สวัสดีครับท่านนักปฏิบัติใหม่ทุกท่าน
ไม่น่าเชื่อนะครับว่ากระทู้เล็กๆอย่าง"ข้อคิดดีๆสำหรับนักปฏิบัติใหม่"จะได้รับการกล่าวถึงในห้องศาสนากันบ้างแล้ว ส่วนหนึ่งผมเชื่อว่าอาจจะเป็นเพราะเนื้อหาเราและแนวทางการปฏิบัติเรานั้นเข้าใจง่าย เหมือนอาหารกระป๋องคือเปิดแล้วกระดกได้เลย แต่กว่าจะผลิตอาหารนี้ได้ทั้งปรุงทั้งผัดลองผิดลองถูกกันมาตั้งนาน แต่ก็มีคนส่วนหนึ่งที่ยังไม่เชื่อ การที่ท่านไม่เชื่อเราเป็นเรื่องดี พระพุทธองค์ทรงไม่สอนให้ใครเชื่อ แต่สอนให้เชื่อตัวเองผ่านการทดลองปฏิบัติแล้วจึงสรุปผล ศาสนาเราคือศาสนาแห่งปัญญา ทุกสิ่งอย่างสามารถพิสูจน์ได้จากการปฏิบัติจริงของท่าน
เข้าเรื่องดีกว่า...ภายหลังจากการฝึกปฏิบัติไปแล้ว3วัน นักปฏิบัติใหม่มีความก้าวหน้าถึงไหนกันบ้างครับ เท่าที่ผมทราบจากการติดต่อหลายคนทางหลังไมด์ ตอนนี้มีคนทำได้แล้วหลายคนเลย ขอแสดงความยินดีกับท่านด้วย ผู้รู้หลายๆคนพูดว่าสภาวะแค่นี้ใครๆก็ทำได้ ก็ไม่ถึงกับยากเย็นอะไร แต่เชื่อมั๊ยครับว่ามีนักปฏิบัติทั้งใหม่และเก่าหลายๆคนที่ยังทำไม่ได้ โดยเฉพาะรุ่นเก่าที่ทำไม่ได้แต่พยายาม"copy"ให้เหมือนผ่าน"ตำราบาลี" เรื่องนั้นไม่ใช่เรื่องของเราครับนักปฏิบัติใหม่ พวกเราจงมีความพยายามและมุมานะปฏิบัติกันต่อไปดีกว่า ผมเชื่อว่านักปฏิบัติใหม่ทุกท่านสามารถทำได้อย่างแน่นอน ผมขอสรุปเนื้อหาที่ผ่านมา 3 วั้นสั้นๆนะครับ
สมาธิมี 3 แบบ
1.ขณิกสมาธิ***
2.อุปจารสมาธิ***
3.อัปปนาสมาธิ***
- ขณิกสมาธิ
แปลว่า ตั้งใจมั่นได้เล็กน้อย หรือนิดๆ หน่อยๆ คำว่า สมาธิ แปล ว่า ตั้งใจมั่น ต้องมั่นได้นิดหน่อย เช่น กำหนดจิตคิดตามคำภาวนา ภาวนาได้ประเดี่ยว ประด๋าว จิตก็ไปคว้าเอาความรู้สึกนึกคิดอารมณ์ภายนอกคำภาวนามาคิด ทิ้งองค์ภาวนาเสีย แล้วกว่าจะรู้ตัวว่า จิตซ่าน ก็คิดตั้งบ้านสร้างเรือนเสียพอใจ อารมณ์ตั้งอยู่ในองค์ภาวนาไม่ได้ นานอย่างนี้ ตั้งอยู่ได้ประเดี๋ยวประด๋าว อารมณ์จิตก็ยังไม่สว่างแจ่มใส ภาวนาไปตามอาจารย์ สั่งขาดๆ เกินๆ อย่างนี้แหละที่เรียกว่า ขณิกสมาธิท่านยังไม่เรียก ฌาน เพราะอารมณ์ยัง ไม่เป็นฌานท่านจึงไม่เรียกว่า สมาบัติ เพราะยังไม่เข้าถึงกฎที่ท่านกำหนดไว้
- อุปจารสมาธิ
