ทำไมคนไทยฟังเพลงแคบ

กระทู้นี้ไม่ได้ล่อเป้านะ แต่ผมเขียนตามความรู้สึก ถ้าไม่สบอารมณ์ใครก็ขออภัย
------------------------
ผมอายุหลักสามแล้วฟังเพลงมาตั้งแต่วัยรุ่น เรียกว่าเสพได้ทุกแนวจากทั่วโลกไม่ว่า ยูเค ยูเอส ยุโรป อเมริกาใต้ เอเซีย หลายหลายแนวตั้งแต่ เมทัล ร็อค แจ๊ส เทคโน โซล ฟังค์ บลูส์

ผมเคยมามอง ทำไมเพลงไทยไม่พัฒนา เหมือนเดิม ไม่ค่อยมีแนวแปลกๆ ถึงมีก็ยังอยู่ใต้ดิน คนฟังกลุ่มเล็กๆ
ตอนแรกจะโทษค่าย ก็ไม่ถูก เพราะเขาเป็นนักธุรกิจซะมากกว่า ผมเลยมามองที่คนฟัง และ เขียนเป็นข้อๆดังนี้

1.คนไทยมักฟังอะไรเดิมๆ

คนไทยมักจะฟังเพลงดังนี้
-เพลงป็อป ป็อปร็อค ที่มีท่อนฮุคติดหู ป้าง ลาบานูน ตอนนี้ ดนตรีต่างกับ ป้าง ลาบานูน เมื่อสิบกว่าปีที่แล้วยังไง
คำตอบคือเหมือนเดิม พี่เบิร์ดต่างกับพี่เบิร์ดอัลบัมเก่ายังไง ก็ยังเหมือนเดิม
-ชอบเพลงสามช่า ลูกทุ่ง ออกแนวรำวง หรือ ไม่ก็เพื่อชีวิต ถ้ามาดูเพลงของพุ่มพวง กับ เพลงของ หญิงลี แตกต่างกันตรงไหน ไม่แตกต่าง เหมือนเดิม
เพลงแนวอื่นเกิดยาก เมทัล หรือ อินดี้ร็อคแบบ เดอะ สโตรค คิงออฟลีออน อาละวาดไปทั่วโลก แต่เพลงแนวนี้กลับแจ้งเกิดในเมืองไทยยาก
-บอยแบนด์เกิร์ลกรุป ที่อื่นในโลกโดยเฉพาะยุโรปอเมริกา เขาเบือนหน้าหนีพวกเต้นๆ แต่ในเอเซีย โดยเฉพาะไทยก็ยังขายได้อยู่

2.ช้ากว่าชาวบ้านเขาสิบปี

เพลงไทยยุคปัจจุบันที่ฮิตๆหลายวง ได้อิทธิพลจากยุคเบเกอรี่รุ่งเรืองมากกว่า เราได้ยินซาวน์แบบ พี่บอย พรู
จากวงรุ่นใหม่ ซึ่งดนตรีต่างกับเบเกอรี่สิบกว่าปีก่อนมั้ย ตอบเลยว่าไม่ต่าง แต่อยู่ในกลุ่มที่มันเป็นเมนสตรีมขึ้นมา

3.ชอบเพลงติดหู ร้องได้

นักดนตรีกลางคืนไม่ค่อยได้แกะเพลงใหม่ๆหรอก หรือ เพลงแนวแปลก ไม่ดัง เพราะคนฟังร้องไม่ได้
ดังนั้นเราจึงได้ยินเพลง "ใจนักเลง" ในแทบทุกคืน

