สวัสดีครับ คือ ล่าสุดผมสอบ toeic ที่ศูนย์สอบนึงมา เพราะจำเป็นต้องใช้คะแนนสอบ toeic เพื่อเหตุผลส่วนตัวรวมทั้งมีความหมั่นไส้เพื่อนคนนึงในเฟซที่ทำตัวเป็นครูสอนภาษา รับสอนภาษาอังกฤษด้วยราคาขูดรีด และทำตัวเหมือนคนรู้ภาษาระดับสูง ทั้งที่คะแนน toeic แค่ 700 กว่า ซึ่งผมคิดว่ามันเป็นเรื่องที่ธรรมดามากสำหรับยุค AEC ที่กำลังจะมาถึง
ผมก็เลยคิดว่าจะลองสอบดูซักหน่อย
แต่ว่า ไหนๆก็จะลองสอบทั้งที ไปสอบแบบธรรมดา ให้อ่านหนังสือ เคี่ยวกรำอยู่ 1-2 เดือนแบบกระทู้แนะแนวอย่างอื่น มันก็คงซ้ำซากจำเจ
ผมก็เลยตัดสินใจว่า ทดลองทำตามสมมติฐานผมดูดีกว่า
สมมติฐานของผมนั้นแบ่งออกเป็น 3 อย่าง เพื่อที่จะตรวจวัดดูว่าหลักการปฏิบัติไหนได้ผลดีที่สุด
You must trust your instinct, intuition and judgment.
สมมติฐานแรก คือ การใช้สัญชาตญาณนีแหละครับ ตัดหลักเหตุผลออกไป เอาไปกองไว้เบื้องหลัง ความพะวงทั้งหลาย แล้วลุยสอบเข้าไปโดยใช้สัญชาตญาณนี่แหละ เคยสังเกตไหมครับ คนบางคน เวลาทำข้อสอบ แก้แล้ว แก้อีก แก้ไป แก้มา ข้อแรกที่ตอบนั่นแหละถูกอยู่แล้ว เหตุการณ์นี้มันเกิดขึ้นบ่อยกับคนที่ไม่มั่นใจในตัวเอง intuition เป็นสิ่งสำคัญครับ บางครั้ง ปิ๊งที่มันเข้ามาในหัวแว่บแรกนั่นแหละ มันไม่ได้มาโดยไร้เหตุผลเสมอไปนะครับ แต่ subconcious เราอาจจะระลึกถึงเดจาวู หรือสิ่งที่ตัวเองเคยพานพบมาก่อนทำให้มันฟังอยู่ในหัวไปแล้วก็ได้ แค่เราไม่เคยคิดที่จะนึกถึงมัน การสอบรอบแรกนี้ผมเลยเข้าไปสอบแบบยึดสัญชาตญาณเพียวๆนี่แหละ ไม่ต้องอ่านแกรมม่า ไม่ต้องศึกษาอะไรทั้งนั้น ลุยแบบดุ่ยๆ ตุ้ยๆเข้าไปนี่แหละ แล้วก็ไม่ต้องมานั่งพะวง พะวัก กลับมาแก้ข้อที่ผ่านไปแล้ว จากการทดลอง พบว่าวิธีการนี้สามารถทำคะแนนให้ผมได้ 700 กว่าคะแนนครับ พาร์ทที่ทำได้ดีคือการฟัง เพราะเราสามารถโฟกัสสมาธิของเราได้อย่างเต็มที่เนื่องจากไม่มีสิ่งอื่นมารบกวน แต่ในขณะเดียวกัน การทำด้วยสัญชาตญาณไม่ใช่ทางออกที่ดีกับพาร์ท reading ครับ เพราะ ตามหลักสถิติ กรณีที่การตอบข้อแรกถูกอยู่แล้ว กลับมาแก้ แล้วกลายเป็นว่าข้อแรกถูกนั้น ถ้าผมวัดจริงๆจากสถิติของตัวผมเอง มันมักจะเป็นเพียงแค่ 10-20% เท่านั้น สาเหตุหลักๆนั่นเพราะว่า เราไม่อาจมั่นใจได้ว่า คำตอบที่เราปิ๊งตอนแรกนั้นเป็น intuition ได้จริงเสมอไป หรือ เราอาจจะโดน"หลอก" ก็ได้ การอ่านข้อสอบแล้วรีบกาเลย โดยคิดว่า ข้อไหนดูแล้วไพเราะ ดูเหมาะที่สุด บางครั้งมันก็ไม่ใช่ว่าจะดีเสมอไป ความไม่รอบคอบอาจจะทำให้เราพลาดจุดสำคัญไปได้
