!!!SPOILER ALERT!!!
เมืองดีทรอยต์เจ๊ง, แอนตี้-อเมริกันดรีม, ทหารผ่านศึก ประเด็นเหล่านี้ถูกรีไซเคิลอยู่เป็นประจำในโลกภาพยนตร์ ไม่ว่าจะเป็น Taxi Driver (1976), Apocalypse Now (1979) หรือแม้กระทั่ง American Sniper (2014) หนังเหล่านี้ล้วนถ่ายทอดผลกระทบที่เกิดจากสงครามที่ไม่ใช่เพียงแต่บาดแผลที่เกิดบนร่างกาย ในหนังเรื่อง Don't Breathe (2016) ที่นำเอาประเด็นเหล่านี้มาต่อยอด พลันให้เกิดมุมมองที่แม้ว่าจะไม่แปลกใหม่ แต่เมื่อถูกถ่ายทอดด้วยจังหวะของความระทึกขวัญที่ถือว่าทำเราจิกเก้าอี้ได้ แต่ในหลายส่วนที่หนังยังให้รายละเอียดไม่มากพอซึ่งในหลายครั้ง มันบั่นทอนความรู้สึกประทับใจเราต่อหนังพอสมควร เช่น การปูความหลังของขโมยวัยรุ่นสามคนที่สำหรับเรามันยังไม่ทำให้เกิดความกระจ่าง หรือแรงจูงใจของตัวละครบางตัว เช่น Alex
ในส่วนของตัวหนัง เรามองคล้ายกับหนัง แอนตี้-อเมริกันดรีม เรื่องอื่นๆ คือ เป็นภาพฉายของสังคมในระดับชั้นล่างสุดที่รับผลกระทบจากการบริหารจัดการบ้านเมือง ซึ่งในหนังเองก็ฟ้องว่าผลกระทบมันเกิดในวงกว้างตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวันผู้ใหญ่ (ทำให้เรานึกถึงเรื่อง Lolita (1962)) ซึ่งหนังก็ดูจงใจใช้ตัวละครหลักสองกลุ่มคือ วัยรุ่น (ที่กำลังจะโตเป็นผู้ใหญ่) และคนชรา (ที่ผ่านวัยผู้ใหญ่มาแล้ว) เป็นตัวขับเคลื่อน โดยที่วัยรุ่นที่กำเนิดเติบโตมาในสังคมที่ครอบครัวไม่เป็นเหมือนครอบครัวในฝันของชาวอเมริกัน อันได้แก่ครอบครัวที่มีความมั่งคั่ง สมาชิกในสังคมมีโอกาสได้รับความเท่าเทียมในการประสบความสำเร็จในชีวิต ซึ่งเท่าที่ภาพฉายครอบครัวของรอคกี้ก็คงพูดได้ว่า ความมั่งคั่งในครัวเธอ มันได้อยู่คนละกาแลกซี่ของความเป็นอเมริกันในอุดมคติ
นี่ยังไม่รวมไปถึงเมืองดีทรอยต์อันเป็นสัญลักษณ์อันแสดงถึงความล้มเหลวในการจัดการของภาครัฐที่แม้กระทั่งในวันนี้ ภาพบ้านร้างไร้ผู้คนก็ยังถูกถ่ายทอดบนแผ่นฟิล์มอย่างซื่อสัตย์ อัตราการเกิดอาชญากรรมสูงลิ่ว บ้านทุกบ้านต่างต้องมีระบบป้องกันความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัยซึ่งตรงข้ามกับหนังอเมริกันในอดีตหลายๆ เรื่องที่ตัวละครสามารถเดินออกไปเที่ยวนอกบ้านได้โดยที่ไม่ต้องล็อคบ้าน อันเป็นสิ่งย้ำเตือนเราว่าหลายสิ่งหลายอย่างมันได้เปลี่ยนไปแล้วในปัจจุบัน