4.ไม่ค่อยเปิดใจฟังเพลงต่างประเทศ

ถ้าฟังเพลงต่างประเทศจะเห็นว่า แนวเพลงโครตหลากหลายเลย ไม่งั้น กลาสตันบิวรี่ หรือ โคชเชลล่า คงไม่มีคนรอคอยทุกปีหรอก
คนไทยต้องมีกระแสอะไรสักอย่างถึงไปฟังเพลงฝรั่งเป็นเพลงๆไป เช่น กระแสมหาหิงกับทูดอร์ ก็ไปฟัง What You Know เพลงเดียว
กระแส Im Your จากเดี่ยวอุดม ก็ไปฟังเพลงเดียว แต่คิดไปฟังเอง เหอะ ไม่ฟังหรอก
ถ้าฟังก็เพลงเก๊าเก่า เช่น Zombie หรือ  When You Say Nothing At All เพลงพวกนี้ตั้งแต่ผมยังตัดหัวเกรียนเดินลานน้ำพุสยามอยู่เลยนะ
และ ยิ่งแนวแปลกๆจากต่างประเทศ คงไม่เปิดใจรับเลย

5.ไม่เปิดใจรับแนวเพลงแปลกๆ

เมทัล หนักไป ร็อค รุนแรงไป พังค์ ก็รุนแรง คำพวกนี้ผมได้ยินบ่อย
อินดี้ เซาท์เทิร์น-คันทรี่โฟล์ค นิวเวฟ ชูเกซ โล-ไฟ แมดเชสเตอร์  เพลงอะไรไม่รู้ฟังไม่รู้เรื่อง (ฮิวโก้ร้องเพลงอะไรไม่รู้ แต่โลโซโอเค)
แจ๊ส บลูส์ โซล ร็อคแอนด์โรล โพรเกรสซีฟร็อค เพลงอะไรแก๊แก่
สรุป กลับไปฟังอะไรๆเหมือนเดิม

6.ค่ายเพลงเปิดอะไรก็ฟัง
ผมนึกถึงข่าวนึงก็อปมาจากเฟสบุ๊ค

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

เห็นได้ว่าคนอังกฤษส่วนมาก ไม่ชอบการยัดเยียดของค่ายเพลง พวกฉันอยากให้เพลงที่เจ๋งขึ้นอันดับ1 เลยระดมดาวโหลดเพลงของ RATM
จนขึ้นอันดับ1ในปี2009ได้

แต่คนไทยล่ะ ยังติดอยู่ในกรอบ ทุกวันนี้มียูทูป ที่คุณเข้ามือถือปุ๊บ จะไปฟังเพลงอะไรก็ได้ เพลงจากที่ไหนในโลกก็ได้
แต่ก็ยังเข้าไปฟังเพลงจากค่ายยักษ์ใหญ่ในไทย2ค่ายเหมือนเดิม เขาเปิดเพลงอะไร ทำเพลงอะไรออกมา ก็ฟังเหมือนเดิม
ไม่มีแตกแถว ไม่มีขัดขืน ไม่ค่อยหาเพลงแนวใหม่ๆเปิดโลกทัศน์ตัวเอง ก็ตามนั้นแหละ

ผมจึงเลิกโทษค่ายแล้วทำไมถึงทำเพลงเดิมๆ เหมือนเดิม เพราะถ้าเขาขายไม่ได้ เขาคงไม่ทำออกมา
แต่เพราะขายได้ คนยังชอบฟัง จะเปลี่ยนแนวทำไมล่ะ ทดลองทำแนวแปลกๆออกมาก็เสี่ยงขาดทุนอีก
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แก้ไขข้อความเมื่อ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 12
คิดดีๆ คนไทยฟังเพลงแคบ หรือ จขกท. อยู่ในสังคมแคบ
ความคิดเห็นที่ 15
คือ จขกท. หมายถึงส่วนใหญ่ป่ะครับ
เหมือนความเห็นที่มาตอบจะหลุดประเด็น หรือไม่เข้าใจยังไงไม่รู้

อย่างผมหรือจขกท. ก็รู้ว่าไทยอะมีเพลงทุกแนว
ทว่าแต่ละแนว ตลาดมันไม่ได้เป็นวงกว้างแบบเมืองนอกไงครับ
ไทยมันฟังกันแค่กลุ่มแคบๆ