สมมติฐานที่สองนี้ ผมทดลองสอบโดยศึกษาแกรมม่ามาอย่างละเอียดถี่ถ้วน ซึ่งเป็นวิธีที่คนส่วนใหญ่เสนอแนะให้ทำกัน ก็ต้องไปนั่งไล่ดูหมดแหละครับ ทั้งการใช้งาน particle, if-else, tense ทั้ง active, passive และอื่นๆ วิธีการนี้มักจะถูกแนะนำให้ใช้อยู่เสมอโดยโรงเรียนสอนภาษาทั้งหลาย ซึ่งความจริงแล้ว ผมคิดว่า มัน "ไม่มีประสิทธิภาพ" ครับ มันคือการใช้ effort จำนวนมากเพื่อทำการเข้าใจ ภาษาๆนึง ซึ่งเหมือนเป็นการบังคับตัวเอง
ยิ่งไปกว่านั้นแล้ว ผมเชื่อว่าอะไรก็ตามที่ทำโดยการบังคับตัวเองนั้น ผลมันมักจะไม่ออกมาดีหรอกครับ
ผลคะแนนสอบรอบนี้อยู่ที่ 800 กว่าครับ ทั้งที่เราเสียเวลากับการท่องแกรมม่ามามากมาย อ่านหลักการใช้มาก็เยอะ แต่ทำไมถึงได้แค่นี้? สาเหตุหลักๆ เพราะว่า การศึกษาแกรมม่าจนเข้าหัวมากๆจะทำให้เราใจจดใจจ่อกับแกรมม่า ทำให้พาร์ทการฟังเราบางครั้งสมาธิเราไปวนอยู่กับแกรมม่าทำให้ไม่สามารถโฟกัสภาพรวมของ part listening ยาวๆได้ อีกทั้ง ตอนทำข้อสอบส่วนพาร์ทการการอ่านนั้น ถึงแม้จะทำให้ตอบได้มั่นใจว่าถูกมากขึ้นหลายข้อก็ตาม แต่ ภาษาอังกฤษ ก็มีหลายครั้งที่มีข้อยกเว้นอยู่อีกหลายกรณี ยกตัวอย่างง่ายๆเช่น ตามปกติแล้ว to ก็จะต้องตามด้วย verb ช่อง 1 ใช่ไหมครับ แต่มันก็ไม่เสมอไป เพราะบางครั้งสิ่งที่ต้องใส่มันก็เป็น participle
ผมเรียกกรณีนี้ว่า แกรมม่ามันตีกันมั่วไปหมดนั่นแหละครับ จนไม่รู้ว่าจะหยิบไปเข้าสูตรไหนตอนตอบ ตรงกับสำนวนที่ว่า
Too much knowledge can hold you back. Ignorance on the other hand, now that was something that could get you to the finish line.
หรือ ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด นั่นเอง
เอาล่ะ ในเมื่อ ทำแบบใช้สัญชาตญาณล้วนๆก็แล้ว ทำแบบพยายามทำความเข้าใจก็แล้ว ผมก็บอกว่าไม่เวิคทั้งนั้น แล้วแบบนี้เราจะทำยังไงดีล่ะ
ทั้งหมดทั้งมวลนั่นนำทางผมมายัง สมมติฐาน สุดท้ายครับ
"เราสามารถที่จะทำข้อสอบภาษาอังกฤษโดยใช้หลักสถิติช่วยในการทำข้อสอบแทนได้ไหม?"
