สงสัยกับพฤติกรรมของ "พระสงฆ์ท่านนึง หรือ ลักษณะนี้" บนโลกโซเชียล ????

- หยิบอะไรเกี่ยวกับสังคมมาโพสต์มาวิจารณ์ ใช้ภาษาแบบปุถุชน
- ละครดังก็แคปสีหน้าดารามาโพสต์ พูดถึง
(เข้าไปส่องดูท่านแคปหน้าตัวร้ายละครพิษสวาทตอนเบ้ปากมาลง
แล้วก็โพสต์นู่นโพสต์นี่ )



- ข่าวดาราเป็นประเด็นสังคมก็หยิบมาโพสต์ ด้วยภาษาชาวบ้าน
เจอคนมาตอบกลับเห็นต่างก็แคปหน้าจอมาต่อประเด็น
-  พิธีกรรายการทีวีพูดคุยกันเรื่องดาราเป็นประเด็น ก็หยิบยก
อ้างชื่อพิธีกรท่านนั้น ตอบผ่านโซเชียลฝากไปถึงพิธีกรท่านนั้น

- พอข่าวตัวเองโผล่ตามสื่อออนไลน์ต่าง ๆ 4-5 สื่อก็แชร์ขึ้นมา
ทุกอันกับเรื่องราวประเด็นตัวเองทีเป็นข่าว

- นอกจากการกล่าวอ้างเผยแพร่ธรรมะถึงผู้คน ยังแฝงการ PR
ชื่อเสียงตัวเองให้คนในสังคมรู้จัก พูดถึงตัวเอง

กิจของสงฆ์หรือไม่ หรือปรับเปลี่ยนกันเองว่ายุคสมัยนี้พระสามารถ
มาตามติดทุกเรื่องราว มีอะไรก็โพสต์ โพสต์ภาษาวาจาไม่ใช่แนวธรรมะ
คือสงสัยว่าเดี๋ยวนี้พระยุคใหม่บางท่าน ว่างจากการปฎิบัติธรรมกันหรือ
มีเวลามานั่งโพสต์ Facebook เกาะประเด็นสังคมวันละหลาย Status
แก้ไขข้อความเมื่อ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 5
ผมพอจะรู้ว่าหมายถึงพระท่านใด แต่ไม่รู้ว่าใช่พระรูปเดียวกันรึป่าวนะครับแต่ถ้าใช่แล้วไปอ่านบทความที่พระท่านเขียนด้วยใจเป็นกลาง

จะคิดเหมือนอย่างที่พระท่านนั้นเขียน อย่างเรื่องกรณีของพระบี้ที่อุ้มลูกสาว มันก้อเหมือนเรื่องเล่าที่ว่ามีพระช่วยหญิงสาวตกน้ำ แล้วโดนชาวบ้านติเตียน

ว่าเป็นพระแล้วไปอุ้มผู้หญิงได้อย่างไร พระท่านตอบชาวบ้านไปว่า อาตมาปล่อยหญิงสาวไปตั้งนานแล้ว แต่ทำไมท่านยังไม่ปล่อยหญิงสาวอีกล่ะ

พระที่สมควรถูกวิพากษ์วิจารณ์ยังมีอีกเยอะแยะ เช่น สะสมรถเก่า รับบริจาคแต่เงิน ข้าวของเครื่องใช้ไม่รับ พระเสพยาเสพติด พระหมกหมุ่นในกาม

ผมว่าพระพวกนี้ไม่สมควรจะบวชต่อด้วยซ้ำ สึกออกมาจะดีกว่า อยู่ไปก้อเป็นตัวทำลายศาสนามากกว่าพระที่ จขกท พูดถึงอีกนะครับ
ความคิดเห็นที่ 8
ผมไปอ่านๆดู พระไพรวัลย์ท่านมีเจตนาดี ที่จะให้ความรู้กับสังคมในแบบที่จับต้องได้ โดยนำสถานการณ์ที่เห็นหรือเป็นประเด็นอยู่ทั่วๆไป มาเป็นตัวอย่าง/ตัวกลาง ในการสื่อสาระหลัก ซึ่งผมค่อนข้างเห็นด้วยและอนุโมธนาด้วยครับ

เนื่องจากในวิธีการสอนที่ผ่านมาส่วนใหญ่นั้น มักจะยกเรื่องราวตัวอย่างที่โบราณ ผู้ถูกสอนไม่สามารถประยุกต์ให้เกิดประโยชน์กับการใช้ชีวิตปัจจุบันได้  เพราะเป็นตัวอย่างมิติเดียว ในสภาพสังคมและองค์ความรู้ในยุคพุทธกาล เช่น ตัวผมเอง จนป่านนี้ก็ไม่สามารถสรุปได้อย่างกระจ่าง สิ้นสงสัยในใจ ว่าการให้เงินขอทาน เป็นการกระทำที่ดีงามอย่างหมดจด(ต่อสังคม หรือกระทั่งต่อขอทานคนนั้น) จริงหรือไม่ , การปล่อยนกปล่อยปลาตามวัด จัดเป็นการส่งเสริมความเลวร้ายทรมานต่อสัตว์ ใช่หรือไม่ ฯลฯ

ตัวอย่างแบบมิติเดียวที่มีในพุทธกาล ไม่สามารถตอบคำถามเหล่านี้ได้เลย .. ทางออกที่ทำๆกันมา คือการไม่เสนอทางออก  โดยเลี่ยงว่าเป็นเรื่องทางโลกๆ พระศาสนาไม่ควรเข้าไปยุ่ง .. หรือไม่ก็เห็นพยายามตอบกันเท่าที่มีในตำราแบบมิติเดียว เช่น โฟกัสที่เจตนาช่วยชีวิต เจตนาที่ดีงาม ขณะที่ปล่อยเต่าปล่อยปลาลงบ่อ ถือบุญได้เกิดขึ้นแล้ว .. ทั้งๆที่มันก็มีองค์ความรู้ในยุคนี้อยู่แล้ว ว่าเต่าบางประเภทที่ปล่อยไป จะตายง่ายๆอยู่แถวบ่อนั่นแหละ ตายเร็วกว่าอยู่ในกะละมังคนขายเต่าเสียอีก  

ด้วยลักษณะเช่นนี้ ศาสนาจึงค่อยๆถอยห่างจากสังคม ห่างจากวิถีดำเนินชีวิตของคนส่วนใหญ่ไปเรื่อยๆครับ  .. และการมัวแต่ยกตัวอย่างเศรษฐีใจบุญสร้างศาลามโหฬารปูพื้นทอง ก็รังแต่จะทำให้สังคมหลงไปสร้างจานบินให้อลังการนั่นแหละครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่