เอาง่ายๆ เกิร์ลกรุ๊ปบอยแบนด์ ป๊อปแด๊นซ์บ้านเรา เจ๊งไปกี่วงแล้ว
ช่วงนี้ไม่เห็นมีวงใหม่ๆผุดขึ้นมาเลย
คนไทยส่วนใหญ่ วัยรุ่นต่างจังหวัด เค้ามองกันว่าเพลงแนวนี้ปัญญาอ่อนด้วยซ้ำ
ฟังแล้วภาพลักษณ์กากทันที
ต้องเพลงที่เล่นกีต้าร์ในวงเหล้าได้เท่านั้น

ที่ฮิตเป็นวงกว้างก็อย่างที่จขกท.บอก ว่าเดิมๆ
ตอนมัธยมผมยังต้องฟังลาบานูนตามเพื่อนๆเลย
จริงๆ ผมชอบป๊อปแด๊นซ์ด้วยไง แต่ไม่อยากพูด ว่าชอบทั้งคู่
แต่เวลาคุยกับเพื่อนเรื่องเพลงนี่ต้องคุยแต่เรื่องเพลงแนวๆ ที่คนไทยชอบ
คือผมก็ชอบนะ แต่อยากคุยถึงเพลงแนวอื่นบ้าง

ตอนมหาลัย ในมือถือผมจะใส่เพลงป๊อปฝรั่ง ญี่ปุ่น เกาหลี ไทย
เพื่อนผู้หญิงมันบอกเพลงไรวะปัญญาอ่อน (หลายคนครับที่พูดว่าเพลงอะไรไม่รู้)
จริงๆ อีกโฟลเดอร์ผมใส่เมทัลเอาไว้ แต่...เธอคนนั้นก็ฟังไม่ได้เหมือนกันแหละ
พอมันบอกขอเพลงไทยฮิตๆดิ ผมมีอยู่ประมาณสามเพลง ...

จีบสาวมากี่คน ผมเห็นสาวไทยแต่ละคนก็ฟังอยู่แค่นั้นแหละ
เดิมๆ เพลงช้าๆ อกหักๆ ฮิตๆ เหมือนกันหมด

ผมคนนึงที่คิดว่าคนไทยฟังเพลงแคบ
คือ รู้ว่ามีแนวอื่นนะ แต่คนฟังมันน้อยไง
ส่วนใหญ่ก็ฟังแนวเดิมๆ

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ความคิดเห็นที่ 37
สวัสดีครับ สำหรับผม สิ่งที่สัมผัสได้อย่างแรงกล้าคือเรื่องของ
"ความมีค่า" ในดนตรี มันถูกลดทอนลงมามาก เพราะตรรกะเรื่องของทรัพย์สินทางปัญญา ในเมืองไทย มันด้อยพัฒนามากๆครับ

คนไทยรู้สึกว่า ดนตรี คือเรื่องของการที่ไม่จำเป็นต้องขวนขวาย และส่วนใหญ่ฟังเพลงไม่เป็น เพราะไม่เข้าใจเรื่องของสุนทรียศาสตร์เบื้องต้น
เรามีวิชาศิลปะไว้เพียงแค่ฝึกกำลังนิ้ว ฝึกสมาธิให้เด็กประถม แต่สิ่งที่เราไม่เคยฝึกเลยคือเรื่องของการขับเคลื่อนกระบวนการคิดนอกกรอบ หรือ ความคิดสร้างสรรค์ และจินตนาการ เมื่อ ไม่จำเป็นต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์เพราะใช้ไม่เป็น จึงไม่จำเป็นต้องขวนขวายและเกิดความต้องการที่จะหาสิ่งที่เรียกว่า วัตถุดิบ หรือการเสพย์งานศิลปะแขนงอื่นเพื่อความสุข หรือการกระตุ้นสุนทรีย์ภาพของตนเอง

