ยุคล้านตลับของใหม่ คริสติน่า ทาทา นัท โบ นิโคลนี่ดังถึงขนาดไหน

โดยส่วนตัวตอนนั้นหนูพึ่งเกิดพอดี5555 แต่พอเห็นมีคอนเสิร์ตล้านตลับเร็วๆนี้(ตอนแรกก็งงๆนิดนึงว่าทำไมต้องใช้คำว่าตลับ-*-) ก็ไปหาข้อมูลมา แล้วย้อนกลับไปฟังเพลงของน้าๆทั้งหลาย พึ่งรู้ว่าหลายเพลงหนูก็คุ้นๆทั้งนั้นเลย อย่างควักหัวใจของใหม่  พูดอีกที อย่ามองตรงนั้น ของคริสติน่า  รบกวนมารักกัน โอ๊ะโอ๊ยของทาทา บุษบาของนิโคล ฯลฯ เลยรู้ว่าหลายเพลงอมตะจริงๆ มาฟังตอนนี้ยังสนุกอยู่เลยอะค่ะ หนูเลยคิดว่าในอดีตเพลงและศิลปินเหล่านี้ต้องดังมากๆเลยใช่มั้ยคะ แต่หนูเกิดไม่ทัน เลยอยากรู้ว่ายุคที่เป็นม้วนเทปของศิลปิน6ท่านนี้ดังถึงขนาดไหน และบรรยากาศของความดัง การประสบความสำเร็จของศิลปินแต่ละท่านเป็นยังไงบ้างคะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
เล่าภาพรวมๆแค่พอนึกภาพออก + อ่านเพลินๆก็แล้วกัน จะได้ไม่เบื่อก่อน

ก่อนหน้านี้บ้านเรามีคนฟังเพลงไทยฟังประมาณสุนทราภรณ์เป็นหลัก ไม่ก็ฟังเพลงลูกกรุงก็แบบ ชรินทร์ นันทนาคร,
สุเทพ วงศ์กำแหง,รุ่งฤดี แพ่งผ่องใส ฯลฯ หรือลูกทุ่งอย่าง สุรพล สมบัติเจริญ, ไวพจน์ เพชรสุพรรณ, ผ่องศรี วรนุชฯลฯ
( จริงๆนักร้องลูกทุ่ง-ลูกกรุงมีเยอะมากนะ แต่เขียนหมดจะยาวมาก ยกตัวอย่างคร่าวๆที่อ่านชื่อแล้วน่าจะรู้จักมาพอให้เห็น )
-
พอช่วงยุค 70 ก็รับอิทธิพลเพลงสากลประมาณ เอลวิส, บีทเทิล, วงร็อคพวก เดอะ ฮู, ดีพ เพอเพิล, ยูเอฟโอ, สกอร์เปี้ยนฯลฯ
แวดวงเพลงไทย เริ่มมีวงดนตรีไทยเอาเพลงสากลพวกนั้นมาเล่น มาใส่เนื้อไทยบ้าง อย่างวง p.m.5, royal sprite,
grand 'ex ฯลฯ (จากเอาทำนองสากลใส่เนื้อไทย ก็ค่อยๆมีแต่งเพลงเองทำเป็นเทปขาย) .. วงชาตรี ก็เริ่มแถวๆยุคนี้
แล้วเป็นกระแสเกิดวงดนตรีเล่นเพลงไทยมาเรื่อยๆ คีรีบูน, ฟรุ๊ตตี้, อินทนิล, บรั่นดี ฯลฯ --- คราวนี้วงการดนตรีเริ่มพัฒนาขึ้น
มีการทำเป็นค่ายเทปจริงจังขึ้น เพราะสามารถผลิตงานเพลง(เป็นเทปคาสเส็ท)แล้วมีคนซ์้อ เป็นธุรกิจทำเงินได้เยอะมาก
-
ช่วงนี้คือเพลงไทยที่ถามมาอยู่ในยุค 80 - 90 ซึ่งเป็นยุคทองของเพลงไทย(ที่สุด)
ที่ต่อเนื่องจากด้านบนมา r.s. คือค่ายเพลงแรกๆ จับเอาวงดนตรีมาออกเทปขาย โดยทำแนวเพลงเมโลดี้เพราะ ฟังง่าย(ยุคแรก
ใช้กลิ่นไอเพลงจีนฝั่งฮ่องกงมาผสม/ดัดแปลงด้วย ซึ่งติดหูคนเร็ว) จากนั้นไม่นานค่ายแกรมมี่ก็เกิดขึ้น โดยสร้างจุดต่างออกไป
คือใช้แนวทางการใช้วิธีการแต่ง,นำเสนอออกไปทางสากล(เรียบเรียงเสียงประสาน การแต่งเพลงแบบมีทฤษฎีจริงจัง) ทำให้เพลง
จากค่ายนี้ดูเหมือนจะถูกหูกับคนฟังเพลงไปทางสากลมากกว่า(รวมถึงการนำเสนอภาพลักษณ์นักร้อง-ศิลปินด้วย)
*** สองค่ายนี้ ถือว่าเป็นยักษ์ใหญ๋ของวงการเพลงคนละขั้ว มีกลุ่มคนฟังแบ่งกันค่อนข้างชัดเจน
r.s. จะเป็นแบบสนุก ฉูดฉาด รู้สึกกันเอง ถูกใจคนวงกว้าง(ตจว.) -- เปรียบคล้ายๆ ละครช่อง 7
grammy จะแบบkeep look  เก๋  วางตัวเท่ ถูกรสนิยมคน กทม. -- ก็คงแบบละครช่อง 3  ประมาณนั้น

