Thu, 2016-09-29 10:24
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
แปล เรียบเรียง
เนื่องจากบางสื่อที่สนับสนุนรัฐบาล คสช. อย่างเครือเนชั่น ผู้จัดการ หรือสำนักข่าวไทย ได้เพียรพยายามมานานเป็นปี ๆ ในการทำให้มวลชนเข้าใจว่า ไทยหันมาสังกัดค่ายทางการเมืองและเศรษฐกิจของจีนกับรัสเซียแทนพันธมิตรดั้งเดิมอย่าง สหรัฐอเมริกา เราจึงน่าจะศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมหาอำนาจใหม่คู่นี้ ว่ามีความแนบแน่นลึกซึ้ง และสามารถคานอำนาจกับตะวันตกอย่างที่สื่อเหล่านั้นพยายามนำเสนอหรือไม่ อย่างไร อันน่าจะช่วยให้เราเข้าใจได้ว่ารัฐบาลไทย (รวมถึงประเทศเพื่อนบ้านในย่านอุษาคเนย์) แท้ที่จริงเลิกสนใจสหรัฐฯ เพราะได้พันธมิตรใหม่ที่รักใคร่กลมเกลียวกัน 2 ประเทศ หรือเป็นเพียงการสร้างภาพของรัฐบาลไทยเช่นเดียวกับบรรดาสื่อในสังกัดเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับรัฐบาลทหาร
บทความนี้แปลจากบทความชื่อ “สหรัฐฯควรกลัวความสัมพันธ์ระหว่างจีนและรัสเซียหรือไม่” (Should America Fear the China-Russia Relationship?) จากเว็บไซต์ The National Interest เขียนโดยไมเคิล คาร์ก ซึ่งเป็นรองศาสตราจารย์แห่งวิทยาลัยความมั่นคงแห่งชาติ ของมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย รวมไปถึง แอนโธนี ริกเกตต์ส ซึ่งเป็นนักศึกษาระดับปริญญาเอกของที่เดียวกัน
0000
จีนกับรัสเซียได้เพิ่มความสัมพันธ์ในด้านความมั่นคง เศรษฐกิจ และการทูต อันส่งผลให้เกิดความซับซ้อนสำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกซึ่งเปราะบางอยู่แล้ว นักวิเคราะห์หลายคนเห็นว่า การร่วมมือกันที่ถูกยกระดับเช่นนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการเป็นหุ้นส่วนในการมุ่งทำลายเสถียรภาพของระเบียบโลกที่นำโดยตะวันตก และได้ลดศักยภาพของสหรัฐฯ ในการมีอิทธิพลต่อผลลัพธ์เชิงยุทธศาสตร์ต่อภูมิภาคแห่งนี้ แต่ชุดแห่งการใช้เหตุผลดังกล่าวมุ่งไปที่องค์ประกอบที่เป็นรูปธรรมของความรักใคร่กันครั้งใหม่ของกรุงปักกิ่งและกรุงมอสโคว์โดยมองข้ามความโดดเด่นขององค์ประกอบเชิงประวัติศาสตร์และหลักการ ซึ่งสะท้อนความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศ
ในความเป็นจริง ภาวะแห่งการประจันหน้ากับตะวันตกอย่างเห็นได้ชัดเจนของค่ายจีน-รัสเซียนั้นได้รับการผลักดันโดยการโยงใยทางประวัติศาสตร์และอุดมการณ์ อันปรากฏจากการที่รัฐทั้ง 2 รับเอารูปแบบการปกครองอำนาจนิยมมาใช้ นักวิเคราะห์บางคนเห็นว่ารูปแบบการปกครองอันแข็งกระด้างเช่นนี้เป็นตัวแทนของความไม่ไว้วางใจระหว่างกันกับตะวันตกและความปรารถนาร่วมกันในการเขียนกฎใหม่แห่งการสร้างระเบียบโลก
