Those who do not remember the past are condemned to repeat it.
- George Santayana
ผู้ไม่รู้จักเรียนรู้จากประวัติศาสตร์ย่อมกระทำซ้ำอีก เป็นคำต้อนรับสู่นิทรรศการในอาคารหมายเลข 4 จุดเริ่มต้นของการเข้าชมค่ายกักกันและจุดเริ่มต้นของการเขียนกระทู้นี้
เช้านี้ฝนตกพรำ เป็นวันเดียวในรอบอาทิตย์ที่ฝนตก และจำต้องเป็นวันที่ฉันจองทัวร์เข้าชมสถานที่หนึ่งซึ่งหวังจะได้มาซักครั้ง ณ เมือง Oświęcim เมืองเล็กๆที่โด่งดังหลังการสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่สอง...ในฐานะที่ตั้งของค่ายกักกันเอาชวิทซ์-เบียร์เคเนา ค่ายที่กักขังอิสระภาพและผลาญชีวิตคนไปหลักล้านคน
สิ่งที่นำฉันมาถึงที่นี่ จุดเริ่มต้นของทุกอย่างมาจากวันว่างหนึ่งช่วงปิดเทอมสมัยมัธยมต้น ฉันยืมหนังสือหน้าตาธรรมดามาจากห้องสมุดแถวบ้าน
หนังสือเล่มนั้นชื่อ บันทึกลับ ของ แอนน์ แฟรงค์
เวลาผ่านไปสิบกว่าปี ถึงตอนนี้จะจำเนื้อหาในหนังสือแทบไม่ได้แล้ว แต่ความรู้สึกติดค้างบางอย่างกลับนำฉันมาถึงนี่ได้ เหมือนกับที่มันพาฉันไปยังที่ซ่อนลับหลังชั้นหนังสือของครอบครัวแฟรงค์ ความรู้สึกอยากจะมาเยือนค่ายกักกันซักครั้งทำให้ฉันกดจองตั๋วเครื่องบินเมื่อเห็นโปรโมชั่นอย่างไม่ลังเล และวันนี้ประตูเลืองชื่อ กับคำขวัญ Arbeit macht Frei - งานนำมาซึ่งอิสระภาพ ก็ปรากฏอยู่ต่อหน้า
ระบบการเข้าชมที่นี่จัดไว้เป็นรอบ ฉันจองทัวร์ One day study tour - 6 hours ไว้ในราคา 70 zt เริ่มเก้าโมงเช้ากับไกด์ภาษาอังกฤษ ในกลุ่มมีเพื่อนร่วมทัวร์ประมาณสิบห้าคน เมื่อเริ่มทัวร์เราจะได้รับแจกหูฟังเพื่อจะได้ยินเสียงไกด์พูดจากช่องสัญญาณที่ตั้งไว้ ทัวร์เริ่มตรงเวลาเผงนั่นคือทุกคนควรเผื่อเวลาในการผ่านจุดเช็ค security มาก่อนเวลาเริ่มที่จองไว้ แนะนำให้ทุกท่านรองท้องอาหารเช้า รวมถึงติดน้ำดื่มขวดเล็กไว้ เพราะนี่เป็นการเดินที่ค่อนข้างยาวนานค่ะ
สำหรับผู้ที่จะเข้าชมก่อนเก้าโมงเช้าและหลังบ่ายสามโมง สามารถเข้าชมได้โดยไม่ต้องมีไกด์ แต่ถ้าช่วงระหว่างเก้าโมงเช้าถึงบ่ายสามจำเป็นต้องไปกับไกด์เท่านั้น จองได้ที่
http://visit.auschwitz.org/?lang=en ถึงตั้งใจจะเดินเที่ยวเองก็แนะนำให้เข้าไปจองรอบการเข้าชมก่อนนะคะ เพราะคนค่อนข้างเยอะทีเดียว
ประวัติโดยสังเขปของสถานที่ ค่ายนี้แต่เดิมสร้างขึ้นเพื่อขังนักโทษทางการเมืองของโปแลนด์ ดังนั้นส่วนของค่ายเอาชวิทซ์จึงเป็นตึกสร้างด้วยอิฐที่ค่อนข้างทนทาน จนเมื่อเยอรมันเดินทัพเข้าโปแลนด์ค่ายนี้จึงถูกเปลี่ยนวัตถุประสงค์เพื่อคุมขังนักโทษอื่น ทั้งพวกนักโทษทหารรัสเซีย ยิปซี ยิว คนรักร่วมเพศ กระทั่งคนโปแลนด์ การกำจัดนักโทษก็มีการพัฒนาไปตามเวลา จนมาถึงห้องรมแก๊ส
