ใครพอลำดับเหตุการณ์วิกฤติปี40ตอนเราโดนโจมตีค่าเงินบาทแบบตาสีตาสาเข้าใจได้ได้มั่งมั้ยคะ

แบบว่าจอร์จ โซรอส กว้านซื้อเงินบาทไปยังไง ซื้อจากไหน เก็งกำไรยังไง แล้วเทขายยังไง ทำไมรัฐถึงกับต้องลอยตัวค่าเงินบาท

จขกทอ่านมาหลายบทความละ เข้าใจไม่สุดอ่ะ555 ยิ่งตาสีตาสานี่ยิ่งไม่ต้องพูดถึงไม่เข้าใจหรอก เราเดา555 ใครพอมีความรู้เรื่องนี้ช่วยกรุณาอธิบายให้เข้าใจง่ายๆเหมือนผู้ใหญ่เล่านิทานให้เด็กฟังก็ได้ค่ะ หรือแนะนำเป็นบทความก็ได้

ขอบคุณค่ะ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 19
เริ่มจากช่วงก่อนปี 40 เปิดเสรีทางการเงิน เศรษฐกิจบูม ดอกเบี้ยแพง สมัยนั้นเงินฝาก 10 กว่าเปอร์เซ็น แต่ดอกเบี้ยกู้ต่างประเทศดันถูกกว่า
ช่วงนั้น ทั้งธนาคาร ทั้งบริษัทใหญ่ๆ มากมาย ก็ไปกู้เงินต่างประเทศ มาใช้ในประเทศ ทั้งกู้มาเล่นหุ้น กู้มาซื้อที่ดิน กู้กันสนุกสนาน โดยคิดว่า ที่ค่าเงิน 25 บาทต่อ 1 usd และไม่มีการเปลี่ยนแปลง โดยตรึงอัตราแลกเปลี่ยน Fixed Exchange Rate จากธนาคารแห่งประเทศไทย

กล่าวย้อนถึงเหตุผลการตรึงอัตราแลกเปลี่ยน นั้นเนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยนที่คงที่มีข้อดี จะทำให้นักลงทุนต่างชาตินั้นไม่ต้องกังวลเรื่องการนำเงินมาลงทุนในประเทศ หรือนำออก ว่ามาแล้วจะขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนหรือไม่ สร้างความเชื่อมั่นและส่งเสริมการลงทุน

ประเด็นคือ วิธีการตรึงอัตราแลกเปลี่ยนนั้น มันบางสิ่งที่ต้องแลกมา ธรรมชาติของสินค้า ที่สินค้านั้นมีความต้องการมาก ในปริมาณเท่าเดิม ราคาก็จะสูงขึ้น สินค้าที่เป็นเงินก็เหมือนกัน ถ้าต้องการเงินบาทมากขึ้น เงินบาทก็จะแพงขึ้น(แข็งค่า) คือ ใช้เงิน usd มากขึ้นเพิ่มแลกกับเงินบาทเท่าเดิม หากต้องการให้ค่าเงินเท่าเดิมนั้น ก็ต้องเอาเงินบาทไปซื้อ USD เพิ่มขึ้น พอๆกันเพื่อให้มันทรงตัวอยู่ที่เดิม

สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นกลับกัน มีคนถล่มค่าเงินบาท โดยขายเงินบาท(ยืมเงินบาทมา short) เพื่อจะแลกเป็นเงิน USD จำนวนมาก ธนาคารแห่งประเทศไทยที่ต้องการตรึงอัตราแลกเปลี่ยนจึ่งต้องขาย USD เพื่อซื้อเงินบาทมาแทน แล้วเอา USD มาจากไหนล่ะ ก็ต้องไปเอามาจากกองทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศ เอามาจนหมด จนสู้ไม่ไหว จนต้องยอมแพ้ และปล่อยให้อัตราแลกเปลี่ยนนั้นลอยตัวในที่สุด

ผลจากการปล่อยลอยตัว ทำให้อัตราแลกเปลี่ยน จาก 25บาทต่อ 1 usd นั้นพุ่งไปที่ 50-60 บาท ต่อ 1 usd ทำให้ต้นทุนการกู้เงินของเหล่าธนาคาร และบริษัทใหญ่ นั้นเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว กู้ 10 ล้าน จ่ายคืน 20 ล้าน พอรายใหญ่พัง รายย่อยก็ซวยตาม

ธนาคารปิดตัวและยุบรวมกันมากมาย ส่วนหนึ่งรัฐบาลต้องอุ้มไว้ไม่ให้ล้ม ต้องไปกู้ IMF มาพยุงไว้
อสังหาริมทรัพย์ลดมูลค่าอย่างลดเร็ว ไม่มีเงินใช้หนี้ธนาคาร หนีเสียNPLบาน หนี้ที่ยังพอจ่ายได้ รัฐก็เอาหนี้พวกนี้มัดรวมกันขายทอดตลาดเป็น คดี ปรส.


