เมื่อคราวที่แล้วเขียนเรื่อง xDSL ไปแล้ว คราวนี้มาเขียนเกี่ยวกับ DOCSIS มั่งเพื่อให้ครบถ้วนในส่วนเทคโนโลยีของสายแต่ละประเภทครับ
ก่อนอื่นต้องขอเกริ่นนำเกี่ยวกับธุรกิจเคเบิลทีวีซึ่งเป็นธุรกิจหรือบริการที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านสาย CATV หรือทั่วไปเรียกว่า Coaxial เนื่องจากเกี่ยวข้องกันเป็นอย่างมาก
ซึ่งที่จริงแล้ว DOCSIS เป็นเทคโนโลยีรับ-ส่งสัญญาณที่ไม่ค่อยเป็นที่นิยมนักในบ้านเรา เนื่องจากประเทศไทยมีลักษณะทางกายภาพต่างจากเมืองนอกหลายๆ ประเทศ รวมถึงบริการอาทิเช่น เคเบิลทีวีก็ไม่เป็นที่นิยมมากนักเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ
สาเหตุหลักๆ น่าจะมาจากตัว content หรือเนื้อหาในเคเบิลทีวีบ้านเราเป็นขยะเสียส่วนใหญ่ อีกทั้งมีดิจิทัลทีวีแล้ว การจ่ายค่าบริการรายเดือนให้เคเบิลทีวีจึงไม่ค่อยมีความจำเป็นนัก และส่วนใหญ่หากเป็นพื้นที่ห่างไกลก็จะใช้จานดาวเทียมในการรับสัญญาณ ซึ่งประหยัดกว่าต้องชำระเป็นรายปี
ถ้าไม่นับรวมผู้ให้บริการรายใหญ่ระดับประเทศ ส่วนใหญ่ผู้ให้บริการเคเบิลทีวีก็จะเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนจำกัดทั่วไป ซึ่งก็จะให้บริการในระดับจังหวัดหรือพื้นที่ที่เป็นชุมชนขนาดใหญ่เท่านั้น และมักจะเป็นอาคารที่พักทรงสูง เช่น หอพัก อพาร์ตเม้นต์ คอนโดมิเนียม ที่เจ้าของสามารถกำหนดให้ผู้พักอาศัยต้องดูรายการทีวีผ่านโครงข่ายที่ตนกำหนดให้เท่านั้น ซึ่งก่อนที่จะมีทีวีดิจิทัล ผู้คนไม่มีทางเลือกมากนักในการรับชมทีวีจึงจำเป็นต้องสมัครบริการดังกล่าว แต่ภายหลังจากมีทีวีดิจิทัลแล้วธุรกิจเคเบิลทีวีก็ซบเซาลงเป็นอย่างมาก ดังนั้นการให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบ DOCSIS จึงไม่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน อีกทั้งในปัจจุบันมี FTTx ที่มีความสามารถในการรับส่งข้อมูลได้สูงกว่าหลายเท่าในราคาใกล้เคียงกัน
ในส่วนเทคโนโลยีการเชื่อมโยงโครงข่ายของ DOCSIS ก็ไม่แตกต่างจาก xDSL หรือ FTTx เลย เพียงแค่เปลี่ยนจากสายโทรศัพท์เป็นสาย Coaxial เพื่อให้สามารถรองรับปริมาณการับส่งข้อมูลได้เพิ่มขึ้นเท่านั้น ส่วนการเชื่อมโยงโครงข่ายไปยัง ISP เพื่อออกอินเทอร์เน็ตก็ยังคงเป็นลักษณะเดียวกับ xDSL นั่นเอง และเปลี่ยนอุปกรณ์รับที่ต้นทางของชุมสายจาก DSLAM เป็น Cable Modem Termination System (CTMS) และอุปกรณ์แปลงสัญญาณก็จะใช้ Cable Modem แทน Modem/Router ที่เราคุ้นเคยกัน
อุปกรณ์ชุมสายต้นทาง CTMX
อุปกรณ์แปลงสัญญาณปลายทาง Cable Modem
โดยเทคโนโลยี DOCSIS มีความสามารถในการรับส่งข้อมูลสูงสุดที่ 1216/216 Mbps (DOCSIS 3.0) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับมาตรฐานการใช้งานซึ่งจะมีมาตรฐานสากลกับมาตรฐาน Euro (EuroDOCSIS) กับจำนวนช่องสัญญาณที่ใช้รับส่งข้อมูลด้วย (ดูตารางความเร็วด้านล่าง) โดยปริมาณแบนด์วิดธ์ของ DOCSIS นั้นขึ้นอยู่กับการรวมช่องสัญญาณเข้าด้วยกัน (Bond) เพื่อให้ได้ความเร็วตามที่กำหนด โดยแต่ละช่องสัญญาณมีปริมาณการรับส่งสูงสุดที่ 42.88/30.72Mbps หรือ 55.62/30.72Mbps ในมาตรฐานของ Euro (สำหรับ DOCSIS 3.0)
