สวัสดีครับพี่ ป้า น้า อา แห่งห้องคนบ้ามือหมุนที่เคารพรักทุกท่าน
มีเลนส์รัสเซียอยู่รุ่นหนึ่งที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในเลนส์ระดับ
“ตำนาน” ของพวกเขา
เป็นเลนส์ที่ใครหลายคนอยากมีไว้ในครอบครอง หรืออาจจะอยากลองหมุนให้เคลิบเคลิ้มสักครั้งหนึ่งในชีวิต
มันเป็นเลนส์ระยะ
Short Telephoto อันโด่งดังเมื่อครั้งอดีต และยังได้รับการ
Reproduction ขึ้นอีกครั้งในยุคปัจจุบัน
เลนส์ตัวที่กล่าวถึงก็คือ
Helios-40-2 1.5/85 ฉายาไอ้ยักษ์ดำหรือไอ้ยักษ์ขาวนั่นเองครับ
เอกลักษณ์อันโดดเด่นที่ได้รับการกล่าวขวัญไปทั่วโลกก็คือมันเป็นเลนส์
Swirly Bokeh
ที่ให้ภาพคมเข้ม ขรึมขลัง อีกทั้งมีคาแรคเตอร์ในการให้โบเก้ที่หมุนวนจนน่าเวียนหัว
จากข้อมูลบอกเราว่ามันได้รับแรงบันดาลใจมาจาก
Carl Zeiss Biotar 1.5/75 อันโด่งดังของฝั่งเยอรมันนั่นเอง
มันจึงมีอีกฉายาหนึ่งที่ใช้เรียกขาน นั่นก็คือ
Zeiss Biotar copy ที่ทุกท่านคงทราบกันดีครับ
Helios ในตระกูลนี้ในอดีตมีด้วยกันสองเวอร์ชั่น
คือ
Helios-40 เป็นเมาท์ M39 แต่ระยะรีจีสเตอร์ของเลนส์เป็น M42 จึงต้องใส่แหวนแปลงจาก M39 เป็น M42 อีกที
เลนส์ Helios-40 นี้จะเป็นสีเงินครับ
อีกตัวหนึ่งก็คือ
Helios-40-2 จะเป็นสีดำและเป็นเมาท์ M42 เท่านั้น
ในช่วงหลังประมาณไม่กี่ปีมานี้ได้มีการนำไอ้เจ้านี่มาผลิตขึ้นใหม่
เพื่อตอบสนองตลาดที่เสมือนจะมีความต้องการเพิ่มมากขึ้น
โดยมีหลายเมาท์ให้เลือกซื้อหาตามแต่จิตศรัทธา ไม่ว่าจะเป็น
M42 แบบดั้งเดิม
รวมไปถึงเมาท์
Canon EF และเมาท์
Nikon
ซึ่งผมได้ลองหาข้อมูลจากเว็ปไซต์ที่เชื่อถือได้หลายแห่ง
ต่างก็ยืนยันอย่างหนักแน่นว่ามันใช้
Optic แบบดั้งเดิมทุกประการ
แต่รุ่นใหม่นี้ได้ลดน้ำหนักลงไปเล็กน้อยเพื่อเอาใจช่างภาพสูงวัย และตัดเอาคอลาร์ที่ตัวเลนส์ออกไปด้วย
ช่างภาพต่างประเทศหลายท่านที่ทำการทดสอบต่างก็ยืนยันไปในทิศทางเดียวกันครับว่า
ภาพที่ได้จาก Helios-40-2 เวอร์ชั่นใหม่นั้นไม่แตกต่างจากเวอร์ชั่นยุคหลังสงครามโลกแม้แต่น้อย
ผมได้
Helios-40-2 เวอร์ชั่นปี
2014 สภาพใหม่เอี่ยมมาตัวหนึ่งครับ ได้มาหลายเดือนแล้ว