ชายชราตาบอด ที่ในหนังอ้างว่าเขาตาบอดจากสงครามซึ่งในขณะเดียวกันมันอาจสื่อถือว่า ตาใน Eye of Providence ในธนบัตรหนึ่งดอลล่าร์สหรัฐ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่พบใน Blade Runner (1982) และตาบอดอาจหมายถึงความมืดบอดในศีลธรรม ไปจนถึงการสิ้นศรัทธาในศาสนาหรือพระเจ้า ซึ่งตัวละครเองก็ได้เปิดปากเองในตอนท้าย ซึ่งส่วนหนึ่งที่เป็นต้นเหตุนอกเหนือจากเหตุการณ์ที่เขาต้องสูญเสียลูกสาว ในสงครามอิรัก เขาเองก็คงผ่านความเป็นความตายมามาก ในที่นี้ก็คือการฆ่าคน ซึ่งถ้าจะพูดว่าครึ่งหนึ่งของความเป็นคนเขาได้หายไปที่อิรัก (สงครามก็เป็นผลผลิตจากการจัดการของรัฐ) และอีกครึ่งหนึ่งเขาหายไปจากการจากไปของลูกสาว
ที่เราเล่ามาหนังก็ปูพื้นเรื่องช่วงแรกและค่อยๆ กะเทาะเปลือกเผยให้เห็นความเป็นมาของเรื่องซึ่งก็ค่อยๆ ประกอบกันให้ประเด็นแอนตี้-อเมริกันดรีมเป็นรุปเป็นร่างมากขึ้น แต่เมื่อตัวหนังก้าวเข้าสู่ช่วงท้ายๆ ประเด็นที่อุตส่าห์ก่อร่างไว้ก็ถูกเขวี้ยงทิ้ง และหนังก็จบลงในบริบทของหนังเขย่าขวัญอย่างงดงามตามแบบฉบับ
ปล.เอาจริงๆ แอบนึกถึง Countdown (นัฐวุฒิ พูนพิริยะ), 2012 ในแง่ที่หนังทั้งสองเรื่องเอา Thriller ไปใช้ในบริบทคนละประเทศ โดยขับเน้นธีมปัญหาและค่านิยมในสังคม
ร่วมพูดคุยเกี่ยวกับภาพยนตร์ทางเฟสได้เลยนะครับ
https://www.facebook.com/survival.king
Tempy Movies Review รีวิวหนัง: Don't Breathe {Fede Alvarez}, 2016
!!!SPOILER ALERT!!!
เมืองดีทรอยต์เจ๊ง, แอนตี้-อเมริกันดรีม, ทหารผ่านศึก ประเด็นเหล่านี้ถูกรีไซเคิลอยู่เป็นประจำในโลกภาพยนตร์ ไม่ว่าจะเป็น Taxi Driver (1976), Apocalypse Now (1979) หรือแม้กระทั่ง American Sniper (2014) หนังเหล่านี้ล้วนถ่ายทอดผลกระทบที่เกิดจากสงครามที่ไม่ใช่เพียงแต่บาดแผลที่เกิดบนร่างกาย ในหนังเรื่อง Don't Breathe (2016) ที่นำเอาประเด็นเหล่านี้มาต่อยอด พลันให้เกิดมุมมองที่แม้ว่าจะไม่แปลกใหม่ แต่เมื่อถูกถ่ายทอดด้วยจังหวะของความระทึกขวัญที่ถือว่าทำเราจิกเก้าอี้ได้ แต่ในหลายส่วนที่หนังยังให้รายละเอียดไม่มากพอซึ่งในหลายครั้ง มันบั่นทอนความรู้สึกประทับใจเราต่อหนังพอสมควร เช่น การปูความหลังของขโมยวัยรุ่นสามคนที่สำหรับเรามันยังไม่ทำให้เกิดความกระจ่าง หรือแรงจูงใจของตัวละครบางตัว เช่น Alex