บทเรียนของประเทศไทยนี้ นำมาสู้ความรู้ในเรื่องนโยบายเศรษฐกิจ 3 แบบที่เป็นไปไม่ได้ (ใครทำมีแต่พัง)
https://en.wikipedia.org/wiki/Impossible_trinity
คราวๆคือ 3 นโยบายที่ทำพร้อมกันไม่ได้ เลือกได้แค่ 2
1. ตรึงอัตราแลกเปลี่ยน
2. ตลาดการเงินเสรี
3. อิสระภาพในการกำหนดนโยบายการเงิน ของ แบงค์ชาติ

อย่างไทย ปัจจุบัน เลือกใช้ ตลาดการเงินเสรี และอิสรภาพนโยบายการเงิน โดยปล่อยอัตราแลกเปลี่ยนไหลไป
หรืออย่าง จีน เลือกที่จะ ตรึงอัตรแลกเปลี่ยน กับมีอิสระภาพ โดยกำหนดปริมาณเงินเข้าออกประเทศ
และประเทศในกลุ่ม ยูโรโซน ที่ให้เงินในประเทศคือเงินยูโร และตลาดการเงินเสรี แต่ประเทศเหล่านั้นไม่มีอำนาจในการกำหนดนโยบายการเงินเลย
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 7
ระหว่างที่เศรษฐกิจโลกกำลังเติบโต. เราได้เปิดเสรีทางการเงิน คือBIBF เงินต่างประเทศก็ไหลเข้ามามากมาย แค่สองล้านเหรียญ. บางบริษัทเล็กๆยังกู้จากต่างประเทศผ่านBiBFได้เลย. ดอกเบี้ยก็ถูกกว่าธนาคารในประเทศ. แต่การกู้นี้ก็ผ่านธนาคารในประเทศเป็นตัวกลางกิน%ด้วย.  พอเงินเข้ามามาก. แบ๊งชาติกลัวเงินเฟ้อก็ดึงดอกเบี้ยไว้ไม่อยากลง. ผลคือมีบางคนเล่นกู้เงินต่างประเทศมาฝากธนาคารไทยกินส่วนต่างดอกเบี้ยปีๆกำไรเป็นร้อยเป็นพันล้าน.  มีเงินเหลือมาปั่นหุ้นกันสนุกสนาน. เงินล้นระบบ. ธนาคารก็ไม่รัดกุมปล่อยกู้พวกพ้อง บริษัทในเครือกันมากมาย. ยังไม่รวมไฟแนนซ์ที่มีมากมายที่รับฝาก ปล่อยกู้เหมือนธนาคาร. เก็งกำไรกันทั้งหุ้น ทั้งที่ดิน.  ค่าเงินก็ถูกฟิคเอาไว้ตอนนั้นน่าจะ27฿ ไม่ลอยตัว พอขาดดุลการค้ามากๆเข้าจะลดค่าเงินก็ไม่ได้เพราะคนกู้เงินต่างประเทศมามากมาย. แม้นแต่ปูนซีเมนต์ไทย. และธนาคารใหญ่ทั้งหลายก็มีหนี้ดอลล่ากันมากมาย. ถ้าลดค่าเงินหนี้จะเพิ่มขึ้นตามค่าเงินที่ลดลงทันที. จะล้มละลายกันหมด. ฝรั่งอย่างโซรอส. และอีกหลายๆกลุ่มก็รู้ว่าด้วยเงินที่ไหลเข้ามามากมายถ้าเกิดความไม่เชื่อมั่นไหลออก. ค่าเงินบาทจะล่มสลายทันที. จึงรวมหัวกันมาเกร็งค่าเงินบาท.  แบ็งชาติไทยที่เคยมีเงินสำรองที่เข้มแข็ง. แต่พอเทียบกับเงินไหลเข้าและจะไหลออกตอนนั้นมันมากจนรับไม่ไหว. พอรู้ว่าไม่ไหว. แต่ก็กลัวธุรกิจไทยจะล้มละลาย กลัวฝรั่งเอาเปรียบได้ประโยชน์จากการเกร็งกำไรก็เลยสู้กับฝรั่ง. แรกๆก็สู้ได้เพราะคงยังดูหน้าตักไม่ออก.  แต่พอจุดนึงรับไม่ไหวเลยล้มทั้งระบบ.  เงินสำรองจริงของเราแทบไม่เหลือเลย.  ค่าเงินไหลรูดไปห้าสิบกว่าบาท.  ธนาคารเกือบทุกธนาคารแทบล้มละลายทันที.  แม้นแต่SCGก็แทบล้ม. มาร์เก็ตแคปร่วงมาเหลือ20000ล้าน. ถูกฝรั่งบีบให้เพิ่มทุนถูกๆ. แต่โชคดีที่ยี่ห้อปูนซีเมนต์ไทยสำหรับคนไทยคือของสูงส่ง. ออกหุ้นกู้ดอกเบี้ยสูงที่ฝั่งไม่กล้าซื้อแต่คนไทยแย่งกันซื้อหมด. จนรอดมาไม่ตกเป็นของฝรั่ง.  ส่วนธนาคารต่างๆก็อย่างที่เห็น. กลุ่มล่ำซำก็เป็นเจ้าของเหลือหุ้นแค่7% ถูกต่างชาติถือไปหมด. scb นี่ยิ่งหนักหนา บริหารแบบเอาใจพวกเจ้านายหนี้เสียจนรัฐต้องเข้าอุ้ม ออกวอแรนต์ Scb-c1พ่วงแถมฝรั่งที่มาเพิ่มทุนถึงรอดมาได้.  Bayก็ขายต่างชาติ. Tmbบริหารแบบทหารเปิดมาnplบาน เพิ่มทุนอีกไม่รู้กี่รอบถึงรอด(แต่ผู้ถือหุ้นไม่เหลืออะไร). bankอื่นเจ้งหมด เป็นภาระให้รัฐต้องรับผิดชอบ. มีBblที่เก่งจริงเพิ่มทุนในจังหวะที่ดีก่อนล้มเลยคนความเป็นเจ้าของคนไทยไว้ได้. ส่วนไฟแนนซ์ล้มหมดทั้ระบบ56แห่งรอดแค่2-3แห่ง.ที่บริหารเก่ง เพิ่มทุนได้ถูกเวลา เหลือมาแค่เกียรตินาคิน tisco ธนชาต. ไม่ไหวจะเล่าละ เขียนจนมึนไปหมด.  อ่านรู้เรื่องก็เก่งละ. เอาแค่นี้ละกัน
ความคิดเห็นที่ 1
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
ความคิดเห็นที่ 13
Soros ไม่ได้ทำแบบนี้กับประเทศไทย เป็นครั้งแรก ประเทศแรก
อังกฤษเคยถูกโจมตีค่าเงินปอนด์มาก่อน  บทเรียนที่อังกฤษได้รับ
ได้ทำให้อังกฤษปรับปรุงตัวเอง จนทุกวันนี้ไม่ต้องสนใจ กลุ่มสหภาพยุโรปได้เลย
ก็แล้วกัน

