มันก็ใช่ที่ว่าต้นฉบับของรามเกียรติ์มาจากเรื่อง รามายณะ ของอินเดีย แต่ต่อมาเรื่องรามายณะนั้นก็เผยแพร่มาสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้หลาย ๆ ประเทศแถบนี้ทั้งไทย ลาว กัมพูชา หรืออินโดนีเซียก็รู้จักรามเกียรติ์และมีรามเกียรติ์ในแบบของตัวเองกันหมด
การแสดงรามเกียรติ์ของลาวกับกัมพูชาจะออกแนวคล้าย ๆ โขนของไทยหน่อย โดยเฉพาะตัวหนุมานนี่แทบจะเหมือนกันเลยของทั้งสามชาติ ชื่อเรียกก็แตกต่างกันออกไป ลาวเรียกง่าย ๆ เลยว่า พระลักษมณ์พระราม ของกัมพูชาเรียกว่า เรียมเก ส่วนอินโดนีเซียจะเรียกว่า อิกายัก ศรีราม
แต่ยังไงผมก็จะบอกว่ารามเกียรติ์เป็นวรรณคดีไทย เพราะอะไร เพราะพวกบทกลอน บทละครอะไรต่าง ๆ ไงครับ ถูก ที่ว่ารามเกียรติ์ก็ดัดแปลงมาจากรามายณะของอินเดีย แต่พวกบทร้อยกรอง บทละครอะไรเนี่ย เป็นสิ่งที่คนไทยเราคิด เรารังสรรค์ขึ้นมาเอง จุดนั้นแหละครับที่มันเป็นวรรณคดีไทย เพราะถึงคนไทยโบราณจะรับเอารามายณะมาจากอินเดีย ก็ต้องมานั่งประพันธ์บทร้อยกรองพวกนี้ขึ้นมาอีก และเนื้อหาบางส่วนของรามเกียรติ์กับรามายณะก็ไม่เหมือนกัน
เนื้อหาโดยรวมน่ะเหมือนกันครับ คือท้าวทศรถจะสละราชสมบัติให้พระราม พอพระนางไกยเกษีรู้ก็เลยทูลขอราชสมบัติให้พระพรตที่เป็นลูกตัวเองแล้วขอให้พระรามไปบวชเป็นฤๅษีอยู่ในป่า พอพระราม นางสีดา พระลักษมณ์เข้าป่าไปแล้ว นางสีดาก็โดนทศกัณฐ์ชิงตัวไป พระรามก็ยกกองทัพวานรไปช่วย แบบนี้ แต่มีส่วนปลีกย่อยต่าง ๆ ที่แตกต่างกัน ที่สำคัญและเห็นชัดที่สุดคือชื่อตัวละคร บางตัวนี่ต่างกับของรามายณะแบบสิ้นเชิงไปเลย อย่างทศกัณฐ์ ในฉบับรามายณะจะเรียกว่า ราวัน หรือ ราวานา อะไรแบบนั้น แล้วรู้สึกของรามายณะจะไม่มีเรื่องของการศึกครั้งที่ ๒ กับท้าวจักรวรรดิ และไม่มีเรื่องของพระมงกุฎ พระลบ สู้กับทศกัณฐ์เสร็จก็คือจบ แล้วไม่มีทศกัณฐ์ถอดดวงใจด้วย ของรามายณะนี่คือพระรามตัดหัวทศกัณฐ์ยังไง หัวก็งอกขึ้นมาได้เรื่อย ๆ จนพิเภกต้องแนะนำว่าจุดอ่อนของทศกัณฐ์อยู่ที่สะดือ พระรามก็เลยแผลงศรใส่สะดือทศกัณฐ์ จบ
อย่างสามก๊กฉบับเจ้าพระยาคลัง (หน) หรือ เวนิสวาณิช และบทพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ ๖ หลาย ๆ เรื่องที่แปลจากงานของเชกสเปียร์ คือต้นฉบับสามก๊กและงานของเชกสเปียร์น่ะไม่ใช่ของไทยหรอก แต่บทร้อยกรอง วรรณคดีที่เอามาแปล เอามาแต่งเองตรงนั้นแหละที่มันเป็นวรรณคดีไทยที่ทรงคุณค่าที่ส่งต่อมาถึงคนรุ่นหลัง
ผมว่ามันก็เหมือนกับแกงกะหรี่อ่ะ คือทุกวันนี้เรากินข้าวแกงกะหรี่ตามร้านอาหารญี่ปุ่นต่าง ๆ แล้วเราก็บอกว่ามันคืออาหารญี่ปุ่น แต่เอาเข้าจริง ญี่ปุ่นก็ได้รับแกงกะหรี่มาจากอังกฤษที่รับมาจากอินเดียอีกต่อหนึ่ง ถ้าเอารสชาติแกงกะหรี่ญี่ปุ่นไปเทียบกับอินเดียที่เป็นต้นฉบับมันก็ไม่เหมือนกันอยู่ดี เพราะแกงกะหรี่อินเดียจะเผ็ดมากสำหรับคนญี่ปุ่น ก็มีการปรับรสอะไรต่าง ๆ ให้มันเหมาะ ให้มันเข้ากับคนญี่ปุ่นไป ก็กลายเป็นแกงกะหรี่รูปแบบญี่ปุ่นที่เราคุ้นเคยกัน
หรือใกล้ตัวหน่อยก็ก๋วยเตี๋ยวน้ำตก ก๋วยเตี๋ยวต้มยำ แน่นอนว่าก๋วยเตี๋ยวน่ะมาจากจีน แต่การปรับเป็นน้ำตก เป็นต้มยำนี่ก็เป็นฝีมือคนไทยเองนั่นแหละ
สรุปเลยก็คือ รามายณะ เป็นของอินเดีย แต่ รามเกียรติ์ เป็นของไทย
ใครว่ารามเกียรติ์ไม่ใช่วรรณคดีไทย (คหสต.)
