ถ้ายังไม่ได้อ่านพื้นฐานมาก่อน อยากให้ไปทบทวนกันนิดนะครับ ไม่งั้นอ่านต่อไปแล้วจะไม่รู้เรื่อง
Well Control แบบบ้านๆ ปฐม ก. กา
Well Control ตอน Driller Mehod
อ่านเสร็จแล้วมาต่อกันครับ วิธีต่อไปคือ Wait and Weight … เออ … แปลว่าอะไร รออะไร แล้ว อะไรมันหนัก หรือ จะทำอะไรให้หนัก … งงอีกแล้ว … มา เรามาเริ่มที่สถานการณ์ดั่งเดิมของเราก่อน เรามี influx จู้ฮุกกรู้ เข้ามาที่ก้นหลุมโดยไม่ได้รับเชิญ แล้วเราต้องกำจัดเจ้าแขกไม่ได้รับเชิญ (influx) ออกไป
มาเริ่มกันด้วยสถานการณ์ที่ค้างไว้แบบนี้ จุดตั้งต้นของเรา ตอนที่แล้ว driller method ปั๊มสองครั้ง ครั้งแรกใช้
น้ำโคลนเดิม ไม่ต้องรีรออะไร ของเดิมผสมไว้มีไว้พร้อม ปั๊มไล่ influx ออกไปก่อน ระหว่างปั๊มไล่ influx
วิศวกรน้ำโคลนก็ผสม kill mud พอปั๊มไล่ influx เสร็จ kill mud ก็พร้อม ปั๊มต่ออีกรอบ kill หลุมได้ทันที จะเห็นว่า วิธีนี้ง่ายไม่ซับซ้อน ไม่ต้องรอ
อ้าว … ถ้าไม่อยากปั๊มสองรอบล่ะ เอา kill mud ปั๊มไล่ influx ไปเลยไม่ได้หรือ พอไล่เสร็จ ในหลุมก็มี kill mud พร้อมเลย ไม่ต้องปั๊มกันสองรอบ ให้วุ่นวาย
คำตอบคือได้ครับท่านผู้ชม แต่ต้อง “รอ” ให้วิศวกรน้ำโคลนผสม kill mud เสียก่อน ใช้เวลาหลายชม.นะครับ เพราะปริมาตรไม่ใช่น้อยๆ นี่คือที่มาของคำว่า “wait” ไงครับ ส่วนคำว่า weight คือ การทำให้ความหนาแน่นของน้ำโคลนมากกว่าเดิม คือ เพิ่มน้ำหนักนั่นแหละ คือที่มาของคำว่า weight แปลว่า ทำให้หนักขึ้น
รวมกันก็เลยเป็นชื่อวิธีนี้ว่า Wait and Weight หรือ เราเรียกย่อๆว่า WW หรือบางทีก็เรียกว่า Engineer method (*) เพราะมันยุ่งยากกว่า มีวิธีการคำนวนที่ยุ่งยากนิดนึงในขบวนการปั๊ม เพราะ driller ต้องปั๊ม kill mud เข้าทางก้านเจาะ และในขณะเดียวกัน ผู้ช่วยอีกคนจะต้องคอยหรี่วาว์ลด้านท่อกรุ เพื่อรักษาความดันก้นหลุมให้คงที่ บอกเลยว่าไม่ง่ายครับ เพราะ influx เป็นก๊าซ มันจะยุบหนอพอหนอตลอดเวลา
(*) โดยส่วนตัวแล้ว ผมไม่ค่อยชอบเรียกว่า Engineer Method เพราะว่ามันเหมือนกับการแบ่งชนชั้นยังไงก็ไม่รู้ ทั้งๆที่ทุกคนก็มีบทบาทในการทำงานที่สำคัญไม่ต่างกัน มันดูเหมือนวิธีนึงเป็นวิธียาก(เหมาะกับคนฉลาด) อีกวิธีเป็นวิธีง่าย(เหมาะกับคนไม่ฉลาด) หรือผมคิดของผมไปเองคนเดียวก็ไม่รู้ แต่ตามประสบการณ์ driller method นี่แหละ ถูกนำมาใช้มากที่สุด ด้วยเหตุที่มันง่าย ไม่ซับซ้อน โอกาสผิดพลาดน้อย แลกกับการใช้เวลาหน่อยก็ไม่เป็นไร เพราะอารมณ์ของทุกคนตอนนั้นคือ ต้องการรักษาหลุม ต้องการปลอดภัย ไม่มีใครมานั่งจับเวลาอะไร เหมือนจะกู้ชีพคนบาดเจ็บนะ เอาวิธีที่ให้รอดชัวร์ๆดีกว่า
