ย้อนไปเมื่อสมัยผมเรียนมัธยมประมาณปี 2541 เห็นจะได้ ตอนนั้นเย็นๆผมนั่งฟังวิทยุคลื่น 106.5 FM ทำการบ้านไปฟังเพลงไป จนมาถึงเพลงหนึ่ง ขึ้นต้นด้วยเสียงดนตรีเย็นๆ กีร์ต้าเบาๆ ผสานกับเสียงเครื่องดนตรีหลากชิ้น เสียงเครื่องเป่าแทรกมาในทุกท่วงทำนอง ซึ่งต่างจากดนตรีสมัยนั้นที่เป็นเพลงหนักๆ ดนตรีแนวอัลเทอร์เนทีฟ กีร์ต้าไฟฟ้าดังๆ เสียงเหยียบกระเดื่องตึบๆ
"เด็กน้อยได้ยินเรื่องราว กล่าวขานมานาน
หากใครได้จับหิ่งห้อย มาเก็บเอาไว้ใต้หมอน
นอนคืนนั้นจะฝันดี จะฝันเห็นดวงดาวมากมาย
ฝันเห็นเจ้าชายเจ้าหญิง ฝันแสนสวยงาม"
เนื้อเพลงที่แปลก ไม่ได้พูดถึงความรักระหว่างชาย หญิง เสียงนักร้องที่ลื่นไหลไปกับดนตรี ทำให้ผมหยุดหูแล้วตั้งใจฟังอย่างประหลาด
ทันทีที่จบเพลง ผมหยิบโทรศัพท์ แล้วกดโทรไปหลังไมค์เพื่อสอบถามว่านี่เป็นเพลงของใครกัน
"เพลงนิทานหิ่งห้อย ของวงเฉลียงครับ" นั่นคือคำตอบที่ผมได้ยิน ผมพยายามถามหลังไมค์ว่ามีข้อมูลวงดนตรีนี้ไหม เขาออกอัลบั้มเมื่อไหร่ จะหาฟังได้ที่ไหนบ้าง
"วงนี้ออกมานานแล้วน้อง คงหาเพลงฟังยากเต็มที วงเขายุบไปแล้ว"
ได้ยินแบบนั้นผมก็แอบผิดหวัง ด้วยสมัยนั้นข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตยุค 56 Kb ยังไม่มากเท่าสมัยนี้ การค้นคำอะไรสักอย่างไม่ได้มีข้อมูลมากมายอะไร ผมพิมคำว่าเฉลียงไปใน yahoo ก็ได้แค่ข้อมูลวง รายชื่อนักร้องที่ผมไม่คุ้นหู และก็ไม่มีตัวอย่างเพลงใดๆให้ผมฟัง
จากนั้นผมก็เสียบเทปเปล่าไว้ในวิทยุให้พร้อมอัดตลอดเวลาเพื่อว่าเพลงนิทานหิ่งห้อยมาอีกเมื่อใดผมจะกดอัดเพลงไว้ โทรไปขอเองแล้วรอกดอัดก็มี แต่เขาไม่ค่อยจะเปิด มีครั้งนึงหลังไมค์ถามย้อนกลับมาด้วยว่าเพลงใคร
สุดท้ายก็ได้อัดมาฟังจนได้ ผมเปิดนิทานหิ่งห้อยฟังเช้าเย็นทุกวัน และก็พยายามค้นหาข้อมูลวงนี้ให้มากขึ้น
สุดท้ายก็ได้ข้อมูลเพิ่มมามากขึ้นอีกนิด คือรู้ว่าคนที่ร้องคือพี่จุ้ย ศุ บุญเลี้ยง ก็นับว่าเข้าใกล้ไปอีกนิดละนะ
ผ่านมาอีก 2-3 ปี ช่วงนั้นผมเตรียมตัวเอ็นทรานซ์ ก็เลยเลือนๆการตามหาเฉลียงไป เวลาเหงาๆก็ยังเอาเพลงนิทานหิ่งห้อยมาฟังเสมอ
