ตามนั้น เพื่ออรรถรสในการชมฟุตบอล บอลทีมชาติจบแล้ว พอใจหรือไม่พอใจก็ว่ากันไป แต่ห้องบอลไทยคงจะเงียบๆไปพอสมควร
เจอกันใหม่นัดหน้า
บอลลีค จะกลับมาฟาดแข้งกัน หมดเวลาสามัคคีกัน กลับมาตีกันต่อได้
นับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ระบบการเล่นมากมายถูกค้นคิด (คิดค้น) ด้วยบรรดากุนซือมากหน้าหลายตา นับตั้งแต่ 2 4 4 ของบราซิลในยุคฟุตบอลรุ่งเรือง(1950) หรือ 2-3-5 ( Pyramid ) ที่ถูกคิดค้นในปี 1880 ที่อังกฤษ
จนมาถึงระบบไร้จุดอ่อน(ในขณะนี้) พิมพ์นิยม 4-3-3
ในปัจจุบันนี้ ระบบโดยทั่วๆไปแล้ว ไม่มีคำว่าตายตัว เพราะถ้าตายตัว คุณก็จะตัวตาย (ชะลาล่าห์ ) แต่อย่างไรก๋็ตาม ระบบที่ผ่านลองผิดลองถูกกันมาแล้ว
หลายต่อหลายท่าน รวมๆแล้วเกือบ ร้อยปี ยังคงหลงเหลือที่เป็นนิยมมาจนถึงปัจุบัน ได้แก่
4-4-2
(พวกที่สูงวัยหน่อย ฮา )หลายๆคนคงคุ้นตากันดี
ระบบมาตรฐานในยุค80-90 ระบบ นี้ มี กองหลัง 4ตัว กองกลาง 4ตัว กองหน้า 2ตัว ยืนเป็นไลน์เดียวกัน
ระบบนี้ถูก แตกออกเป็นแยกย่อยมากมาย ซึ่งคงจะพูดไม่หมด
เช่น 442 แบบ box ถูกใช้และคิดค้นโดยบราซิล ยุค70-80 โดยไม่มี ผู้เล่นริมเส้น (ปีก) แต่วางกองกลางเป็นรูปกล่อง และ ใช้กองหน้าและฟูลแบ็กเล่นเกมส์ทางริมเส้น ในไทยที่ใช้ระบบนี้อยู่คือเมืองทอง
รายละเอียดเคยเขียนไว้แล้ว
http://ppantip.com/topic/35096399
หรือ 4-4-2 (1-1) แบบแมนยูในยุค ต้น-กลาง ของ เอล็ก เฟอร์กูสัน (ราว 1992-1998)
เหมือน442 แต่วางกองหน้าต่ำลงมานิดหน่อย ซึ่งจะกองหน้าอยู่สูงกว่ามิดฟิดล์ แต่ก็จะอยู่ต่ำกว่ากองหน้าอีกคน ซึ่งระบบนี้ กองหน้าตัวต่ำมักจะเป็นพวก all rouder ภาษาไทยคือ ความสามารถรอบด้าน (ภาษาชาวบ้านคือ เป็ด 555) คือทำได้มากว่าจบสกอร์ เปิดบอล ทำเกมส์ เช่น คันโตน่า หรือ ดไวยอค์
หรือ 4-4-2 เพชรหรือ 4-1-2-1-2 ระบบ ไดมอน ที่เอซีมิลานใช้ ในช่วงยุค ผีกาก้า (ฮา)
ระบบนี้มันดีอย่างไร ข้อแรกเลยมันเป็นที่นิยม และเข้าใจง่าย มีเส้นทางวิ่ง-รับผิดชอบ ที่แน่นอน ไม่จำเป็นต้องสลับตำแหน่งกัน ไม่ซับซ้อนมากมายนัก เลยยังมีหลายทีมใช้อยู่
นี่คือข้อดีของมันที่เว็บ 442 ว่าไว้
http://www.fourfourtwo.com/th/features/khuumuueluukhnang-ecchaaaluekaephnfutblsmayaihmthiikunchuueradabethphniym
การมีกองหน้าสองคนยืนคู่กันนั้น ทำให้กองกลางและกองหลังไม่จำเป็นต้องรีบเติมเกมขึ้นไปช่วยเกมรุกทันที ดังนั้น คุณต้องการกองหน้าที่ไปกับบอลได้เอง และไม่จำเป็นต้องรอเพื่อนขึ้นมาช่วย เพราะฉะนั้นหากเรามีดาวยิงระดับนั้นอยู่ในทีมแล้วละก็ แผนนี้ก็อาจจะเหมาะกับทีมของคุณก็ได้