แปลว่า สมาธิที่มีความตั้งมั่นใกล้จะถึง ปฐมฌานหรือปฐมสมาบัติ นั่นเอง อุปจารสมาธิคุมอารมณ์สมาธิไว้ได้นานพอ สมควร มีอารมณ์ใสสว่างพอใช้ได้ เป็นพื้นฐานเดิมที่จะฝึกทิพยจักษุญาณได้ อารมณ์ ที่อุปจารสมาธิเข้าถึงนั้นมีอาการดังนี้
*วิตก คือ ความกำหนดจิตนึกคิดองค์ภาวนาหรือกำหนดรูปกสิณ จิตกำหนดอยู่ได้ไม่คลาดเคลื่อน
*วิจาร คือ การใคร่ครวญในรูปกสิณนิมิต มีอาการเคลื่อนไหวหรือคงที่ มีสีสันวรรณะเป็นอย่างไร เล็กหรือใหญ่ สูงหรือต่ำ จิตกำหนดรู้ไว้ได้ ถ้าเป็นองค์ภาวนา ภาวนาครบถ้วนไหม ผิดถูกอย่างไร กำหนดรู้เสมอ ถ้ากำหนดลมหายใจ ก็กำหนดรู้ว่า หายใจเข้าออกยาวหรือสั้น เบาหรือแรง รู้อยู่ตลอด
*ปีติ คือ ความปลาบปลื้มเอิบอิ่มใจ มีจิตใจชุ่มชื่นเบิกบาน อาการของปีติมีห้าอย่างคือ
1 มีการขนลุกขนชัน ท่านเรียกว่าขนพองสยองเกล้า
2 มีน้ำตาไหลจากตาโดยไม่มีอะไรไปทำให้ตาระคายเคือง
3 ร่างกายโยกโคลง คล้ายเรือกระทบคลื่น
4 ร่างกายลอยขึ้นเหนือพื้นที่นั่ง บางรายลอยไปได้ไกลๆ และลอยสูงมาก
5 อาการกายซู่ซ่า คล้ายร่างกายโปร่ง และใหญ่โตสูงขึ้นอย่างผิดปกติ
*สุข คือ ความสุขชื่นบานไม่เคยปรากฏการณ์มาก่อนเลยในชีวิต จะนั่งสมาธินานแสนนานก็ไม่รู้สึกปวดเมื่อย
กล่าวโดยสรุป...อาการต่างๆที่กล่าวมาข้างต้นที่เรียกว่า "อุปจารสมาธิ" หรือ "อุปจารฌาน" คือเฉียดๆจะถึง "ปฐมฌาน" ตอนนี้ยังไม่เรียก"ฌาน"โดยตรง เพราะอารมณ์ ถ้าหากมีคนมาคุยแล้วกล่าวว่า อาการสมาธิที่ปรากฏขึ้นกับนักปฏิบัติใหม่ทุกท่าน เรียกว่า "ฌาณ" ขอให้นักปฏิบัติใหม่ทุกท่านปล่อยผ่านไปเลย ไม่ต้องไปถกเถียงเพราะจะเสียเวลาการฝึกปฏิบัติป่าวๆ
ในส่วนอาการของ"ปฐมฌาน"
อารมณ์ปฐมฌาน คือการเพ่ง หูนักปฏิบัติใหม่ยังได้ยินเสียงภายนอกทุกประการ แต่ว่าอารมณ์ภาวนาไม่คลาดเคลื่อน ไม่รำคาญในเสียง เสียงก็ได้ยินแต่จิตก็ทำงานเป็นปกติ "กาย"กับ"จิต"เริ่มแยกตัวกันเล็กน้อย ได้ยินเสียงแต่สัมผัสถึงลมหายใจได้ลดลง ส่วนหนึ่งเพราะนักปฏิบัติใหม่ต้องรวบรวมสมาธิเพื่อเพ่งในกำลังทั้ง4 คือ วิตก วิจาร ปิติ สุข และยังต้องพยายามประคองอารมณ์จิตให้อยู่ตัว แต่พอจิตเข้าระดับ "ปฐมฌาน" นักปฏิบัติใหม่จะเฉยเมยต่อเสียง จะคิดถึงเพียงอารมณ์กรรมฐานเท่านั้น ส่วนท่านเจโตฯเราจะเรียกสภาวะนี้ว่า "ปฐมสมาบัติ" อารมณ์สมาธิของท่านเข้าถึงเกณฑ์ของปฐมฌาน แต่ภาพพระใน"ทิพยขุญาณ"ยังคงปรากฏชัดเจนแจ่มใส ศัตรูตัวสำคัญที่คอยขัดขวางการเข้าถึงปฐมฌานของนักปฏิบัติใหม่มี 2 เรื่อง ประกอบด้วย