จนกระทั่งต่อมาในปี 2543 ผมสอบติดเข้าคณะ วิศวกรรมศาสตร์ ม. เกษตรฯ ก็ได้พบกับเพื่อนผมชื่อกอล์ฟ ก็ได้บังเอิญคุยเรื่องเพลงนิทานหิ่งห้อย กอล์ฟเลยแนะนำข้อมูลของวงให้ผมฟังมากขึ้น และได้หาเพลงมาให้ผมฟังด้วย ก็หามาจากอินเทอร์เนตนั่นละ
อื่นๆอีกมากมาย, ไม่รักแต่คิดถึง, เที่ยวละไม นั่นคือเพลงของเฉลียงที่ผมได้ฟังเป็นลำดับต่อๆมา
ต่อมาช่วงปลายปี 1 หรือ ปี 2 ผมก็ไม่ใคร่จำความได้ ชมรมดนตรีของมหาวิทยาลัยได้เชิญ พี่เจี๊ยบ วัชระ ปานเอี่ยม(ผมรู้จักพี่เจี๊ยบในฐานนะนักแสดงมาก่อนหน้านี้ แต่ไม่ทราบเลยว่าพี่เป็นนักร้องวงเฉลียง จนตอนที่เริ่มฟังนิทานหิ่งห้อยนั่นละ) พี่ดี้ นิติพงษ์ ห่อนาค มาบรรยายเกี่ยวกับเรื่องดนตรีให้ฟัง ผมก็กระ
กระสนจนได้เข้าไปนั่งอยู่ในห้องบรรยายวันนั้นด้วย
พี่ดี้ "ผมเนี่ยทำเพลงอยู่มานาน คุณภาพเต็มที่ จะว่าไป ยุคนี้แข่งกันอยู่ 2 ค่าย คือค่ายผม (สมัยนั้นพี่ดี้อยู่ Grammy) และอีกค่ายนึง แต่เขาสู้ผมไม่ได้หรอก แต่ผมไม่บอกนะ ผมพูดชื่อย่อค่ายนั้นละกัน ค่าย R.S."
นี่เป็นหนึ่งในมุกจิกกัดที่ผมจำได้ (พี่บอกว่าอย่าไปพูดให้ใครฟังนะเดี๋ยวโดนฟ้อง นี่ผ่านมา 20 ปี แล้วผมน่าจะเล่าได้เพราะหมดอายุความแล้วละครับ)
ในการบรรยายวันนั้น มุกจิกกัด แซวเหตุการณ์บ้านเมืองแซวตัวเอง และคู่แข่ง(ในวงการ) ขนมาคุยมากกว่าบรรยาย และเล่นดนตรี ทำให้ผมรู้สึกว่าวงนี้เป็นวงที่เป็นกันเองกับผู้ชม แฟนเพลง จนนึกในใจว่าอยากไปดูคอนเสิรตวงนี้สักครั้ง
ผมเริ่มหาเพลงจากในเน็ตฟังมากขึ้น รู้จักผลงานของเฉลียงมากขึ้น
แต่แล้วประมาณปี 2547 - 2548 ผมไม่ใคร่แน่ใจ เพื่อนผมคนหนึ่งทราบว่าผมชื่นชมวงเฉลียงมาก ก็ได้เอาแผ่นบันทึกการแสดงสด "เรื่องราวบนแผ่นไม้" มาให้ผมชม
ผมเปิดดูไป ยิ้มไป แล้วหวังว่าจะมีโอกาสได้ไปฟังการแสดงสดแบบนี้ไหม
แต่เมื่อมาถึงช่วงสุดท้ายที่พี่แต๋งพูด และสำทับด้วยเสียงของพี่ดี้ ว่าประกาศยุติบทบาทของเฉลียง