นอกจากนี้ คุณยังต้องการปีกสองข้างที่สามารถเลื้อย กระชาก และเปิดบอลได้อย่างยอดเยี่ยม รวมทั้งฟูลแบ็คที่สามารถเติมเกมขึ้นมาได้ดี พร้อมกับรีบลงไปเล่นเกมรับได้ทัน ซึ่งหากเกมทั้งสองข้างของคุณทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบกับการมีคู่หูในแดนหน้าที่พร้อมเป็นทั้งคนรอยิง และเป็นคนพาบอลไปยิงเองได้ ระบบ 4-4-2 ก็จะสร้างประโยชน์ให้กับทีมของคุณได้อย่างเต็มที่
มันเป็นระบบที่สมดุลเอามากๆ
แต่อย่างไรก็ตามมันก็มีจุดบอด อันเนื่องมาจากจุดแข็งเช่นเดียวกัน เนื่องจากมันเป็นระบบมารตฐาน แน่นอนว่าทุกคนเล่นเป็น และทุกคนย่อมรู้จุดอ่อน
การที่มิดฟิดตัวกลางยืนเป็นระนาบเดียวกัน 2ตัว ทำให้ ตัวผู้เล่นย่อมน้อยกว่า เมื่อเจอกับระบบการเล่นสมัยใหม่ และยืดหยุ่นกว่า เช่น 4-3-3 หรือ 4-5-1ระบบนี้จึงค่อยๆตายไปจากปัจจุบัน แต่ก็ยังมีทีมที่เล่นอยู่เช่น แอตเลติโก้ มาดริด, เลสเตอร์, โบรุสเซีย มึนเช่นกลัดบัค
********************************************************
3-5-2
3-5-2 ถูกคิดค้นโดยเยอรมัน(ตะวันตก)ช่วงยุค80 จนถึงต้น90 เพื่อเอามาแก้ทาง 4-4-2 โดยเฉพาะ อย่างที่กล่าวไว้ด้านต้น 4-4-2 นั้นไร้เทียมทานในยุคของมัน แต่ก็มีจุดบอดในเกมส์โต้กลับ หากไม่รู้หน้าที่เนื่องจากมิดฟิดล์ตัวกลางต้องเล่นทั้งเกมส์รุกและรับ จึงกำเนิดเป็น 3-5-2
โดยระบบนี้ยืดหยุ่นกว่า 442 ตรงที่เมื่อเวลารับ คุณจะมี กองหลัง 5 ตัวในแผงหลัง และวลาเล่นเกมส์รุกคุณก็จะมี แผงกลาง 5ตัวไว้ครองเกมส์
โดย กองหลังเซนเตอร์สองตัวจะทำหน้าที่ประกบกองหน้า ส่วนกองหลังตัวกลางจะทำหน้าที่ ปัดกวาดหาก กองหน้าเล็ดลอดมา
โดยทำหน้าที่ขึ้นเกมส์เป็นเสมือนมิดฟิลด์ด้วย (ลิเบอร์โล่)
ขณะที่ฟูลแบ็กจะทำหน้าที่กึ่งปีก ในการหยุดเกมส์ริมเส้นของคู่แข่ง และเล่นเกมส์รุก ส่วรนกองกลาง3ตัวก็จะมีมากว่า 442
แผนนี้ถูกคิดค้นมาเพื่อหยุดเกมโต้กลับของคู่แข่ง กองหลังสามตัวของคุณต่างล้วนเป็นเซนเตอร์ฮาร์ฟทั้งสิ้น ซึ่งนั่นจะทำให้พวกเขาสามารถรุมกองหน้าหรือตัวปั้นเกมของอีกฝ่ายได้อย่างดี นอกจากนี้ วิงแบ็คสองข้างยังสามารถถอยลงมาปิดเกมรุกด้านข้างของคู่แข่งด้วย
อีกตำแหน่งที่สำคัญ คือ มิดฟิลด์ตัวรับ ที่ต้องถอยลงมาปิดเกมหน้าประตู รวมทั้งมีหน้าที่คอยซ้อนตำแหน่งวิงแบ็คเมื่อพวกเขาเติมเกมขึ้นไป และลงมาไม่ทัน
อย่างไรก็ตาม แม้ว่า 3-5-2 จะดูเป็นแผนที่เหมาะกับการเล่นเกมรับ แต่จริงๆแล้ว แผนนี้สามารถเปลี่ยนเกมรุกได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย เพราะการที่เรามีกองหน้าถึงสองคนในสนาม นั่นหมายความว่าเราไม่ได้ต้องการอุดประตู ซึ่งหากมีโอกาสทั้งแผงกองกลางและวิงแบ็ค ก็พร้อมที่จะขึ้นไปเติมเกมทันที
