หลายคนยังมีความเข้าใจผิดกับบทลงโทษในปี 2014 ทั้งเรื่องการตัดแต้ม และการอ้างถึงบทลงโทษเดิมว่าถ้าผิดอีก ปรับตกชั้นหรือยุบทีม ซึ่งเราก็คงได้เห็นทั้งจากสื่อต่างๆ ที่เล่นประเด็นเรื่องนี้ รวมถึงคำถามที่นักข่าวถามนายกสมาคมฟุตบอลฯ ไปเมื่อวานนี้
จะแยกเป็นประเด็นให้เข้าใจง่ายๆ คือ
1 เอาที่เรื่องตัดแต้มก่อน จากบทลงโทษในปี 2014 คณะกรรมการในสมัยนั้น อ้างว่า ในข้อบังคับการแข่งขันของไทยลีก ไม่มีบทลงโทษครอบคลุมถึงการเกิดเหตุนอกสถานที่จัดการแข่งขัน (ตรงนี้ก็ชัดเจนอีกเช่นกันว่า คณะกรรมการฟันธงแล้วว่า พื้นที่ตรงนั้น คือไม่ได้อยู่ในสถานที่จัดการแข่งขัน) จึงต้องเอากฎของ FIFA มาใช้บังคับ และปรับเอาข้อบังคับของไทยลีกมาลงโทษ
ซึ่งในกรณีตัดแต้มนี่แหละ ที่ไม่เคยปรากฏเคสไหนในโลก ให้มีการตัดแต้มจากแฟนบอลทะเลาะวิวาทนอกสถานที่จัดการแข่งขัน ไม่อย่างนั้นทีมในสโมสรอังกฤษคงต้องโดนตัดแต้มกันบ่อยแน่น่อน
ผมจำเหตุการณ์ในปี 2014 กับเคสนี้ได้ดี เพราะเป็นตัวแทนสโมสรเข้าไปชี้แจงและก็เตรียมข้อมูลทุกอย่างไปงัดเรื่องนี้
วันนั้นคณะกรรมการคนหนึ่ง ได้เอาเคสฟุตบอลลีกของกรีซ คู่ระหว่าง AEK Athen vs. Panthrakikos โดยคณะกรรมการท่านนั้นกล่าวอย่างมั่นใจว่า นี่คือเคสที่แฟนบอลทะเลาะวิวาทและมีการตัดแต้มเกิดขึ้น และสุดท้ายทีมยักษ์ใหญ่ของกรีซอย่างเออีเค เอเธนส์ ต้องตกชั้น
ให้ตายเถอะครับ!! ข้อเท็จจริงของเคสนี้ก็คือ เหตุการณ์เกิดขึ้นในระหว่างการแข่งขัน ในนาทีที่ 87 ทีมเยือน Panthrakikos มาได้ประตูขึ้นนำ 1-0 เท่านั้นแหละแฟนบอลเจ้าบ้านหลายร้อยคนวิ่งกรูลงมาสนามไล่กระทืบนักฟุตบอล กรรมการ จนต้องวิ่งหนีตายกันอลหม่านเข้ามาหลบในห้องนักกีฬาทีมเหย้าทีมเยือน ไม่พอแค่นั้น กองเชียร์เจ้าถิ่นยังลงมาพังทำลายข้าวของ เช่น ซุ้มมานั่งสำรองจนเละเทะ ตำรวจต้องใช้วิธีปปราบจราจลโดยการฉีกแก๊สน้ำตาสลายแฟนบอล
Link เหตุการณ์>>>
https://www.youtube.com/watch?v=KEaHcl6OY3c
คณะกรรมการพิจารณาบทลงโทษของสมาคมฟุตบอลกรีซ ตัดสินตามข้อบังคับของตัวเอง ให้ลงโทษตัดคะแนน AEK Athen 3 คะแนน ซึ่งทำให้ทีมตกชั้นพอดี เพราะก่อนแข่งนัดนั้น คือนัดรองสุดท้ายของฤดูกาลและ AEK Athen อยู่รองบ๊วยของลีก พอโดนตัด 3 คะแนน ก็ทำให้นัดสุดท้ายมีคะแนนห่างโซนปลอดภัยถึง 5 คะแนน
เห็นได้ชัดเจนครับว่า กรณีของการเกิดเหตุการณ์มันแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ของกรีซรุนแรงกว่าของเราเยอะ และยังเกิดขึ้นในสนามอีก มันเอามาเทียบกับเหตุการณ์ของเมืองทองกับท่าเรือที่เกิดขึ้นนอกสถานที่แข่งขันกันไม่ได้เลย แค่ยกเคสขึ้นมาเพื่อจะเปรียบเทียบกันก็หลงประเด็นแล้ว