มาดูรูปกันดีกว่า เพื่อให้เข้าใจได้ดีขึ้น
(ที่มาของรูปและเนื้อหา Well Control School IDT ONGC
http://www.ongcindia.com)
ผมจะไม่ลงรายละเอียดนะครับ เพราะวิธีนี้ยุ่งยากนิดนึง ตรงที่ต้องทำงานร่วมกันสองคน คนนึงปั๊ม(โดยมากเป็น driller) อีกคนคุม choke valve ด้านท่อกรุ คอยหรี่ๆให้ความดันก้นหลุมคงที่ (เรามีวิธีวัดทางอ้อมครับ) เอาว่า ใครอยากรู้ลึกๆจริงๆหลังไมค์ดีกว่า เอาแนวคิดไปก็พอว่า วิธีนี้เราปั๊ม kill mud ลงไปเลยรวดเเดียว ม้วนเดียวจบ
ก็จะมีคนสงสัยกันล่ะว่า อ้าว แล้วเปรียบเทียบกันดิ แบบไหนดีด้อยอย่างไร … ได้เลย จัดให้ครับ
Driller Method
ข้อดี
1. ง่าย มีน้ำโคลนหนักแค่ไหนอยู่ก็ปั๊มลงไปเลย ไม่ต้องรอ
2. ใช้ความดันน้อยในหารไล่ influx ออกไป เพราะรอบแรกใช้น้ำโคลน(เบา)เดิมไล่ influx รอบสอง ใน kill mud (หนักขึ้น) แต่ไม่มี influx ให้ไล่ เหมือนแบ่งงานทำสองช่วง ก็ใช้แรงน้อยหน่อย แต่เวลาทำงานมากหน่อย
3. โอกาสที่จะมีเศษหิน (cutting) หรือ ทราย ร่วงลงถม BHA หัวเจาะ หรือ ก้านเจาะ น้อย เพราะไม่ต้องรีรออะไร เกิดเหตุปุ๊บ ปั๊มปั๊บ
ข้อด้อย
1. ระหว่างขบวนการ ความดันระหว่างก้านเจาะกับผนังหลุมจะสูง อืม … อันนี้อธิบายยาก ต้องคำนวน แต่แนวคิดเปรียบเทียบก็ราวๆก็เอาน้ำโคลนเบาไปไล่ influx นี่ครับ
2. ความดันที่ปลายท่อกรุ (casing shoe) จะสูงในกรณีที่ Influx เป็น ก๊าซ อันนี้ก็อธิบายยาก ต้องคำนวนเป็นช๊อตๆว่า influx เคลื่อนที่ไปถึงไหนแล้วปริมาณกับความดันจุดนั้นๆเป็นอย่างไร เอาเป็นว่าเก็บไว้ให้เป็นอาชีพของพวกผมได้ทำมาหากินบ้างก็แล้วกันนะครับ
3. ใช้เวลานาน โอเค อันนี้งเข้าใจได้ง่าย ก็ต้องปั๊มสองรอบนี่นา
Weight and Weight Method
ข้อดี
1. ระหว่างขบวนการ ความดันระหว่างก้านเจาะกับผนังหลุมจะน้อย อืม … อันนี้อธิบายยาก ต้องคำนวน แต่แนวคิดเปรียบเทียบก็ราวๆก็เอาน้ำโคลนหนัก (kill mud) ไปไล่ influx นี่ครับ
2. ความดันที่ปลายท่อกรุ (casing shoe) จะต่ำในกรณีที่ Influx เป็น ก๊าซ อันนี้ก็อธิบายยาก ต้องคำนวนเป็นช๊อตๆว่า influx เคลื่อนที่ไปถึงไหนแล้วปริมาณกับความดันจุดนั้นๆเป็นอย่างไร เอาเป็นว่าเก็บไว้ให้เป็นอาชีพของพวกผมได้ทำมาหากินบ้างก็แล้วกันนะครับ
3. ใช้เวลาน้อย ก็แหง๋ล่ะครับ ปั๊มรอบเดียว
ข้อด้อย
1. เสียเวลารอนาน (รอผสม kill mud) นะครับ
2. โอกาสที่จะมีเศษหิน (cutting) หรือ ทราย ร่วงลงถม BHA หัวเจาะ หรือ ก้านเจาะ มาก เพราะต้องรอผสม kill mud