ในชั่วเวลาห้าปีของสงคราม...สามปีของการพัฒนาเป็นห้องรมแก๊สในเดือนมีนา 1942 ตัวเลขผู้ถูกส่งมาที่นี่ร่วม 1,300,000 คน ในจำนวนนั้นเสียชีวิตไป 1,100,000 คน 90% เป็นชาวยิวและสาเหตุหลักของการเสียชีวิตมาจากการถูกส่งเข้าห้องรมแก๊ส..นอกจากนั้นสาเหตุอื่นๆก็มีทั้งขาดอาหาร, ใช้แรงงานจนตาย, ติดโรคระบาด ไปถึงการทดลองทางการแพทย์
เอาชวิทซ์เป็นศูนย์กลางในการรับนักโทษจากทุกที่ ไม่แค่ประเทศรอบๆที่ติดกัน กระทั่งชาวยิวจากออสโล นอร์เวย์ยังถูกส่งมา ไม่น่าแปลกใจเลยที่ไม่นานพื้นที่ของค่ายที่เรายืนอยู่นี้จะไม่เพียงพอในการรับนักโทษ จึงมีการขยายพื้นที่ไปยัง Auschwitz II หรือ Birkanau อีกค่ายที่อยู่ห่างออกไปไม่กี่กิโลเมตรที่กินพื้นที่กว้างขวางอย่างไม่น่าเชื่อ หากสงครามยังไม่ยุติก็คงมีการขยายขนาดค่ายออกไปได้อีก
หากจะเล่าชีวิตของเหล่าผู้สูญเสียอิสรภาพเหล่านี้เมื่อมาถึง อาจเริ่มได้ที่ภาพนี้ เมื่อทุกคนเดินทางมาถึงค่ายหลังจากการเดินทางอันยาวนาน อาจจะสองสามวันหรือกระทั่งเป็นสัปดาห์ที่แออัดอยู่ในตู้รถไฟขนส่งซึ่งมีช่องระบายอากาศอันเล็ก บางคนไม่รอดจากการขาดอากาศหายใจเสียด้วยซ้ำ เมื่อลงรถทุกคนจะถูกแบ่งกลุ่มเป็นผู้หญิงกับเด็ก และกลุ่มผู้ชาย ของมีค่าทุกอย่างถูกทิ้งไว้’ชั่วคราว’ อย่าลืมเขียนชื่อไว้เพราะคุณจะได้รับมันคืนในภายหลัง คำสั่งของทหารหน่วย SS (Schutzstaffel) จะเป็นประกาศิตนับจากนี้ไป
ใครมีความสามารถพิเศษจะถูกแยกกลุ่มออกมา ก่อนคนที่เหลือจะถูกหมอคัดแยกคนที่ ‘ใช้ได้’ กับ ‘อ่อนแอ’ ที่จะถูกส่งไปเข้าห้องรมแก๊สตั้งแต่วันแรกที่มาถึง คนท้อง เด็กเล็กหรือคนชราเป็นกลุ่มแรกๆที่จะถูกส่งเข้าห้องรมแก๊สโดยไม่ได้ลงะเบียนด้วยซ้ำ
ในหนังหลายๆเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเรื่องค่ายกักกันย่อมหนีฉากรถไฟไปไม่พ้น สำหรับคนอยากเห็นภาพ หนังเรื่องแรกที่จะคิดถึงกับฉากรถไฟสำหรับฉันกลับเป็นเรื่อง Escape from Sobibor ค่ายกักกันขนาดเล็กอีกที่ในโปแลนด์ มีฉากรถไฟตั้งแต่ต้นๆเรื่องและส่วนตัวคิดว่าฉากนี้ในเรื่องนี้ไม่รู้สึกสะเทือนใจมากเท่าหนังยุคหลัง
นิทรรศการนำเราเข้าสู่โมเดลของห้องรมแก๊ส ห้องใต้ดินว่างเปล่ากับฝักบัวที่ไม่มีวันได้ใช้งานจริง นักโทษที่ถูกตัดสินว่าไม่มีแรงทำงาน หรือพวกที่ถูกคัดตัวจากด่านแรกตรงมาที่นี่จะถูกบอกให้ถอดเสื้อผ้าเพื่อเข้าไป’อาบน้ำ’ ประตูล็อคสนิทปิดตามหลัง
เมื่อทุกคนเข้าไปเบียดเสียดจนอุณหภูมิข้างในสูงขึ้น SS จะปล่อยกระป๋องบรรจุ Zyklon B ลงไป ถ้าบอกว่าสารตัวนี้มีส่วนประกอบคือไซยาไนด์อาจฟังคุ้นเคยมากกว่า สำหรับคนประมาณ 2,000 คนใช้เพียงห้าหกกระป๋อง หลังเสียงกรีดร้องในห้อง รอเพียงครึ่งชั่วโมง...ไม่มีใครรอด