ถ้าเราจะทำข้อสอบโดยอาศัยหลักสถิติเนี่ย เราก็ไม่จำเป็นต้องเข้าใจหลักการใช้ภาษาที่ถูกต้องแม้แต่น้อย
เราเพียงแค่ต้องจำ pattern มันว่า
คำถาม รูปประโยค แนวๆนี้ โดยปกติแล้ว เค้าตอบด้วย tense แบบไหน, verb ช่องไหน, ศัพท์ negative-positive, คำเชื่อมไหน
แน่นอนครับว่าถ้าหากเราจะตอบโดยอิงจากหลักสถิติแล้ว สิ่งที่เราจะขาดไม่ได้ก็คือ "การฝึกฝน" กับข้อสอบเก่าๆ
ดังนั้นการฝึกฝนยิ่งมากยิ่งสำคัญครับ
Practice Makes Perfect
ไม่จำเป็นต้องนั่งอ่าน นั่งท่องแกรมม่าหลักการใดๆทั้งนั้น แค่ทำข้อสอบเก่าซ้ำไปซ้ำมา หลายๆฉบับ จนถึงจุดๆนึง เราจะเริ่มจำรูปแบบของคำตอบได้ครับ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าตัวเลือกแบบ Impressing, Impressive, Impressed, Impression และช่องว่างที่เว้นไว้ อยู่ข้างหน้าประโยค ผมจะเลือกตอบ Impressed อย่างไม่ลังเลเลยโดยไม่แม้แต่จะอ่านประโยค ทำไม?
เพราะว่า ......ในบรรดาข้อสอบเก่า 2 ปี ที่ผ่านมา หากเป็นคำถามที่เกี่ยวกับ grammar แล้วมีตัวเลือกเป็นคำลักษณะต่างๆไม่ว่าจะเป็น v1, v2, adj, adv, ving แล้วล่ะก็ คำตอบส่วนใหญ่มักจะเป็น v2 ทั้งหมด (ยกเว้น Keeping) คุณไม่จำเป็นต้องเข้าใจด้วยซ้ำว่ามันคือ participles
ในส่วนของการอ่าน passage ก็เช่นกัน การทำข้อสอบเก่าหลายๆครั้ง เราจะเริ่มจับหลักได้จากสถิติว่า ส่วนใหญ่แล้วสิ่งที่เขาถาม เราสามารถไปมองหาได้จากไหน
แต่การทำข้อสอบเก่านั้น ไม่ควรจะทำข้อสอบที่มีอายุเกิน 5 ปีขึ้นไป เพราะภาษาอังกฤษ ไม่ใช่ภาษาที่ตายแล้ว และ เทรนด์ของคำศัพท์และสิ่งที่พูดคุยกัน ก็ย่อมเปลี่ยนไปตามยุคสมัย เราควรจะทำข้อสอบเก่าที่อยู่ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เพื่อเป็นการอัพเดทคำศัพท์ไปในตัวด้วยเช่นเดียวกัน
ผมทดลองหลังจากเว้นระยะห่างจากการศึกษาแกรมม่ามาช่วงนึงเพื่อให้มั่นใจว่าตัวเองจำแกรมม่าทั้งหลายที่ท่องมาไม่ได้แล้ว แล้วไปทดสอบโดยการทำแบบฝึกหัดอย่างเดียวแทน และผมไม่เคยเปิดตรวจคำตอบส่วนที่อธิบายสักครั้งว่า ผมผิดยังไง ผิดตรงไหน ผมแค่ดูว่า ผมผิดข้อไหน แล้วกลับมานั่งทำข้อสอบชุดนั้นใหม่ตั้งแต่ต้นจนกว่าจะได้คะแนนเต็มในแบบฝึกหัดแต่ละอัน เรียกว่าทำแบบ Backpropagation นั่นแหละครับ.... นั่งแก้ error ลด loss ตัวเองไปเรื่อยๆ จนแล้วจนรอด จนบัดนี้ ข้อที่ผมเคยทำผิดมาก่อนในแบบฝึกหัดที่ผมทำ ผมก็ยังไม่รู้ว่า ตอนแรกสุดที่ผมตอบผิด ผมผิดเพราะอะไร ผมแค่รู้ว่ามันผิด แน่นอนครับ ไม่เกิดความเข้าใจขึ้นมาแม้แต่น้อย และนี่คือคะแนนสอบ toeic ที่ผมได้จากวิธีนี้ ผ่านการทำข้อสอบเก่า 10 ฉบับ และใช้เวลาทำแบบฝึกหัดทั้งสิ้น 2 วัน
สุดท้ายนี้ ผมหวังว่าวิธีการฝึกฝนของผมจะเป็นประโยชน์กับคนที่ไม่ค่อยรู้ภาษาอังกฤษและใช้ภาษาอังกฤษแบบงูๆปลาๆบ้างไม่มากก็น้อย เพราะผมพบว่ามันเป็นเรื่องยากมากสำหรับผมที่ใช้ภาษาอังกฤษโดยอิงจากสัญชาตญาณมาทั้งชีวิต ที่อยู่ดีๆก็ต้องมานั่งท่องแกรมม่า
สอบ TOEIC โดยใช้หลักคณิตศาสตร์
ผมก็เลยคิดว่าจะลองสอบดูซักหน่อย
แต่ว่า ไหนๆก็จะลองสอบทั้งที ไปสอบแบบธรรมดา ให้อ่านหนังสือ เคี่ยวกรำอยู่ 1-2 เดือนแบบกระทู้แนะแนวอย่างอื่น มันก็คงซ้ำซากจำเจ
ผมก็เลยตัดสินใจว่า ทดลองทำตามสมมติฐานผมดูดีกว่า
สมมติฐานของผมนั้นแบ่งออกเป็น 3 อย่าง เพื่อที่จะตรวจวัดดูว่าหลักการปฏิบัติไหนได้ผลดีที่สุด
You must trust your instinct, intuition and judgment.