ความตั้งใจของรัสเซียและจีนในการระดมหรือการข่มขู่การใช้กำลังทางทหารเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ของประเทศตนขึ้นเรื่อยๆ และยังท้าทายระเบียบความมั่นคงของภูมิภาคในปัจจุบัน ดูเหมือนจะเป็นตัวตอกย้ำการประเมินที่มองโลกในแง่ร้ายเช่นนั้น ไม่ว่าจะรัสเซียในยูเครนหรือจีนในทะเลจีนใต้ ได้แสดงให้เห็นถึงท่าทีทางการทหารในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางพรมแดนมาตั้งแต่ในอดีตของพวกตน ตามมุมมองหนึ่งเห็นว่า “รัสเซียและจีนบัดนี้กำลังแข่งขันกันในการติดอาวุธ รัฐบาลที่ต่อต้านประชาธิปไตยและต่อต้านสหรัฐฯ ในละตินอเมริกา และอาจจะร่วมมือกันในการช่วยนิการากัวสร้างคลองข้ามมหาสมุทร ซึ่งจะช่วยเป็นทางผ่านทางทะเลให้กับเรือรบของรัสเซียและจีน ทั้ง 2 ประเทศยังช่วยสนับสนุนศัตรูของสหรัฐฯ ในซีเรียและอิหร่าน”
การจับขั้วเพื่อผลประโยชน์
ถึงแม้ว่าจะมีความคล้ายคลึงเช่นนั้นระหว่างกรุงมอสโคว์และกรุงปักกิ่ง แต่ก็มีเหตุผลที่จะเชื่อได้ว่าสถานภาพปัจจุบันของความสัมพันธ์ระหว่างจีนและรัสเซียจะยังคงเป็น “การจับขั้วเพื่อผลประโยชน์” ภาพปรากฏเช่นนี้สะท้อนว่าในขณะที่ทั้งนายปูตินและนายสีพัฒนาความสัมพันธ์ที่แนบแน่นกว่าเดิม ซึ่งบัดนี้ยอมรับผลประโยชน์หลักของกันและกัน อย่างไรก็ตามมันล้มเหลวที่จะยกความสัมพันธ์ไปยังการเป็นหนึ่งในสถานะพันธมิตร
ในทางการทูต รัสเซียและจีนมักแสดงถึงผลประโยชน์ร่วมกันผ่านการใช้สิทธิยับยั้ง (veto) ในคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ ในทศวรรษที่ผ่านมา จีนได้ใช้สิทธิยับยั้งถึง 6 ครั้ง แต่ละครั้งจะควบคู่ไปกับรัสเซียซึ่งใช้สิทธิยับยั้งถึง 11 ครั้ง ในเวลาเดียวกัน เมื่อไม่นานมานี้ การจับคู่กันมีภาพสะท้อนจากการที่ทั้งกรุงมอสโคว์และกรุงปักกิ่งทำการยับยั้งถึง 4 มติต่อกรณีซีเรีย นับตั้งแต่ปี 2012 การใช้สิทธิยับยั้งมากจนเกินไปนี้ได้รับการเข้าใจว่าเป็นทั้งการท้าทายการเป็นผู้นำของตะวันตก และเครื่องมือในการชะลอการแทรกแซงทางทหารของสหรัฐฯ ในตะวันออกกลาง
แต่อย่างที่ เดเนียล บรูมเบิร์ก และสตีเวน เฮเดมัน ได้แย้งไว้ว่า นี่เป็นการจับคู่กันที่นำไปสู่ผลทางลบจากการต่อต้านระเบียบสากลของประชาธิปไตย การรวมกันเป็นกลุ่มก้อนของประเทศต่างๆ และสิทธิมนุษยชน ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยตะวันตกและองค์กรระหว่างประเทศอย่างเช่นสหประชาชาติและศาลอาญาระหว่างประเทศ เหตุการณ์นี้ในที่สุดแล้วได้นำไปสู่การทูตซึ่งได้ปกป้อง “สิทธิประโยชน์เดิม ๆ หรือรูปแบบดั้งเดิมของความเป็นอิสระของรัฐซึ่งอยู่ตรงกันข้ามกับข้อตกลงระหว่างประเทศ” ดังเช่นหลักการในการปกป้อง (Responsibility to Protect หรือ R2P) เหตุการณ์นี้สะท้อนจากตัวอย่างเช่นข้อเรียกร้องอย่างต่อเนื่องของกรุงปักกิ่งต่อการปฏิบัติตามหลักการ “การไม่แทรกแซง”ตลอดช่วงวิกฤตซีเรีย