กลุ่มนักโทษที่ชื่อว่า Sonderkommando จะนำร่างเหล่านั้นออกมาเผา ตัดผม แยกของมีค่าที่อาจติดอยู่อย่างเช่นทองในฟันส่งไปยังโซนแคนาดา ชื่อเรียกส่วนที่กระเป๋ารวมถึงของมีค่าทั้งหลายที่ติดตัวเหยื่อมาจะถูกคัดแยก
ผู้ที่ทำหน้าที่ในหน่วย Sonderkommando จะถูกเปลี่ยนทุกๆสามสี่เดือน ทั้งจากการต้องตายเพราะเริ่มจะรู้เรื่องมากเกินไป หรือไม่หลายคนก็ฆ่าตัวตาย ความรู้สึกที่ต้องขนศพเหยื่อที่อาจเป็นคนในครอบครัว..เพื่อน..คนรู้จัก เข้าไปในเตาทุกๆวัน ทำให้พวกเขาตัดสินใจเลือกเวลาตายของตัวเอง
ไกด์เล่าว่า ตอนค่ายถูกปลดปล่อย มีคนในหน่วย Sonderkommando ที่เป็นผู้รอดชีวิต เป็นพยานสำคัญในการกระทำของนาซีครั้งนี้ เขาแชร์ประสบการณ์หลังกลับไปใช้ชีวิตปกติว่า เมื่อคนในครอบครัวตาย...มันเจ็บปวดมากที่เขาไม่สามารถร้องไห้ได้ เพราะเขาคุ้นชินกับความตายมากเกินไป
สำหรับคนที่ผ่านการคัดเลือกด่านแรกมาได้ จะมาสู่การคัดเลือกจุดที่สอง ห้อง Sauna ถอดเสื้อผ้า..แน่นอนว่าของมีค่าทุกอย่างไม่สามารถซ่อนได้ คนที่พิการ ตั้งครรภ์ หรือผิดปกติใดๆก็จะไม่สามารถปิดบังใต้เสื้อผ้าได้ กลุ่มคนที่ไม่เป็นที่ต้องการจะถูกส่งเข้าห้องรมแก๊ส ส่วนคนที่ผ่านจุดนี้ไปจะต้องเรียงกันเข้าห้องตัดผม อาบน้ำ แล้วก็จะได้เลขลงทะเบียนเป็นนักโทษในค่ายโดยสักลงบนร่างกาย ได้รับชุดนักโทษและส่งตัวไปทำงานต่างๆต่อไป
นอกจากเลขประจำตัวบนตัวและบนเสื้อ ยังมีเครื่องหมายและสีแยกประเภทนักโทษ เช่น เป็นยิว เป็นรักร่วมเพศ แต่อีกหนึ่งกลุ่มที่มีเครื่องหมายสำคัญ คือกลุ่มที่ได้รับเลือกเป็นผู้คุมของเหล่านักโทษอีกที เรียกว่า Kapos
ในเหล่าภาพวาดจากผู้รอดชีวิตถึงสภาพในค่ายกักกัน กลับกลายเป็นว่าเหล่าทหาร SS เพียงยืนคุม และ Kapos กลายเป็นคนที่ลงมือทารุณนักโทษด้วยซ้ำ Kapos จะมีความเป็นอยู่ที่ดีกว่านักโทษทั่วไป จะรอดชีวิตในค่ายนี้ได้หรือไม่ก็แล้วแต่ดวงจะเจอผู้คุมดีหรือร้าย ในภาพ Kapos คือคนชุดสีเข้ม อ้วนท้วนกว่านักโทษอื่น
แต่ละวันนักโทษต้องออกไปทำงานข้างนอกร่วมสิบชั่วโมง เริ่มตั้งแต่การปลุกที่เรียกว่า roll call ในเวลาตีสี่ครึ่ง นักโทษทุกคนต้องออกไปเข้าแถว..ถึงตายเพื่อนนักโทษก็ต้องหิ้วออกไป เริ่มการทำงานในชุดนักโทษกับรองเท้าไร้ถุงเท้าใต้อากาศหนาวเหน็บของโปแลนด์ เมื่อกลับมาจากทำงานยังเตียงในโรงนอนที่ผู้คุมไม่ดีก็อาจต้องทนทรมานต่อกับการกลั่นแกล้งต่อ
นักโทษจะมีโอกาสใช้ห้องน้ำได้วันละสองครั้ง ในขณะที่อาหารที่ได้รับในหนึ่งวันมีเพียงซุป ขนมปังขนาดในภาพ ไม่น่าแปลกใจที่ในเวลาไม่นานทุกคนก็กลายสภาพเป็นเหมือนโครงกระดูกเดินได้ ผู้รอดชีวิตจากค่ายรายหนึ่งเล่าว่า เขาต้องพกขนมปังไว้ข้างเตียงทุกวัน...นั่นคือความหวาดกลัวฝังลึกว่าเมื่อตื่นขึ้นมาเขาจะต้องหิวโหยอีก