แต่อย่างไรก็ดีมันมีจุดบอด อันเนื่องมาจากความซับซ้อน
อาจจะกลายเป็นจุดอ่อนได้ หากนักเตะของคุณไม่มีความเข้าใจในเกมมากเพียงพอ โดยเฉพาะ แผงหลังสามตัวของคุณ หากว่าแต่ละคนไม่รู้หน้าที่ว่า คนไหนเป็นคนประกบตัว คนไหนทำหน้าที่ซ้อน คนไหนมีหน้าที่ชน ฯลฯ หรือระหว่างเกม เกิดมีใครหลุดตำแหน่ง และไม่มีคนที่ทำหน้าที่แทน หายนะก็อาจจะเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ
รวมถึงผู้เล่นริมเส้น ก็จะมีเพียงคนเดียว เมื่อรวมกับการโอเวอร์แล็ปที่ 4-4-2 สามารถทำได้ ทำให้ภาระหน้าที่จะหนักมาก หากปราการหลังตัวกลางไม่ยอดเยี่ยมหรืออ่านเกมส์ได้ดีเพียงพอ มันก็จะเกิดช่องว่างเอาได้
over lab
ตัวอย่าง over lab ของเมืองทอง
นาทีที่10.36
แต่อย่างไรก็ตาม ระบบนี้ยังคงยอดเยี่ยมในตัวของมันเอง จึงมีบางทีมที่ใช้อยู่เช่นเดียวกันเช่น โตริโน. ปาแลร์โม่, ฟิออเรนติน่า
อดีต – ฮอลแลนด์(ฟุตบอลโลก 2014)
จบพาทร์แรก
พบกันใหม่ กระทู้หน้า กับฟอร์เมชั่นยุคใหม่ 4-5-1 และ 4-3-3 และ zone press พ่อทุกสถาบัน (ใช่แล้วที่เราเจอมาเมื่อวานนั่นล่ะ)
กดบวกด้วยเน้อ เขียนมายาว
K license today มารู้จักกับระบบการเล่นในทุกวันนี้กัน (part 1)
เจอกันใหม่นัดหน้า
บอลลีค จะกลับมาฟาดแข้งกัน หมดเวลาสามัคคีกัน กลับมาตีกันต่อได้
นับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ระบบการเล่นมากมายถูกค้นคิด (คิดค้น) ด้วยบรรดากุนซือมากหน้าหลายตา นับตั้งแต่ 2 4 4 ของบราซิลในยุคฟุตบอลรุ่งเรือง(1950) หรือ 2-3-5 ( Pyramid ) ที่ถูกคิดค้นในปี 1880 ที่อังกฤษ
จนมาถึงระบบไร้จุดอ่อน(ในขณะนี้) พิมพ์นิยม 4-3-3
ในปัจจุบันนี้ ระบบโดยทั่วๆไปแล้ว ไม่มีคำว่าตายตัว เพราะถ้าตายตัว คุณก็จะตัวตาย (ชะลาล่าห์ ) แต่อย่างไรก๋็ตาม ระบบที่ผ่านลองผิดลองถูกกันมาแล้ว
หลายต่อหลายท่าน รวมๆแล้วเกือบ ร้อยปี ยังคงหลงเหลือที่เป็นนิยมมาจนถึงปัจุบัน ได้แก่
4-4-2
(พวกที่สูงวัยหน่อย ฮา )หลายๆคนคงคุ้นตากันดี
ระบบมาตรฐานในยุค80-90 ระบบ นี้ มี กองหลัง 4ตัว กองกลาง 4ตัว กองหน้า 2ตัว ยืนเป็นไลน์เดียวกัน
ระบบนี้ถูก แตกออกเป็นแยกย่อยมากมาย ซึ่งคงจะพูดไม่หมด
เช่น 442 แบบ box ถูกใช้และคิดค้นโดยบราซิล ยุค70-80 โดยไม่มี ผู้เล่นริมเส้น (ปีก) แต่วางกองกลางเป็นรูปกล่อง และ ใช้กองหน้าและฟูลแบ็กเล่นเกมส์ทางริมเส้น ในไทยที่ใช้ระบบนี้อยู่คือเมืองทอง