ในด้านเศรษฐกิจ จีนและรัสเซียต่างร่วมมือกันในการพัฒนาและการดำรงไว้ซึ่งสถาบันทางพาณิชย์ ดังเช่น ธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย และธนาคารเพื่อการพัฒนาใหม่ของกลุ่มประเทศ BRICS (ประกอบด้วยประเทศเศรษฐกิจโตไวอย่าง เช่น บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้ –ผู้แปล) นอกจากนี้ รัฐทั้ง 2 ยังสร้างฉันทามติต่อ “แผนพัฒนาเส้นทางสายไหม” ของจีน และ “สหภาพเศรษฐกิจยูเรเซีย” ของรัสเซีย โดยเจตจำนงในการร่วมมือกันระหว่าง 2 โครงการ เพื่อที่จะสร้าง “พื้นที่ทางเศรษฐกิจร่วมกัน”ได้บังเกิดขึ้น
ดังนั้น การพัฒนาเศรษฐกิจร่วมกันเป็นองค์ประกอบสำคัญสุดของ “การจับขั้วเพื่อผลประโยชน์” ดังจีนและรัสเซีย ในปี 2011 จีนกลายเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของรัสเซีย และแค่ เวลา 12 เดือนที่ผ่านมา การลงทุนของจีนในรัสเซียได้เพิ่มสูงขึ้นประมาณร้อยละ 80 อันนำมูลค่าการค้าระหว่าง 2 ประเทศไปถึง 100,000,000,000 เหรียญฯ ธุรกิจอันโดดเด่นที่สุดได้แก่ การเชื่อมโยงท่อน้ำมันและก๊าซจากเขตชายาดินสโกเยไปยังจีน และในบริบทเช่นนี้ มันเป็นไปได้ที่ว่าจีนกำลัง “ชิ่ง” ทางขนส่งเพื่อที่จะบรรเทาการถูกประเทศอื่นสกัดกั้นบนน่านน้ำทะเลจีนใต้ในอนาคต
จีนและรัสเซียยังเพิ่มความร่วมมือกันในด้านความมั่นคง ซึ่งเป็นสิ่งที่หยุดนิ่งมา 40 ปี นี่ยังรวมไปถึงโครงการของจีนในการจัดซื้อยุทโธปกรณ์ของรัสเซียจำนวนมหาศาล ด้วยการซื้อเครื่องบินซูโคย จำนวน 21 ลำ เป็นตัวอย่างที่โดดเด่นที่สุด การเป็นหุ้นส่วนเช่นนี้ยังขยายไปสู่การฝึกและการซ้อมรบทางทหาร ซึ่งกระทำกันในทะเลญี่ปุ่นอันประกอบด้วย เรือรบ 22 ลำ เครื่องบิน 20 ลำ พาหนะหุ้มเกราะ 40 คัน และเรือดำน้ำ 500 ลำ
โอกาสน้อยนิดในการเป็นพันธมิตรอย่างเป็นทางการ
ด้วยการพิจารณาถึงปัจจัยดังต่อไปนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างกรุงปักกิ่งและกรุง มอสโคว์ได้พบกับการท้าทายซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการเป็นพันธมิตรอย่างเป็นทางการ ปัจจัยที่สำคัญที่สุด คือ การเฝ้ามองมานานของรัสเซียว่าจีนยังเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของตน ในขณะที่มุมมองเช่นนี้เกิดจากความไม่ไว้วางใจกันมาตั้งแต่อดีต บูรณภาพทางดินแดนของรัสเซียยังถูกจับตามองด้วยความกังวล เนื่องมาจากการอพยพเข้ามาของชาวจีน ซ้ำเติมด้วยพรมแดนร่วมกันอันยาวเหยียดของทั้ง 2 ประเทศ
ในทางกลับกัน นักวิเคราะห์จำนวนมากได้ชี้ให้เห็นถึงความเข้าใจอย่างคงเส้นคงวาของจีนต่อรัสเซียว่าเป็นคู่ทางธุรกิจที่ไร้ประสิทธิภาพ ในประเด็นนี้ จีนมองว่ากฎหมายเกี่ยวกับธุรกิจของรัสเซียไม่ได้เอื้อต่อผลประโยชน์ของจีนเลย อันส่งผลให้การร่วมมือทางเศรษฐกิจของทั้ง 2 ประเทศจำนวนมหาศาลไม่ได้เกิดขึ้นมากนัก ดังที่ บอบ่อ โหล ได้กล่าวไว้ “จีนถือว่ารัสเซียเป็นคู่ทางธุรกิจที่ยากจะติดต่อด้วย ขั้นแรกชาวจีนมักบ่นว่าความสัมพันธ์ทางการค้ากลายเป็นตัวประกันของโอกาสด้านภูมิรัฐศาสตร์ (หมายความว่ารัสเซียใช้ข้อได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ในการกดดันจีนต่อเรื่องการค้าขาย- ผู้แปล) มันดูเหมือนว่ามีวัตถุประสงค์ซ่อนเร้นอยู่เสมอ” แท้ที่จริงแล้ว กฎหมายดังกล่าวของรัสเซียดูเหมือนจะมาจากลัทธิต่อต้านชาวต่างชาติอย่างสูงภายในสหพันธรัฐรัสเซียเอง และความต้องการตอบรับกับกระแสความไม่พอใจต่อการอพยพของคนเชื้อสายจีน