1.เสียง*** - ถ้านักปฏิบัติใหม่สามารถรักษากำลังของสมาธิอยู่ได้ โดยไม่ไม่หวั่นไหวในเสียงหรือรำคาญแสดงว่าท่านเข้าถึง ปฐมฌานหรือปฐมสมาบัติได้แล้วจริงๆ
2.นิวรณ์*** - มี 5 อย่าง คือ กามฉันทะ / พยาบาท / ถีนมิทธะ / อุทธัจจกุกกุจจะ / วิจิกิจฉา
- กามฉันทะ คือ ความพอใจใน รูป-เสียง-กลิ่น-รส-สัมผัส-กามารมณ์
- พยาบาท คือ ความผูกโกรธ จองล้างจองผลาญ
- ถีนมิทธะ คือ ความง่วงเหงาหาวนอน
- อุทธัจจกุกกุจจะ คือ ความคิดฟุ้งซ่าน และความรำคาญหงุดหงิด
- วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยในผลของการปฏิบัติ
อานิสงฆ์ของ"ฌานขั้นปฐมฌาน" จะนำทางให้ท่านไปเกิดในภพต่อไปนี้
- ปฐมฌานหยาบ ให้ผลไปเกิดในพรหมโลกชั้นที่ 1
- ปฐมฌานกลาง ให้ผลไปเกิดในพรหมโลกชั้นที่ 2
- ปฐมฌานละเอียด ให้ผลไปเกิดในพรหมโลกชั้นที่ 3
นักปฏิบัติใหม่อย่าเพิ่งตกในเนื้อหานะครับ เนื่องจากตอนนี้นักปฏิบัติใหม่ทุกท่านได้ฝึกปฏิบัติจนเข้าถึงสภาวะ"ปฐมฌาณ"กันแล้ว ท่านจำเป็นต้องมีความรู้ติดตัวกันบ้าง ไม่อย่างงั้นท่านจะโดนท่านเซียนธรรมะ-ท่านตู้พระไตรปิฏกเคลื่อนที่-ท่านนักสอบอารมณ์-เจ้ายุทธจักรจอมมารcut&Place ค่อนแคะเอาได้ พวกเราจะโดนหาว่าไม่มีความรู้ด้าน"ปริยัติ"แต่ดัน"ปฏิบัติ" มัวแต่ตั้งหน้าตั้งตานั่งหลับตาบริกรรมอยู่นั้นแหล่ะ...ไปไม่ถึงไหนหรอก ก็ถือว่าเรียนรู้กันเอาไว้เป็นไม้กันหมาหล่ะกัน ที่สำคัญนะครับ ตอนปฏิบัติจริงเชื่อว่านักปฏิบัติใหม่ต้องได้ใช้จริงแน่นอน วันนี้เรามาว่ากันด้วยเรื่องของ "ฌาณ2"หรือ "ทุติยฌาน"หรือ"ทุติยสมาบัติ" กันดีกว่า
ในช่วง"ปฐมฌาน"นักปฏิบัติใหม่จำเป็นต้องประคองสามาธิที่มีอารมณ์ถึง 5 อย่าง ตามที่กล่าวมาแล้วในฌานที่ 1 แต่สำหรับขั้น"ทุติยฌาน"เราจะประคองอารมณ์กันแค่ 3 อย่างเท่านั้น คือ ปีติ/สุขและเอกัคคตา คือ ท่านต้องตัดอาการของ"วิตก/วิจาร" อันเป็นอารมณ์ของ ปฐมฌานออกเสีย ลักษณะอาการตัดวิตก/วิจารนั้นเป็นอย่างไร ข้อนี้นักปฏิบัติใหม่คงสนใจ คือ เราต้องงดการนึกคิดเอาเอง พูดให้เห็นภาพสักหน่อย ในระยะแรกพวกเรากำลังภาวนาพุท-โธ หรือเพ่งภาพพระ ในขณะที่ภาวนา จิตคิดถึงคำภาวนานั้นแหล่ะเรียกว่า "วิตก" / จิตที่คอยประคับประคองคำภาวนา คิดตามว่าเราภาวนาไม่ครบถ้วนหรือไม่ อย่างนี้เรียกว่า "วิจาร" การตัดวิตก-วิจาร ก็ภาวนาไปอย่างนั้น จนเกิด ปีติ สุขและเอกัคคตา อารมณ์พวกเราจะคงที่ไม่สนใจกับอารมณ์ภายนอก สังเกตดีๆ