ผมรู้สึกใจหาย ผมไม่มีโอกาสจะได้ดูคอนเสริตวงนี้อีกแล้ว ไม่มีโอกาสได้ฟังพี่จุ้ยคุยกวนกับพี่เจี๊ยบ ไม่ได้ฟังพี่เกี๊ยงร้องเสียงหวานๆ ไม่ได้ดูพี่นกยิ้มเขินๆเวลาโดนพี่ดี้แซว ไม่ได้เห็นลีลาการเป่าแซคของพี่แต๋ง
ใจหาย
เหมือนเรารู้จักใครสักคนนึง ไม่เคยแม้แต่จะคุยกัน แล้วเขาก็จากไปที่ไกลแสนไกล ไม่กลับมา
ใจหาย
จากนั้น ผมก็รอ รอ และรอ ว่าจะมีสักวันไหมที่พี่ๆจะกลับมาอีกครั้ง
ผ่านมากว่า 15 ปี จนปี 2558
ผมแอบติดตามเพจ ศุ บุญเลี้ยง แอบอ่านทุกวัน ว่ามีวันไหนจะมาแอบประกาศไหมว่าเฉลียงจะจัดคอนเสริต
แล้ววันที่รอคอยก็มาถึงราวๆช่วงปลายปี 2558 พี่จุ้ยอัพรูปการรวมตัวของเฉลียงทั้ง 6 มานั่งคุยกัน แล้วบอกว่าเราจะจัดคอนเสริตกันอีกครั้ง
ใจผมร้องลั่นด้วยความดีใจ เพราะการรอคอยเกือบ 20 ปี มันมาถึงแล้ว
เวลาที่ผมจะได้ไปนั่งฟังวงที่เราคิดถึงมาตลอด เกือบ 20 ปี เวลาที่จะได้ไปนั่งหัวเราะพร้อมๆกับพี่ๆบนเวที
และความคิดถึงก็ถูกเติมเต็มเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2559
คอนเสริต แสงสีอลังการ กับวงบอยแบนด์ ยุคแรกๆของเมืองไทย (เหมือนอย่างไรรอชมบันทึกการแสดงสดเอานะครับ) ดนตรีแบบเมื่อวันวาน แต่ไม่เคยล้าสมัย เสียงร้องพี่ๆทุกคนยังเหมือนเดิม ยังเต็มไปด้วยคำว่ามิตรภาพเหมือนเดิม เป็นกันเอง ไม่เหมือนมาดูคอนเสิรต เหมือนผมมาพบพี่ พบเพื่อนที่สนิทกันมานาน แล้วมานั่งพูดคุยเล่นดนตรีให้ฟัง
มุกจิกกัดตัวเอง และชาวบ้านยังคงมีให้เห็นอย่างต่อเนื่อง
พี่เจี๊ยบยังคงยิ้มสนุก แซวตรงประเด็นเหมือนเดิม
พี่แต๋งยังคงสุขุม เป็นแกนหลักพาเข้าเรื่องได้ แม้จะถูกพี่เจี๊ยบดึงๆไปบ้าง
พี่ดี้ยังคงสอดรับมุกกับพี่เจี๊ยบได้ทันตลอด
พี่เกี๊ยงยังเสียงใสนิ้งเหมือนเดิม
พี่นกผู้ยังคงยิ้มหวาน และเสียงกังวาล ตบมุกพี่ๆทันบ้างไม่ทันบ้าง
และพี่จุ้ยปรมาจารย์ด้านการพลาด ที่พลาดแล้วคนดูจับไม่ได้ (แซวๆนะ)
ดูจบแล้วพอออกมาก็ยังคงมีความคิดถึง แต่เป็นความคิดถึงที่สุขใจ และสบายใจ
ว่าจากนี้คงยังได้เจอพี่ๆกันไปเรื่อยๆ
ไม่ว่าจะหนทางไหน
วงดนตรีที่ก่อตั้งตอนผมเกิด วงดนตรีที่มีแนวทางดนตรีคนละยุคกับที่ผมเติบโต