สมมติฐานแรก คือ การใช้สัญชาตญาณนีแหละครับ ตัดหลักเหตุผลออกไป เอาไปกองไว้เบื้องหลัง ความพะวงทั้งหลาย แล้วลุยสอบเข้าไปโดยใช้สัญชาตญาณนี่แหละ เคยสังเกตไหมครับ คนบางคน เวลาทำข้อสอบ แก้แล้ว แก้อีก แก้ไป แก้มา ข้อแรกที่ตอบนั่นแหละถูกอยู่แล้ว เหตุการณ์นี้มันเกิดขึ้นบ่อยกับคนที่ไม่มั่นใจในตัวเอง intuition เป็นสิ่งสำคัญครับ บางครั้ง ปิ๊งที่มันเข้ามาในหัวแว่บแรกนั่นแหละ มันไม่ได้มาโดยไร้เหตุผลเสมอไปนะครับ แต่ subconcious เราอาจจะระลึกถึงเดจาวู หรือสิ่งที่ตัวเองเคยพานพบมาก่อนทำให้มันฟังอยู่ในหัวไปแล้วก็ได้ แค่เราไม่เคยคิดที่จะนึกถึงมัน การสอบรอบแรกนี้ผมเลยเข้าไปสอบแบบยึดสัญชาตญาณเพียวๆนี่แหละ ไม่ต้องอ่านแกรมม่า ไม่ต้องศึกษาอะไรทั้งนั้น ลุยแบบดุ่ยๆ ตุ้ยๆเข้าไปนี่แหละ แล้วก็ไม่ต้องมานั่งพะวง พะวัก กลับมาแก้ข้อที่ผ่านไปแล้ว จากการทดลอง พบว่าวิธีการนี้สามารถทำคะแนนให้ผมได้ 700 กว่าคะแนนครับ พาร์ทที่ทำได้ดีคือการฟัง เพราะเราสามารถโฟกัสสมาธิของเราได้อย่างเต็มที่เนื่องจากไม่มีสิ่งอื่นมารบกวน แต่ในขณะเดียวกัน การทำด้วยสัญชาตญาณไม่ใช่ทางออกที่ดีกับพาร์ท reading ครับ เพราะ ตามหลักสถิติ กรณีที่การตอบข้อแรกถูกอยู่แล้ว กลับมาแก้ แล้วกลายเป็นว่าข้อแรกถูกนั้น ถ้าผมวัดจริงๆจากสถิติของตัวผมเอง มันมักจะเป็นเพียงแค่ 10-20% เท่านั้น สาเหตุหลักๆนั่นเพราะว่า เราไม่อาจมั่นใจได้ว่า คำตอบที่เราปิ๊งตอนแรกนั้นเป็น intuition ได้จริงเสมอไป หรือ เราอาจจะโดน"หลอก" ก็ได้ การอ่านข้อสอบแล้วรีบกาเลย โดยคิดว่า ข้อไหนดูแล้วไพเราะ ดูเหมาะที่สุด บางครั้งมันก็ไม่ใช่ว่าจะดีเสมอไป ความไม่รอบคอบอาจจะทำให้เราพลาดจุดสำคัญไปได้
สมมติฐานที่สองนี้ ผมทดลองสอบโดยศึกษาแกรมม่ามาอย่างละเอียดถี่ถ้วน ซึ่งเป็นวิธีที่คนส่วนใหญ่เสนอแนะให้ทำกัน ก็ต้องไปนั่งไล่ดูหมดแหละครับ ทั้งการใช้งาน particle, if-else, tense ทั้ง active, passive และอื่นๆ วิธีการนี้มักจะถูกแนะนำให้ใช้อยู่เสมอโดยโรงเรียนสอนภาษาทั้งหลาย ซึ่งความจริงแล้ว ผมคิดว่า มัน "ไม่มีประสิทธิภาพ" ครับ มันคือการใช้ effort จำนวนมากเพื่อทำการเข้าใจ ภาษาๆนึง ซึ่งเหมือนเป็นการบังคับตัวเอง
ยิ่งไปกว่านั้นแล้ว ผมเชื่อว่าอะไรก็ตามที่ทำโดยการบังคับตัวเองนั้น ผลมันมักจะไม่ออกมาดีหรอกครับ