โดยได้มาจากเว็ปของไทยในราคาที่ต้องกระชากแบงค์พันออกจากตู้เอทีเอ็มถึง 13 ใบครึ่งเชียวนะครับ
ถือว่าทำลายสถิติค่าตัวแพงที่สุดเท่าที่ผมเคยจ่ายไปเพื่อแลกกับเลนส์
“เพียงตัวเดียว”
เหมือนกับที่แมนยูฯยอมวอดวายเป็นสถิติโลกไปกับไอ้ปอล ป๊อกบาเพียงคนเดียวนั่นแหละครับ
มันมีดีหรือไม่ อย่างไร ถึงได้มีค่าสินสอดแพงขนาดนั้น ผมจะแถลงไขให้ฟังกันครับ
จากการทดสอบอย่างจริงจังประมาณสองเดือน โดยใช้กล้อง
Fuji XE-1
พบว่าขนาดและน้ำหนักมีความสมดุลดีมาก แต่คนที่ไม่ชอบเลนส์ตัวใหญ่อาจรู้สึกว่ามันเทอะทะเกินไปนะครับ
เมื่อวางเทียบกับ
Jupiter-9 2/85 แล้ว จะเห็นได้ชัดว่า
“มันใหญ่มาก”
การหมุนหาโฟกัสทำได้ง่าย คล่องมือ ระยะ
Minimum focus อยู่ที่ 80 เซนติเมตร ซึ่งเท่ากันกับ
Jupiter-9
การจับถือมีความกระชับ เนื่องจากวงแหวนหมุนโฟกัสทำการเซาะร่องเอาไว้ให้พอดีกับนิ้วมือ
วงแหวนปรับช่องรับแสงเป็นแบบพรีเซ็ท ต้องปรับเอฟสต๊อปที่วงด้านนอกก่อน
แล้วค่อยมาปรับที่วงแหวนด้านในตามอีกที ซึ่งผู้ที่ไม่เคยชินอาจรู้สึกไม่ประทับใจได้นะครับ
แต่ข้อดีของระบบแบบนี้ก็คือมันให้ความละเอียดในการปรับเอฟสต๊อปมากๆครับ
ความคมชัดที่ F 1.5 หรือกว้างสุดนั้น ยังคงมีอาการฟุ้งให้เห็นเมื่อซูมดูจากจอคอมพิวเตอร์
เมื่อหรี่ช่องรับแสงลงอีก 1 สต๊อป คือที่ F 2.0 ก็ยังคงพบเห็นความฟุ้ง แต่ถือว่าน้อยมากๆ
โดยมันจะเริ่มคมแบบใช้งานได้จริงที่ F2.8
ถามว่า
“ใช้งานได้จริง” ในความหมายของผมคืออะไร
มันหมายความว่าผมจะขยายภาพออกมาในขนาด
16x20 นิ้วครับ
และเช็คดูว่ามันคมชัดดีหรือไม่ในจุดที่เราโฟกัส
ซึ่งเจ้า
Helios-40-2 ตัวนี้มันให้ความคมชัดแบบเพอร์เฟ็คเมื่อขยายภาพขนาด
16x20 ที่
F2.8 ครับ
ทั้งนี้เนื่องจากผมจะขยายภาพในขนาด 16x20 นิ้วเสมอเวลาใช้งานจริงในโอกาสต่างๆ
แต่ถ้าหากสมาชิกส่วนใหญ่ขยายภาพเพียงแค่ 4x6 นิ้ว หรือเพื่อใช้งานในเว็ปไซต์เท่านั้น
Helios-40-2 ตัวนี้สามารถใช้งานแบบหวังผลได้ที่ F2.0 ครับ
ซึ่งเมื่อเทียบกับ Jupiter-9 แล้วก็ต้องถือว่ามีความใกล้เคียงกันมากนะครับ
เพราะ
Jupiter-9 จะคมชัดแบบใช้งานได้จริงเมื่อหรี่ช่องรับแสงลงอีก 2 สต๊อปเช่นเดียวกัน คืออยู่ที่ F4.0 ครับ
ในส่วนของการละลาย
Background นั้นมันทำได้นวลและเนียนลูกตากว่า