ในสภาวะนั้น มีลบางคนลอบถ่ายภาพในค่ายกักกันไว้ได้ (เข้าใจว่าคือหนึ่งในพวก Sonderkommando) คือภาพการเผาศพในที่แจ้ง รวมถึงภาพเหล่านักโทษเปลือยถูกต้อนอยู่ในป่า และนำไปเผยแพร่สู่โลกภายนอก นั่นเป็นหลักฐานสำคัญที่จะแสดงว่าเกิดอะไรขึ้นที่นี่ ในตอนนั้นผู้คนจำนวนมากไม่รู้ถึงการมีอยู่ของค่ายกักกัน ชาวยิวบางครอบครัวถึงกับจ่ายเงินซื้อตั๋วรถไฟเพื่อให้ได้มาเอาชวิทช์เพราะถูกหลอกว่าที่นี่มีงานให้ทำ
ในที่สุด..ไกด์พาลูกทัวร์ไปถึงห้องสำคัญที่ห้ามถ่ายภาพ อย่างที่บอกว่ามาถึงค่ายแล้วต้องโดนกร้อนผม กระทั่งศพจากห้องรมแก๊สก็เช่นกัน สาเหตุหนึ่งคือเพื่อป้องกันการระบาดของสัตว์จำพวก lice ส่วนอีกเหตุผลคือ ผมที่ได้จะถูกส่งไปโรงงานสิ่งทอในราคาแสนถูก หนึ่งกิโลกรัมมีค่าไม่เท่าไหร่ ...แต่เมื่อนี่คือสงคราม เงินก็คือเงิน
เมื่อทหารของสหภาพโซเวียตมาปลดปล่อยค่ายนี้ นอกจากทรัพย์สินแบ่งแยกประเภทกองพะเนินเทินทึก ยังได้พบผมมนุษย์น้ำหนักรวมร่วมเจ็ดตัน ในส่วนของนิทรรศการใช้เส้นผมประมาณเกือบสองตันเก็บไว้ในตู้กระจก เป็นกองสูงกว่าตัวฉันจากมุมห้องหนึ่งไปจรดอีกมุม
หลายคนรวมถึงฉันเสียน้ำตา ถึงจะไม่ได้มองอย่างเต็มตาแต่มันเป็นภาพที่ฉันคงไม่มีวันลืมไปตลอดชีวิต..
ถึงไกด์ไม่ห้าม ฉันก็ไม่คิดว่าตัวเองจะถ่ายภาพห้องนี้ได้ มันสะเทือนใจกว่าภาพกองสิ่งของมาก
ในช่วงที่ไปมีการปรับปรุงอาคารอยู่ เลยไม่ได้ชมห้องของกองกระเป๋า รองเท้า แว่นตาที่เคยเห็นในอินเตอร์เนต ตอนนี้ในอาคารมีห้องกระเป๋ากับรองเท้ารวมกันนิดหน่อยกับห้องรวมเครื่องครัวขนาดใหญ่แทน ภาพห้องที่ฉันพูดถึงหาดูไม่ยากจากคำสืบค้นพวก Auschwitz, concentration camp แต่ขอแนะนำให้เลี่ยงภาพ hair room เถอะ
ชั้นแรกของอาคารนิทรรศการนี้มีรูปนักโทษติดเรียงราย นั่นมาจากกลุ่มนักโทษชุดแรกๆที่ทำประวัติลงทะเบียนไว้พร้อมถ่ายรูป ฉันพยายามมองหาจุดเชื่อมโยงบนใบหน้า ว่ากันว่าชาวยิวมีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะอย่างที่จมูก แต่เปล่าประโยชน์เมื่อไกด์อธิบายว่า ภาพที่เห็นเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นชาวโปแลนด์ที่เป็นนักโทษกลุ่มแรก (หากจำได้..เริ่มต้นคุกนี้มีไว้สำหรับนักโทษการเมืองก่อนที่นาซีจะยึดไป) เพราะในช่วงหลังเมื่อเริ่มการลงทะเบียนด้วยการสักเลขประจำตัวภาพก็ไม่จำเป็น นอกจากจะแพงแล้ว..ในอีกไม่กี่วันคนเหล่านั้นไม่ตายก็ผอมลงไปจนจำภาพตอนแรกไม่ได้อยู่ดี
เวลาโดยเฉลี่ยที่นักโทษจะรอดได้ใน Auschwitz I คือหกเดือน ดังนั้นทุกคนในรูปเหล่านี้ล้วนแต่ไม่มีใครรอดชีวิต
หากคิดว่าที่นี่โหดร้าย...มันเทียบไม่ได้เลยกับ Auschwitz II
เพราะเวลาเฉลี่ยที่นักโทษจะรอดตายจากเบียร์เคเนา คือสามเดือน