ผลคะแนนสอบรอบนี้อยู่ที่ 800 กว่าครับ ทั้งที่เราเสียเวลากับการท่องแกรมม่ามามากมาย อ่านหลักการใช้มาก็เยอะ แต่ทำไมถึงได้แค่นี้? สาเหตุหลักๆ เพราะว่า การศึกษาแกรมม่าจนเข้าหัวมากๆจะทำให้เราใจจดใจจ่อกับแกรมม่า ทำให้พาร์ทการฟังเราบางครั้งสมาธิเราไปวนอยู่กับแกรมม่าทำให้ไม่สามารถโฟกัสภาพรวมของ part listening ยาวๆได้ อีกทั้ง ตอนทำข้อสอบส่วนพาร์ทการการอ่านนั้น ถึงแม้จะทำให้ตอบได้มั่นใจว่าถูกมากขึ้นหลายข้อก็ตาม แต่ ภาษาอังกฤษ ก็มีหลายครั้งที่มีข้อยกเว้นอยู่อีกหลายกรณี ยกตัวอย่างง่ายๆเช่น ตามปกติแล้ว to ก็จะต้องตามด้วย verb ช่อง 1 ใช่ไหมครับ แต่มันก็ไม่เสมอไป เพราะบางครั้งสิ่งที่ต้องใส่มันก็เป็น participle
ผมเรียกกรณีนี้ว่า แกรมม่ามันตีกันมั่วไปหมดนั่นแหละครับ จนไม่รู้ว่าจะหยิบไปเข้าสูตรไหนตอนตอบ ตรงกับสำนวนที่ว่า
Too much knowledge can hold you back. Ignorance on the other hand, now that was something that could get you to the finish line.
หรือ ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด นั่นเอง
เอาล่ะ ในเมื่อ ทำแบบใช้สัญชาตญาณล้วนๆก็แล้ว ทำแบบพยายามทำความเข้าใจก็แล้ว ผมก็บอกว่าไม่เวิคทั้งนั้น แล้วแบบนี้เราจะทำยังไงดีล่ะ
ทั้งหมดทั้งมวลนั่นนำทางผมมายัง สมมติฐาน สุดท้ายครับ
"เราสามารถที่จะทำข้อสอบภาษาอังกฤษโดยใช้หลักสถิติช่วยในการทำข้อสอบแทนได้ไหม?"
ถ้าเราจะทำข้อสอบโดยอาศัยหลักสถิติเนี่ย เราก็ไม่จำเป็นต้องเข้าใจหลักการใช้ภาษาที่ถูกต้องแม้แต่น้อย
เราเพียงแค่ต้องจำ pattern มันว่า
คำถาม รูปประโยค แนวๆนี้ โดยปกติแล้ว เค้าตอบด้วย tense แบบไหน, verb ช่องไหน, ศัพท์ negative-positive, คำเชื่อมไหน
แน่นอนครับว่าถ้าหากเราจะตอบโดยอิงจากหลักสถิติแล้ว สิ่งที่เราจะขาดไม่ได้ก็คือ "การฝึกฝน" กับข้อสอบเก่าๆ
ดังนั้นการฝึกฝนยิ่งมากยิ่งสำคัญครับ
Practice Makes Perfect
ไม่จำเป็นต้องนั่งอ่าน นั่งท่องแกรมม่าหลักการใดๆทั้งนั้น แค่ทำข้อสอบเก่าซ้ำไปซ้ำมา หลายๆฉบับ จนถึงจุดๆนึง เราจะเริ่มจำรูปแบบของคำตอบได้ครับ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าตัวเลือกแบบ Impressing, Impressive, Impressed, Impression และช่องว่างที่เว้นไว้ อยู่ข้างหน้าประโยค ผมจะเลือกตอบ Impressed อย่างไม่ลังเลเลยโดยไม่แม้แต่จะอ่านประโยค ทำไม?