3. ถ้าทำปั๊มและหรี่วาว์ลท่อกรุไม่สัมพันธ์กันเป๊ะๆตามที่คำนวนในแต่ล่ะช๊อต โอกาสที่ความดันก้นหลุมจะลดลงหรือเพิ่มขึ้น แล้ว influx ใหม่จะเข้ามาจะมีมากกว่าแบบ driller method ที่ ง่ายๆ เบสิกๆ (แต่ก็มีข้อด้อยดังที่กล่าวมาแล้ว)
จะเห็นได้ว่าทั้งสองแบบมีข้อดีข้อด้อยทั้งคู่ พอเกิดเหตุปุ๊บ
company man หน้างานก็ต้องคิดและตัดสินใจปั๊บว่าจะเอาแบบไหน ยิ่งในสมัยก่อน การสื่อสารไม่ดีเหมือนทุกวันนี้ company man สั่งการเลยได้ทันที สมัยนี้เหรอครับ หุ หุ ต้องโทรหา
rig superintendent ถ้ากรณีซับซ้อน ก็ต้องโทรฯปลุก
drilling engineer ฯลฯ ยกโขยงกันมาช่วยตัดสินใจ มันก็มีข้อดีข้องเสียทั้งสองแบบ (ให้ company man ตัดสินใจเอง หรือ รวมหัวกันตัดสินใจ) แต่ที่แน่ๆ ประสบการณ์ที่ได้มามีราคาที่ต้องจ่ายครับ ถ้าอยากให้คนของเรามีประสบการณ์แต่ไม่อยากจ่ายค่าประสบการณ์ก็เอาหุ่นยนต์หรือเด็กๆไปคุมงานแล้วให้มือถือ ไวไฟ มีอะไรก็โทรฯเข้าฝั่งเข้าฐานล่ะกัน ก็เป็น model การบริหารงานอีกแบบ ที่ก็ไม่ผิด … ได้อย่าง เสียอย่าง เสมอครับ
ผ่านไปสองวิธีล่ะ …
สังเกตุว่าสองวิธีนี้ มีก้านเจาะจิ้มอยู่ในหลุม ลงไปถึงก้นหลุม แต่ถ้าไม่มีก้านเจาะในหลุม หรือ มีจิ้มอยู่ตื้นๆ จิ้มลงไปแค่ส่วนบนของหลุม … จะทำไง …
โปรดติดตามตอนต่อไป …
Well Control ตอน Wait and Weight Method
ถ้ายังไม่ได้อ่านพื้นฐานมาก่อน อยากให้ไปทบทวนกันนิดนะครับ ไม่งั้นอ่านต่อไปแล้วจะไม่รู้เรื่อง
Well Control แบบบ้านๆ ปฐม ก. กา
Well Control ตอน Driller Mehod
อ่านเสร็จแล้วมาต่อกันครับ วิธีต่อไปคือ Wait and Weight … เออ … แปลว่าอะไร รออะไร แล้ว อะไรมันหนัก หรือ จะทำอะไรให้หนัก … งงอีกแล้ว … มา เรามาเริ่มที่สถานการณ์ดั่งเดิมของเราก่อน เรามี influx จู้ฮุกกรู้ เข้ามาที่ก้นหลุมโดยไม่ได้รับเชิญ แล้วเราต้องกำจัดเจ้าแขกไม่ได้รับเชิญ (influx) ออกไป
มาเริ่มกันด้วยสถานการณ์ที่ค้างไว้แบบนี้ จุดตั้งต้นของเรา ตอนที่แล้ว driller method ปั๊มสองครั้ง ครั้งแรกใช้น้ำโคลนเดิม ไม่ต้องรีรออะไร ของเดิมผสมไว้มีไว้พร้อม ปั๊มไล่ influx ออกไปก่อน ระหว่างปั๊มไล่ influx วิศวกรน้ำโคลนก็ผสม kill mud พอปั๊มไล่ influx เสร็จ kill mud ก็พร้อม ปั๊มต่ออีกรอบ kill หลุมได้ทันที จะเห็นว่า วิธีนี้ง่ายไม่ซับซ้อน ไม่ต้องรอ
อ้าว … ถ้าไม่อยากปั๊มสองรอบล่ะ เอา kill mud ปั๊มไล่ influx ไปเลยไม่ได้หรือ พอไล่เสร็จ ในหลุมก็มี kill mud พร้อมเลย ไม่ต้องปั๊มกันสองรอบ ให้วุ่นวาย