และยิ่งหากเอาไปเทียบกับเคสฟุตบอลในอีกหลายๆประเทศ เช่น ในอังกฤษที่แฟนบอลมีเรื่องกันอยู่บ่อยๆ นอกสถานที่จัดการแข่งขันก็ยังไม่เคยมีสโมสรไหนที่โดนลงโทษตัดแต้ม
---------------------------------------------------------
2 ส่วนประเด็นร้อน ที่อ้างกันว่า เรื่องลงโทษเพิ่มจากการอ้างบทลงโทษเดิมปี 2014 เช่น ปรับตกชั้น หรือยุบทีม ดูในหนังสือ ตรงที่ผมขีดเส้นใต้สีแดง ข้อความเขียนชัดเจนว่า “อนึ่งหากระหว่างฤดูกาลแข่งขันที่เหลือพบว่ายังมีการกระทำความผิดซ้ำซากเกิดขึ้นอีก” ความหมายก็ชัดเจนในตัวว่า หมายถึงในฤดูกาล 2014 นั่นเอง ดังนั้น กรณีที่จะมาลงโทษเพิ่มโดยอ้างถึงบทลงโทษในกรณีนี้ ไม่สามารถทำได้แน่นอน
---------------------------------------------------------
ที่น่าแปลกอีกก็คือ สองฤดูกาลที่แล้ว ไทยลีกก็ไม่มีบทลงโทษกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนอกสถานที่จัดการแข่งขัน จนเวลาผ่านไปสองปี ก็ยังไม่มีการแก้ไขบทลงโทษข้อบังคับให้ครอบคลุมอีก
ทั้งหมดนี้อย่าเข้าใจผิดว่า ผมจะสนับสนุนว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่าไม่ใช่ความผิด แน่นอนมันผิดครับ และผิดรุนแรงต่อกฎหมายบ้านเมืองด้วย ในต่างประเทศจึงเป็นหน้าที่ชัดเจนของตำรวจในการดำเนินคดีหาตัวผู้กระทำความผิด และนำข้อมูลที่พิสูจน์ได้ว่าผู้ต้องหามีความผิดจริง ส่งไปให้กับสมาคมฟุตบอลและสโมสรเพื่อลงโทษแบนต่อไป
ลองดูจากเคสนี้ แฟนบอลเร๊กแฮมกับพอร์ทเวลตีกัน โดนจับติดคุก 7 ปี
http://news.bbc.co.uk/2/hi/uk_news/wales/north_east/3608763.stm
แต่ในส่วนการลงโทษต่อสโมสรแล้ว ก็ตามที่บอกตั้งแต่ต้นว่า ไม่มีที่ไหนในโลกเขาลงโทษเหมือนที่บ้านเราทำในปี 2014 และไม่สามารถเอามาเป็นบรรทัดฐานอะไรได้เลย และง่ายๆ ขนาดคดีบ้านเมือง สู้กันจนถึงที่สุด จนมีคำพิพากษาฎีกา แต่เวลาผ่านไป ข้อเท็จจริงแบบเดียวกัน ฎีกายังกลับได้เช่นกัน
สุดท้ายนี้ ไม่ว่าผลการพิจารณาของคณะกรรมการชุดปี 2016 จะเป็นยังไงก็ตาม แต่ก็ไม่มีทางเอามาตรฐานการตัดสินของปี 2014 มาใช้ได้อย่างแน่นอน
ที่มาเฟสบุ๊ค พี่เอ เครซี่แมน แฟนเมืองทองรุ่นแรก และปัจจุบันเป็นผู้จัดการฝ่ายประชาสัมพันธ์สโมสรเมืองทองฯ
https://www.facebook.com/profile.php?id=100002488630856&fref=ts
