผมสืบ นั้นก็คือ พืช ผัก น้ำ แถวนี้กินไม่ได้จริงหรือไม่ มีสารโลหะหนักเจือปนไหม แล้วทำไมในข่าวถึงบอกว่าชาวบ้านที่อาศัยอยู่ใกล้เหมืองแร่ทองคำชาตรีแห่มารับผักที่นำมาแจกฟรี
และแล้วผมก็ได้คำตอบที่เกินสิ่งที่คิดไว้ แต่ก็แอบคิดว่าก็จริงอย่างที่น้าๆ ลุงๆ ป้าๆ พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “ของฟรี” ใครจะไม่เอาละไม่หนุ่ม (ทำผมเงิบนิดนึง 5555) ส่วนพืชผักกินได้ทั้งนั้นแหละ ถ้ากินไม่ได้คงตายยกหมู่บ้านแล้ว ที่ขายในตลาดก็เอามาจากสวนของชาวบ้านทั้งนั้น ผมถามต่อว่า อ้าว!!! แล้วทำไมจึงเกิดกระแสข่าวว่าพืช ผัก น้ำ กินไม่ได้? สภากาแฟเลยเล่าให้ผมฟังยาว อย่างออกอัตรส จนทำให้ผมพบประเด็นที่น่าสนใจและน่านำมาคิดต่อเป็นอย่างมาก นั้นก็คือ “ปมการขายที่ดิน”
ผมตัดสินใจเดินหน้าเสาะหาข้อมูลมหากาพย์เรื่องราวของเหมืองทองกับชาวบ้านในพื้นที่ ที่มีหลายประเด็นที่ดู “คลุมเครือ” ไม่ชัดเจนและไม่มีใครกล้าที่จะออกมาฟันธงว่า “สารโลหะหนักเหล่านั้นมาจากไหน” ผมจึงขอทำตัวเป็นนัก (สืบ) ท่องเที่ยวต่ออีก 2 วัน 55555
เริ่มต้นวันที่ 3 ของการใช้ชีวิตนัก (สืบ) ท่องเที่ยว ณ ตำบลเขาเจ็ดลูก จ.พิจิตร ด้วยเสียงไก่ขัน ประสานกับเสียงนกร้องเจี้ยวแจ้ว ปลุกผมให้ตื่นขึ้นมาสูดอากาศสดชื่นบริสุทธ์ ผสมกลิ่นดินจากนาข้าว ที่ลอดเข้ามาพร้อมแสงอาทิตย์อ่อนๆ ยามเช้า ทำให้ผมหลงปล่อยอารมณ์ไปกับธรรมชาติรอบตัว อย่างที่ไม่ได้รับมานานแล้ว แต่ด้วยภาระหน้าที่นัก (สืบ) ท่องเที่ยวอันหนักหน่วง ทำให้ผมกลั้นใจลุกขึ้นอาบน้ำเย็นเจี๊ยบ แต่งตัวหล่อ พร้อมลุยมุ่งหน้าไปเหมืองฯ
ผมยืมมอเตอร์ไซค์ของลูกป้าเจ้าของโฮมสเตย์ที่แสนใจดี ขับไปยังเหมืองแร่ทองคำชาตรี ซึ่งใช้เวลาไม่ถึง 10 นาทีก็ถึงจุด “ขุมเหมืองรูปหัวใจ” ที่เคยเป็นบ่อเหมืองเก่า ตอนนี้กลายแลนด์มาร์คใหม่ของจังหวัดพิจิตรไปแล้ว (ตามคำบอกเล่าของน้าๆ ลุงๆ สภากาแฟ) โชคดีของผมที่มาถึงทันยามอาทิตย์ขึ้นพอดี ภาพที่เห็นช่างสวยงาม ทำผมตะลึงไปชั่วขณะหนึ่งเลยทีเดียว (เคยเห็นแต่ในโปสการ์ด) ผมนี้อดไม่ได้เลยที่จะ “แชะภาพ” กลับมาอวดเพื่อนๆ ให้ได้อิจฉาไปตามๆ กัน แต่ยังไง ภาพถ่ายไม่สามารถบรรยายความสวย ความมหัศจรรย์ กลิ่นอายธรรมชาติ ณ จุดที่ผมยืนเวลานั้น ผมบอกได้คำเดียวว่า “ฟิน”