ภาพปรากฏดังกล่าวขยายตัวไปยังขอบเขตของความสัมพันธ์กับตะวันตก ในประเด็นนี้ รัสเซียยังคงมุ่งสงสัยเกมในระยะยาวของจีนและความจริงที่ว่าจีนมองตะวันตกว่าเป็นศัตรูอย่างจริงๆ จังๆ เหมือนกับที่รัสเซียมองหรือไม่ หรือว่าเป็นหุ้นส่วนสำคัญต่อความสำเร็จของตน มุมมองในเชิงผ่อนปรนของจีนต่อตะวันตกจะเป็นอุปสรรคไม่ให้จีนเข้าไปใกล้ชิดกับรัสเซียมากจนเกินไป และมันก็จะขัดขวางศักยภาพของจีนในการกลายเป็นผู้นำโลกเท่าเทียมกับสหรัฐฯ
เช่นเดียวกัน ในขณะที่รัสเซียส่งเสริมความสัมพันธ์กับจีน ก็ยังคงมีคำถามเกี่ยวกับนโยบายเอเชียในขอบเขตที่กว้างกว่าเดิมของปูติน ปูตินไม่เคยเข้าร่วมการประชุมสุดยอดของภูมิภาคเอเชียเหนือ และได้ให้ความสำคัญต่อความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับยุโรปมากกว่าเอเชียในช่วงก่อนหน้าที่จะมีการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจของยุโรป ความคลุมเครือดังกล่าวได้นำไปสู่ความเป็นไปที่ว่า ประธานาธิบดีรัสเซียในอนาคตอาจจะดำเนินนโยบายในการฟื้นฟูความสัมพันธ์กับตะวันตกซึ่งจะทำให้ขั้วระหว่างรัสเซียกับจีนเป็นเรื่องล้าสมัยไป
เป็นเรื่องจริงที่ว่าอุตสาหกรรมน้ำมันอันแสนวุ่นวายของรัสเซียต้องการให้รัสเซียหันมาร่วมมือกับตะวันตก ขณะที่อุตสาหกรรมน้ำมันของรัสเซียนั้นได้ผลิตน้ำมันถึง 10.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน และได้รับการพยากรณ์ว่าจะขึ้นสู่ระดับสูงสุดในอีก 20 ปีข้างหน้า ความต้องการของชาวโลกซึ่งเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ต่ออนาคตสีเขียวและศักยภาพของจีนในการหันมาพึ่งก๊าซธรรมชาติที่ถูกกักไว้ในชั้นหินใต้ดิน (shale gas) เช่นเดียวกับมูลค่าของน้ำมันซึ่งย่ำแย่ตลอด ในที่สุดแล้วอาจหมายความว่ารัสเซียจะต้องมุ่งหน้าสู่ตะวันตกเพื่อความอยู่รอดทางเศรษฐกิจ
เมื่อมองผ่านแว่นดังกล่าว จีนและรัสเซียมีส่วนสัมพันธ์กันเพียงน้อยนิดในวิสัยทัศน์ของโลกอนาคต ความสัมพันธ์ของพวกเขาขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของแต่ละฝ่ายเสียมากกว่า และด้วยเหตุนี้ สหรัฐฯ ควรสนับสนุนการพูดคุยเจรจากับรัสเซียและจีน สหรัฐฯ ต้องการความร่วมมือจากทั้ง 2 ประเทศในประเด็นเกี่ยวกับโลกที่สำคัญที่สุด ความสำเร็จของแผนการระหว่างประเทศ อย่างการจำกัดการเผยแพร่อาวุธนิวเคลียร์ การตกของเครื่องบินเอ็ม เอ็ช 17 และวิกฤตการณ์ซึ่งดำเนินไปเรื่อยๆ ในตะวันออกกลาง ทำให้สหรัฐฯ ต้องการการเป็นหุ้นส่วนกับจีนและรัสเซีย การแตกแยกทางการเมืองโลกใด ๆ จะทำให้ไม่อาจแก้ปัญหาสำคัญได้สำเร็จนัก
รอบทส่งท้ายครับ