ถ้าค่ายไหนออกเพลง/เทป ศิลปินอะไรออกมา อีกค่ายจะส่งเพลง/เทป ศิลปินที่ใกล้เคียงออกมาชนกัน
เท่าที่นึกออก r.s. ออกเทป ทัช -- ไม่นาน grammy ออกเทป เจ เจตริน มาชน
หรือ grammy ออกเทป อัสนี-วสันต์ -- สักพัก r.s. ออกเทป อิทธิ พลางกูร มาสู้ เป็นต้น
(ประเมินว่ารู้กันในแวดวงคนทำเพลงนั่นแหละ ว่าใครเคลื่อนไหวอะไร ก็จะวางแผนการตลาดสู้กัน -- สนุกมาก)
*** แต่ต่อมา ก็ไม่ได้ชนกันแบบนี้ตลอด ..ตอนหลังสองค่ายคิดว่า จะออกอะไรให้แตกต่างกับอีกค่าย
คือน่าจะเพราะ การออกงานใกล้กันมาชนกัน มันแชร์กลุ่มคนฟัง แล้วสร้างรายได้เฉลี่ยกัน และเหนื่อยเกิน(ไม่คุ้ม)

-
เข้าเรื่องซะที
คริสติน่า ทาทา นัท โบ นิโคล นี่คือผลผลิตฝั่ง grammy ที่ดังระดับประเทศ
เพราะ เขาคิดในทางการตลาดว่า ที่ผ่านมาศิลปินผู้หญิงส่วนมาก มีก็ดูปกติทั่วไป ไม่มีอะไรโดดเด่น
(ที่ผ่านมา นักร้องหญิงมีแต่ character เดิมๆ เรียบร้อยทั้งการแต่งตัว เพลงที่ร้อง มันเลยเฉยๆไม่น่าสนใจ)
วาง character ศิลปินหญิง(ที่เจ้าของกระทู้พูดถึง) ให้โดดเด่น ชัดเจน สร้างการจดจำ + ทำเพลงให้ลงตัวไปด้วย
พอปล่อยงานเพลง/เทป ออกไป คนฟังเลยฮือฮากลายเป็นกระแส(แปลก, ตื่นตา, สด-ใหม่)ดังระบาดทั่วประเทศ
คริสติน่า -- sexy dance // ทาทา -- เด็กสาวอินเตอร์ มั่นใจ // นัท -- สาวหวาน r&b
ใหม่ -- pop-rock woman // นิโคล -- สาวกะโปโล หวาน ลำลอง สบาย // โบ -- ballad rock girl
นอกจากงานเพลงที่ดี คือทำเพลงออกมาเพราะ วางความพอเหมาะพอดีในตัวศิลปิน --การตลาดเด็ดขาดมากด้วย

โดยเฉลี่ย เทปออกวางแผง(คำฮิตสมัยก่อน) ปกติที่เรียกว่าขายดี จะขายกันได้ราวๆ 3 แสนตลับ(เป็นหน่วยจำนวนนับเทป)
ถ้าดังขึ้นมาอีกหน่อย จะไปที่ 5-6 แสนตลับ ... แต่ถ้าดังระดับประเทศจริงๆ จะไปแตะ 1 ล้านตลับ(ซึ่งยากมากกกกก)
ถามว่า แล้วบรรยากาศเวลาไปออกสื่อ มีงาน หรือเล่นคอนเสิร์ท คนดูประมาณไหน
คนมารอก็ประมาณมารอ EXO, BigBang หรือ Gril Gen มาไทยนั่นแหละ (ไม่ได้โม้ -- ศิลปินไทยยุคนั้น คือ สุดจริง)
น่าจะเป็นเพราะยุคนั้น สื่อ social ยังไม่มี การจะได้เจอศิลปินดังๆสักทีมันยากเย็น เวลาไปไหนเลยฮือฮามากมายวายป่วง

*** ฝั่ง r.s. ก็มีล้านตลับไม่น้อยเหมือนกันนะ อย่างวง boy scout, two, หิน เหล็ก ไฟ, อริสมันต์, raptor, เจมส์,
ลิฟท์-ออย, รวมดาว, ปุ๊กกี้, ดัง พันกร, D2B, ปาน ธนพร, the next, วงไอน้ำ (เท่าที่จำได้) ฯลฯ

นอกจากสองค่ายนี้ ยังมีค่ายเทปอื่นอีกเยอะ ที่ว่ากันว่าเป็นเบอร์สาม น่าจะเป็น ค่าย นิธิทัศน์ โปรโมชั่น
ค่ายนี้ล้านตลับก็มี พี่แจ้, นิค นิรนาม-หยิบสิบ เพลงหวานซูเปอร์ คลาสสิก / โอภาส ทศพร  ฯลฯ

ค่ายอื่นคีตา วงสามโทน ชุดแรก, อ้อม สุนิสา ชุดลูกแก้ว, Bakery Music มี โจอี้ บอย--fun fun fun
ค่ายอื่นก็มี ... เรียกได้ว่าเป็นยุคทองของเพลงไทยเลย

หลังจากนั้น พอ digital ค่อยๆมา ค่ายเพลงก็ค่อยๆยุบหายตายไป

ยาวเลย 55+

ปล. อย่าได้ถามถึงอายุ  // บาย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่