ต้องยอมรับว่าผมเองไม่คุ้นชินกับการนอนด้วยเปลเท่าไรนัก ด้วยความรู้สึกอึดอัดและไม่ชิน จนเป็นประสบการณ์ครั้งแรกที่ไม่ดีเอาซะเลย
ผมยืมเปลน้องในกลุ่มที่เที่ยวด้วยกันมาทดสอบ Review เพราะคิดว่าเป็นเปลตัวนี้น่าจะตอบสนองความสบายในการนอนได้ดี และสามารถรักษาความหวาดกลัวในการนอนเปลของผมได้
Naturehike เป็นชื่อแบรนด์ที่ผลิตอุปกรณ์แคมป์ปิ้งมากมาย เรียกได้ว่าครบเกือบทุกอย่างของอุปกรณ์แคมป์ปิ้ง และสิ่งที่ผมอยากจะบอกกับทุกท่าน ๆ คือ จงลืมภาพของ “จีน” กิ๊กก๊อก ! ไปได้เลยครับ เพราะผมเชื่อว่าต่อไปนี้พี่จีนไม่ได้ copy and paste อีกต่อไป รวมทั้งเปลที่ผมกำลังจะทดสอบนี้ด้วย
จากข้อมูลผู้ผลิตได้ให้ข้อมูลไว้ว่า “เปลรุ่นนี้ถูกพัฒนาขั้นมาด้วยการผสมผสานระหว่างเต็นท์กับเปล เพื่อให้เกิดความสะดวกสบายในการนอน พร้อมยังสามารถกางได้ทุกที่ ไม่ว่าจะสภาพพื้นที่อากาศหนาว ฝนตก หรือมีแมลง” นี่คือคำกล่าวของผู้ผลิต แต่เชื่อว่าหลายคนเมื่อเห็นเปลรุ่นนี้อาจจะนึกถึงเปลอีกยี่ห้อหนึ่งจากแดนไกล
เปลของ Naturehike โมเดล DZ15D001-L ตัวนี้มีน้ำหนักรวมอุปกรณ์ทุกอย่าง 1,488 กรัม หรือประมาณ 1.5 กิโลกรัม ประกอบด้วย
- ตัวเปลขนาด 277 x 145 เซนติเมตร ผลิตด้วย nylon 40D
- Flysheet ขนาด 250 x 250 เซนติเมตร ผลิตด้วย nylon 20D เคลือบ silicone กันฝนได้ 4,000 มม. (ข้อมูลจาก : www.naturehike.com/)
- โครงเปลอลูมิเนียม
- สมอบกจำนวน 2 ตัว
- คาราไบเนอร์ 2 ตัว
- Support ropes (เชือกสำหรับผูกเปล)
ขนาดของเปลเมื่อเก็บในซองมีขนาด 42 cm x 17 cm เมื่อเทียบกับของ grand trunk รุ่น Skeeter Beeter Pro จะเห็นได้ชัดถึงขนาดที่แตกต่างกัน ซึ่งใครที่คิดว่าจะประหยัดพื้นที่โดยการใช้เปลแทนเต็นท์ ต้องบอกตามตรงครัวว่า เปลของ Naturehike ไม่ได้มีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับเต็นท์ในกลุ่ม ultralight (เต็นท์น้ำหนักเบาขนาดเล็ก)
เมื่อได้ทดสอบเปลตัวนี้ก็ได้พบข้อดีข้อด้อยของเปลอยู่หลายประการ ที่สำคัญคือ นอนไม่อึดอัดบริเวณหัวไหล่ เพราะบริเวณด้านหัวของเปลมีโครงอลูมิเนียมยึดเพื่อไม่ให้เปลเกิดอาการห่อบีบหัวไหลในขณะนอน ซึ่งแน่นอนว่าทำให้การนอนนั้นสบายขึ้นอย่างมาก
ภายในเปลด้านบนบริเวณมุ้งมีช่องสำหลับเก็บของชิ้นเล็ก ๆ เช่นโทรศัพท์ หรือของมีค่าอื่น ๆ และบริเวณด้านนอกก็ยังมีช่องสำหรับเก็บของอีกด้วย ซึ่งผมมองว่าตรงนี้เป็นเรื่องของลายละเอียดที่ Naturehike ตอบสนองการใช้งานได้เป็นอย่างดี