ในส่วนของตัวหนัง เรามองคล้ายกับหนัง แอนตี้-อเมริกันดรีม เรื่องอื่นๆ คือ เป็นภาพฉายของสังคมในระดับชั้นล่างสุดที่รับผลกระทบจากการบริหารจัดการบ้านเมือง ซึ่งในหนังเองก็ฟ้องว่าผลกระทบมันเกิดในวงกว้างตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวันผู้ใหญ่ (ทำให้เรานึกถึงเรื่อง Lolita (1962)) ซึ่งหนังก็ดูจงใจใช้ตัวละครหลักสองกลุ่มคือ วัยรุ่น (ที่กำลังจะโตเป็นผู้ใหญ่) และคนชรา (ที่ผ่านวัยผู้ใหญ่มาแล้ว) เป็นตัวขับเคลื่อน โดยที่วัยรุ่นที่กำเนิดเติบโตมาในสังคมที่ครอบครัวไม่เป็นเหมือนครอบครัวในฝันของชาวอเมริกัน อันได้แก่ครอบครัวที่มีความมั่งคั่ง สมาชิกในสังคมมีโอกาสได้รับความเท่าเทียมในการประสบความสำเร็จในชีวิต ซึ่งเท่าที่ภาพฉายครอบครัวของรอคกี้ก็คงพูดได้ว่า ความมั่งคั่งในครัวเธอ มันได้อยู่คนละกาแลกซี่ของความเป็นอเมริกันในอุดมคติ
นี่ยังไม่รวมไปถึงเมืองดีทรอยต์อันเป็นสัญลักษณ์อันแสดงถึงความล้มเหลวในการจัดการของภาครัฐที่แม้กระทั่งในวันนี้ ภาพบ้านร้างไร้ผู้คนก็ยังถูกถ่ายทอดบนแผ่นฟิล์มอย่างซื่อสัตย์ อัตราการเกิดอาชญากรรมสูงลิ่ว บ้านทุกบ้านต่างต้องมีระบบป้องกันความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัยซึ่งตรงข้ามกับหนังอเมริกันในอดีตหลายๆ เรื่องที่ตัวละครสามารถเดินออกไปเที่ยวนอกบ้านได้โดยที่ไม่ต้องล็อคบ้าน อันเป็นสิ่งย้ำเตือนเราว่าหลายสิ่งหลายอย่างมันได้เปลี่ยนไปแล้วในปัจจุบัน
ชายชราตาบอด ที่ในหนังอ้างว่าเขาตาบอดจากสงครามซึ่งในขณะเดียวกันมันอาจสื่อถือว่า ตาใน Eye of Providence ในธนบัตรหนึ่งดอลล่าร์สหรัฐ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่พบใน Blade Runner (1982) และตาบอดอาจหมายถึงความมืดบอดในศีลธรรม ไปจนถึงการสิ้นศรัทธาในศาสนาหรือพระเจ้า ซึ่งตัวละครเองก็ได้เปิดปากเองในตอนท้าย ซึ่งส่วนหนึ่งที่เป็นต้นเหตุนอกเหนือจากเหตุการณ์ที่เขาต้องสูญเสียลูกสาว ในสงครามอิรัก เขาเองก็คงผ่านความเป็นความตายมามาก ในที่นี้ก็คือการฆ่าคน ซึ่งถ้าจะพูดว่าครึ่งหนึ่งของความเป็นคนเขาได้หายไปที่อิรัก (สงครามก็เป็นผลผลิตจากการจัดการของรัฐ) และอีกครึ่งหนึ่งเขาหายไปจากการจากไปของลูกสาว
ที่เราเล่ามาหนังก็ปูพื้นเรื่องช่วงแรกและค่อยๆ กะเทาะเปลือกเผยให้เห็นความเป็นมาของเรื่องซึ่งก็ค่อยๆ ประกอบกันให้ประเด็นแอนตี้-อเมริกันดรีมเป็นรุปเป็นร่างมากขึ้น แต่เมื่อตัวหนังก้าวเข้าสู่ช่วงท้ายๆ ประเด็นที่อุตส่าห์ก่อร่างไว้ก็ถูกเขวี้ยงทิ้ง และหนังก็จบลงในบริบทของหนังเขย่าขวัญอย่างงดงามตามแบบฉบับ
ปล.เอาจริงๆ แอบนึกถึง Countdown (นัฐวุฒิ พูนพิริยะ), 2012 ในแง่ที่หนังทั้งสองเรื่องเอา Thriller ไปใช้ในบริบทคนละประเทศ โดยขับเน้นธีมปัญหาและค่านิยมในสังคม
ร่วมพูดคุยเกี่ยวกับภาพยนตร์ทางเฟสได้เลยนะครับ https://www.facebook.com/survival.king