รายละเอียดเคยเขียนไว้แล้ว
http://ppantip.com/topic/35096399
หรือ 4-4-2 (1-1) แบบแมนยูในยุค ต้น-กลาง ของ เอล็ก เฟอร์กูสัน (ราว 1992-1998)
เหมือน442 แต่วางกองหน้าต่ำลงมานิดหน่อย ซึ่งจะกองหน้าอยู่สูงกว่ามิดฟิดล์ แต่ก็จะอยู่ต่ำกว่ากองหน้าอีกคน ซึ่งระบบนี้ กองหน้าตัวต่ำมักจะเป็นพวก all rouder ภาษาไทยคือ ความสามารถรอบด้าน (ภาษาชาวบ้านคือ เป็ด 555) คือทำได้มากว่าจบสกอร์ เปิดบอล ทำเกมส์ เช่น คันโตน่า หรือ ดไวยอค์
หรือ 4-4-2 เพชรหรือ 4-1-2-1-2 ระบบ ไดมอน ที่เอซีมิลานใช้ ในช่วงยุค ผีกาก้า (ฮา)
ระบบนี้มันดีอย่างไร ข้อแรกเลยมันเป็นที่นิยม และเข้าใจง่าย มีเส้นทางวิ่ง-รับผิดชอบ ที่แน่นอน ไม่จำเป็นต้องสลับตำแหน่งกัน ไม่ซับซ้อนมากมายนัก เลยยังมีหลายทีมใช้อยู่
นี่คือข้อดีของมันที่เว็บ 442 ว่าไว้
http://www.fourfourtwo.com/th/features/khuumuueluukhnang-ecchaaaluekaephnfutblsmayaihmthiikunchuueradabethphniym
การมีกองหน้าสองคนยืนคู่กันนั้น ทำให้กองกลางและกองหลังไม่จำเป็นต้องรีบเติมเกมขึ้นไปช่วยเกมรุกทันที ดังนั้น คุณต้องการกองหน้าที่ไปกับบอลได้เอง และไม่จำเป็นต้องรอเพื่อนขึ้นมาช่วย เพราะฉะนั้นหากเรามีดาวยิงระดับนั้นอยู่ในทีมแล้วละก็ แผนนี้ก็อาจจะเหมาะกับทีมของคุณก็ได้
นอกจากนี้ คุณยังต้องการปีกสองข้างที่สามารถเลื้อย กระชาก และเปิดบอลได้อย่างยอดเยี่ยม รวมทั้งฟูลแบ็คที่สามารถเติมเกมขึ้นมาได้ดี พร้อมกับรีบลงไปเล่นเกมรับได้ทัน ซึ่งหากเกมทั้งสองข้างของคุณทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบกับการมีคู่หูในแดนหน้าที่พร้อมเป็นทั้งคนรอยิง และเป็นคนพาบอลไปยิงเองได้ ระบบ 4-4-2 ก็จะสร้างประโยชน์ให้กับทีมของคุณได้อย่างเต็มที่
มันเป็นระบบที่สมดุลเอามากๆ
แต่อย่างไรก็ตามมันก็มีจุดบอด อันเนื่องมาจากจุดแข็งเช่นเดียวกัน เนื่องจากมันเป็นระบบมารตฐาน แน่นอนว่าทุกคนเล่นเป็น และทุกคนย่อมรู้จุดอ่อน
การที่มิดฟิดตัวกลางยืนเป็นระนาบเดียวกัน 2ตัว ทำให้ ตัวผู้เล่นย่อมน้อยกว่า เมื่อเจอกับระบบการเล่นสมัยใหม่ และยืดหยุ่นกว่า เช่น 4-3-3 หรือ 4-5-1ระบบนี้จึงค่อยๆตายไปจากปัจจุบัน แต่ก็ยังมีทีมที่เล่นอยู่เช่น แอตเลติโก้ มาดริด, เลสเตอร์, โบรุสเซีย มึนเช่นกลัดบัค
********************************************************
3-5-2
3-5-2 ถูกคิดค้นโดยเยอรมัน(ตะวันตก)ช่วงยุค80 จนถึงต้น90 เพื่อเอามาแก้ทาง 4-4-2 โดยเฉพาะ อย่างที่กล่าวไว้ด้านต้น 4-4-2 นั้นไร้เทียมทานในยุคของมัน แต่ก็มีจุดบอดในเกมส์โต้กลับ หากไม่รู้หน้าที่เนื่องจากมิดฟิดล์ตัวกลางต้องเล่นทั้งเกมส์รุกและรับ จึงกำเนิดเป็น 3-5-2
