สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 1
1 ใน บุญกิริยาวัตถุ
๗. บุญสำเร็จได้ด้วยการอนุโมทนา (ปัตตานุโมทนามัย) คือ การได้ร่วมอนุโมทนา เช่น กล่าวว่า “สาธุ”
เพื่อเป็นการยินดี ยอมรับความดี และขอมีส่วนร่วมในความดีของบุคคลอื่น ถึงแม้ว่าเราไม่มีโอกาสได้กระทำ
ก็ขอให้ได้มีโอกาสได้แสดงการรับรู้ด้วยใจปีติยินดีในบุญกุศลนั้น ผลบุญก็จะเกิดแก่บุคคลที่ได้อนุโมทนาบุญนั้นเองด้วย
จะกล่าวในใจหรือ ออกเสียง
ต้องทำด้วยใจยินดีกับเขาด้วย จริงๆ
ไม่ใช่ ปากออกเสียง แต่ใจลึกๆ คิดอิจฉา เขาอยู่ แบบนี้ บาปมากกว่าบุญ
๗. บุญสำเร็จได้ด้วยการอนุโมทนา (ปัตตานุโมทนามัย) คือ การได้ร่วมอนุโมทนา เช่น กล่าวว่า “สาธุ”
เพื่อเป็นการยินดี ยอมรับความดี และขอมีส่วนร่วมในความดีของบุคคลอื่น ถึงแม้ว่าเราไม่มีโอกาสได้กระทำ
ก็ขอให้ได้มีโอกาสได้แสดงการรับรู้ด้วยใจปีติยินดีในบุญกุศลนั้น ผลบุญก็จะเกิดแก่บุคคลที่ได้อนุโมทนาบุญนั้นเองด้วย
จะกล่าวในใจหรือ ออกเสียง
ต้องทำด้วยใจยินดีกับเขาด้วย จริงๆ
ไม่ใช่ ปากออกเสียง แต่ใจลึกๆ คิดอิจฉา เขาอยู่ แบบนี้ บาปมากกว่าบุญ
ความคิดเห็นที่ 3
ทีละข้อนะครับ
ทำไมกล่าวคำว่า "อนุโมทนา, หรือสาธุ" แล้วได้บุญครับ
สำหรับข้อนี้ ผมมีความเห็นดังนี้
อนุโมทนา แปลว่า ยินดีตาม คำนี้มาจากคำว่า อนุ แปลว่า ตาม และ
โมทนา แปลว่า ยินดี ( มุท ธาตุ = ยินดี พอใจ ชอบใจ )
แปลรวม จึงแปลว่า ยินดีตาม
แล้วทำไมได้บุญ คำตอบคือ ในขณะใดที่ยินดีกับการทำความดีหรือกุศลของบุคคลอื่นด้วยใจจริง
ในขณะนั้น จิตย่อมเบิกบาน ในขณะที่จิตเบิกบาด้วยกุศลย่อมมีกุศลจิตเกิดขึ้นด้วย กุศลจิตชนิดนี้แม้จะ
ไม่สามารถทำให้หลุดพ้นจากทุกข์ แต่ก็เป็นชนิดที่ไม่พาไปสู่อบาย การอนุโมทนาด้วยใจจริงในบุญกุศล
ที่บุคคลอื่นทำ จึงจัดว่าได้บุญแบบนี้
ถ้าได้บุญ... กล่าวในใจกับพูดให้ได้ยินออกมาเลย... อย่างไหนได้บุญกว่ากันครับ ?
เรียนอย่างนี้ครับ มีพุทธพจน์ว่า มโนมยา ธมฺมา ธรรมทั้งหลายสำเร็จด้วยใจ และ
เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม
ฉะนั้น ในคำถามนี้ ผมมุ่งให้คำตอบที่ต่างไปจากเงื่อนไขในคำถาม เพราะการอนุโมทนา ย่อมมีผล
เมื่อใจอนุโมทนา คือ ในใจตั้งใจหรือยินดีจริงๆ การจะว่าในใจหรือออกเสียงไม่ใช่ประเด็น ประเด็นคือ
มีความจริงใจยินดีจริงๆโดยบริสุทธิ์ครับ
ทำไมกล่าวคำว่า "อนุโมทนา, หรือสาธุ" แล้วได้บุญครับ
สำหรับข้อนี้ ผมมีความเห็นดังนี้
อนุโมทนา แปลว่า ยินดีตาม คำนี้มาจากคำว่า อนุ แปลว่า ตาม และ
โมทนา แปลว่า ยินดี ( มุท ธาตุ = ยินดี พอใจ ชอบใจ )
แปลรวม จึงแปลว่า ยินดีตาม
แล้วทำไมได้บุญ คำตอบคือ ในขณะใดที่ยินดีกับการทำความดีหรือกุศลของบุคคลอื่นด้วยใจจริง
ในขณะนั้น จิตย่อมเบิกบาน ในขณะที่จิตเบิกบาด้วยกุศลย่อมมีกุศลจิตเกิดขึ้นด้วย กุศลจิตชนิดนี้แม้จะ
ไม่สามารถทำให้หลุดพ้นจากทุกข์ แต่ก็เป็นชนิดที่ไม่พาไปสู่อบาย การอนุโมทนาด้วยใจจริงในบุญกุศล
ที่บุคคลอื่นทำ จึงจัดว่าได้บุญแบบนี้
ถ้าได้บุญ... กล่าวในใจกับพูดให้ได้ยินออกมาเลย... อย่างไหนได้บุญกว่ากันครับ ?
เรียนอย่างนี้ครับ มีพุทธพจน์ว่า มโนมยา ธมฺมา ธรรมทั้งหลายสำเร็จด้วยใจ และ
เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม
ฉะนั้น ในคำถามนี้ ผมมุ่งให้คำตอบที่ต่างไปจากเงื่อนไขในคำถาม เพราะการอนุโมทนา ย่อมมีผล
เมื่อใจอนุโมทนา คือ ในใจตั้งใจหรือยินดีจริงๆ การจะว่าในใจหรือออกเสียงไม่ใช่ประเด็น ประเด็นคือ
มีความจริงใจยินดีจริงๆโดยบริสุทธิ์ครับ
แสดงความคิดเห็น
ทำไมกล่าวคำว่า "อนุโมทนา, หรือสาธุ" แล้วได้บุญครับ ????
ขอขอบพระคุณทุกท่านมา ณ ที่นี้ด้วยครับ