DOCSIS Throughput
DOCSIS 3.0 Throughput
แต่ที่ต่างจาก xDSL คือเทคโนโลยี DOCSIS ตั้งแต่เวอร์ชั่น 2.0 เป็นต้นมาจะสนับสนุนการใช้งาน IPv6 และในเวอร์ชั่น 3.0 จะสามารถทำการ manage หรือบริหารจัดการ IPv6 ได้ และมีการเข้ารหัสสัญญาณต่างจาก xDSL โดยที่ DOCSIS จะใช้การเข้ารหัสแบบ BPI หรือ BPI+ (BPI/SEC) โดยเข้ารหัสแบบ 56-bit DES ส่วน xDSL จะใช้การเช้ารหัสแบบ Point-to-Point Protocol over Ethernet (PPPoE ) กล่าวโดยรวมคือ DOCSIS มีการเข้ารหัสและการรักษาความปลอดภัยมากกว่า xDSL นะครับ ซึ่งผู้ใช้งานทั่วไปไม่ค่อยได้ใช้ด้านนี้มากนัก สำหรับผู้ที่สนใจเชิงเทคนิคเพิ่มเติมสามารถหาข้อมูลได้จากอินเทอร์เน็ตนะครับ
ปัญหาทั่วไปที่พบบ่อย:
สาย Coaxial เก่า ทำให้เกิด loss หรืออินเทอร์เน็ตไม่ได้ความเร็วตามที่ต้องการ เนื่องจากการเดินสาย CATV ในอาคารสูงบ้านเราส่วนใหญ่จะเชื่อมต่อกันแบบอนุกรม หรือใช้ Splitter เกินความจำเป็น ทำให้สัญญาณหรือความเร็วถูกลดทอนลงไปทุกครั้งที่มีการ split สายออก และจะทำให้ยากในการตรวจสอบหาจุดบกพร่อง เนื่องจากบ้านเรามักใช้สาย CATV สำหรับส่งข้อมูล analog สำหรับดูทีวีเป็นส่วนใหญ่ ไม่ได้คำนึงถึงการใช้งานดิจิทัล รวมไปถึงการบำรุงดูแลระบบสายไม่ค่อยดีนัก จึงมักพบปัญหานี้กับอาคารที่มีอายุเกิน 5 ปีขึ้นไป
ไม่มีข้อมูลให้สืบค้นทางอินเทอร์เน็ตมากนัก เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีที่ไม่ค่อยได้รับความนิยมในบ้านเรา ดังนั้นข้อมูลที่เป็นภาษาไทยก็เลยน้อยตามไปด้วย ดังนั้นหากผู้ใช้งานมีปัญหาเกี่ยวกับสัญญาณหรืออุปกรณ์จึงมักต้องให้เจ้าหน้าที่เทคนิคของบริษัทที่ให้บริการเข้ามาทำการตรวจสอบ ซึ่งบางครั้งต้องมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ
สรุปคือผู้ที่ใช้ DOCSIS ในประเทศไทยมีจำนวนน้อยมาก เมื่อเทียบกับ xDSL หรือ FTTx เนื่องจากข้อจำกัดหลายๆ ด้าน ทั้งในส่วนของอุปกรณ์รองรับที่ไม่ค่อยมีจำหน่ายในท้องตลาดและมีราคาค่อนข้างสูง อัตราค่าบริการรายเดือน รวมถึงจำนวนผู้ให้บริการในประเทศไทยครับ แต่สำหรับผู้ที่จำเป็นต้องใช้ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น ก็ลองตรวจสอบดูครับ ว่าเราใช้ DOCSIS มาตรฐานไหนอยู่ ระบบสายมีการบำรุงดูแลดีหรือไม่ และควรศึกษาข้อมูลของอุปกรณ์ Cable Modem ของเราเบื้องต้นไว้ ในกรณีมีปัญหาจะได้ไม่ต้องเรียกช่างมา ซึ่งอาจเสียทั้งเงินและเวลาโดยใช่เหตุครับ
ครั้งต่อไปจะมาว่ากันเรื่องของ FTTx กันนะครับ สำหรับใครที่มีคำแนะนำหรือติชมก็ยินดีนะครับ
Summersoltice (มือใหม่หัดเขียน)