บทเฉพาะกาลตอนเมืองทองโดนปี14 และบทลงโทษที่รุนแรงขึ้นถึงขั้นยุบทีมนั้นแท้จริงเป็นเช่นไร ทำได้จริงหรือไม่ เชิญอ่าน
หลายคนยังมีความเข้าใจผิดกับบทลงโทษในปี 2014 ทั้งเรื่องการตัดแต้ม และการอ้างถึงบทลงโทษเดิมว่าถ้าผิดอีก ปรับตกชั้นหรือยุบทีม ซึ่งเราก็คงได้เห็นทั้งจากสื่อต่างๆ ที่เล่นประเด็นเรื่องนี้ รวมถึงคำถามที่นักข่าวถามนายกสมาคมฟุตบอลฯ ไปเมื่อวานนี้
จะแยกเป็นประเด็นให้เข้าใจง่ายๆ คือ
1 เอาที่เรื่องตัดแต้มก่อน จากบทลงโทษในปี 2014 คณะกรรมการในสมัยนั้น อ้างว่า ในข้อบังคับการแข่งขันของไทยลีก ไม่มีบทลงโทษครอบคลุมถึงการเกิดเหตุนอกสถานที่จัดการแข่งขัน (ตรงนี้ก็ชัดเจนอีกเช่นกันว่า คณะกรรมการฟันธงแล้วว่า พื้นที่ตรงนั้น คือไม่ได้อยู่ในสถานที่จัดการแข่งขัน) จึงต้องเอากฎของ FIFA มาใช้บังคับ และปรับเอาข้อบังคับของไทยลีกมาลงโทษ
ซึ่งในกรณีตัดแต้มนี่แหละ ที่ไม่เคยปรากฏเคสไหนในโลก ให้มีการตัดแต้มจากแฟนบอลทะเลาะวิวาทนอกสถานที่จัดการแข่งขัน ไม่อย่างนั้นทีมในสโมสรอังกฤษคงต้องโดนตัดแต้มกันบ่อยแน่น่อน
ผมจำเหตุการณ์ในปี 2014 กับเคสนี้ได้ดี เพราะเป็นตัวแทนสโมสรเข้าไปชี้แจงและก็เตรียมข้อมูลทุกอย่างไปงัดเรื่องนี้
วันนั้นคณะกรรมการคนหนึ่ง ได้เอาเคสฟุตบอลลีกของกรีซ คู่ระหว่าง AEK Athen vs. Panthrakikos โดยคณะกรรมการท่านนั้นกล่าวอย่างมั่นใจว่า นี่คือเคสที่แฟนบอลทะเลาะวิวาทและมีการตัดแต้มเกิดขึ้น และสุดท้ายทีมยักษ์ใหญ่ของกรีซอย่างเออีเค เอเธนส์ ต้องตกชั้น
ให้ตายเถอะครับ!! ข้อเท็จจริงของเคสนี้ก็คือ เหตุการณ์เกิดขึ้นในระหว่างการแข่งขัน ในนาทีที่ 87 ทีมเยือน Panthrakikos มาได้ประตูขึ้นนำ 1-0 เท่านั้นแหละแฟนบอลเจ้าบ้านหลายร้อยคนวิ่งกรูลงมาสนามไล่กระทืบนักฟุตบอล กรรมการ จนต้องวิ่งหนีตายกันอลหม่านเข้ามาหลบในห้องนักกีฬาทีมเหย้าทีมเยือน ไม่พอแค่นั้น กองเชียร์เจ้าถิ่นยังลงมาพังทำลายข้าวของ เช่น ซุ้มมานั่งสำรองจนเละเทะ ตำรวจต้องใช้วิธีปปราบจราจลโดยการฉีกแก๊สน้ำตาสลายแฟนบอล
Link เหตุการณ์>>> https://www.youtube.com/watch?v=KEaHcl6OY3c
คณะกรรมการพิจารณาบทลงโทษของสมาคมฟุตบอลกรีซ ตัดสินตามข้อบังคับของตัวเอง ให้ลงโทษตัดคะแนน AEK Athen 3 คะแนน ซึ่งทำให้ทีมตกชั้นพอดี เพราะก่อนแข่งนัดนั้น คือนัดรองสุดท้ายของฤดูกาลและ AEK Athen อยู่รองบ๊วยของลีก พอโดนตัด 3 คะแนน ก็ทำให้นัดสุดท้ายมีคะแนนห่างโซนปลอดภัยถึง 5 คะแนน