หลังจากที่ชื่นชมความฟินอยู่ได้นานพอสมควร ท้องผมเริ่มร้องเสียงดังจนน่าอาย ผมขึ้นขี่มอเตอร์ไซค์เดินหน้าไปทางจ.เพชรบูรณ์ เพื่อหากาแฟ และขนมปังรองท้อง ก่อนจะเดินตามหา “ทุ่งดาวเรือง” ของลุงธงชัย ชาวบ้านที่ถือว่าอยู่ใกล้เหมืองมากที่สุด หรือเพียง 100 เมตร ตามลายแทงที่ลุงๆ ป้าๆ น้าๆ แนะนำ ซึ่งถือว่าโชคดีมากๆ ที่ได้เจอคุณลุงเจ้าของไร่ ลุงคุยสนุก ถือว่าเป็นคนที่เกิดในพื้นที่อย่างแท้จริง อยู่มานานตั้งแต่หนุ่ม จนตอนนี้มีลูกมีหลานก็ยังตั้งถิ่นฐานที่เดิม แต่ด้วยความช่างสังเกตุของผม (ชมตัวเองนิดนึง) ทำให้เกิดคำถามที่ว่า ทำไมดาวเรืองถึงสวยงาม ดอกใหญ่เพียงนี้ ทั้งๆ ที่อยู่ปลูกใกล้เหมืองแร่ทองคำ ลุงธงชัยเล่าว่า “ดิน น้ำ พืช ผัก ที่นี้ไม่มีสารโลหะหนักอย่างที่ข่าวออก แต่สารเหล่านี้มีอยู่ตามธรรมชาติ เช่น ในมันสัมปะหลัง กะปิ น้ำปลา บุหรี่ และอื่นๆ อีกมากมาย (ในใจผมคิดว่าลุงรู้ได้ไง) เลยถามลุงไปชัดๆ เลยว่าลุงรู้ได้ไงครับ (กลัวลุงจะดุเอาเหมือนกัน) แต่ลุงก็ยิ้มและบอกว่า ตอนแรกลุงก็ฟังข้อมูลมาจากนักวิชาการของรัฐบาลบ้าง จากทางเหมืองบ้าง แต่ก็ไม่ได้เชื่อเลยนะ ลุงให้ลูกเข้าอินเทอร์เน็ตแล้วหาข้อมูล ศึกษาเพิ่ม และสอบถามไปยังหมอที่เข้ามาตรวจสุขภาพว่า สารพวกนี้มีอยู่ที่ไหนบ้าง และลองมาสังเกตุดู จากการตรวจร่างกายและการงดอาหารจำพวกสัตว์ทะเล ก็ไปตรวจก็พบว่าค่าสารเหล่านั้นต่ำลงอย่างชัดเจน ตอนผมได้ยินคุณลุงอธิบายทำผมอายเลยทีเดียวว่า ลุงเก่งมาก ไม่ใช่แค่ฟังแล้วเชื่อ แต่ลุงหาข้อมูล และสังเกตุก่อนตัดสินใจ “เชื่อ”
ลุงธงชัยยังเล่าให้ฟังต่ออีกว่า ส่วนที่กลายเป็นเรื่องใหญ่โตลุกลาม เพราะความโลภของคนที่อยากขายที่ดินให้เหมืองในราคาที่สูง แต่เหมืองไม่ซื้อ เลยเล่นละคร สร้างเรื่องให้ดราม่า ยุยงคนในพื้นที่ให้เกิดความกลัว ตื่นตะหนก จนสร้างเรื่องประโคมข่าวให้ใหญ่โต ถ้าหนุ่มไม่เชื่อลองไปดูบ้านแกนนำที่ประท้วงซิ มีที่ดินที่พึ่งซื้อติดกับเหมืองหลายแห่งเลย ถ้ากลัวจริงจะคว้านซื้อทำไมเพิ่มอีกหลายแปลง ในไม่กี่ปีมานี้ หรือบางแปลงไม่ถึงปีด้วยซ่ำ ถามคนในพื้นที่ใครๆ ก็รู้กัน
หลังจากคุยกับคุณลุงธงชัยอยู่นาน ผมก็มุ่งหน้าไปทุ่งดอกกระเจียว และหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง จากนั้นก็กลับมานอนโฮมสเตย์ ใช้ชีวิตสโลว์ไลฟ์ อ่านหลังสือท่ามกลางกลิ่นอายธรรมชาติ พร้อมเครื่องดื่มเพิ่มความสดชื่นจนค่ำ
แล้วก็ถึงวันที่ผมต้องวางบท นัก (สืบ) ท่องเที่ยวลง ถึงคราวที่ผมต้องล่ำลาแล้วกลับกทม.ไปใช้ชีวิตเร่งรีบตามประสาคนกรุงเหมือนเดิม แต่ผมก็แอบสัญญากับตัวเองว่า หน้าหนาวนี้ผมจะแวะกลับมาเยือนเมืองนี้อีกครั้ง