Jupiter-9 เล็กน้อย
ให้ความรู้สึกคล้ายภาพเขียนสีน้ำมันที่ใครหลายคนยกย่องมาเนิ่นนาน
แต่ผมกล้ายืนยันว่าถ้านำภาพจาก
Helios-40-2 กับ
Jupiter-9 มาวางเทียบกัน
ก็ยากที่จะแยกแยะให้ถูกต้องได้หมดนะครับ
การโชว์เอกลักษณ์ของ
Swirly Bokeh มีความชัดเจนครับ
หมุนติ้วจนต้องแอบพกยาดม ยาลม ยาหม่อง ติดกระเป๋าเอาไว้เสมอเวลาออกทริป
แต่ทั้งนี้ในความคิดเห็นส่วนตัวของผม
“ขอย้ำว่าเป็นความคิดเห็นส่วนตัว” นะครับ
ผมเห็นว่าภาพแบบนี้ ถ้าผู้ถ่ายภาพเข้าใจการเลือกวางองค์ประกอบ รู้จักการเลือกมุมแสงและเงา
และรู้จักการเลือก
Background ถ้าเข้าใจแล้วละก็ สไตล์หมุนๆแบบนี้
Jupiter-9 ก็ทำได้สบายๆครับ
อีกทั้งยังมีราคาค่าตัวไม่ถึงห้าพันบาทเท่านั้น
ไม่เว้นแม้กระทั่งตระกูล
Helios-44 ทั้งหลาย ที่ราคาค่าสินสอดไม่ถึงสองพันบาทไทย
และหลังจากทดสอบ
Helios-40-2 มาพอประมาณ
ผมพบว่า
“มันมีค่าตัวที่ไม่สมเหตุสมผล” จริงๆครับ
ค่าตัวมันสูงเกินจริง อาจเกิดจากการปั่นกระแสก็เป็นได้
เกิดจากความหายาก หรือความเป็นตำนานของมันก็เป็นได้
ค่าตัวที่แท้จริงของมันไม่ควรเกินหนึ่งหมื่นบาทในความเห็นของผม
ที่ผมกล่าวเช่นนั้นก็เนื่องมาจากการใช้มุมมอง 3 ประการดังนี้ครับ
มุมมองที่ 1 พิจารณาจากคุณภาพที่ได้เปรียบเทียบกับราคาค่าตัว
Helios-40-2 ตัวนี้ถ้าสภาพสวยๆราคาในอีเบย์วิ่งอยู่หมื่นกลางๆรวมค่าส่งเชียวนะครับ
ราคาแบบนี้ผมว่าเอาไปซื้อ
Carl Zeiss Planar 1.4/85 C/Y mount หรือจะเป็น
Nikon AIS 1.4/85 จะดีกว่า
ราคาใกล้เคียงกันมาก บางตัวราคายังถูกกว่าอีกด้วย ที่สำคัญเลนส์ทั้งสองตัวที่ผมกล่าวถึงนั้น
ถือว่าเป็น
The Perfect Lenses ในยุคคลาสสิคที่แทบจะหาจุดอ่อนไม่เจอเลยนะครับ
มุมมองที่ 2 พิจารณาจากคาแรคเตอร์ของเลนส์
การให้
Background สไตล์สีน้ำมัน รวมไปถึง
Swirly Bokeh อันโด่งดัง
คาแรคเตอร์แบบนี้ผมว่าไปหา
Jupiter-9 2/85 ดีกว่าครับ
ราคาไม่เกินห้าพันบาทเท่านั้น ประหยัดงบประมาณได้หมื่นบาทเชียวนะครับเชื่อผมเถอะ
ถึงแม้ว่าอาจมีข้อโต้แย้งว่า
Helios-40-2 มีความสว่างมากกว่า
Jupiter-9
แต่ก็สว่างมากกว่าเพียง 1 สต๊อปเท่านั้น แต่ต้องแลกมาด้วยค่าตัวที่แพงกว่าถึงสามเท่า