เห็นได้ชัดเจนครับว่า กรณีของการเกิดเหตุการณ์มันแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ของกรีซรุนแรงกว่าของเราเยอะ และยังเกิดขึ้นในสนามอีก มันเอามาเทียบกับเหตุการณ์ของเมืองทองกับท่าเรือที่เกิดขึ้นนอกสถานที่แข่งขันกันไม่ได้เลย แค่ยกเคสขึ้นมาเพื่อจะเปรียบเทียบกันก็หลงประเด็นแล้ว
และยิ่งหากเอาไปเทียบกับเคสฟุตบอลในอีกหลายๆประเทศ เช่น ในอังกฤษที่แฟนบอลมีเรื่องกันอยู่บ่อยๆ นอกสถานที่จัดการแข่งขันก็ยังไม่เคยมีสโมสรไหนที่โดนลงโทษตัดแต้ม
---------------------------------------------------------
2 ส่วนประเด็นร้อน ที่อ้างกันว่า เรื่องลงโทษเพิ่มจากการอ้างบทลงโทษเดิมปี 2014 เช่น ปรับตกชั้น หรือยุบทีม ดูในหนังสือ ตรงที่ผมขีดเส้นใต้สีแดง ข้อความเขียนชัดเจนว่า “อนึ่งหากระหว่างฤดูกาลแข่งขันที่เหลือพบว่ายังมีการกระทำความผิดซ้ำซากเกิดขึ้นอีก” ความหมายก็ชัดเจนในตัวว่า หมายถึงในฤดูกาล 2014 นั่นเอง ดังนั้น กรณีที่จะมาลงโทษเพิ่มโดยอ้างถึงบทลงโทษในกรณีนี้ ไม่สามารถทำได้แน่นอน
---------------------------------------------------------
ที่น่าแปลกอีกก็คือ สองฤดูกาลที่แล้ว ไทยลีกก็ไม่มีบทลงโทษกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนอกสถานที่จัดการแข่งขัน จนเวลาผ่านไปสองปี ก็ยังไม่มีการแก้ไขบทลงโทษข้อบังคับให้ครอบคลุมอีก
ทั้งหมดนี้อย่าเข้าใจผิดว่า ผมจะสนับสนุนว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่าไม่ใช่ความผิด แน่นอนมันผิดครับ และผิดรุนแรงต่อกฎหมายบ้านเมืองด้วย ในต่างประเทศจึงเป็นหน้าที่ชัดเจนของตำรวจในการดำเนินคดีหาตัวผู้กระทำความผิด และนำข้อมูลที่พิสูจน์ได้ว่าผู้ต้องหามีความผิดจริง ส่งไปให้กับสมาคมฟุตบอลและสโมสรเพื่อลงโทษแบนต่อไป
ลองดูจากเคสนี้ แฟนบอลเร๊กแฮมกับพอร์ทเวลตีกัน โดนจับติดคุก 7 ปี http://news.bbc.co.uk/2/hi/uk_news/wales/north_east/3608763.stm
แต่ในส่วนการลงโทษต่อสโมสรแล้ว ก็ตามที่บอกตั้งแต่ต้นว่า ไม่มีที่ไหนในโลกเขาลงโทษเหมือนที่บ้านเราทำในปี 2014 และไม่สามารถเอามาเป็นบรรทัดฐานอะไรได้เลย และง่ายๆ ขนาดคดีบ้านเมือง สู้กันจนถึงที่สุด จนมีคำพิพากษาฎีกา แต่เวลาผ่านไป ข้อเท็จจริงแบบเดียวกัน ฎีกายังกลับได้เช่นกัน
สุดท้ายนี้ ไม่ว่าผลการพิจารณาของคณะกรรมการชุดปี 2016 จะเป็นยังไงก็ตาม แต่ก็ไม่มีทางเอามาตรฐานการตัดสินของปี 2014 มาใช้ได้อย่างแน่นอน
ที่มาเฟสบุ๊ค พี่เอ เครซี่แมน แฟนเมืองทองรุ่นแรก และปัจจุบันเป็นผู้จัดการฝ่ายประชาสัมพันธ์สโมสรเมืองทองฯ
https://www.facebook.com/profile.php?id=100002488630856&fref=ts