คำตอบคือได้ครับท่านผู้ชม แต่ต้อง “รอ” ให้วิศวกรน้ำโคลนผสม kill mud เสียก่อน ใช้เวลาหลายชม.นะครับ เพราะปริมาตรไม่ใช่น้อยๆ นี่คือที่มาของคำว่า “wait” ไงครับ ส่วนคำว่า weight คือ การทำให้ความหนาแน่นของน้ำโคลนมากกว่าเดิม คือ เพิ่มน้ำหนักนั่นแหละ คือที่มาของคำว่า weight แปลว่า ทำให้หนักขึ้น
รวมกันก็เลยเป็นชื่อวิธีนี้ว่า Wait and Weight หรือ เราเรียกย่อๆว่า WW หรือบางทีก็เรียกว่า Engineer method (*) เพราะมันยุ่งยากกว่า มีวิธีการคำนวนที่ยุ่งยากนิดนึงในขบวนการปั๊ม เพราะ driller ต้องปั๊ม kill mud เข้าทางก้านเจาะ และในขณะเดียวกัน ผู้ช่วยอีกคนจะต้องคอยหรี่วาว์ลด้านท่อกรุ เพื่อรักษาความดันก้นหลุมให้คงที่ บอกเลยว่าไม่ง่ายครับ เพราะ influx เป็นก๊าซ มันจะยุบหนอพอหนอตลอดเวลา
(*) โดยส่วนตัวแล้ว ผมไม่ค่อยชอบเรียกว่า Engineer Method เพราะว่ามันเหมือนกับการแบ่งชนชั้นยังไงก็ไม่รู้ ทั้งๆที่ทุกคนก็มีบทบาทในการทำงานที่สำคัญไม่ต่างกัน มันดูเหมือนวิธีนึงเป็นวิธียาก(เหมาะกับคนฉลาด) อีกวิธีเป็นวิธีง่าย(เหมาะกับคนไม่ฉลาด) หรือผมคิดของผมไปเองคนเดียวก็ไม่รู้ แต่ตามประสบการณ์ driller method นี่แหละ ถูกนำมาใช้มากที่สุด ด้วยเหตุที่มันง่าย ไม่ซับซ้อน โอกาสผิดพลาดน้อย แลกกับการใช้เวลาหน่อยก็ไม่เป็นไร เพราะอารมณ์ของทุกคนตอนนั้นคือ ต้องการรักษาหลุม ต้องการปลอดภัย ไม่มีใครมานั่งจับเวลาอะไร เหมือนจะกู้ชีพคนบาดเจ็บนะ เอาวิธีที่ให้รอดชัวร์ๆดีกว่า
มาดูรูปกันดีกว่า เพื่อให้เข้าใจได้ดีขึ้น
(ที่มาของรูปและเนื้อหา Well Control School IDT ONGC http://www.ongcindia.com)
ผมจะไม่ลงรายละเอียดนะครับ เพราะวิธีนี้ยุ่งยากนิดนึง ตรงที่ต้องทำงานร่วมกันสองคน คนนึงปั๊ม(โดยมากเป็น driller) อีกคนคุม choke valve ด้านท่อกรุ คอยหรี่ๆให้ความดันก้นหลุมคงที่ (เรามีวิธีวัดทางอ้อมครับ) เอาว่า ใครอยากรู้ลึกๆจริงๆหลังไมค์ดีกว่า เอาแนวคิดไปก็พอว่า วิธีนี้เราปั๊ม kill mud ลงไปเลยรวดเเดียว ม้วนเดียวจบ
ก็จะมีคนสงสัยกันล่ะว่า อ้าว แล้วเปรียบเทียบกันดิ แบบไหนดีด้อยอย่างไร … ได้เลย จัดให้ครับ
Driller Method
ข้อดี
1. ง่าย มีน้ำโคลนหนักแค่ไหนอยู่ก็ปั๊มลงไปเลย ไม่ต้องรอ
2. ใช้ความดันน้อยในหารไล่ influx ออกไป เพราะรอบแรกใช้น้ำโคลน(เบา)เดิมไล่ influx รอบสอง ใน kill mud (หนักขึ้น) แต่ไม่มี influx ให้ไล่ เหมือนแบ่งงานทำสองช่วง ก็ใช้แรงน้อยหน่อย แต่เวลาทำงานมากหน่อย
3. โอกาสที่จะมีเศษหิน (cutting) หรือ ทราย ร่วงลงถม BHA หัวเจาะ หรือ ก้านเจาะ น้อย เพราะไม่ต้องรีรออะไร เกิดเหตุปุ๊บ ปั๊มปั๊บ
ข้อด้อย