การแสดงรามเกียรติ์ของลาวกับกัมพูชาจะออกแนวคล้าย ๆ โขนของไทยหน่อย โดยเฉพาะตัวหนุมานนี่แทบจะเหมือนกันเลยของทั้งสามชาติ ชื่อเรียกก็แตกต่างกันออกไป ลาวเรียกง่าย ๆ เลยว่า พระลักษมณ์พระราม ของกัมพูชาเรียกว่า เรียมเก ส่วนอินโดนีเซียจะเรียกว่า อิกายัก ศรีราม
แต่ยังไงผมก็จะบอกว่ารามเกียรติ์เป็นวรรณคดีไทย เพราะอะไร เพราะพวกบทกลอน บทละครอะไรต่าง ๆ ไงครับ ถูก ที่ว่ารามเกียรติ์ก็ดัดแปลงมาจากรามายณะของอินเดีย แต่พวกบทร้อยกรอง บทละครอะไรเนี่ย เป็นสิ่งที่คนไทยเราคิด เรารังสรรค์ขึ้นมาเอง จุดนั้นแหละครับที่มันเป็นวรรณคดีไทย เพราะถึงคนไทยโบราณจะรับเอารามายณะมาจากอินเดีย ก็ต้องมานั่งประพันธ์บทร้อยกรองพวกนี้ขึ้นมาอีก และเนื้อหาบางส่วนของรามเกียรติ์กับรามายณะก็ไม่เหมือนกัน
เนื้อหาโดยรวมน่ะเหมือนกันครับ คือท้าวทศรถจะสละราชสมบัติให้พระราม พอพระนางไกยเกษีรู้ก็เลยทูลขอราชสมบัติให้พระพรตที่เป็นลูกตัวเองแล้วขอให้พระรามไปบวชเป็นฤๅษีอยู่ในป่า พอพระราม นางสีดา พระลักษมณ์เข้าป่าไปแล้ว นางสีดาก็โดนทศกัณฐ์ชิงตัวไป พระรามก็ยกกองทัพวานรไปช่วย แบบนี้ แต่มีส่วนปลีกย่อยต่าง ๆ ที่แตกต่างกัน ที่สำคัญและเห็นชัดที่สุดคือชื่อตัวละคร บางตัวนี่ต่างกับของรามายณะแบบสิ้นเชิงไปเลย อย่างทศกัณฐ์ ในฉบับรามายณะจะเรียกว่า ราวัน หรือ ราวานา อะไรแบบนั้น แล้วรู้สึกของรามายณะจะไม่มีเรื่องของการศึกครั้งที่ ๒ กับท้าวจักรวรรดิ และไม่มีเรื่องของพระมงกุฎ พระลบ สู้กับทศกัณฐ์เสร็จก็คือจบ แล้วไม่มีทศกัณฐ์ถอดดวงใจด้วย ของรามายณะนี่คือพระรามตัดหัวทศกัณฐ์ยังไง หัวก็งอกขึ้นมาได้เรื่อย ๆ จนพิเภกต้องแนะนำว่าจุดอ่อนของทศกัณฐ์อยู่ที่สะดือ พระรามก็เลยแผลงศรใส่สะดือทศกัณฐ์ จบ
อย่างสามก๊กฉบับเจ้าพระยาคลัง (หน) หรือ เวนิสวาณิช และบทพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ ๖ หลาย ๆ เรื่องที่แปลจากงานของเชกสเปียร์ คือต้นฉบับสามก๊กและงานของเชกสเปียร์น่ะไม่ใช่ของไทยหรอก แต่บทร้อยกรอง วรรณคดีที่เอามาแปล เอามาแต่งเองตรงนั้นแหละที่มันเป็นวรรณคดีไทยที่ทรงคุณค่าที่ส่งต่อมาถึงคนรุ่นหลัง
ผมว่ามันก็เหมือนกับแกงกะหรี่อ่ะ คือทุกวันนี้เรากินข้าวแกงกะหรี่ตามร้านอาหารญี่ปุ่นต่าง ๆ แล้วเราก็บอกว่ามันคืออาหารญี่ปุ่น แต่เอาเข้าจริง ญี่ปุ่นก็ได้รับแกงกะหรี่มาจากอังกฤษที่รับมาจากอินเดียอีกต่อหนึ่ง ถ้าเอารสชาติแกงกะหรี่ญี่ปุ่นไปเทียบกับอินเดียที่เป็นต้นฉบับมันก็ไม่เหมือนกันอยู่ดี เพราะแกงกะหรี่อินเดียจะเผ็ดมากสำหรับคนญี่ปุ่น ก็มีการปรับรสอะไรต่าง ๆ ให้มันเหมาะ ให้มันเข้ากับคนญี่ปุ่นไป ก็กลายเป็นแกงกะหรี่รูปแบบญี่ปุ่นที่เราคุ้นเคยกัน
หรือใกล้ตัวหน่อยก็ก๋วยเตี๋ยวน้ำตก ก๋วยเตี๋ยวต้มยำ แน่นอนว่าก๋วยเตี๋ยวน่ะมาจากจีน แต่การปรับเป็นน้ำตก เป็นต้มยำนี่ก็เป็นฝีมือคนไทยเองนั่นแหละ
สรุปเลยก็คือ รามายณะ เป็นของอินเดีย แต่ รามเกียรติ์ เป็นของไทย