บทความแปล: มองการเมืองไทยผ่านความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับรัสเซีย
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
แปล เรียบเรียง
เนื่องจากบางสื่อที่สนับสนุนรัฐบาล คสช. อย่างเครือเนชั่น ผู้จัดการ หรือสำนักข่าวไทย ได้เพียรพยายามมานานเป็นปี ๆ ในการทำให้มวลชนเข้าใจว่า ไทยหันมาสังกัดค่ายทางการเมืองและเศรษฐกิจของจีนกับรัสเซียแทนพันธมิตรดั้งเดิมอย่าง สหรัฐอเมริกา เราจึงน่าจะศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมหาอำนาจใหม่คู่นี้ ว่ามีความแนบแน่นลึกซึ้ง และสามารถคานอำนาจกับตะวันตกอย่างที่สื่อเหล่านั้นพยายามนำเสนอหรือไม่ อย่างไร อันน่าจะช่วยให้เราเข้าใจได้ว่ารัฐบาลไทย (รวมถึงประเทศเพื่อนบ้านในย่านอุษาคเนย์) แท้ที่จริงเลิกสนใจสหรัฐฯ เพราะได้พันธมิตรใหม่ที่รักใคร่กลมเกลียวกัน 2 ประเทศ หรือเป็นเพียงการสร้างภาพของรัฐบาลไทยเช่นเดียวกับบรรดาสื่อในสังกัดเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับรัฐบาลทหาร
บทความนี้แปลจากบทความชื่อ “สหรัฐฯควรกลัวความสัมพันธ์ระหว่างจีนและรัสเซียหรือไม่” (Should America Fear the China-Russia Relationship?) จากเว็บไซต์ The National Interest เขียนโดยไมเคิล คาร์ก ซึ่งเป็นรองศาสตราจารย์แห่งวิทยาลัยความมั่นคงแห่งชาติ ของมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย รวมไปถึง แอนโธนี ริกเกตต์ส ซึ่งเป็นนักศึกษาระดับปริญญาเอกของที่เดียวกัน
0000
จีนกับรัสเซียได้เพิ่มความสัมพันธ์ในด้านความมั่นคง เศรษฐกิจ และการทูต อันส่งผลให้เกิดความซับซ้อนสำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกซึ่งเปราะบางอยู่แล้ว นักวิเคราะห์หลายคนเห็นว่า การร่วมมือกันที่ถูกยกระดับเช่นนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการเป็นหุ้นส่วนในการมุ่งทำลายเสถียรภาพของระเบียบโลกที่นำโดยตะวันตก และได้ลดศักยภาพของสหรัฐฯ ในการมีอิทธิพลต่อผลลัพธ์เชิงยุทธศาสตร์ต่อภูมิภาคแห่งนี้ แต่ชุดแห่งการใช้เหตุผลดังกล่าวมุ่งไปที่องค์ประกอบที่เป็นรูปธรรมของความรักใคร่กันครั้งใหม่ของกรุงปักกิ่งและกรุงมอสโคว์โดยมองข้ามความโดดเด่นขององค์ประกอบเชิงประวัติศาสตร์และหลักการ ซึ่งสะท้อนความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศ
ในความเป็นจริง ภาวะแห่งการประจันหน้ากับตะวันตกอย่างเห็นได้ชัดเจนของค่ายจีน-รัสเซียนั้นได้รับการผลักดันโดยการโยงใยทางประวัติศาสตร์และอุดมการณ์ อันปรากฏจากการที่รัฐทั้ง 2 รับเอารูปแบบการปกครองอำนาจนิยมมาใช้ นักวิเคราะห์บางคนเห็นว่ารูปแบบการปกครองอันแข็งกระด้างเช่นนี้เป็นตัวแทนของความไม่ไว้วางใจระหว่างกันกับตะวันตกและความปรารถนาร่วมกันในการเขียนกฎใหม่แห่งการสร้างระเบียบโลก