1.ลมหายใจพวกเราเริ่มจะอ่อนลง รู้สึกว่าลมหายใจเบาขึ้น อารมณ์จิตแจ่มใส
2.หลับตาแต่มีความสว่างคล้ายกับเปิดไฟ
3.จิตจะหยุดคำภาวนา อารมณ์พวกเราจะนิ่งและสบายกว่าตอนภาวนา
4.หูเราจะได้ยินเสียงแต่เบากว่าเดิม เพราะจิตของพวกเราไม่สนใจกับเรื่องอื่นๆ
แต่ก็มีบางรายพอรู้สึกตัวว่าเราหยุดคำภาวนาก็ตกใจ รีบคิดถึงคำภาวนา สักพักคำภาวนาก็หายไปอีก อาการที่จิตสงัดปล่อยคำภาวนาหรือไม่ภาวนานั่นแหละคือการ "วิตก/วิจาร" ถ้าท่านสามารถละ2อย่างนี้ได้จริงๆ หมายถึงท่านได้เข้าถึงสมาธิสภาวะที่เรียกว่า "ฌาน2" เรียบร้อยแล้ว
- ท่านสุขวิปัสสโก เรียกสภาวะนี้ว่า "ทุติยฌาน" ในขณะที่ฝึกขั้นนี้จิตของท่านจะเริ่มรวมตัวเป็นทรงกลมสีขาวปนเทา มีลักษณะทรงกลมตรงหน้า นั่นคือจิตของท่าน ขณะนี้กำลังรวมกำลังอยู่ ท่านนักปฏิบัติใหม่ด้านสุขวิปัสสโกต้องจับสภาวะนี้ให้แม่นยำเพราะเราต้องใช้สภาวะนี้ในขั้นวิปัสสนาญาณ
- ท่านเจโตฯ เรียกสภาวะนี้ว่า "ทุติยสมาบัติ" ในขณะที่ฝึกภาพพระของท่านจะปรากฏตลอดเวลา มีแจ่มใสชัดเจน แต่ความสว่างที่จ้าในสภาวะที่แล้วจะลดลง ทำให้ท่านเห็นหน้าตาพระของท่านชัดเจนมากขึ้น จับสภาวะนี้ให้แม่นยำเพราะเราต้องใช้สภาวะนี้ในขั้นอรูปฌาณและวิปัสสนาญาณต่อไป
ผมจะพยายามสรุปเนื้อหาและสอดแทรกความรู้ปริยัติให้ท่านเรื่อยๆตามภูมิรู้-ภูมิธรรมที่ปรากฏขึ้นจริงภายหลังการปฏิบัติให้เรื่อยๆนะครับ เราจะได้มีเกราะไว้ป้องกันตัวจากกิเลสรอบๆตัวเราทั้งภายในและภายนอกไม่อยากบอก เวลานักปฏิบัติใหม่กำลังจะสิ้นลมหายใจในสภาวะ "ฌานขั้นทุติยฌาน" จะนำทางให้ท่านไปเกิดในภพต่อไปนี้
- ทุติยฌานหยาบ ให้ผลไปเกิดในพรหมโลกชั้นที่ 4
- ทุติยฌานกลาง ให้ผลไปเกิดในพรหมโลกชั้นที่ 5
- ทุติยฌานละเอียด ให้ผลไปเกิดในพรหมโลกชั้นที่ 6
การที่ท่านเข้าสู่สภาวะนี้ได้ก่อนตาย ท่านจะตัดอบายภูมิไม่ตกนรก-ขึ้นสวรรค์เมื่อหมดบุญก็จะกลับมาเกิดใหม่อีกตามวาระของท่าน แต่ข้อคิดดีๆนี้ไม่ได้แนะนำให้นักปฏิบัติใหม่ทุกท่านไปเกิดเป็นพรหมชั้น4-6นะครับ เป้าหมายที่แท้จริงของพวกเรา คือ "การไม่กลับมาเกิดขึ้นอีกในชาติต่อไป"ต่างหาก
ขอให้นักปฏิบัติใหม่ทุกท่านเจริญในธรรมสวัสดี