โดยระบบนี้ยืดหยุ่นกว่า 442 ตรงที่เมื่อเวลารับ คุณจะมี กองหลัง 5 ตัวในแผงหลัง และวลาเล่นเกมส์รุกคุณก็จะมี แผงกลาง 5ตัวไว้ครองเกมส์
โดย กองหลังเซนเตอร์สองตัวจะทำหน้าที่ประกบกองหน้า ส่วนกองหลังตัวกลางจะทำหน้าที่ ปัดกวาดหาก กองหน้าเล็ดลอดมา
โดยทำหน้าที่ขึ้นเกมส์เป็นเสมือนมิดฟิลด์ด้วย (ลิเบอร์โล่)
ขณะที่ฟูลแบ็กจะทำหน้าที่กึ่งปีก ในการหยุดเกมส์ริมเส้นของคู่แข่ง และเล่นเกมส์รุก ส่วรนกองกลาง3ตัวก็จะมีมากว่า 442
แผนนี้ถูกคิดค้นมาเพื่อหยุดเกมโต้กลับของคู่แข่ง กองหลังสามตัวของคุณต่างล้วนเป็นเซนเตอร์ฮาร์ฟทั้งสิ้น ซึ่งนั่นจะทำให้พวกเขาสามารถรุมกองหน้าหรือตัวปั้นเกมของอีกฝ่ายได้อย่างดี นอกจากนี้ วิงแบ็คสองข้างยังสามารถถอยลงมาปิดเกมรุกด้านข้างของคู่แข่งด้วย
อีกตำแหน่งที่สำคัญ คือ มิดฟิลด์ตัวรับ ที่ต้องถอยลงมาปิดเกมหน้าประตู รวมทั้งมีหน้าที่คอยซ้อนตำแหน่งวิงแบ็คเมื่อพวกเขาเติมเกมขึ้นไป และลงมาไม่ทัน
อย่างไรก็ตาม แม้ว่า 3-5-2 จะดูเป็นแผนที่เหมาะกับการเล่นเกมรับ แต่จริงๆแล้ว แผนนี้สามารถเปลี่ยนเกมรุกได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย เพราะการที่เรามีกองหน้าถึงสองคนในสนาม นั่นหมายความว่าเราไม่ได้ต้องการอุดประตู ซึ่งหากมีโอกาสทั้งแผงกองกลางและวิงแบ็ค ก็พร้อมที่จะขึ้นไปเติมเกมทันที
แต่อย่างไรก็ดีมันมีจุดบอด อันเนื่องมาจากความซับซ้อน
อาจจะกลายเป็นจุดอ่อนได้ หากนักเตะของคุณไม่มีความเข้าใจในเกมมากเพียงพอ โดยเฉพาะ แผงหลังสามตัวของคุณ หากว่าแต่ละคนไม่รู้หน้าที่ว่า คนไหนเป็นคนประกบตัว คนไหนทำหน้าที่ซ้อน คนไหนมีหน้าที่ชน ฯลฯ หรือระหว่างเกม เกิดมีใครหลุดตำแหน่ง และไม่มีคนที่ทำหน้าที่แทน หายนะก็อาจจะเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ
รวมถึงผู้เล่นริมเส้น ก็จะมีเพียงคนเดียว เมื่อรวมกับการโอเวอร์แล็ปที่ 4-4-2 สามารถทำได้ ทำให้ภาระหน้าที่จะหนักมาก หากปราการหลังตัวกลางไม่ยอดเยี่ยมหรืออ่านเกมส์ได้ดีเพียงพอ มันก็จะเกิดช่องว่างเอาได้
over lab
ตัวอย่าง over lab ของเมืองทอง
นาทีที่10.36
แต่อย่างไรก็ตาม ระบบนี้ยังคงยอดเยี่ยมในตัวของมันเอง จึงมีบางทีมที่ใช้อยู่เช่นเดียวกันเช่น โตริโน. ปาแลร์โม่, ฟิออเรนติน่า
อดีต – ฮอลแลนด์(ฟุตบอลโลก 2014)
จบพาทร์แรก
พบกันใหม่ กระทู้หน้า กับฟอร์เมชั่นยุคใหม่ 4-5-1 และ 4-3-3 และ zone press พ่อทุกสถาบัน (ใช่แล้วที่เราเจอมาเมื่อวานนั่นล่ะ)
กดบวกด้วยเน้อ เขียนมายาว