ทัวร์อดีตกับ Auschwitzt - Birkanau
- George Santayana
ผู้ไม่รู้จักเรียนรู้จากประวัติศาสตร์ย่อมกระทำซ้ำอีก เป็นคำต้อนรับสู่นิทรรศการในอาคารหมายเลข 4 จุดเริ่มต้นของการเข้าชมค่ายกักกันและจุดเริ่มต้นของการเขียนกระทู้นี้
เช้านี้ฝนตกพรำ เป็นวันเดียวในรอบอาทิตย์ที่ฝนตก และจำต้องเป็นวันที่ฉันจองทัวร์เข้าชมสถานที่หนึ่งซึ่งหวังจะได้มาซักครั้ง ณ เมือง Oświęcim เมืองเล็กๆที่โด่งดังหลังการสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่สอง...ในฐานะที่ตั้งของค่ายกักกันเอาชวิทซ์-เบียร์เคเนา ค่ายที่กักขังอิสระภาพและผลาญชีวิตคนไปหลักล้านคน
สิ่งที่นำฉันมาถึงที่นี่ จุดเริ่มต้นของทุกอย่างมาจากวันว่างหนึ่งช่วงปิดเทอมสมัยมัธยมต้น ฉันยืมหนังสือหน้าตาธรรมดามาจากห้องสมุดแถวบ้าน
หนังสือเล่มนั้นชื่อ บันทึกลับ ของ แอนน์ แฟรงค์
เวลาผ่านไปสิบกว่าปี ถึงตอนนี้จะจำเนื้อหาในหนังสือแทบไม่ได้แล้ว แต่ความรู้สึกติดค้างบางอย่างกลับนำฉันมาถึงนี่ได้ เหมือนกับที่มันพาฉันไปยังที่ซ่อนลับหลังชั้นหนังสือของครอบครัวแฟรงค์ ความรู้สึกอยากจะมาเยือนค่ายกักกันซักครั้งทำให้ฉันกดจองตั๋วเครื่องบินเมื่อเห็นโปรโมชั่นอย่างไม่ลังเล และวันนี้ประตูเลืองชื่อ กับคำขวัญ Arbeit macht Frei - งานนำมาซึ่งอิสระภาพ ก็ปรากฏอยู่ต่อหน้า
ระบบการเข้าชมที่นี่จัดไว้เป็นรอบ ฉันจองทัวร์ One day study tour - 6 hours ไว้ในราคา 70 zt เริ่มเก้าโมงเช้ากับไกด์ภาษาอังกฤษ ในกลุ่มมีเพื่อนร่วมทัวร์ประมาณสิบห้าคน เมื่อเริ่มทัวร์เราจะได้รับแจกหูฟังเพื่อจะได้ยินเสียงไกด์พูดจากช่องสัญญาณที่ตั้งไว้ ทัวร์เริ่มตรงเวลาเผงนั่นคือทุกคนควรเผื่อเวลาในการผ่านจุดเช็ค security มาก่อนเวลาเริ่มที่จองไว้ แนะนำให้ทุกท่านรองท้องอาหารเช้า รวมถึงติดน้ำดื่มขวดเล็กไว้ เพราะนี่เป็นการเดินที่ค่อนข้างยาวนานค่ะ
สำหรับผู้ที่จะเข้าชมก่อนเก้าโมงเช้าและหลังบ่ายสามโมง สามารถเข้าชมได้โดยไม่ต้องมีไกด์ แต่ถ้าช่วงระหว่างเก้าโมงเช้าถึงบ่ายสามจำเป็นต้องไปกับไกด์เท่านั้น จองได้ที่ http://visit.auschwitz.org/?lang=en ถึงตั้งใจจะเดินเที่ยวเองก็แนะนำให้เข้าไปจองรอบการเข้าชมก่อนนะคะ เพราะคนค่อนข้างเยอะทีเดียว
ประวัติโดยสังเขปของสถานที่ ค่ายนี้แต่เดิมสร้างขึ้นเพื่อขังนักโทษทางการเมืองของโปแลนด์ ดังนั้นส่วนของค่ายเอาชวิทซ์จึงเป็นตึกสร้างด้วยอิฐที่ค่อนข้างทนทาน จนเมื่อเยอรมันเดินทัพเข้าโปแลนด์ค่ายนี้จึงถูกเปลี่ยนวัตถุประสงค์เพื่อคุมขังนักโทษอื่น ทั้งพวกนักโทษทหารรัสเซีย ยิปซี ยิว คนรักร่วมเพศ กระทั่งคนโปแลนด์ การกำจัดนักโทษก็มีการพัฒนาไปตามเวลา จนมาถึงห้องรมแก๊ส