ความตั้งใจของรัสเซียและจีนในการระดมหรือการข่มขู่การใช้กำลังทางทหารเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ของประเทศตนขึ้นเรื่อยๆ และยังท้าทายระเบียบความมั่นคงของภูมิภาคในปัจจุบัน ดูเหมือนจะเป็นตัวตอกย้ำการประเมินที่มองโลกในแง่ร้ายเช่นนั้น ไม่ว่าจะรัสเซียในยูเครนหรือจีนในทะเลจีนใต้ ได้แสดงให้เห็นถึงท่าทีทางการทหารในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางพรมแดนมาตั้งแต่ในอดีตของพวกตน ตามมุมมองหนึ่งเห็นว่า “รัสเซียและจีนบัดนี้กำลังแข่งขันกันในการติดอาวุธ รัฐบาลที่ต่อต้านประชาธิปไตยและต่อต้านสหรัฐฯ ในละตินอเมริกา และอาจจะร่วมมือกันในการช่วยนิการากัวสร้างคลองข้ามมหาสมุทร ซึ่งจะช่วยเป็นทางผ่านทางทะเลให้กับเรือรบของรัสเซียและจีน ทั้ง 2 ประเทศยังช่วยสนับสนุนศัตรูของสหรัฐฯ ในซีเรียและอิหร่าน”
การจับขั้วเพื่อผลประโยชน์
ถึงแม้ว่าจะมีความคล้ายคลึงเช่นนั้นระหว่างกรุงมอสโคว์และกรุงปักกิ่ง แต่ก็มีเหตุผลที่จะเชื่อได้ว่าสถานภาพปัจจุบันของความสัมพันธ์ระหว่างจีนและรัสเซียจะยังคงเป็น “การจับขั้วเพื่อผลประโยชน์” ภาพปรากฏเช่นนี้สะท้อนว่าในขณะที่ทั้งนายปูตินและนายสีพัฒนาความสัมพันธ์ที่แนบแน่นกว่าเดิม ซึ่งบัดนี้ยอมรับผลประโยชน์หลักของกันและกัน อย่างไรก็ตามมันล้มเหลวที่จะยกความสัมพันธ์ไปยังการเป็นหนึ่งในสถานะพันธมิตร
ในทางการทูต รัสเซียและจีนมักแสดงถึงผลประโยชน์ร่วมกันผ่านการใช้สิทธิยับยั้ง (veto) ในคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ ในทศวรรษที่ผ่านมา จีนได้ใช้สิทธิยับยั้งถึง 6 ครั้ง แต่ละครั้งจะควบคู่ไปกับรัสเซียซึ่งใช้สิทธิยับยั้งถึง 11 ครั้ง ในเวลาเดียวกัน เมื่อไม่นานมานี้ การจับคู่กันมีภาพสะท้อนจากการที่ทั้งกรุงมอสโคว์และกรุงปักกิ่งทำการยับยั้งถึง 4 มติต่อกรณีซีเรีย นับตั้งแต่ปี 2012 การใช้สิทธิยับยั้งมากจนเกินไปนี้ได้รับการเข้าใจว่าเป็นทั้งการท้าทายการเป็นผู้นำของตะวันตก และเครื่องมือในการชะลอการแทรกแซงทางทหารของสหรัฐฯ ในตะวันออกกลาง
แต่อย่างที่ เดเนียล บรูมเบิร์ก และสตีเวน เฮเดมัน ได้แย้งไว้ว่า นี่เป็นการจับคู่กันที่นำไปสู่ผลทางลบจากการต่อต้านระเบียบสากลของประชาธิปไตย การรวมกันเป็นกลุ่มก้อนของประเทศต่างๆ และสิทธิมนุษยชน ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยตะวันตกและองค์กรระหว่างประเทศอย่างเช่นสหประชาชาติและศาลอาญาระหว่างประเทศ เหตุการณ์นี้ในที่สุดแล้วได้นำไปสู่การทูตซึ่งได้ปกป้อง “สิทธิประโยชน์เดิม ๆ หรือรูปแบบดั้งเดิมของความเป็นอิสระของรัฐซึ่งอยู่ตรงกันข้ามกับข้อตกลงระหว่างประเทศ” ดังเช่นหลักการในการปกป้อง (Responsibility to Protect หรือ R2P) เหตุการณ์นี้สะท้อนจากตัวอย่างเช่นข้อเรียกร้องอย่างต่อเนื่องของกรุงปักกิ่งต่อการปฏิบัติตามหลักการ “การไม่แทรกแซง”ตลอดช่วงวิกฤตซีเรีย