ซึ่งเลนส์ที่ทีความสว่างสูงๆนั้นมันไม่มีประโยชน์แต่อย่างใดอย่างมีนัยสำคัญในยุคปัจจุบัน
มันมีประโยชน์สำหรับกล้องที่ใช้ฟิลม์เท่านั้น
แต่ยุคปัจจุบันมันเป็นยุคของดิจิทัล ซึ่งกล้องมิลเรอร์เลสหรือ DSLR ระดับธรรมดาในปัจจุบัน
มันสามารถดันค่า ISO ขึ้นไปถึง 800 หรือ 1600 ได้โดยไม่มีอาการ Noise ปรากฏให้เห็น
เพราะฉะนั้นในมุมมองของผม เลนส์ความสว่างสูงๆ เช่น 1.4 , 1.2 หรือ 0.95 มันจึงไม่มีความหมายใดๆ
เป็นเพียงเหตุผลในการสร้างภาพลักษณ์ทางการตลาดของผู้ผลิตเลนส์เท่านั้นเอง
และมุมมองที่ 3 พิจารณาจากความเป็นตำนานของมัน
หากคุณถวายวิญญาณให้
นางฟ้ามาเรีย ซาราโปวา สุดสวยแห่งมอสโคว
หรือชื่นชมกับความเป็นรัสเซียนเลนส์ที่สุดแสนจะคลาสสิคและถึกควายทุย
โดยไม่เกี่ยงงอนเรื่องเงินในกระเป๋า และไม่กลัวภรรยาและลูกๆที่บ้านต้องอดมื้อกินมื้อ
ถ้าเป็นแบบนี้
Helios-40-2 ถือเป็นหนึ่งในรัสเซียนเลนส์ที่
...............
...............
..............
“คุณต้องมีครับ”
ขอให้มีความสุข สุขภาพแข็งแรง เดินทางด้วยความไม่ประมาทเสมอครับ
สวัสดี!!!
็HELIOS-40-2...My comment!!!
สวัสดีครับพี่ ป้า น้า อา แห่งห้องคนบ้ามือหมุนที่เคารพรักทุกท่าน
มีเลนส์รัสเซียอยู่รุ่นหนึ่งที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในเลนส์ระดับ “ตำนาน” ของพวกเขา
เป็นเลนส์ที่ใครหลายคนอยากมีไว้ในครอบครอง หรืออาจจะอยากลองหมุนให้เคลิบเคลิ้มสักครั้งหนึ่งในชีวิต
มันเป็นเลนส์ระยะ Short Telephoto อันโด่งดังเมื่อครั้งอดีต และยังได้รับการ Reproduction ขึ้นอีกครั้งในยุคปัจจุบัน
เลนส์ตัวที่กล่าวถึงก็คือ Helios-40-2 1.5/85 ฉายาไอ้ยักษ์ดำหรือไอ้ยักษ์ขาวนั่นเองครับ
เอกลักษณ์อันโดดเด่นที่ได้รับการกล่าวขวัญไปทั่วโลกก็คือมันเป็นเลนส์ Swirly Bokeh
ที่ให้ภาพคมเข้ม ขรึมขลัง อีกทั้งมีคาแรคเตอร์ในการให้โบเก้ที่หมุนวนจนน่าเวียนหัว
จากข้อมูลบอกเราว่ามันได้รับแรงบันดาลใจมาจาก Carl Zeiss Biotar 1.5/75 อันโด่งดังของฝั่งเยอรมันนั่นเอง
มันจึงมีอีกฉายาหนึ่งที่ใช้เรียกขาน นั่นก็คือ Zeiss Biotar copy ที่ทุกท่านคงทราบกันดีครับ
Helios ในตระกูลนี้ในอดีตมีด้วยกันสองเวอร์ชั่น