เทคโนโลยี xDSL, DOCSIS และ FTTx รวมถึงปัญหาสำหรับผู้ใช้งานทั่วไปอ่านไว้เป็นข้อมูล...ภาคที่ 2 DOCSIS
ก่อนอื่นต้องขอเกริ่นนำเกี่ยวกับธุรกิจเคเบิลทีวีซึ่งเป็นธุรกิจหรือบริการที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านสาย CATV หรือทั่วไปเรียกว่า Coaxial เนื่องจากเกี่ยวข้องกันเป็นอย่างมาก
ซึ่งที่จริงแล้ว DOCSIS เป็นเทคโนโลยีรับ-ส่งสัญญาณที่ไม่ค่อยเป็นที่นิยมนักในบ้านเรา เนื่องจากประเทศไทยมีลักษณะทางกายภาพต่างจากเมืองนอกหลายๆ ประเทศ รวมถึงบริการอาทิเช่น เคเบิลทีวีก็ไม่เป็นที่นิยมมากนักเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ
สาเหตุหลักๆ น่าจะมาจากตัว content หรือเนื้อหาในเคเบิลทีวีบ้านเราเป็นขยะเสียส่วนใหญ่ อีกทั้งมีดิจิทัลทีวีแล้ว การจ่ายค่าบริการรายเดือนให้เคเบิลทีวีจึงไม่ค่อยมีความจำเป็นนัก และส่วนใหญ่หากเป็นพื้นที่ห่างไกลก็จะใช้จานดาวเทียมในการรับสัญญาณ ซึ่งประหยัดกว่าต้องชำระเป็นรายปี
ถ้าไม่นับรวมผู้ให้บริการรายใหญ่ระดับประเทศ ส่วนใหญ่ผู้ให้บริการเคเบิลทีวีก็จะเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนจำกัดทั่วไป ซึ่งก็จะให้บริการในระดับจังหวัดหรือพื้นที่ที่เป็นชุมชนขนาดใหญ่เท่านั้น และมักจะเป็นอาคารที่พักทรงสูง เช่น หอพัก อพาร์ตเม้นต์ คอนโดมิเนียม ที่เจ้าของสามารถกำหนดให้ผู้พักอาศัยต้องดูรายการทีวีผ่านโครงข่ายที่ตนกำหนดให้เท่านั้น ซึ่งก่อนที่จะมีทีวีดิจิทัล ผู้คนไม่มีทางเลือกมากนักในการรับชมทีวีจึงจำเป็นต้องสมัครบริการดังกล่าว แต่ภายหลังจากมีทีวีดิจิทัลแล้วธุรกิจเคเบิลทีวีก็ซบเซาลงเป็นอย่างมาก ดังนั้นการให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบ DOCSIS จึงไม่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน อีกทั้งในปัจจุบันมี FTTx ที่มีความสามารถในการรับส่งข้อมูลได้สูงกว่าหลายเท่าในราคาใกล้เคียงกัน
ในส่วนเทคโนโลยีการเชื่อมโยงโครงข่ายของ DOCSIS ก็ไม่แตกต่างจาก xDSL หรือ FTTx เลย เพียงแค่เปลี่ยนจากสายโทรศัพท์เป็นสาย Coaxial เพื่อให้สามารถรองรับปริมาณการับส่งข้อมูลได้เพิ่มขึ้นเท่านั้น ส่วนการเชื่อมโยงโครงข่ายไปยัง ISP เพื่อออกอินเทอร์เน็ตก็ยังคงเป็นลักษณะเดียวกับ xDSL นั่นเอง และเปลี่ยนอุปกรณ์รับที่ต้นทางของชุมสายจาก DSLAM เป็น Cable Modem Termination System (CTMS) และอุปกรณ์แปลงสัญญาณก็จะใช้ Cable Modem แทน Modem/Router ที่เราคุ้นเคยกัน
อุปกรณ์ชุมสายต้นทาง CTMX
อุปกรณ์แปลงสัญญาณปลายทาง Cable Modem
โดยเทคโนโลยี DOCSIS มีความสามารถในการรับส่งข้อมูลสูงสุดที่ 1216/216 Mbps (DOCSIS 3.0) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับมาตรฐานการใช้งานซึ่งจะมีมาตรฐานสากลกับมาตรฐาน Euro (EuroDOCSIS) กับจำนวนช่องสัญญาณที่ใช้รับส่งข้อมูลด้วย (ดูตารางความเร็วด้านล่าง) โดยปริมาณแบนด์วิดธ์ของ DOCSIS นั้นขึ้นอยู่กับการรวมช่องสัญญาณเข้าด้วยกัน (Bond) เพื่อให้ได้ความเร็วตามที่กำหนด โดยแต่ละช่องสัญญาณมีปริมาณการรับส่งสูงสุดที่ 42.88/30.72Mbps หรือ 55.62/30.72Mbps ในมาตรฐานของ Euro (สำหรับ DOCSIS 3.0)