ในชั่วเวลาห้าปีของสงคราม...สามปีของการพัฒนาเป็นห้องรมแก๊สในเดือนมีนา 1942 ตัวเลขผู้ถูกส่งมาที่นี่ร่วม 1,300,000 คน ในจำนวนนั้นเสียชีวิตไป 1,100,000 คน 90% เป็นชาวยิวและสาเหตุหลักของการเสียชีวิตมาจากการถูกส่งเข้าห้องรมแก๊ส..นอกจากนั้นสาเหตุอื่นๆก็มีทั้งขาดอาหาร, ใช้แรงงานจนตาย, ติดโรคระบาด ไปถึงการทดลองทางการแพทย์
เอาชวิทซ์เป็นศูนย์กลางในการรับนักโทษจากทุกที่ ไม่แค่ประเทศรอบๆที่ติดกัน กระทั่งชาวยิวจากออสโล นอร์เวย์ยังถูกส่งมา ไม่น่าแปลกใจเลยที่ไม่นานพื้นที่ของค่ายที่เรายืนอยู่นี้จะไม่เพียงพอในการรับนักโทษ จึงมีการขยายพื้นที่ไปยัง Auschwitz II หรือ Birkanau อีกค่ายที่อยู่ห่างออกไปไม่กี่กิโลเมตรที่กินพื้นที่กว้างขวางอย่างไม่น่าเชื่อ หากสงครามยังไม่ยุติก็คงมีการขยายขนาดค่ายออกไปได้อีก
หากจะเล่าชีวิตของเหล่าผู้สูญเสียอิสรภาพเหล่านี้เมื่อมาถึง อาจเริ่มได้ที่ภาพนี้ เมื่อทุกคนเดินทางมาถึงค่ายหลังจากการเดินทางอันยาวนาน อาจจะสองสามวันหรือกระทั่งเป็นสัปดาห์ที่แออัดอยู่ในตู้รถไฟขนส่งซึ่งมีช่องระบายอากาศอันเล็ก บางคนไม่รอดจากการขาดอากาศหายใจเสียด้วยซ้ำ เมื่อลงรถทุกคนจะถูกแบ่งกลุ่มเป็นผู้หญิงกับเด็ก และกลุ่มผู้ชาย ของมีค่าทุกอย่างถูกทิ้งไว้’ชั่วคราว’ อย่าลืมเขียนชื่อไว้เพราะคุณจะได้รับมันคืนในภายหลัง คำสั่งของทหารหน่วย SS (Schutzstaffel) จะเป็นประกาศิตนับจากนี้ไป
ใครมีความสามารถพิเศษจะถูกแยกกลุ่มออกมา ก่อนคนที่เหลือจะถูกหมอคัดแยกคนที่ ‘ใช้ได้’ กับ ‘อ่อนแอ’ ที่จะถูกส่งไปเข้าห้องรมแก๊สตั้งแต่วันแรกที่มาถึง คนท้อง เด็กเล็กหรือคนชราเป็นกลุ่มแรกๆที่จะถูกส่งเข้าห้องรมแก๊สโดยไม่ได้ลงะเบียนด้วยซ้ำ
ในหนังหลายๆเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเรื่องค่ายกักกันย่อมหนีฉากรถไฟไปไม่พ้น สำหรับคนอยากเห็นภาพ หนังเรื่องแรกที่จะคิดถึงกับฉากรถไฟสำหรับฉันกลับเป็นเรื่อง Escape from Sobibor ค่ายกักกันขนาดเล็กอีกที่ในโปแลนด์ มีฉากรถไฟตั้งแต่ต้นๆเรื่องและส่วนตัวคิดว่าฉากนี้ในเรื่องนี้ไม่รู้สึกสะเทือนใจมากเท่าหนังยุคหลัง
นิทรรศการนำเราเข้าสู่โมเดลของห้องรมแก๊ส ห้องใต้ดินว่างเปล่ากับฝักบัวที่ไม่มีวันได้ใช้งานจริง นักโทษที่ถูกตัดสินว่าไม่มีแรงทำงาน หรือพวกที่ถูกคัดตัวจากด่านแรกตรงมาที่นี่จะถูกบอกให้ถอดเสื้อผ้าเพื่อเข้าไป’อาบน้ำ’ ประตูล็อคสนิทปิดตามหลัง
เมื่อทุกคนเข้าไปเบียดเสียดจนอุณหภูมิข้างในสูงขึ้น SS จะปล่อยกระป๋องบรรจุ Zyklon B ลงไป ถ้าบอกว่าสารตัวนี้มีส่วนประกอบคือไซยาไนด์อาจฟังคุ้นเคยมากกว่า สำหรับคนประมาณ 2,000 คนใช้เพียงห้าหกกระป๋อง หลังเสียงกรีดร้องในห้อง รอเพียงครึ่งชั่วโมง...ไม่มีใครรอด