คือ Helios-40 เป็นเมาท์ M39 แต่ระยะรีจีสเตอร์ของเลนส์เป็น M42 จึงต้องใส่แหวนแปลงจาก M39 เป็น M42 อีกที
เลนส์ Helios-40 นี้จะเป็นสีเงินครับ
อีกตัวหนึ่งก็คือ Helios-40-2 จะเป็นสีดำและเป็นเมาท์ M42 เท่านั้น
ในช่วงหลังประมาณไม่กี่ปีมานี้ได้มีการนำไอ้เจ้านี่มาผลิตขึ้นใหม่
เพื่อตอบสนองตลาดที่เสมือนจะมีความต้องการเพิ่มมากขึ้น
โดยมีหลายเมาท์ให้เลือกซื้อหาตามแต่จิตศรัทธา ไม่ว่าจะเป็น M42 แบบดั้งเดิม
รวมไปถึงเมาท์ Canon EF และเมาท์ Nikon
ซึ่งผมได้ลองหาข้อมูลจากเว็ปไซต์ที่เชื่อถือได้หลายแห่ง
ต่างก็ยืนยันอย่างหนักแน่นว่ามันใช้ Optic แบบดั้งเดิมทุกประการ
แต่รุ่นใหม่นี้ได้ลดน้ำหนักลงไปเล็กน้อยเพื่อเอาใจช่างภาพสูงวัย และตัดเอาคอลาร์ที่ตัวเลนส์ออกไปด้วย
ช่างภาพต่างประเทศหลายท่านที่ทำการทดสอบต่างก็ยืนยันไปในทิศทางเดียวกันครับว่า
ภาพที่ได้จาก Helios-40-2 เวอร์ชั่นใหม่นั้นไม่แตกต่างจากเวอร์ชั่นยุคหลังสงครามโลกแม้แต่น้อย
ผมได้ Helios-40-2 เวอร์ชั่นปี 2014 สภาพใหม่เอี่ยมมาตัวหนึ่งครับ ได้มาหลายเดือนแล้ว
โดยได้มาจากเว็ปของไทยในราคาที่ต้องกระชากแบงค์พันออกจากตู้เอทีเอ็มถึง 13 ใบครึ่งเชียวนะครับ
ถือว่าทำลายสถิติค่าตัวแพงที่สุดเท่าที่ผมเคยจ่ายไปเพื่อแลกกับเลนส์ “เพียงตัวเดียว”
เหมือนกับที่แมนยูฯยอมวอดวายเป็นสถิติโลกไปกับไอ้ปอล ป๊อกบาเพียงคนเดียวนั่นแหละครับ
มันมีดีหรือไม่ อย่างไร ถึงได้มีค่าสินสอดแพงขนาดนั้น ผมจะแถลงไขให้ฟังกันครับ
จากการทดสอบอย่างจริงจังประมาณสองเดือน โดยใช้กล้อง Fuji XE-1
พบว่าขนาดและน้ำหนักมีความสมดุลดีมาก แต่คนที่ไม่ชอบเลนส์ตัวใหญ่อาจรู้สึกว่ามันเทอะทะเกินไปนะครับ
เมื่อวางเทียบกับ Jupiter-9 2/85 แล้ว จะเห็นได้ชัดว่า “มันใหญ่มาก”
การหมุนหาโฟกัสทำได้ง่าย คล่องมือ ระยะ Minimum focus อยู่ที่ 80 เซนติเมตร ซึ่งเท่ากันกับ Jupiter-9
การจับถือมีความกระชับ เนื่องจากวงแหวนหมุนโฟกัสทำการเซาะร่องเอาไว้ให้พอดีกับนิ้วมือ
วงแหวนปรับช่องรับแสงเป็นแบบพรีเซ็ท ต้องปรับเอฟสต๊อปที่วงด้านนอกก่อน
แล้วค่อยมาปรับที่วงแหวนด้านในตามอีกที ซึ่งผู้ที่ไม่เคยชินอาจรู้สึกไม่ประทับใจได้นะครับ
แต่ข้อดีของระบบแบบนี้ก็คือมันให้ความละเอียดในการปรับเอฟสต๊อปมากๆครับ