ในส่วนของมุ้งผมคิดว่าเนื้อผ้ามีความละเอียดไม่มากนัก ทำให้การระบายอากาศเข้าออกภายในเปลได้เป็นอย่างดีไม่ร้อนอบอ้าว ต่างจากของ grand trunk รุ่น Skeeter Beeter Pro ที่เนื้อผ้าแน่นตึบ
โดยสรุปในเรื่องของการใช้งานอุปกรณ์ทุกอย่างที่ให้มาถือว่าลงตัวครับ ทั้งในเรื่องของเซ็ตเปลที่ไม่ยุ่งยาก เชือกสำหรับผูกเปลไม่สั้นหรือยาวจนเกินไป และที่สำคัญมีความแข็งแรงมั่นใจในน้ำหนักที่จะรับได้
สำหรับข้อด้อยในเปลตัวนี้ อย่างแรกคือเรื่องคุณภาพของเนื้อผ้าในส่วนของตัวเปล ผมคิดว่าไม่แข็งแรงเท่าที่ควร ไม่ได้หมายความในเรื่องของการรับน้ำหนักนะครับ แต่เป็นเรื่องของการทนต่อสภาพการขีดข่วนหรือทิ่มแทง เพราะจากที่สังเกตผ้าเมื่อโดนทิ่มด้วยวัสดุที่ไม่ได้คม หรือมีปลายมนจะทำให้เนื้อผ้าแตกออก
นอกจากนี้ท่านใดที่ชอบนอนถอดเสื้อ บอกไว้ก่อนนะครับ ถึงแม้เปลจะมีมุ้งแต่ยุงสามารถเจาะทะลุผ่านเปลได้ ตื่นเช้ามาหลังลายไม่รู้ด้วย คริ คริ !
เอาเป็นว่า ! ด้วยราคาและอุปกรณ์ทุกอย่างที่ให้มา สำหรับผมถ้าคะแนนเต็ม 10 ผมให้ 7 คะแนนเลยครับ ส่วน 3 คะแนนที่หายไปเป็นเรื่องของความแข็งแรงของเนื้อผาตามที่ผมกล่าวไว้ข้างต้นครับ
ติดตาม Review อื่น ๆ ได้ที่
https://www.facebook.com/Camper2review/
ขอบคุณครับ
[CR] เปลสายป่า Naturehike Hammock
ผมยืมเปลน้องในกลุ่มที่เที่ยวด้วยกันมาทดสอบ Review เพราะคิดว่าเป็นเปลตัวนี้น่าจะตอบสนองความสบายในการนอนได้ดี และสามารถรักษาความหวาดกลัวในการนอนเปลของผมได้
Naturehike เป็นชื่อแบรนด์ที่ผลิตอุปกรณ์แคมป์ปิ้งมากมาย เรียกได้ว่าครบเกือบทุกอย่างของอุปกรณ์แคมป์ปิ้ง และสิ่งที่ผมอยากจะบอกกับทุกท่าน ๆ คือ จงลืมภาพของ “จีน” กิ๊กก๊อก ! ไปได้เลยครับ เพราะผมเชื่อว่าต่อไปนี้พี่จีนไม่ได้ copy and paste อีกต่อไป รวมทั้งเปลที่ผมกำลังจะทดสอบนี้ด้วย
จากข้อมูลผู้ผลิตได้ให้ข้อมูลไว้ว่า “เปลรุ่นนี้ถูกพัฒนาขั้นมาด้วยการผสมผสานระหว่างเต็นท์กับเปล เพื่อให้เกิดความสะดวกสบายในการนอน พร้อมยังสามารถกางได้ทุกที่ ไม่ว่าจะสภาพพื้นที่อากาศหนาว ฝนตก หรือมีแมลง” นี่คือคำกล่าวของผู้ผลิต แต่เชื่อว่าหลายคนเมื่อเห็นเปลรุ่นนี้อาจจะนึกถึงเปลอีกยี่ห้อหนึ่งจากแดนไกล
เปลของ Naturehike โมเดล DZ15D001-L ตัวนี้มีน้ำหนักรวมอุปกรณ์ทุกอย่าง 1,488 กรัม หรือประมาณ 1.5 กิโลกรัม ประกอบด้วย
- ตัวเปลขนาด 277 x 145 เซนติเมตร ผลิตด้วย nylon 40D