กลุ่มนักโทษที่ชื่อว่า Sonderkommando จะนำร่างเหล่านั้นออกมาเผา ตัดผม แยกของมีค่าที่อาจติดอยู่อย่างเช่นทองในฟันส่งไปยังโซนแคนาดา ชื่อเรียกส่วนที่กระเป๋ารวมถึงของมีค่าทั้งหลายที่ติดตัวเหยื่อมาจะถูกคัดแยก
ผู้ที่ทำหน้าที่ในหน่วย Sonderkommando จะถูกเปลี่ยนทุกๆสามสี่เดือน ทั้งจากการต้องตายเพราะเริ่มจะรู้เรื่องมากเกินไป หรือไม่หลายคนก็ฆ่าตัวตาย ความรู้สึกที่ต้องขนศพเหยื่อที่อาจเป็นคนในครอบครัว..เพื่อน..คนรู้จัก เข้าไปในเตาทุกๆวัน ทำให้พวกเขาตัดสินใจเลือกเวลาตายของตัวเอง
ไกด์เล่าว่า ตอนค่ายถูกปลดปล่อย มีคนในหน่วย Sonderkommando ที่เป็นผู้รอดชีวิต เป็นพยานสำคัญในการกระทำของนาซีครั้งนี้ เขาแชร์ประสบการณ์หลังกลับไปใช้ชีวิตปกติว่า เมื่อคนในครอบครัวตาย...มันเจ็บปวดมากที่เขาไม่สามารถร้องไห้ได้ เพราะเขาคุ้นชินกับความตายมากเกินไป
สำหรับคนที่ผ่านการคัดเลือกด่านแรกมาได้ จะมาสู่การคัดเลือกจุดที่สอง ห้อง Sauna ถอดเสื้อผ้า..แน่นอนว่าของมีค่าทุกอย่างไม่สามารถซ่อนได้ คนที่พิการ ตั้งครรภ์ หรือผิดปกติใดๆก็จะไม่สามารถปิดบังใต้เสื้อผ้าได้ กลุ่มคนที่ไม่เป็นที่ต้องการจะถูกส่งเข้าห้องรมแก๊ส ส่วนคนที่ผ่านจุดนี้ไปจะต้องเรียงกันเข้าห้องตัดผม อาบน้ำ แล้วก็จะได้เลขลงทะเบียนเป็นนักโทษในค่ายโดยสักลงบนร่างกาย ได้รับชุดนักโทษและส่งตัวไปทำงานต่างๆต่อไป
นอกจากเลขประจำตัวบนตัวและบนเสื้อ ยังมีเครื่องหมายและสีแยกประเภทนักโทษ เช่น เป็นยิว เป็นรักร่วมเพศ แต่อีกหนึ่งกลุ่มที่มีเครื่องหมายสำคัญ คือกลุ่มที่ได้รับเลือกเป็นผู้คุมของเหล่านักโทษอีกที เรียกว่า Kapos
ในเหล่าภาพวาดจากผู้รอดชีวิตถึงสภาพในค่ายกักกัน กลับกลายเป็นว่าเหล่าทหาร SS เพียงยืนคุม และ Kapos กลายเป็นคนที่ลงมือทารุณนักโทษด้วยซ้ำ Kapos จะมีความเป็นอยู่ที่ดีกว่านักโทษทั่วไป จะรอดชีวิตในค่ายนี้ได้หรือไม่ก็แล้วแต่ดวงจะเจอผู้คุมดีหรือร้าย ในภาพ Kapos คือคนชุดสีเข้ม อ้วนท้วนกว่านักโทษอื่น
แต่ละวันนักโทษต้องออกไปทำงานข้างนอกร่วมสิบชั่วโมง เริ่มตั้งแต่การปลุกที่เรียกว่า roll call ในเวลาตีสี่ครึ่ง นักโทษทุกคนต้องออกไปเข้าแถว..ถึงตายเพื่อนนักโทษก็ต้องหิ้วออกไป เริ่มการทำงานในชุดนักโทษกับรองเท้าไร้ถุงเท้าใต้อากาศหนาวเหน็บของโปแลนด์ เมื่อกลับมาจากทำงานยังเตียงในโรงนอนที่ผู้คุมไม่ดีก็อาจต้องทนทรมานต่อกับการกลั่นแกล้งต่อ
นักโทษจะมีโอกาสใช้ห้องน้ำได้วันละสองครั้ง ในขณะที่อาหารที่ได้รับในหนึ่งวันมีเพียงซุป ขนมปังขนาดในภาพ ไม่น่าแปลกใจที่ในเวลาไม่นานทุกคนก็กลายสภาพเป็นเหมือนโครงกระดูกเดินได้ ผู้รอดชีวิตจากค่ายรายหนึ่งเล่าว่า เขาต้องพกขนมปังไว้ข้างเตียงทุกวัน...นั่นคือความหวาดกลัวฝังลึกว่าเมื่อตื่นขึ้นมาเขาจะต้องหิวโหยอีก