ความคมชัดที่ F 1.5 หรือกว้างสุดนั้น ยังคงมีอาการฟุ้งให้เห็นเมื่อซูมดูจากจอคอมพิวเตอร์
เมื่อหรี่ช่องรับแสงลงอีก 1 สต๊อป คือที่ F 2.0 ก็ยังคงพบเห็นความฟุ้ง แต่ถือว่าน้อยมากๆ
โดยมันจะเริ่มคมแบบใช้งานได้จริงที่ F2.8
ถามว่า “ใช้งานได้จริง” ในความหมายของผมคืออะไร
มันหมายความว่าผมจะขยายภาพออกมาในขนาด 16x20 นิ้วครับ
และเช็คดูว่ามันคมชัดดีหรือไม่ในจุดที่เราโฟกัส
ซึ่งเจ้า Helios-40-2 ตัวนี้มันให้ความคมชัดแบบเพอร์เฟ็คเมื่อขยายภาพขนาด 16x20 ที่ F2.8 ครับ
ทั้งนี้เนื่องจากผมจะขยายภาพในขนาด 16x20 นิ้วเสมอเวลาใช้งานจริงในโอกาสต่างๆ
แต่ถ้าหากสมาชิกส่วนใหญ่ขยายภาพเพียงแค่ 4x6 นิ้ว หรือเพื่อใช้งานในเว็ปไซต์เท่านั้น
Helios-40-2 ตัวนี้สามารถใช้งานแบบหวังผลได้ที่ F2.0 ครับ
ซึ่งเมื่อเทียบกับ Jupiter-9 แล้วก็ต้องถือว่ามีความใกล้เคียงกันมากนะครับ
เพราะ Jupiter-9 จะคมชัดแบบใช้งานได้จริงเมื่อหรี่ช่องรับแสงลงอีก 2 สต๊อปเช่นเดียวกัน คืออยู่ที่ F4.0 ครับ
ในส่วนของการละลาย Background นั้นมันทำได้นวลและเนียนลูกตากว่า Jupiter-9 เล็กน้อย
ให้ความรู้สึกคล้ายภาพเขียนสีน้ำมันที่ใครหลายคนยกย่องมาเนิ่นนาน
แต่ผมกล้ายืนยันว่าถ้านำภาพจาก Helios-40-2 กับ Jupiter-9 มาวางเทียบกัน
ก็ยากที่จะแยกแยะให้ถูกต้องได้หมดนะครับ
การโชว์เอกลักษณ์ของ Swirly Bokeh มีความชัดเจนครับ
หมุนติ้วจนต้องแอบพกยาดม ยาลม ยาหม่อง ติดกระเป๋าเอาไว้เสมอเวลาออกทริป
แต่ทั้งนี้ในความคิดเห็นส่วนตัวของผม
“ขอย้ำว่าเป็นความคิดเห็นส่วนตัว” นะครับ
ผมเห็นว่าภาพแบบนี้ ถ้าผู้ถ่ายภาพเข้าใจการเลือกวางองค์ประกอบ รู้จักการเลือกมุมแสงและเงา
และรู้จักการเลือก Background ถ้าเข้าใจแล้วละก็ สไตล์หมุนๆแบบนี้ Jupiter-9 ก็ทำได้สบายๆครับ
อีกทั้งยังมีราคาค่าตัวไม่ถึงห้าพันบาทเท่านั้น
ไม่เว้นแม้กระทั่งตระกูล Helios-44 ทั้งหลาย ที่ราคาค่าสินสอดไม่ถึงสองพันบาทไทย
และหลังจากทดสอบ Helios-40-2 มาพอประมาณ
ผมพบว่า “มันมีค่าตัวที่ไม่สมเหตุสมผล” จริงๆครับ
ค่าตัวมันสูงเกินจริง อาจเกิดจากการปั่นกระแสก็เป็นได้
เกิดจากความหายาก หรือความเป็นตำนานของมันก็เป็นได้