เรื่องของศิลปะในเมืองไทย จึงเป็นเรื่องของธุรกิจเต็มรูปแบบ แบบถึงขนาดที่ตัวศิลปินไม่มีสิทธิ์ หรือพละกำลังใดๆที่จะขัดขืนเลยแม้แต่นิดเดียว เพราะถูกมัดมือมัดเท้าด้วยนิสัย ไม่ดิ้นรนขวนขวายหรือต้องการความสุนทรีย์ เพราะไม่เคยเข้าใจมันอยู่แล้วตั้งแต่แรก
มันจึงไม่แปลกเลย ที่ งานฟังง่ายๆ เข้าถึงคนส่วนใหญ่ จะเป็นเรื่องของ ความสนุก ความบันเทิง ให้มากสุดคือความเศร้า เสียมากกว่าความสุนทรีย์ หรือ กระบวนการคิดแบบอื่น (ส่วนในยุคสมัยที่เพลงเพื่อชีวิตรุ่งเรือง เพราะคนไทย ถูกระบบการเมืองบังคับให้ต้องเข้าใจศิลปะแบบการเมืองซึ่งยังมีผลมาถึงปัจจุบัน และเป็นผลดี)

หลายๆคนบอกว่า แล้วมันจำเป็นแค่ไหนกันเชียว มันก็เป็นเพียงแค่ดนตรี มันควรจะเป็นเรื่องชิลๆสิ ไม่ควรมาซีเรียสอะไรกันขนาดนี้ ใครชอบก็ฟัง ไม่ชอบก็ปิดหูเดินหนีไป

แต่จริงๆผมคิดว่าร้ายแรงครับ เพราะอาการปิดหูเดินหนี คืออาการที่เรียกว่า การไม่ยอมรับ หรือไม่คิดจะลองพยายามเข้าใจก่อน หรือไม่ก็หนักสุดคือ สมองหยุดที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจ หยุดวิเคราะห์สิ่งที่อยู่ตรงหน้าเสียแล้ว นั่นเอง เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องร้ายแรงครับ เพราะมันคือการแสดงให้เห็นถึงภาวะการปิดกลั้นต่อสิ่งใหม่ๆ หรือการปฏิเสธด้วยความรู้สึกว่าเป็นอันตรายต่อตัวเอง แล้วตัดสินใจเดินออกมาแบบตัดฉับเลย นั่นคือ ศิลปะตรงหน้านั้น จะถูกลดทอนความมีค่าลงเหลือ 0 ทันทีในสายตาคนๆนั้น เพราะจริงๆแล้ว การเคารพ รสนิยมคนอื่นเป็นสิ่งจำเป็น และการแสดงถึงความเคารพ คือเรื่องของมารยาทนั่นเอง แต่ทั้งนี้ผมก็เข้าใจว่า ดนตรีนั้นมีหลากหลายรูปแบบ และบางแนวดนตรี มันมากเกินไปในเรื่องของ สภาพความพร้อมทางร่างกาย เสียมากกว่าสมอง เช่นแนวประมาณ Experimental หรือ Noise ที่ต่อให้เป็นผมก็ตาม แต่ถ้าแสดงสด ผมก็คงต้องเดินออกจากห้อง เพราะความไม่พร้อมของแก้วหูเราแค่นั้นเอง แต่สิ่งสำคัญคือ เราควรให้ค่ากับศิลปินผู้สร้างงาน โดยมารยาท และให้ค่ากับผลงานที่เขาสร้างขึ้นมาด้วย ไม่ว่าเราจะชอบหรือไม่ก็ตาม

ซึ่งในกรณีที่ซับลงมา คือ เรื่องของการฟังเพลงอยู่บ้าน เราไม่ให้ค่าดนตรี เพราะดนตรีหาฟังฟรีได้ทั่วไปในปัจจุบัน อันนี้ผมคิดว่าทุกคนคงคิดได้อยู่แล้ว ซึ่งไม่ผิดนะครับ แต่อย่าเหมารวมว่า เพราะเป็นของฟรี มันจึงไม่มีค่านะครับ มันคนละเรื่องกัน ผมเข้าใจนะว่า อะไรที่ได้มาฟรีๆ มันเลยรู้สึกว่าไม่เห็นจำเป็นต้องขวนขวายที่จะฟังเลย เดี๋ยวก็มีเปิดกรอกหูเราเองแหละ

ทุกวันนี้ค่าตัววงศิลปินอินดี้ อยู่ที่ครั้งละ 5000 บาททั้งวงครับ
เดือนนึงจะมีเล่นถึง 3 ครั้งหรือเปล่าก็ไม่รู้ กำไลจากการขายแผ่น คงไม่ต้องพูดถึง