เพราะว่า ......ในบรรดาข้อสอบเก่า 2 ปี ที่ผ่านมา หากเป็นคำถามที่เกี่ยวกับ grammar แล้วมีตัวเลือกเป็นคำลักษณะต่างๆไม่ว่าจะเป็น v1, v2, adj, adv, ving แล้วล่ะก็ คำตอบส่วนใหญ่มักจะเป็น v2 ทั้งหมด (ยกเว้น Keeping) คุณไม่จำเป็นต้องเข้าใจด้วยซ้ำว่ามันคือ participles
ในส่วนของการอ่าน passage ก็เช่นกัน การทำข้อสอบเก่าหลายๆครั้ง เราจะเริ่มจับหลักได้จากสถิติว่า ส่วนใหญ่แล้วสิ่งที่เขาถาม เราสามารถไปมองหาได้จากไหน
แต่การทำข้อสอบเก่านั้น ไม่ควรจะทำข้อสอบที่มีอายุเกิน 5 ปีขึ้นไป เพราะภาษาอังกฤษ ไม่ใช่ภาษาที่ตายแล้ว และ เทรนด์ของคำศัพท์และสิ่งที่พูดคุยกัน ก็ย่อมเปลี่ยนไปตามยุคสมัย เราควรจะทำข้อสอบเก่าที่อยู่ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เพื่อเป็นการอัพเดทคำศัพท์ไปในตัวด้วยเช่นเดียวกัน
ผมทดลองหลังจากเว้นระยะห่างจากการศึกษาแกรมม่ามาช่วงนึงเพื่อให้มั่นใจว่าตัวเองจำแกรมม่าทั้งหลายที่ท่องมาไม่ได้แล้ว แล้วไปทดสอบโดยการทำแบบฝึกหัดอย่างเดียวแทน และผมไม่เคยเปิดตรวจคำตอบส่วนที่อธิบายสักครั้งว่า ผมผิดยังไง ผิดตรงไหน ผมแค่ดูว่า ผมผิดข้อไหน แล้วกลับมานั่งทำข้อสอบชุดนั้นใหม่ตั้งแต่ต้นจนกว่าจะได้คะแนนเต็มในแบบฝึกหัดแต่ละอัน เรียกว่าทำแบบ Backpropagation นั่นแหละครับ.... นั่งแก้ error ลด loss ตัวเองไปเรื่อยๆ จนแล้วจนรอด จนบัดนี้ ข้อที่ผมเคยทำผิดมาก่อนในแบบฝึกหัดที่ผมทำ ผมก็ยังไม่รู้ว่า ตอนแรกสุดที่ผมตอบผิด ผมผิดเพราะอะไร ผมแค่รู้ว่ามันผิด แน่นอนครับ ไม่เกิดความเข้าใจขึ้นมาแม้แต่น้อย และนี่คือคะแนนสอบ toeic ที่ผมได้จากวิธีนี้ ผ่านการทำข้อสอบเก่า 10 ฉบับ และใช้เวลาทำแบบฝึกหัดทั้งสิ้น 2 วัน
สุดท้ายนี้ ผมหวังว่าวิธีการฝึกฝนของผมจะเป็นประโยชน์กับคนที่ไม่ค่อยรู้ภาษาอังกฤษและใช้ภาษาอังกฤษแบบงูๆปลาๆบ้างไม่มากก็น้อย เพราะผมพบว่ามันเป็นเรื่องยากมากสำหรับผมที่ใช้ภาษาอังกฤษโดยอิงจากสัญชาตญาณมาทั้งชีวิต ที่อยู่ดีๆก็ต้องมานั่งท่องแกรมม่า