DOCSIS Throughput
DOCSIS 3.0 Throughput
แต่ที่ต่างจาก xDSL คือเทคโนโลยี DOCSIS ตั้งแต่เวอร์ชั่น 2.0 เป็นต้นมาจะสนับสนุนการใช้งาน IPv6 และในเวอร์ชั่น 3.0 จะสามารถทำการ manage หรือบริหารจัดการ IPv6 ได้ และมีการเข้ารหัสสัญญาณต่างจาก xDSL โดยที่ DOCSIS จะใช้การเข้ารหัสแบบ BPI หรือ BPI+ (BPI/SEC) โดยเข้ารหัสแบบ 56-bit DES ส่วน xDSL จะใช้การเช้ารหัสแบบ Point-to-Point Protocol over Ethernet (PPPoE ) กล่าวโดยรวมคือ DOCSIS มีการเข้ารหัสและการรักษาความปลอดภัยมากกว่า xDSL นะครับ ซึ่งผู้ใช้งานทั่วไปไม่ค่อยได้ใช้ด้านนี้มากนัก สำหรับผู้ที่สนใจเชิงเทคนิคเพิ่มเติมสามารถหาข้อมูลได้จากอินเทอร์เน็ตนะครับ
ปัญหาทั่วไปที่พบบ่อย:
สาย Coaxial เก่า ทำให้เกิด loss หรืออินเทอร์เน็ตไม่ได้ความเร็วตามที่ต้องการ เนื่องจากการเดินสาย CATV ในอาคารสูงบ้านเราส่วนใหญ่จะเชื่อมต่อกันแบบอนุกรม หรือใช้ Splitter เกินความจำเป็น ทำให้สัญญาณหรือความเร็วถูกลดทอนลงไปทุกครั้งที่มีการ split สายออก และจะทำให้ยากในการตรวจสอบหาจุดบกพร่อง เนื่องจากบ้านเรามักใช้สาย CATV สำหรับส่งข้อมูล analog สำหรับดูทีวีเป็นส่วนใหญ่ ไม่ได้คำนึงถึงการใช้งานดิจิทัล รวมไปถึงการบำรุงดูแลระบบสายไม่ค่อยดีนัก จึงมักพบปัญหานี้กับอาคารที่มีอายุเกิน 5 ปีขึ้นไป
ไม่มีข้อมูลให้สืบค้นทางอินเทอร์เน็ตมากนัก เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีที่ไม่ค่อยได้รับความนิยมในบ้านเรา ดังนั้นข้อมูลที่เป็นภาษาไทยก็เลยน้อยตามไปด้วย ดังนั้นหากผู้ใช้งานมีปัญหาเกี่ยวกับสัญญาณหรืออุปกรณ์จึงมักต้องให้เจ้าหน้าที่เทคนิคของบริษัทที่ให้บริการเข้ามาทำการตรวจสอบ ซึ่งบางครั้งต้องมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ
สรุปคือผู้ที่ใช้ DOCSIS ในประเทศไทยมีจำนวนน้อยมาก เมื่อเทียบกับ xDSL หรือ FTTx เนื่องจากข้อจำกัดหลายๆ ด้าน ทั้งในส่วนของอุปกรณ์รองรับที่ไม่ค่อยมีจำหน่ายในท้องตลาดและมีราคาค่อนข้างสูง อัตราค่าบริการรายเดือน รวมถึงจำนวนผู้ให้บริการในประเทศไทยครับ แต่สำหรับผู้ที่จำเป็นต้องใช้ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น ก็ลองตรวจสอบดูครับ ว่าเราใช้ DOCSIS มาตรฐานไหนอยู่ ระบบสายมีการบำรุงดูแลดีหรือไม่ และควรศึกษาข้อมูลของอุปกรณ์ Cable Modem ของเราเบื้องต้นไว้ ในกรณีมีปัญหาจะได้ไม่ต้องเรียกช่างมา ซึ่งอาจเสียทั้งเงินและเวลาโดยใช่เหตุครับ
ครั้งต่อไปจะมาว่ากันเรื่องของ FTTx กันนะครับ สำหรับใครที่มีคำแนะนำหรือติชมก็ยินดีนะครับ
Summersoltice (มือใหม่หัดเขียน)