ข้อคิดดีๆสำหรับนักปฏิบัติใหม่ เรื่อง การฝึกสมาธิขั้นที่ 6 ทุติยฌาน
ไม่น่าเชื่อนะครับว่ากระทู้เล็กๆอย่าง"ข้อคิดดีๆสำหรับนักปฏิบัติใหม่"จะได้รับการกล่าวถึงในห้องศาสนากันบ้างแล้ว ส่วนหนึ่งผมเชื่อว่าอาจจะเป็นเพราะเนื้อหาเราและแนวทางการปฏิบัติเรานั้นเข้าใจง่าย เหมือนอาหารกระป๋องคือเปิดแล้วกระดกได้เลย แต่กว่าจะผลิตอาหารนี้ได้ทั้งปรุงทั้งผัดลองผิดลองถูกกันมาตั้งนาน แต่ก็มีคนส่วนหนึ่งที่ยังไม่เชื่อ การที่ท่านไม่เชื่อเราเป็นเรื่องดี พระพุทธองค์ทรงไม่สอนให้ใครเชื่อ แต่สอนให้เชื่อตัวเองผ่านการทดลองปฏิบัติแล้วจึงสรุปผล ศาสนาเราคือศาสนาแห่งปัญญา ทุกสิ่งอย่างสามารถพิสูจน์ได้จากการปฏิบัติจริงของท่าน
เข้าเรื่องดีกว่า...ภายหลังจากการฝึกปฏิบัติไปแล้ว3วัน นักปฏิบัติใหม่มีความก้าวหน้าถึงไหนกันบ้างครับ เท่าที่ผมทราบจากการติดต่อหลายคนทางหลังไมด์ ตอนนี้มีคนทำได้แล้วหลายคนเลย ขอแสดงความยินดีกับท่านด้วย ผู้รู้หลายๆคนพูดว่าสภาวะแค่นี้ใครๆก็ทำได้ ก็ไม่ถึงกับยากเย็นอะไร แต่เชื่อมั๊ยครับว่ามีนักปฏิบัติทั้งใหม่และเก่าหลายๆคนที่ยังทำไม่ได้ โดยเฉพาะรุ่นเก่าที่ทำไม่ได้แต่พยายาม"copy"ให้เหมือนผ่าน"ตำราบาลี" เรื่องนั้นไม่ใช่เรื่องของเราครับนักปฏิบัติใหม่ พวกเราจงมีความพยายามและมุมานะปฏิบัติกันต่อไปดีกว่า ผมเชื่อว่านักปฏิบัติใหม่ทุกท่านสามารถทำได้อย่างแน่นอน ผมขอสรุปเนื้อหาที่ผ่านมา 3 วั้นสั้นๆนะครับ
สมาธิมี 3 แบบ
1.ขณิกสมาธิ***
2.อุปจารสมาธิ***
3.อัปปนาสมาธิ***
- ขณิกสมาธิ
แปลว่า ตั้งใจมั่นได้เล็กน้อย หรือนิดๆ หน่อยๆ คำว่า สมาธิ แปล ว่า ตั้งใจมั่น ต้องมั่นได้นิดหน่อย เช่น กำหนดจิตคิดตามคำภาวนา ภาวนาได้ประเดี่ยว ประด๋าว จิตก็ไปคว้าเอาความรู้สึกนึกคิดอารมณ์ภายนอกคำภาวนามาคิด ทิ้งองค์ภาวนาเสีย แล้วกว่าจะรู้ตัวว่า จิตซ่าน ก็คิดตั้งบ้านสร้างเรือนเสียพอใจ อารมณ์ตั้งอยู่ในองค์ภาวนาไม่ได้ นานอย่างนี้ ตั้งอยู่ได้ประเดี๋ยวประด๋าว อารมณ์จิตก็ยังไม่สว่างแจ่มใส ภาวนาไปตามอาจารย์ สั่งขาดๆ เกินๆ อย่างนี้แหละที่เรียกว่า ขณิกสมาธิท่านยังไม่เรียก ฌาน เพราะอารมณ์ยัง ไม่เป็นฌานท่านจึงไม่เรียกว่า สมาบัติ เพราะยังไม่เข้าถึงกฎที่ท่านกำหนดไว้
- อุปจารสมาธิ