1. ระหว่างขบวนการ ความดันระหว่างก้านเจาะกับผนังหลุมจะสูง อืม … อันนี้อธิบายยาก ต้องคำนวน แต่แนวคิดเปรียบเทียบก็ราวๆก็เอาน้ำโคลนเบาไปไล่ influx นี่ครับ
2. ความดันที่ปลายท่อกรุ (casing shoe) จะสูงในกรณีที่ Influx เป็น ก๊าซ อันนี้ก็อธิบายยาก ต้องคำนวนเป็นช๊อตๆว่า influx เคลื่อนที่ไปถึงไหนแล้วปริมาณกับความดันจุดนั้นๆเป็นอย่างไร เอาเป็นว่าเก็บไว้ให้เป็นอาชีพของพวกผมได้ทำมาหากินบ้างก็แล้วกันนะครับ
3. ใช้เวลานาน โอเค อันนี้งเข้าใจได้ง่าย ก็ต้องปั๊มสองรอบนี่นา
Weight and Weight Method
ข้อดี
1. ระหว่างขบวนการ ความดันระหว่างก้านเจาะกับผนังหลุมจะน้อย อืม … อันนี้อธิบายยาก ต้องคำนวน แต่แนวคิดเปรียบเทียบก็ราวๆก็เอาน้ำโคลนหนัก (kill mud) ไปไล่ influx นี่ครับ
2. ความดันที่ปลายท่อกรุ (casing shoe) จะต่ำในกรณีที่ Influx เป็น ก๊าซ อันนี้ก็อธิบายยาก ต้องคำนวนเป็นช๊อตๆว่า influx เคลื่อนที่ไปถึงไหนแล้วปริมาณกับความดันจุดนั้นๆเป็นอย่างไร เอาเป็นว่าเก็บไว้ให้เป็นอาชีพของพวกผมได้ทำมาหากินบ้างก็แล้วกันนะครับ
3. ใช้เวลาน้อย ก็แหง๋ล่ะครับ ปั๊มรอบเดียว
ข้อด้อย
1. เสียเวลารอนาน (รอผสม kill mud) นะครับ
2. โอกาสที่จะมีเศษหิน (cutting) หรือ ทราย ร่วงลงถม BHA หัวเจาะ หรือ ก้านเจาะ มาก เพราะต้องรอผสม kill mud
3. ถ้าทำปั๊มและหรี่วาว์ลท่อกรุไม่สัมพันธ์กันเป๊ะๆตามที่คำนวนในแต่ล่ะช๊อต โอกาสที่ความดันก้นหลุมจะลดลงหรือเพิ่มขึ้น แล้ว influx ใหม่จะเข้ามาจะมีมากกว่าแบบ driller method ที่ ง่ายๆ เบสิกๆ (แต่ก็มีข้อด้อยดังที่กล่าวมาแล้ว)
จะเห็นได้ว่าทั้งสองแบบมีข้อดีข้อด้อยทั้งคู่ พอเกิดเหตุปุ๊บ company man หน้างานก็ต้องคิดและตัดสินใจปั๊บว่าจะเอาแบบไหน ยิ่งในสมัยก่อน การสื่อสารไม่ดีเหมือนทุกวันนี้ company man สั่งการเลยได้ทันที สมัยนี้เหรอครับ หุ หุ ต้องโทรหา rig superintendent ถ้ากรณีซับซ้อน ก็ต้องโทรฯปลุก drilling engineer ฯลฯ ยกโขยงกันมาช่วยตัดสินใจ มันก็มีข้อดีข้องเสียทั้งสองแบบ (ให้ company man ตัดสินใจเอง หรือ รวมหัวกันตัดสินใจ) แต่ที่แน่ๆ ประสบการณ์ที่ได้มามีราคาที่ต้องจ่ายครับ ถ้าอยากให้คนของเรามีประสบการณ์แต่ไม่อยากจ่ายค่าประสบการณ์ก็เอาหุ่นยนต์หรือเด็กๆไปคุมงานแล้วให้มือถือ ไวไฟ มีอะไรก็โทรฯเข้าฝั่งเข้าฐานล่ะกัน ก็เป็น model การบริหารงานอีกแบบ ที่ก็ไม่ผิด … ได้อย่าง เสียอย่าง เสมอครับ
ผ่านไปสองวิธีล่ะ …
สังเกตุว่าสองวิธีนี้ มีก้านเจาะจิ้มอยู่ในหลุม ลงไปถึงก้นหลุม แต่ถ้าไม่มีก้านเจาะในหลุม หรือ มีจิ้มอยู่ตื้นๆ จิ้มลงไปแค่ส่วนบนของหลุม … จะทำไง …
โปรดติดตามตอนต่อไป …