แต่ผมกลับคุ้นเคย และชื่นชม
คำบรรยายปิดท้ายของความรู้สึกที่มีในตอนนี้ "ไม่รักแต่คิดถึง"
#ปรากฎการณ์เฉลียง #ทีมเฉลียง
"ปรากฎการณ์เฉลียง" ปรากฎการณ์ธรรมดาที่มาเติมเต็มความคิดถึงกว่า 20 ปี ของฉัน
"เด็กน้อยได้ยินเรื่องราว กล่าวขานมานาน
หากใครได้จับหิ่งห้อย มาเก็บเอาไว้ใต้หมอน
นอนคืนนั้นจะฝันดี จะฝันเห็นดวงดาวมากมาย
ฝันเห็นเจ้าชายเจ้าหญิง ฝันแสนสวยงาม"
เนื้อเพลงที่แปลก ไม่ได้พูดถึงความรักระหว่างชาย หญิง เสียงนักร้องที่ลื่นไหลไปกับดนตรี ทำให้ผมหยุดหูแล้วตั้งใจฟังอย่างประหลาด
ทันทีที่จบเพลง ผมหยิบโทรศัพท์ แล้วกดโทรไปหลังไมค์เพื่อสอบถามว่านี่เป็นเพลงของใครกัน
"เพลงนิทานหิ่งห้อย ของวงเฉลียงครับ" นั่นคือคำตอบที่ผมได้ยิน ผมพยายามถามหลังไมค์ว่ามีข้อมูลวงดนตรีนี้ไหม เขาออกอัลบั้มเมื่อไหร่ จะหาฟังได้ที่ไหนบ้าง
"วงนี้ออกมานานแล้วน้อง คงหาเพลงฟังยากเต็มที วงเขายุบไปแล้ว"
ได้ยินแบบนั้นผมก็แอบผิดหวัง ด้วยสมัยนั้นข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตยุค 56 Kb ยังไม่มากเท่าสมัยนี้ การค้นคำอะไรสักอย่างไม่ได้มีข้อมูลมากมายอะไร ผมพิมคำว่าเฉลียงไปใน yahoo ก็ได้แค่ข้อมูลวง รายชื่อนักร้องที่ผมไม่คุ้นหู และก็ไม่มีตัวอย่างเพลงใดๆให้ผมฟัง
จากนั้นผมก็เสียบเทปเปล่าไว้ในวิทยุให้พร้อมอัดตลอดเวลาเพื่อว่าเพลงนิทานหิ่งห้อยมาอีกเมื่อใดผมจะกดอัดเพลงไว้ โทรไปขอเองแล้วรอกดอัดก็มี แต่เขาไม่ค่อยจะเปิด มีครั้งนึงหลังไมค์ถามย้อนกลับมาด้วยว่าเพลงใคร
สุดท้ายก็ได้อัดมาฟังจนได้ ผมเปิดนิทานหิ่งห้อยฟังเช้าเย็นทุกวัน และก็พยายามค้นหาข้อมูลวงนี้ให้มากขึ้น
สุดท้ายก็ได้ข้อมูลเพิ่มมามากขึ้นอีกนิด คือรู้ว่าคนที่ร้องคือพี่จุ้ย ศุ บุญเลี้ยง ก็นับว่าเข้าใกล้ไปอีกนิดละนะ
ผ่านมาอีก 2-3 ปี ช่วงนั้นผมเตรียมตัวเอ็นทรานซ์ ก็เลยเลือนๆการตามหาเฉลียงไป เวลาเหงาๆก็ยังเอาเพลงนิทานหิ่งห้อยมาฟังเสมอ