แปลว่า สมาธิที่มีความตั้งมั่นใกล้จะถึง ปฐมฌานหรือปฐมสมาบัติ นั่นเอง อุปจารสมาธิคุมอารมณ์สมาธิไว้ได้นานพอ สมควร มีอารมณ์ใสสว่างพอใช้ได้ เป็นพื้นฐานเดิมที่จะฝึกทิพยจักษุญาณได้ อารมณ์ ที่อุปจารสมาธิเข้าถึงนั้นมีอาการดังนี้
*วิตก คือ ความกำหนดจิตนึกคิดองค์ภาวนาหรือกำหนดรูปกสิณ จิตกำหนดอยู่ได้ไม่คลาดเคลื่อน
*วิจาร คือ การใคร่ครวญในรูปกสิณนิมิต มีอาการเคลื่อนไหวหรือคงที่ มีสีสันวรรณะเป็นอย่างไร เล็กหรือใหญ่ สูงหรือต่ำ จิตกำหนดรู้ไว้ได้ ถ้าเป็นองค์ภาวนา ภาวนาครบถ้วนไหม ผิดถูกอย่างไร กำหนดรู้เสมอ ถ้ากำหนดลมหายใจ ก็กำหนดรู้ว่า หายใจเข้าออกยาวหรือสั้น เบาหรือแรง รู้อยู่ตลอด
*ปีติ คือ ความปลาบปลื้มเอิบอิ่มใจ มีจิตใจชุ่มชื่นเบิกบาน อาการของปีติมีห้าอย่างคือ
1 มีการขนลุกขนชัน ท่านเรียกว่าขนพองสยองเกล้า
2 มีน้ำตาไหลจากตาโดยไม่มีอะไรไปทำให้ตาระคายเคือง
3 ร่างกายโยกโคลง คล้ายเรือกระทบคลื่น
4 ร่างกายลอยขึ้นเหนือพื้นที่นั่ง บางรายลอยไปได้ไกลๆ และลอยสูงมาก
5 อาการกายซู่ซ่า คล้ายร่างกายโปร่ง และใหญ่โตสูงขึ้นอย่างผิดปกติ
*สุข คือ ความสุขชื่นบานไม่เคยปรากฏการณ์มาก่อนเลยในชีวิต จะนั่งสมาธินานแสนนานก็ไม่รู้สึกปวดเมื่อย
กล่าวโดยสรุป...อาการต่างๆที่กล่าวมาข้างต้นที่เรียกว่า "อุปจารสมาธิ" หรือ "อุปจารฌาน" คือเฉียดๆจะถึง "ปฐมฌาน" ตอนนี้ยังไม่เรียก"ฌาน"โดยตรง เพราะอารมณ์ ถ้าหากมีคนมาคุยแล้วกล่าวว่า อาการสมาธิที่ปรากฏขึ้นกับนักปฏิบัติใหม่ทุกท่าน เรียกว่า "ฌาณ" ขอให้นักปฏิบัติใหม่ทุกท่านปล่อยผ่านไปเลย ไม่ต้องไปถกเถียงเพราะจะเสียเวลาการฝึกปฏิบัติป่าวๆ
ในส่วนอาการของ"ปฐมฌาน"
อารมณ์ปฐมฌาน คือการเพ่ง หูนักปฏิบัติใหม่ยังได้ยินเสียงภายนอกทุกประการ แต่ว่าอารมณ์ภาวนาไม่คลาดเคลื่อน ไม่รำคาญในเสียง เสียงก็ได้ยินแต่จิตก็ทำงานเป็นปกติ "กาย"กับ"จิต"เริ่มแยกตัวกันเล็กน้อย ได้ยินเสียงแต่สัมผัสถึงลมหายใจได้ลดลง ส่วนหนึ่งเพราะนักปฏิบัติใหม่ต้องรวบรวมสมาธิเพื่อเพ่งในกำลังทั้ง4 คือ วิตก วิจาร ปิติ สุข และยังต้องพยายามประคองอารมณ์จิตให้อยู่ตัว แต่พอจิตเข้าระดับ "ปฐมฌาน" นักปฏิบัติใหม่จะเฉยเมยต่อเสียง จะคิดถึงเพียงอารมณ์กรรมฐานเท่านั้น ส่วนท่านเจโตฯเราจะเรียกสภาวะนี้ว่า "ปฐมสมาบัติ" อารมณ์สมาธิของท่านเข้าถึงเกณฑ์ของปฐมฌาน แต่ภาพพระใน"ทิพยขุญาณ"ยังคงปรากฏชัดเจนแจ่มใส ศัตรูตัวสำคัญที่คอยขัดขวางการเข้าถึงปฐมฌานของนักปฏิบัติใหม่มี 2 เรื่อง ประกอบด้วย