ในด้านเศรษฐกิจ จีนและรัสเซียต่างร่วมมือกันในการพัฒนาและการดำรงไว้ซึ่งสถาบันทางพาณิชย์ ดังเช่น ธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย และธนาคารเพื่อการพัฒนาใหม่ของกลุ่มประเทศ BRICS (ประกอบด้วยประเทศเศรษฐกิจโตไวอย่าง เช่น บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้ –ผู้แปล) นอกจากนี้ รัฐทั้ง 2 ยังสร้างฉันทามติต่อ “แผนพัฒนาเส้นทางสายไหม” ของจีน และ “สหภาพเศรษฐกิจยูเรเซีย” ของรัสเซีย โดยเจตจำนงในการร่วมมือกันระหว่าง 2 โครงการ เพื่อที่จะสร้าง “พื้นที่ทางเศรษฐกิจร่วมกัน”ได้บังเกิดขึ้น
ดังนั้น การพัฒนาเศรษฐกิจร่วมกันเป็นองค์ประกอบสำคัญสุดของ “การจับขั้วเพื่อผลประโยชน์” ดังจีนและรัสเซีย ในปี 2011 จีนกลายเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของรัสเซีย และแค่ เวลา 12 เดือนที่ผ่านมา การลงทุนของจีนในรัสเซียได้เพิ่มสูงขึ้นประมาณร้อยละ 80 อันนำมูลค่าการค้าระหว่าง 2 ประเทศไปถึง 100,000,000,000 เหรียญฯ ธุรกิจอันโดดเด่นที่สุดได้แก่ การเชื่อมโยงท่อน้ำมันและก๊าซจากเขตชายาดินสโกเยไปยังจีน และในบริบทเช่นนี้ มันเป็นไปได้ที่ว่าจีนกำลัง “ชิ่ง” ทางขนส่งเพื่อที่จะบรรเทาการถูกประเทศอื่นสกัดกั้นบนน่านน้ำทะเลจีนใต้ในอนาคต
จีนและรัสเซียยังเพิ่มความร่วมมือกันในด้านความมั่นคง ซึ่งเป็นสิ่งที่หยุดนิ่งมา 40 ปี นี่ยังรวมไปถึงโครงการของจีนในการจัดซื้อยุทโธปกรณ์ของรัสเซียจำนวนมหาศาล ด้วยการซื้อเครื่องบินซูโคย จำนวน 21 ลำ เป็นตัวอย่างที่โดดเด่นที่สุด การเป็นหุ้นส่วนเช่นนี้ยังขยายไปสู่การฝึกและการซ้อมรบทางทหาร ซึ่งกระทำกันในทะเลญี่ปุ่นอันประกอบด้วย เรือรบ 22 ลำ เครื่องบิน 20 ลำ พาหนะหุ้มเกราะ 40 คัน และเรือดำน้ำ 500 ลำ
โอกาสน้อยนิดในการเป็นพันธมิตรอย่างเป็นทางการ
ด้วยการพิจารณาถึงปัจจัยดังต่อไปนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างกรุงปักกิ่งและกรุง มอสโคว์ได้พบกับการท้าทายซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการเป็นพันธมิตรอย่างเป็นทางการ ปัจจัยที่สำคัญที่สุด คือ การเฝ้ามองมานานของรัสเซียว่าจีนยังเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของตน ในขณะที่มุมมองเช่นนี้เกิดจากความไม่ไว้วางใจกันมาตั้งแต่อดีต บูรณภาพทางดินแดนของรัสเซียยังถูกจับตามองด้วยความกังวล เนื่องมาจากการอพยพเข้ามาของชาวจีน ซ้ำเติมด้วยพรมแดนร่วมกันอันยาวเหยียดของทั้ง 2 ประเทศ
ในทางกลับกัน นักวิเคราะห์จำนวนมากได้ชี้ให้เห็นถึงความเข้าใจอย่างคงเส้นคงวาของจีนต่อรัสเซียว่าเป็นคู่ทางธุรกิจที่ไร้ประสิทธิภาพ ในประเด็นนี้ จีนมองว่ากฎหมายเกี่ยวกับธุรกิจของรัสเซียไม่ได้เอื้อต่อผลประโยชน์ของจีนเลย อันส่งผลให้การร่วมมือทางเศรษฐกิจของทั้ง 2 ประเทศจำนวนมหาศาลไม่ได้เกิดขึ้นมากนัก ดังที่ บอบ่อ โหล ได้กล่าวไว้ “จีนถือว่ารัสเซียเป็นคู่ทางธุรกิจที่ยากจะติดต่อด้วย ขั้นแรกชาวจีนมักบ่นว่าความสัมพันธ์ทางการค้ากลายเป็นตัวประกันของโอกาสด้านภูมิรัฐศาสตร์ (หมายความว่ารัสเซียใช้ข้อได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ในการกดดันจีนต่อเรื่องการค้าขาย- ผู้แปล) มันดูเหมือนว่ามีวัตถุประสงค์ซ่อนเร้นอยู่เสมอ” แท้ที่จริงแล้ว กฎหมายดังกล่าวของรัสเซียดูเหมือนจะมาจากลัทธิต่อต้านชาวต่างชาติอย่างสูงภายในสหพันธรัฐรัสเซียเอง และความต้องการตอบรับกับกระแสความไม่พอใจต่อการอพยพของคนเชื้อสายจีน