จนกระทั่งต่อมาในปี 2543 ผมสอบติดเข้าคณะ วิศวกรรมศาสตร์ ม. เกษตรฯ ก็ได้พบกับเพื่อนผมชื่อกอล์ฟ ก็ได้บังเอิญคุยเรื่องเพลงนิทานหิ่งห้อย กอล์ฟเลยแนะนำข้อมูลของวงให้ผมฟังมากขึ้น และได้หาเพลงมาให้ผมฟังด้วย ก็หามาจากอินเทอร์เนตนั่นละ
อื่นๆอีกมากมาย, ไม่รักแต่คิดถึง, เที่ยวละไม นั่นคือเพลงของเฉลียงที่ผมได้ฟังเป็นลำดับต่อๆมา
ต่อมาช่วงปลายปี 1 หรือ ปี 2 ผมก็ไม่ใคร่จำความได้ ชมรมดนตรีของมหาวิทยาลัยได้เชิญ พี่เจี๊ยบ วัชระ ปานเอี่ยม(ผมรู้จักพี่เจี๊ยบในฐานนะนักแสดงมาก่อนหน้านี้ แต่ไม่ทราบเลยว่าพี่เป็นนักร้องวงเฉลียง จนตอนที่เริ่มฟังนิทานหิ่งห้อยนั่นละ) พี่ดี้ นิติพงษ์ ห่อนาค มาบรรยายเกี่ยวกับเรื่องดนตรีให้ฟัง ผมก็กระกระสนจนได้เข้าไปนั่งอยู่ในห้องบรรยายวันนั้นด้วย
พี่ดี้ "ผมเนี่ยทำเพลงอยู่มานาน คุณภาพเต็มที่ จะว่าไป ยุคนี้แข่งกันอยู่ 2 ค่าย คือค่ายผม (สมัยนั้นพี่ดี้อยู่ Grammy) และอีกค่ายนึง แต่เขาสู้ผมไม่ได้หรอก แต่ผมไม่บอกนะ ผมพูดชื่อย่อค่ายนั้นละกัน ค่าย R.S."
นี่เป็นหนึ่งในมุกจิกกัดที่ผมจำได้ (พี่บอกว่าอย่าไปพูดให้ใครฟังนะเดี๋ยวโดนฟ้อง นี่ผ่านมา 20 ปี แล้วผมน่าจะเล่าได้เพราะหมดอายุความแล้วละครับ)
ในการบรรยายวันนั้น มุกจิกกัด แซวเหตุการณ์บ้านเมืองแซวตัวเอง และคู่แข่ง(ในวงการ) ขนมาคุยมากกว่าบรรยาย และเล่นดนตรี ทำให้ผมรู้สึกว่าวงนี้เป็นวงที่เป็นกันเองกับผู้ชม แฟนเพลง จนนึกในใจว่าอยากไปดูคอนเสิรตวงนี้สักครั้ง
ผมเริ่มหาเพลงจากในเน็ตฟังมากขึ้น รู้จักผลงานของเฉลียงมากขึ้น
แต่แล้วประมาณปี 2547 - 2548 ผมไม่ใคร่แน่ใจ เพื่อนผมคนหนึ่งทราบว่าผมชื่นชมวงเฉลียงมาก ก็ได้เอาแผ่นบันทึกการแสดงสด "เรื่องราวบนแผ่นไม้" มาให้ผมชม
ผมเปิดดูไป ยิ้มไป แล้วหวังว่าจะมีโอกาสได้ไปฟังการแสดงสดแบบนี้ไหม
แต่เมื่อมาถึงช่วงสุดท้ายที่พี่แต๋งพูด และสำทับด้วยเสียงของพี่ดี้ ว่าประกาศยุติบทบาทของเฉลียง
ผมรู้สึกใจหาย ผมไม่มีโอกาสจะได้ดูคอนเสริตวงนี้อีกแล้ว ไม่มีโอกาสได้ฟังพี่จุ้ยคุยกวนกับพี่เจี๊ยบ ไม่ได้ฟังพี่เกี๊ยงร้องเสียงหวานๆ ไม่ได้ดูพี่นกยิ้มเขินๆเวลาโดนพี่ดี้แซว ไม่ได้เห็นลีลาการเป่าแซคของพี่แต๋ง