และสุดท้ายสิ่งที่ผมได้มาจากการสวมบทนัก (สืบ) ท่องเที่ยวในครั้งนี้ทำให้ผมเปิดโลกทัศน์ พบชาวบ้านที่มีน้ำใจ และที่สำคัญที่สุด แม้ผมเองก็ ไม่กล้าฟันธงในเรื่อง “สารโลหะหนักในพื้นที่เหมืองทองพิจิตร หรือเหมืองแร่ทองคำชาตรี” แต่การไปครั้งนี้ทำให้ผมเปิดตามองโลกมี่กว้างขึ้น โดยยึดหลักที่ว่า “อย่าเชื่ออะไรง่ายๆ เปิดใจคุยกับหลายๆ คนในพื้นที่ อย่าตัดสินใครถ้าต้องหาข้อมูลไม่เพียงพอ เพราะคุณอาจกลายเป็นเครื่องมือของใคร โดยไม่รู้ตัว”
แล้วพบกันใหม่ เมืองพิจิตร เมืองที่ไม่คิดว่าจะได้มาเยือน
ปริศนาอาณาจักรเหมืองทองเมืองพิจิตร กับภารกิจค้นหาความจริงที่มีคำตอบแต่หาทางออกไม่เจอ
ล่าสุดผมได้มีโอกาสกลับไป “พิจิตร” อีกครั้ง แต่ไม่ได้กลับไปในฐานะนักท่องเที่ยวเพียงอย่างเดียวเหมือนที่ผ่านมา (มีแอบแวะไปเที่ยวตามประสาคนโสดบ้างไรบ้าง) การเดินทางครั้งนี้มีอีกจุดมุ่งหมายหนึ่งที่สำคัญยิ่ง นั้นก็คือการค้นหาความจริง หลังจากกระแสข่าวดราม่าที่ว่า “ชาวบ้านรอบเหมืองป่วย ได้รับสารโลหะหนักจากพืชผักที่ปลูกรอบเหมืองทอง” ในขณะที่ทางเหมืองแร่ทองคำชาตรีออกยืนยันนอนยันเสียงดังฟังชัดว่าเหมืองแร่ทองคำชาตรีดำเนินงานตามมาตรฐานสากลได้รับการยอมรับระดับโลก มั่นใจว่า “สารโลหะหนักเหล่านั้นไม่ได้ออกมาจากเหมืองอย่างแน่นอน” พร้อมให้ทุกหน่วยงานเข้าตรวจสอบในทุกกระบวนการอย่างเปิดเผย
และแล้วผมก็ได้คำตอบที่เกินสิ่งที่คิดไว้ แต่ก็แอบคิดว่าก็จริงอย่างที่น้าๆ ลุงๆ ป้าๆ พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “ของฟรี” ใครจะไม่เอาละไม่หนุ่ม (ทำผมเงิบนิดนึง 5555) ส่วนพืชผักกินได้ทั้งนั้นแหละ ถ้ากินไม่ได้คงตายยกหมู่บ้านแล้ว ที่ขายในตลาดก็เอามาจากสวนของชาวบ้านทั้งนั้น ผมถามต่อว่า อ้าว!!! แล้วทำไมจึงเกิดกระแสข่าวว่าพืช ผัก น้ำ กินไม่ได้? สภากาแฟเลยเล่าให้ผมฟังยาว อย่างออกอัตรส จนทำให้ผมพบประเด็นที่น่าสนใจและน่านำมาคิดต่อเป็นอย่างมาก นั้นก็คือ “ปมการขายที่ดิน”
และสุดท้ายสิ่งที่ผมได้มาจากการสวมบทนัก (สืบ) ท่องเที่ยวในครั้งนี้ทำให้ผมเปิดโลกทัศน์ พบชาวบ้านที่มีน้ำใจ และที่สำคัญที่สุด แม้ผมเองก็ ไม่กล้าฟันธงในเรื่อง “สารโลหะหนักในพื้นที่เหมืองทองพิจิตร หรือเหมืองแร่ทองคำชาตรี” แต่การไปครั้งนี้ทำให้ผมเปิดตามองโลกมี่กว้างขึ้น โดยยึดหลักที่ว่า “อย่าเชื่ออะไรง่ายๆ เปิดใจคุยกับหลายๆ คนในพื้นที่ อย่าตัดสินใครถ้าต้องหาข้อมูลไม่เพียงพอ เพราะคุณอาจกลายเป็นเครื่องมือของใคร โดยไม่รู้ตัว”