ภาพปรากฏดังกล่าวขยายตัวไปยังขอบเขตของความสัมพันธ์กับตะวันตก ในประเด็นนี้ รัสเซียยังคงมุ่งสงสัยเกมในระยะยาวของจีนและความจริงที่ว่าจีนมองตะวันตกว่าเป็นศัตรูอย่างจริงๆ จังๆ เหมือนกับที่รัสเซียมองหรือไม่ หรือว่าเป็นหุ้นส่วนสำคัญต่อความสำเร็จของตน มุมมองในเชิงผ่อนปรนของจีนต่อตะวันตกจะเป็นอุปสรรคไม่ให้จีนเข้าไปใกล้ชิดกับรัสเซียมากจนเกินไป และมันก็จะขัดขวางศักยภาพของจีนในการกลายเป็นผู้นำโลกเท่าเทียมกับสหรัฐฯ
เช่นเดียวกัน ในขณะที่รัสเซียส่งเสริมความสัมพันธ์กับจีน ก็ยังคงมีคำถามเกี่ยวกับนโยบายเอเชียในขอบเขตที่กว้างกว่าเดิมของปูติน ปูตินไม่เคยเข้าร่วมการประชุมสุดยอดของภูมิภาคเอเชียเหนือ และได้ให้ความสำคัญต่อความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับยุโรปมากกว่าเอเชียในช่วงก่อนหน้าที่จะมีการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจของยุโรป ความคลุมเครือดังกล่าวได้นำไปสู่ความเป็นไปที่ว่า ประธานาธิบดีรัสเซียในอนาคตอาจจะดำเนินนโยบายในการฟื้นฟูความสัมพันธ์กับตะวันตกซึ่งจะทำให้ขั้วระหว่างรัสเซียกับจีนเป็นเรื่องล้าสมัยไป
เป็นเรื่องจริงที่ว่าอุตสาหกรรมน้ำมันอันแสนวุ่นวายของรัสเซียต้องการให้รัสเซียหันมาร่วมมือกับตะวันตก ขณะที่อุตสาหกรรมน้ำมันของรัสเซียนั้นได้ผลิตน้ำมันถึง 10.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน และได้รับการพยากรณ์ว่าจะขึ้นสู่ระดับสูงสุดในอีก 20 ปีข้างหน้า ความต้องการของชาวโลกซึ่งเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ต่ออนาคตสีเขียวและศักยภาพของจีนในการหันมาพึ่งก๊าซธรรมชาติที่ถูกกักไว้ในชั้นหินใต้ดิน (shale gas) เช่นเดียวกับมูลค่าของน้ำมันซึ่งย่ำแย่ตลอด ในที่สุดแล้วอาจหมายความว่ารัสเซียจะต้องมุ่งหน้าสู่ตะวันตกเพื่อความอยู่รอดทางเศรษฐกิจ
เมื่อมองผ่านแว่นดังกล่าว จีนและรัสเซียมีส่วนสัมพันธ์กันเพียงน้อยนิดในวิสัยทัศน์ของโลกอนาคต ความสัมพันธ์ของพวกเขาขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของแต่ละฝ่ายเสียมากกว่า และด้วยเหตุนี้ สหรัฐฯ ควรสนับสนุนการพูดคุยเจรจากับรัสเซียและจีน สหรัฐฯ ต้องการความร่วมมือจากทั้ง 2 ประเทศในประเด็นเกี่ยวกับโลกที่สำคัญที่สุด ความสำเร็จของแผนการระหว่างประเทศ อย่างการจำกัดการเผยแพร่อาวุธนิวเคลียร์ การตกของเครื่องบินเอ็ม เอ็ช 17 และวิกฤตการณ์ซึ่งดำเนินไปเรื่อยๆ ในตะวันออกกลาง ทำให้สหรัฐฯ ต้องการการเป็นหุ้นส่วนกับจีนและรัสเซีย การแตกแยกทางการเมืองโลกใด ๆ จะทำให้ไม่อาจแก้ปัญหาสำคัญได้สำเร็จนัก
รอบทส่งท้ายครับ