ค่าตัวที่แท้จริงของมันไม่ควรเกินหนึ่งหมื่นบาทในความเห็นของผม
ที่ผมกล่าวเช่นนั้นก็เนื่องมาจากการใช้มุมมอง 3 ประการดังนี้ครับ
มุมมองที่ 1 พิจารณาจากคุณภาพที่ได้เปรียบเทียบกับราคาค่าตัว
Helios-40-2 ตัวนี้ถ้าสภาพสวยๆราคาในอีเบย์วิ่งอยู่หมื่นกลางๆรวมค่าส่งเชียวนะครับ
ราคาแบบนี้ผมว่าเอาไปซื้อ Carl Zeiss Planar 1.4/85 C/Y mount หรือจะเป็น Nikon AIS 1.4/85 จะดีกว่า
ราคาใกล้เคียงกันมาก บางตัวราคายังถูกกว่าอีกด้วย ที่สำคัญเลนส์ทั้งสองตัวที่ผมกล่าวถึงนั้น
ถือว่าเป็น The Perfect Lenses ในยุคคลาสสิคที่แทบจะหาจุดอ่อนไม่เจอเลยนะครับ
มุมมองที่ 2 พิจารณาจากคาแรคเตอร์ของเลนส์
การให้ Background สไตล์สีน้ำมัน รวมไปถึง Swirly Bokeh อันโด่งดัง
คาแรคเตอร์แบบนี้ผมว่าไปหา Jupiter-9 2/85 ดีกว่าครับ
ราคาไม่เกินห้าพันบาทเท่านั้น ประหยัดงบประมาณได้หมื่นบาทเชียวนะครับเชื่อผมเถอะ
ถึงแม้ว่าอาจมีข้อโต้แย้งว่า Helios-40-2 มีความสว่างมากกว่า Jupiter-9
แต่ก็สว่างมากกว่าเพียง 1 สต๊อปเท่านั้น แต่ต้องแลกมาด้วยค่าตัวที่แพงกว่าถึงสามเท่า
ซึ่งเลนส์ที่ทีความสว่างสูงๆนั้นมันไม่มีประโยชน์แต่อย่างใดอย่างมีนัยสำคัญในยุคปัจจุบัน
มันมีประโยชน์สำหรับกล้องที่ใช้ฟิลม์เท่านั้น
แต่ยุคปัจจุบันมันเป็นยุคของดิจิทัล ซึ่งกล้องมิลเรอร์เลสหรือ DSLR ระดับธรรมดาในปัจจุบัน
มันสามารถดันค่า ISO ขึ้นไปถึง 800 หรือ 1600 ได้โดยไม่มีอาการ Noise ปรากฏให้เห็น
เพราะฉะนั้นในมุมมองของผม เลนส์ความสว่างสูงๆ เช่น 1.4 , 1.2 หรือ 0.95 มันจึงไม่มีความหมายใดๆ
เป็นเพียงเหตุผลในการสร้างภาพลักษณ์ทางการตลาดของผู้ผลิตเลนส์เท่านั้นเอง
และมุมมองที่ 3 พิจารณาจากความเป็นตำนานของมัน
หากคุณถวายวิญญาณให้นางฟ้ามาเรีย ซาราโปวา สุดสวยแห่งมอสโคว
หรือชื่นชมกับความเป็นรัสเซียนเลนส์ที่สุดแสนจะคลาสสิคและถึกควายทุย
โดยไม่เกี่ยงงอนเรื่องเงินในกระเป๋า และไม่กลัวภรรยาและลูกๆที่บ้านต้องอดมื้อกินมื้อ
ถ้าเป็นแบบนี้
Helios-40-2 ถือเป็นหนึ่งในรัสเซียนเลนส์ที่
...............
...............
..............
“คุณต้องมีครับ”
ขอให้มีความสุข สุขภาพแข็งแรง เดินทางด้วยความไม่ประมาทเสมอครับ
สวัสดี!!!