1.เสียง*** - ถ้านักปฏิบัติใหม่สามารถรักษากำลังของสมาธิอยู่ได้ โดยไม่ไม่หวั่นไหวในเสียงหรือรำคาญแสดงว่าท่านเข้าถึง ปฐมฌานหรือปฐมสมาบัติได้แล้วจริงๆ
2.นิวรณ์*** - มี 5 อย่าง คือ กามฉันทะ / พยาบาท / ถีนมิทธะ / อุทธัจจกุกกุจจะ / วิจิกิจฉา
- กามฉันทะ คือ ความพอใจใน รูป-เสียง-กลิ่น-รส-สัมผัส-กามารมณ์
- พยาบาท คือ ความผูกโกรธ จองล้างจองผลาญ
- ถีนมิทธะ คือ ความง่วงเหงาหาวนอน
- อุทธัจจกุกกุจจะ คือ ความคิดฟุ้งซ่าน และความรำคาญหงุดหงิด
- วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยในผลของการปฏิบัติ
อานิสงฆ์ของ"ฌานขั้นปฐมฌาน" จะนำทางให้ท่านไปเกิดในภพต่อไปนี้
- ปฐมฌานหยาบ ให้ผลไปเกิดในพรหมโลกชั้นที่ 1
- ปฐมฌานกลาง ให้ผลไปเกิดในพรหมโลกชั้นที่ 2
- ปฐมฌานละเอียด ให้ผลไปเกิดในพรหมโลกชั้นที่ 3
นักปฏิบัติใหม่อย่าเพิ่งตกในเนื้อหานะครับ เนื่องจากตอนนี้นักปฏิบัติใหม่ทุกท่านได้ฝึกปฏิบัติจนเข้าถึงสภาวะ"ปฐมฌาณ"กันแล้ว ท่านจำเป็นต้องมีความรู้ติดตัวกันบ้าง ไม่อย่างงั้นท่านจะโดนท่านเซียนธรรมะ-ท่านตู้พระไตรปิฏกเคลื่อนที่-ท่านนักสอบอารมณ์-เจ้ายุทธจักรจอมมารcut&Place ค่อนแคะเอาได้ พวกเราจะโดนหาว่าไม่มีความรู้ด้าน"ปริยัติ"แต่ดัน"ปฏิบัติ" มัวแต่ตั้งหน้าตั้งตานั่งหลับตาบริกรรมอยู่นั้นแหล่ะ...ไปไม่ถึงไหนหรอก ก็ถือว่าเรียนรู้กันเอาไว้เป็นไม้กันหมาหล่ะกัน ที่สำคัญนะครับ ตอนปฏิบัติจริงเชื่อว่านักปฏิบัติใหม่ต้องได้ใช้จริงแน่นอน วันนี้เรามาว่ากันด้วยเรื่องของ "ฌาณ2"หรือ "ทุติยฌาน"หรือ"ทุติยสมาบัติ" กันดีกว่า
ในช่วง"ปฐมฌาน"นักปฏิบัติใหม่จำเป็นต้องประคองสามาธิที่มีอารมณ์ถึง 5 อย่าง ตามที่กล่าวมาแล้วในฌานที่ 1 แต่สำหรับขั้น"ทุติยฌาน"เราจะประคองอารมณ์กันแค่ 3 อย่างเท่านั้น คือ ปีติ/สุขและเอกัคคตา คือ ท่านต้องตัดอาการของ"วิตก/วิจาร" อันเป็นอารมณ์ของ ปฐมฌานออกเสีย ลักษณะอาการตัดวิตก/วิจารนั้นเป็นอย่างไร ข้อนี้นักปฏิบัติใหม่คงสนใจ คือ เราต้องงดการนึกคิดเอาเอง พูดให้เห็นภาพสักหน่อย ในระยะแรกพวกเรากำลังภาวนาพุท-โธ หรือเพ่งภาพพระ ในขณะที่ภาวนา จิตคิดถึงคำภาวนานั้นแหล่ะเรียกว่า "วิตก" / จิตที่คอยประคับประคองคำภาวนา คิดตามว่าเราภาวนาไม่ครบถ้วนหรือไม่ อย่างนี้เรียกว่า "วิจาร" การตัดวิตก-วิจาร ก็ภาวนาไปอย่างนั้น จนเกิด ปีติ สุขและเอกัคคตา อารมณ์พวกเราจะคงที่ไม่สนใจกับอารมณ์ภายนอก สังเกตดีๆ