- Flysheet ขนาด 250 x 250 เซนติเมตร ผลิตด้วย nylon 20D เคลือบ silicone กันฝนได้ 4,000 มม. (ข้อมูลจาก : www.naturehike.com/)
- โครงเปลอลูมิเนียม
- สมอบกจำนวน 2 ตัว
- คาราไบเนอร์ 2 ตัว
- Support ropes (เชือกสำหรับผูกเปล)
ขนาดของเปลเมื่อเก็บในซองมีขนาด 42 cm x 17 cm เมื่อเทียบกับของ grand trunk รุ่น Skeeter Beeter Pro จะเห็นได้ชัดถึงขนาดที่แตกต่างกัน ซึ่งใครที่คิดว่าจะประหยัดพื้นที่โดยการใช้เปลแทนเต็นท์ ต้องบอกตามตรงครัวว่า เปลของ Naturehike ไม่ได้มีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับเต็นท์ในกลุ่ม ultralight (เต็นท์น้ำหนักเบาขนาดเล็ก)
เมื่อได้ทดสอบเปลตัวนี้ก็ได้พบข้อดีข้อด้อยของเปลอยู่หลายประการ ที่สำคัญคือ นอนไม่อึดอัดบริเวณหัวไหล่ เพราะบริเวณด้านหัวของเปลมีโครงอลูมิเนียมยึดเพื่อไม่ให้เปลเกิดอาการห่อบีบหัวไหลในขณะนอน ซึ่งแน่นอนว่าทำให้การนอนนั้นสบายขึ้นอย่างมาก
ภายในเปลด้านบนบริเวณมุ้งมีช่องสำหลับเก็บของชิ้นเล็ก ๆ เช่นโทรศัพท์ หรือของมีค่าอื่น ๆ และบริเวณด้านนอกก็ยังมีช่องสำหรับเก็บของอีกด้วย ซึ่งผมมองว่าตรงนี้เป็นเรื่องของลายละเอียดที่ Naturehike ตอบสนองการใช้งานได้เป็นอย่างดี
ในส่วนของมุ้งผมคิดว่าเนื้อผ้ามีความละเอียดไม่มากนัก ทำให้การระบายอากาศเข้าออกภายในเปลได้เป็นอย่างดีไม่ร้อนอบอ้าว ต่างจากของ grand trunk รุ่น Skeeter Beeter Pro ที่เนื้อผ้าแน่นตึบ
โดยสรุปในเรื่องของการใช้งานอุปกรณ์ทุกอย่างที่ให้มาถือว่าลงตัวครับ ทั้งในเรื่องของเซ็ตเปลที่ไม่ยุ่งยาก เชือกสำหรับผูกเปลไม่สั้นหรือยาวจนเกินไป และที่สำคัญมีความแข็งแรงมั่นใจในน้ำหนักที่จะรับได้
สำหรับข้อด้อยในเปลตัวนี้ อย่างแรกคือเรื่องคุณภาพของเนื้อผ้าในส่วนของตัวเปล ผมคิดว่าไม่แข็งแรงเท่าที่ควร ไม่ได้หมายความในเรื่องของการรับน้ำหนักนะครับ แต่เป็นเรื่องของการทนต่อสภาพการขีดข่วนหรือทิ่มแทง เพราะจากที่สังเกตผ้าเมื่อโดนทิ่มด้วยวัสดุที่ไม่ได้คม หรือมีปลายมนจะทำให้เนื้อผ้าแตกออก
นอกจากนี้ท่านใดที่ชอบนอนถอดเสื้อ บอกไว้ก่อนนะครับ ถึงแม้เปลจะมีมุ้งแต่ยุงสามารถเจาะทะลุผ่านเปลได้ ตื่นเช้ามาหลังลายไม่รู้ด้วย คริ คริ !
เอาเป็นว่า ! ด้วยราคาและอุปกรณ์ทุกอย่างที่ให้มา สำหรับผมถ้าคะแนนเต็ม 10 ผมให้ 7 คะแนนเลยครับ ส่วน 3 คะแนนที่หายไปเป็นเรื่องของความแข็งแรงของเนื้อผาตามที่ผมกล่าวไว้ข้างต้นครับ
ติดตาม Review อื่น ๆ ได้ที่ https://www.facebook.com/Camper2review/
ขอบคุณครับ