เมืองไทยตอนนั้น เกิดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างแรง
เงินที่กู้มาจากนอก ไม่ได้เอามาสร้างผลิตภาพแต่เอามาเก็งกำไร ทั้งในตลาดหุ้น ตลาดทุน
จนเกิดภาวะฟองสบู่อสังหาฯ   ปักป้ายขึ้นโครงการ ยังไม่ทันตอกเข็ม ก็จองกันหมด
ตอกเสาต้นแรก ราคาก็ขึ้น  สร้างเสร็จราคาก็ขึ้นอีก  ทำกันเป็นพันๆโครงการ

สุดท้ายมีแต่ Demand เทียม มีแต่ต้องการเก็งกำไร ไม่ได้ต้องการอยุ่อาศัยจริงๆ
(ตรงนี้เป็นที่มาของ ภาษีธุรกิจเฉพาะในภายหลังนั่นแหละ)

Soros เขาบอกว่า เขาเห็นจุดอ่อนนี้ และค่าเงินบาทของไทยไม่สะท้อนมูลค่าที่แท้จริง
การที่จะบอกให้ใครเชื่อก็คือ หาประโยชน์จากตรงนั้นให้ได้  ซึ่งมันจะมีน้ำหนักกว่าการอธิบายแค่คำพูดลอยๆ
และไม่ได้มีเขาคนเดียวที่รู้  ฉลามร้ายทางการเงินรายอื่นๆ ก็ได้กลิ่นเลือดที่ซึมออกจากบาดแผลนี้ของประเทศไทยทั้งนั้น


จึงมีการระดมทุนกันเข้าเก็งกำไรค่าเงินบาท หรือเกิดการเดิมพันค่าเงินกับธนาคารแห่งประเทศไทย
และธนาคารแห่งประเทศไทยใช้เงินทุนสำรองมาปกป้องค่าเงินจนหมดคลังและยอมพ่ายแพ้ในที่สุดด้วยการลอยตัวค่าเงิน
แล้วสะท้อนภาพที่เป็นจริง ที่ประเทศไทยเคยหลอกตัวเองกันอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน

บทเรียนที่ไทยได้รับ ก็ทำมีการปรับปรุงโครงสร้างธุรกิจการเงินการธนาคาร  ภาคอสังหาฯ การผลิต การส่งออก
ตลอดจนการเฝ้าระมัดระวังด้านการคลัง จนแข็งแกร่งอย่างในทุกวันนี้

Soros ก็คือเชื้อโรคร้ายนั่นแหละ  ถ้าติดเชื้อแล้วไม่ตายซะก่อน
จะเกิดภูมิต้านทาน แล้วก็แข็งแรงขึ้น

ทุกวันนี้ประเทศไทยยังกลัว Soros อยู่อีกไม๊ล่ะ
เพราะอะไร

นั่นแหละ คือสิ่งที่อธิบายได้ทั้งหมดเกี่ยวกับประเทศไทยกับSoros
ทั้งตอนนั้นและตอนนี้


ปล. Soros จบการศึกษาจาก LSE:London School of Econonics  
     ในเมืองไทย  ก็มีศิษย์รุ่นน้องอย่าง   พิชญ์ แห่ง JAS นั่นแหละ

      
สองคนนี้    เขาไม่ได้มาเล่น ๆ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่