ในสภาวะนั้น มีลบางคนลอบถ่ายภาพในค่ายกักกันไว้ได้ (เข้าใจว่าคือหนึ่งในพวก Sonderkommando) คือภาพการเผาศพในที่แจ้ง รวมถึงภาพเหล่านักโทษเปลือยถูกต้อนอยู่ในป่า และนำไปเผยแพร่สู่โลกภายนอก นั่นเป็นหลักฐานสำคัญที่จะแสดงว่าเกิดอะไรขึ้นที่นี่ ในตอนนั้นผู้คนจำนวนมากไม่รู้ถึงการมีอยู่ของค่ายกักกัน ชาวยิวบางครอบครัวถึงกับจ่ายเงินซื้อตั๋วรถไฟเพื่อให้ได้มาเอาชวิทช์เพราะถูกหลอกว่าที่นี่มีงานให้ทำ
ในที่สุด..ไกด์พาลูกทัวร์ไปถึงห้องสำคัญที่ห้ามถ่ายภาพ อย่างที่บอกว่ามาถึงค่ายแล้วต้องโดนกร้อนผม กระทั่งศพจากห้องรมแก๊สก็เช่นกัน สาเหตุหนึ่งคือเพื่อป้องกันการระบาดของสัตว์จำพวก lice ส่วนอีกเหตุผลคือ ผมที่ได้จะถูกส่งไปโรงงานสิ่งทอในราคาแสนถูก หนึ่งกิโลกรัมมีค่าไม่เท่าไหร่ ...แต่เมื่อนี่คือสงคราม เงินก็คือเงิน
เมื่อทหารของสหภาพโซเวียตมาปลดปล่อยค่ายนี้ นอกจากทรัพย์สินแบ่งแยกประเภทกองพะเนินเทินทึก ยังได้พบผมมนุษย์น้ำหนักรวมร่วมเจ็ดตัน ในส่วนของนิทรรศการใช้เส้นผมประมาณเกือบสองตันเก็บไว้ในตู้กระจก เป็นกองสูงกว่าตัวฉันจากมุมห้องหนึ่งไปจรดอีกมุม
หลายคนรวมถึงฉันเสียน้ำตา ถึงจะไม่ได้มองอย่างเต็มตาแต่มันเป็นภาพที่ฉันคงไม่มีวันลืมไปตลอดชีวิต..
ถึงไกด์ไม่ห้าม ฉันก็ไม่คิดว่าตัวเองจะถ่ายภาพห้องนี้ได้ มันสะเทือนใจกว่าภาพกองสิ่งของมาก
ในช่วงที่ไปมีการปรับปรุงอาคารอยู่ เลยไม่ได้ชมห้องของกองกระเป๋า รองเท้า แว่นตาที่เคยเห็นในอินเตอร์เนต ตอนนี้ในอาคารมีห้องกระเป๋ากับรองเท้ารวมกันนิดหน่อยกับห้องรวมเครื่องครัวขนาดใหญ่แทน ภาพห้องที่ฉันพูดถึงหาดูไม่ยากจากคำสืบค้นพวก Auschwitz, concentration camp แต่ขอแนะนำให้เลี่ยงภาพ hair room เถอะ
ชั้นแรกของอาคารนิทรรศการนี้มีรูปนักโทษติดเรียงราย นั่นมาจากกลุ่มนักโทษชุดแรกๆที่ทำประวัติลงทะเบียนไว้พร้อมถ่ายรูป ฉันพยายามมองหาจุดเชื่อมโยงบนใบหน้า ว่ากันว่าชาวยิวมีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะอย่างที่จมูก แต่เปล่าประโยชน์เมื่อไกด์อธิบายว่า ภาพที่เห็นเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นชาวโปแลนด์ที่เป็นนักโทษกลุ่มแรก (หากจำได้..เริ่มต้นคุกนี้มีไว้สำหรับนักโทษการเมืองก่อนที่นาซีจะยึดไป) เพราะในช่วงหลังเมื่อเริ่มการลงทะเบียนด้วยการสักเลขประจำตัวภาพก็ไม่จำเป็น นอกจากจะแพงแล้ว..ในอีกไม่กี่วันคนเหล่านั้นไม่ตายก็ผอมลงไปจนจำภาพตอนแรกไม่ได้อยู่ดี
เวลาโดยเฉลี่ยที่นักโทษจะรอดได้ใน Auschwitz I คือหกเดือน ดังนั้นทุกคนในรูปเหล่านี้ล้วนแต่ไม่มีใครรอดชีวิต
หากคิดว่าที่นี่โหดร้าย...มันเทียบไม่ได้เลยกับ Auschwitz II
เพราะเวลาเฉลี่ยที่นักโทษจะรอดตายจากเบียร์เคเนา คือสามเดือน