ใจหาย
เหมือนเรารู้จักใครสักคนนึง ไม่เคยแม้แต่จะคุยกัน แล้วเขาก็จากไปที่ไกลแสนไกล ไม่กลับมา
ใจหาย
จากนั้น ผมก็รอ รอ และรอ ว่าจะมีสักวันไหมที่พี่ๆจะกลับมาอีกครั้ง
ผ่านมากว่า 15 ปี จนปี 2558
ผมแอบติดตามเพจ ศุ บุญเลี้ยง แอบอ่านทุกวัน ว่ามีวันไหนจะมาแอบประกาศไหมว่าเฉลียงจะจัดคอนเสริต
แล้ววันที่รอคอยก็มาถึงราวๆช่วงปลายปี 2558 พี่จุ้ยอัพรูปการรวมตัวของเฉลียงทั้ง 6 มานั่งคุยกัน แล้วบอกว่าเราจะจัดคอนเสริตกันอีกครั้ง
ใจผมร้องลั่นด้วยความดีใจ เพราะการรอคอยเกือบ 20 ปี มันมาถึงแล้ว
เวลาที่ผมจะได้ไปนั่งฟังวงที่เราคิดถึงมาตลอด เกือบ 20 ปี เวลาที่จะได้ไปนั่งหัวเราะพร้อมๆกับพี่ๆบนเวที
และความคิดถึงก็ถูกเติมเต็มเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2559
คอนเสริต แสงสีอลังการ กับวงบอยแบนด์ ยุคแรกๆของเมืองไทย (เหมือนอย่างไรรอชมบันทึกการแสดงสดเอานะครับ) ดนตรีแบบเมื่อวันวาน แต่ไม่เคยล้าสมัย เสียงร้องพี่ๆทุกคนยังเหมือนเดิม ยังเต็มไปด้วยคำว่ามิตรภาพเหมือนเดิม เป็นกันเอง ไม่เหมือนมาดูคอนเสิรต เหมือนผมมาพบพี่ พบเพื่อนที่สนิทกันมานาน แล้วมานั่งพูดคุยเล่นดนตรีให้ฟัง
มุกจิกกัดตัวเอง และชาวบ้านยังคงมีให้เห็นอย่างต่อเนื่อง
พี่เจี๊ยบยังคงยิ้มสนุก แซวตรงประเด็นเหมือนเดิม
พี่แต๋งยังคงสุขุม เป็นแกนหลักพาเข้าเรื่องได้ แม้จะถูกพี่เจี๊ยบดึงๆไปบ้าง
พี่ดี้ยังคงสอดรับมุกกับพี่เจี๊ยบได้ทันตลอด
พี่เกี๊ยงยังเสียงใสนิ้งเหมือนเดิม
พี่นกผู้ยังคงยิ้มหวาน และเสียงกังวาล ตบมุกพี่ๆทันบ้างไม่ทันบ้าง
และพี่จุ้ยปรมาจารย์ด้านการพลาด ที่พลาดแล้วคนดูจับไม่ได้ (แซวๆนะ)
ดูจบแล้วพอออกมาก็ยังคงมีความคิดถึง แต่เป็นความคิดถึงที่สุขใจ และสบายใจ
ว่าจากนี้คงยังได้เจอพี่ๆกันไปเรื่อยๆ
ไม่ว่าจะหนทางไหน
วงดนตรีที่ก่อตั้งตอนผมเกิด วงดนตรีที่มีแนวทางดนตรีคนละยุคกับที่ผมเติบโต
แต่ผมกลับคุ้นเคย และชื่นชม
คำบรรยายปิดท้ายของความรู้สึกที่มีในตอนนี้ "ไม่รักแต่คิดถึง"
#ปรากฎการณ์เฉลียง #ทีมเฉลียง