1.ลมหายใจพวกเราเริ่มจะอ่อนลง รู้สึกว่าลมหายใจเบาขึ้น อารมณ์จิตแจ่มใส
2.หลับตาแต่มีความสว่างคล้ายกับเปิดไฟ
3.จิตจะหยุดคำภาวนา อารมณ์พวกเราจะนิ่งและสบายกว่าตอนภาวนา
4.หูเราจะได้ยินเสียงแต่เบากว่าเดิม เพราะจิตของพวกเราไม่สนใจกับเรื่องอื่นๆ
แต่ก็มีบางรายพอรู้สึกตัวว่าเราหยุดคำภาวนาก็ตกใจ รีบคิดถึงคำภาวนา สักพักคำภาวนาก็หายไปอีก อาการที่จิตสงัดปล่อยคำภาวนาหรือไม่ภาวนานั่นแหละคือการ "วิตก/วิจาร" ถ้าท่านสามารถละ2อย่างนี้ได้จริงๆ หมายถึงท่านได้เข้าถึงสมาธิสภาวะที่เรียกว่า "ฌาน2" เรียบร้อยแล้ว
- ท่านสุขวิปัสสโก เรียกสภาวะนี้ว่า "ทุติยฌาน" ในขณะที่ฝึกขั้นนี้จิตของท่านจะเริ่มรวมตัวเป็นทรงกลมสีขาวปนเทา มีลักษณะทรงกลมตรงหน้า นั่นคือจิตของท่าน ขณะนี้กำลังรวมกำลังอยู่ ท่านนักปฏิบัติใหม่ด้านสุขวิปัสสโกต้องจับสภาวะนี้ให้แม่นยำเพราะเราต้องใช้สภาวะนี้ในขั้นวิปัสสนาญาณ
- ท่านเจโตฯ เรียกสภาวะนี้ว่า "ทุติยสมาบัติ" ในขณะที่ฝึกภาพพระของท่านจะปรากฏตลอดเวลา มีแจ่มใสชัดเจน แต่ความสว่างที่จ้าในสภาวะที่แล้วจะลดลง ทำให้ท่านเห็นหน้าตาพระของท่านชัดเจนมากขึ้น จับสภาวะนี้ให้แม่นยำเพราะเราต้องใช้สภาวะนี้ในขั้นอรูปฌาณและวิปัสสนาญาณต่อไป
ผมจะพยายามสรุปเนื้อหาและสอดแทรกความรู้ปริยัติให้ท่านเรื่อยๆตามภูมิรู้-ภูมิธรรมที่ปรากฏขึ้นจริงภายหลังการปฏิบัติให้เรื่อยๆนะครับ เราจะได้มีเกราะไว้ป้องกันตัวจากกิเลสรอบๆตัวเราทั้งภายในและภายนอกไม่อยากบอก เวลานักปฏิบัติใหม่กำลังจะสิ้นลมหายใจในสภาวะ "ฌานขั้นทุติยฌาน" จะนำทางให้ท่านไปเกิดในภพต่อไปนี้
- ทุติยฌานหยาบ ให้ผลไปเกิดในพรหมโลกชั้นที่ 4
- ทุติยฌานกลาง ให้ผลไปเกิดในพรหมโลกชั้นที่ 5
- ทุติยฌานละเอียด ให้ผลไปเกิดในพรหมโลกชั้นที่ 6
การที่ท่านเข้าสู่สภาวะนี้ได้ก่อนตาย ท่านจะตัดอบายภูมิไม่ตกนรก-ขึ้นสวรรค์เมื่อหมดบุญก็จะกลับมาเกิดใหม่อีกตามวาระของท่าน แต่ข้อคิดดีๆนี้ไม่ได้แนะนำให้นักปฏิบัติใหม่ทุกท่านไปเกิดเป็นพรหมชั้น4-6นะครับ เป้าหมายที่แท้จริงของพวกเรา คือ "การไม่กลับมาเกิดขึ้นอีกในชาติต่อไป"ต่างหาก
ขอให้นักปฏิบัติใหม่ทุกท่านเจริญในธรรมสวัสดี