แบบนี้ เรามาคิดกันเล่นๆใหมครับว่า .. คำว่า ศิลปิน ควรจะเป็นหนึ่งในสิ่งที่เราจำกัดความกันว่า "อาชีพ" ได้หรือไม่ หรือเรากำลังมองเขาในมุมมองของ "นักบุญ" กันแน่นะ

ป.ล.ถ้าเขียนอะไรพิด หรืออ่านไม่เข้าใจ งงๆ ขออภัยด้วยครับ พอดีพึ่งทานยาแก้แพ้ไป แล้วง่วงๆครับ ไม่ค่อยสบาย ขอโทษด้วยนะครับ
ความคิดเห็นที่ 19
ส่วนตัวรวมถึงหลายคนก็รู้แหละ ว่าคนฟังกึ่งนึงมีฐานการฟังเพลงที่ป๊อบและเพลงป๊อบมันก็คงที่แบบนี้ประมาณนึงแล้ว แต่วิธีการให้ตัวอย่างและการอธิบายนั้น รู้สึกได้ว่ากลุ่มตัวอย่างที่ยกมา หรือความคิด รสนิยมการฟัง (และอาจรวมถึงจริตจก้าน) ที่เกิดจากการยกตัวอย่างของ จขกท ก็คล้ายจะแคบระดับนึงเหมือนกัน

ขอค้านแค่เฉพาะตัวอย่างที่ยกมาแล้วมันแปลก ๆ ละกัน

1) ป้าง ลาบานูน ตอนนี้ ดนตรีต่างกับ ป้าง ลาบานูน เมื่อสิบกว่าปีที่แล้วยังไง
- ลาบานูน ไม่เถียง แต่ ป้าง ยุคสิบกว่าปีที่แล้ว มันก็คนละแนวกับยุคนี้นะ
พี่เบิร์ดต่างกับพี่เบิร์ดอัลบัมเก่ายังไง ก็ยังเหมือนเดิม
- ภายใต้หน้าฉากของเพลงโปรโมทที่ยังคงตามความสำเร็จจาก แฟนจ๋า และเพลงอื่น ๆ ใน ชุดรับแขก แต่เพลงอื่น ๆ เขาก็ขยับเขยื้อนตลอดเวลา (เคยผ่านชุดที่หลายคนไม่ชอบอย่าง Volume 1 มาแล้ว) เพลงแบบ อยู่คนเดียว น้ำตา หรือหลังๆ ที่ขยับไปเล่นกับ 25hours หรือ Paradox เพื่อเปิดทางดนตรีใหม่ ๆ ก็ไม่ใช่การเหมือนเดิมเสมอไป

2) ช้ากว่าชาวบ้านเขาสิบปี ข้อนี้คุณไม่ได้ว่าแค่คนฟังละ แต่ว่ามันมีความหมายถึงคนทำเพลง และแนวโน้มวงการเพลงด้วย
- บางแนวก็ไม่ได้ช้าอย่างนั้น เช่นเดี๋ยวนี้เพลง Indie Folk เมืองนอกมีพวก OMAM, Mumford & Sons แปบเดียวไทยเรามีหลายวง Indie Rock ก็หลายอยู่ วง สมเกียรติ ที่เพลงช่างมันติดชาร์ต iTunes ก็สายตรงมาจาก Indie Rock 2000s จริง ๆ เหมือนกัน
- ถ้าวัดกันจริง ๆ บ้านเรากว่าแนวเพลงจะได้รับอิทธิพลจากเมืองนอกก็หลายปีมานานแล้ว ยุค 90s อัลเทอร์เนทีฟในไทย ก็มีอิทธิพลจากปลายยุค 80s ฝั่งอังกฤษ ฝั่งเมกันส่งมา หรือยุค Indy ปี 2000 ต้น ๆ มันก็สายธารต่อยอดจากกองกำลังยุค 90s ทั้งนั้น ฉะนั้นหากยุคนี้มันยังติดเพลงแบบเบเกอรี่มาบ้างก็ไม่แปลก
- ขนาดเมืองนอกยังมีการใช้ซ้ำนำกลับมาใช้ใหม่เรื่อย ๆ Daft Punk ที่เอา Disco กลับมา ขนาดเอามือกีตาร์วง Chic มาเล่นให้ บางวงเอา surf rock กลับมา หรือ Folk แบบ Ed Sheeran ก็ยังขายได้
ฉะนั้นการอ้างว่าช้ากว่าก็ไม่ถูกเสมอไป เพราะเหตุผลข้างต้น

3) นักดนตรีกลางคืนไม่ค่อยได้แกะเพลงใหม่ๆหรอก หรือ เพลงแนวแปลก ไม่ดัง เพราะคนฟังร้องไม่ได้
การเลือกกลุ่มเป้าหมายชี้เฉพาะเช่น ผับ บาร์ ดนตรีกลางคืน ก็ไม่ใช่กลุ่มใหญ่พอขนาดนั้นนะ เพราะขนาดผับที่เล่นเพลงไทย ก็ไม่ใช่ 100% ของจำนวนผับในประเทศไทยเช่นกัน บางผับเล่นเพลงสากล บางผับเปิดแต่ EDM เปิดแต่เพลงตื๊ด แถมพวกที่ยกตัวอย่างมานั่นคือกลุ่มคนที่อยากเมา และแหกปากตามเพลง อาจไม่ใช่การมาฟังเพลงเสพดนตรีเป็นจริงเป็นจังด้วยซ้ำ
แล้วอะไรละคือกลุ่มคนฟังใหญ่สุดที่จะบอกได้ว่าแนวโน้มการฟังเพลงคนไทยอยู่ตรงไหน
- กลุ่มไปแหกปากร้องเพลงตอนเมาในผับ
- กลุ่มไปฟังดนตรีในร้านอาหาร
- กลุ่มคนทำงานที่เปิดวิทยุเวลางาน หรือเวลาขับรถ
- กลุ่มคนที่ซื้อซีดี ดูคอนเสิร์ต
ฯลฯ
มีหลากหลายมาก ซึ่งการสรุปโดยใช้กลุ่มตัวอย่างในข้อ 3) ของ จขกท. ก็อาจไม่ใช่ตัวอย่างที่ถูกต้องเสมอไป

6) ค่ายเพลงเปิดอะไรก็ฟัง
- สิ่งที่เห็นด้วยจริงจังอย่างหนึ่งของกระทู้นี้คือ อิทธิพลของสื่อวิทยุต่อวิธีการฟังเพลงของส่วนใหญ่ในยุคนี้ ยุคที่คลื่นวิทยุไทยผูกขาดด้วยคลื่นเขียวกับคลื่นเย็น (อาจมีคลื่นฮิต คลื่นเมล็ด คลื่นหนึ่งสอดแทรกบ้าง) นั้นส่งผลต่อแนวเพลงของคนฟังกลุ่มหนึ่งไปเลย คือจะฟังแต่เพลงป๊อบ (แต่นั่นก็เพราะกลุ่มคนฟังวิทยุส่วนใหญ่ โดยเฉพาะเวลาทำงาน เวลาขับรถ เขาอยากฟังแนวนี้ด้วย) สิ่งที่น่าสนใจคือในผังวิทยุตอนนี้ ยังไม่มีคลื่นที่ตอบสนองทุกแนวเพลง 100% ได้เสียที ส่วนหนึ่งคือคลื่นที่ทำได้ก็โดนค่าประมูลสัมปทานล้มหายตายจาก วิทยุออนไลน์ก็ยังไม่ตอบโจทย์ในยุคที่ค่าเน็ต 4G มันสูงขนาดนี้ ถ้ามีคู่แข่งที่มีพื้นที่แข่งขันดีและยาวนานเพียงพอขึ้นมา และมีเพลงให้หลากหลายขึ้น (เหมือนที่ตลาดทีวีดิจิตอลเริ่มตีช่องเก่าตก) เพลงไทยก็อาจหลากหลายขึ้นกว่านี้ได้เหมือนกัน

ขอคัดค้านส่วนข้อมูลแค่นี้ละกัน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่