ยิ่งอ่านข่าว Entrance 4.0 ที่จะใช้ตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นไป ยิ่งงง งงว่ามันดีขึ้นตรงไหน ทำไมมันฟังดูถอยหลังลงคลองมากกว่าพัฒนา
GAT-PAT ก็ต้องสอบ O-NET ก็ต้องสอบ 9 วิชาสามัญก็ต้องสอบ แต่ที่เปลี่ยนคือ
1. แต่ละอย่างสอบได้ครั้งเดียวและสอบช่วงเดียวกันหมดคือ มีนา-เมษา... นร เครียดกันให้ตายไปข้างนึง (จากที่ GAT-PAT เคยสอบได้ 2 ครั้ง และการสอบแต่ละอันไม่ได้จัดสอบติดๆ ในช่วงเวลาใกล้กัน)
2.) ที่ต่างจากเดิมอีกอย่างคือมีการยื่นคะแนน 2 ครัง รอบแรกถ้ายื่นแล้วติดและเอาจะเข้าระบบเคลียร์ริงเฮาส์ ห้ามยื่นรอบ 2 เป็นอันจบกระบวนการ แต่ถ้ารอบแรกไม่ติดก็ยื่นรอบ 2 รอบ 2 นี้ถ้าติดก็ติด ถ้าไม่ติดก็คือไม่ติด จบกระบวนอยู่ดี 5555
ปล ที่ 1: ที่ไม่เข้าใจคือ...ประโยชน์ของการยื่นคะแนน 2 ครั้ง คืออะไร??? เพราะคะแนนที่ยื่นก็คะแนนเท่าเดิม (ไม่ได้สอบใหม่) เราควรส่งเสริมให้เด็กเรียนคณะที่เด็กอยากเรียน มากกว่าให้เด็กเรียนคณะที่คะแนนตัวเองสามารถเข้าได้ปะวะ??? สุดท้ายปัญหาซิ่ว ปัญหาเรียนไม่จบ ปัญหาเด็กไม่มีแรงจูงใจในการเรียนเพราะไม่ได้เรียนสิ่งที่ตัวเองสนใจแค่ไปเรียนเพราะสอบติด (เนื่องจากค่านิยมของประเทศคือนิยมการสอบให้ติดมหาลัยของรัฐ) ก็วนอยู่ที่เดิมไม่ได้ถูกแก้ไขปะ? งงกับผู้ใหญ่ที่คิดระบบมากกกก ทั้งๆที่ แต่ละคนนี่ ผศ/รศ/ศ + ดร. ทั้งนั้น คิดอะไรกันอยู่??? เป้าหมายของการเปลี่ยนระบบคืออะไร???
ปล ที่ 2: ความเห็นส่วนตัว ทุกการสอบควรจะให้สอบได้อย่างน้อย 2 ครั้ง และเลือกใช้คะแนนของครั้งที่ดีที่สุด มั้ย (เสียงสู๊งงงงง)? เพราะครั้งเดียวตัดสินชีวิตนี่โหดร้ายไปนะ ถ้าป่วย ปวดหัว ตัวร้อน ไข้หวัดใหญ่ ไข้เลือดออก ท้องเสีย อาหารเป็นพิษ ฯลฯ หรือมีเหตุการณ์กระทบกระเทือนใจในช่วงนั้น ญาติป่วย ญาติเสีย แฟนทิ้ง ฯลฯ แล้วทำคะแนนสอบไม่ดีนี่หมดสิทธิ์เข้าเรียนมหา'ลัยกันเลยทีเดียว... โดยส่วนตัวคิดว่า น่าจะจัดสอบทุกการสอบปีละ 2 ครั้ง (กำหนดไปเลยช่วงไหนของปีอย่างชัดเจน) และกำหนดไปเลยว่าคะแนนนั้นมีอายุใช้ยื่นได้ 2 ปีนับจากวันที่ประกาศผล โดย นร จะสอบเมื่อไหร่ก็ได้ตั้งแต่เข้าสู่ม.ปลาย (คือกลัวอะไร? ทำไมต้องบังคับให้จบ ม.6 ค่อยสอบ? ไหนๆ ระบบนี้ก็ไม่เอา GPA มาใช้อยู่แล้ว และอย่างที่ประจักษ์อยู่แล้วว่าใช้ GPA เป็นส่วนหนึ่งของ admission เพื่ออยากให้เด็กตั้งใจเรียนใน รร แต่สุดท้ายเด็กก็กวดวิชากันอยู่ดี และ GPA ของแต่ละ รร มันก็มาตราฐานไม่เท่ากัน สมมติเด็ก รรกอไก่ ได้เกรด 2 วิชาคณิต อาจจะเก่งคณิตกว่าเด็ก รร ขอไข่ ที่ได้เกรด 3 ถ้าเอาเด็ก 2 คนนั้นมาทำข้อสอบชุดเดียวกัน) ถ้าพอใจในคะแนนนั้นก็จบ ถ้าไม่พอใจก็สอบไปเรื่อยๆ จนกว่าจะพอใจ ซึ่งนำไปสู่ ปล ที่ 3
ปล ที่ 3: ไม่รู้ว่าการสอบพวกนี้ ณ ตอนนี้ที่ยังเป็น admission คิดเงินค่าสอบมั้ย?? แต่สมัยเรา O-NET รุ่นแรกปี 49 (บ่งบอกอายุมาก 555+) สอบฟรี ดังนั้นเพื่อความเสมอภาคของเด็กทั้งประเทศก็น่าจะให้สอบครั้งแรกฟรี (ประกาศไปเลย... อยากสอบเมื่อไหร่ก็สอบ แต่ฟรีครั้งเดียวนะโว้ยยย หลังจากนี้คิดค่าสอบนะโว้ยยยย แล้วก็ประกาศไปเลยว่าสอบอะไรคิดค่าเท่าไหร่) ระบบสมัยนี้ hi-tech จะตายยังไงทุกครั้งที่สมัครสอบก็ต้องใส่เลขประจำตัวประชาชนอยู่แล้ว ดังนั้นมันน่าจะไม่ยากที่จะ set ให้คนที่สมัครสอบครั้งแรกสอบฟรีและครั้งหลังจากนั้นไม่ฟรีเพราะแค่คีย์เลขประจำตัวประชาชนมันก็ขึ้นหมดปะ?
ปล ที่ 4: ระบบสอบเข้าช่วยมีความเสถียรหน่อยเถอะ เปลี่ยนระบบ เปลี่ยนวิธีบ่อยเหลือเกิน
ปล ที่ 5: ในความเห็นส่วนตัว คิดว่าการใช้แค่คะแนนอย่างเดียวเพื่อ entrance มันดูล้าสมัยมาก น่าจะไปดูตัวอย่างมหาลัยชั้นนำของโลกว่าเขาไม่ได้ใช้คะแนน SAT หรือ TOEFL หรืออะไรต่างๆ ที่เป็นคะแนนสอบในการเลือก นร เข้าเรียนอย่างเดียว แต่ผู้สมัครจะต้องเขียน Personal Statement และ essay เพื่อตอบคำถามที่มหาวิทยาลัยหรือคณะนั้นๆ ตั้งไว้ โดยทั้งคะแนนสอบ GPA ที่ได้จากใน รร และ essays จะถูกพิจารณาเพื่อรับ นร เข้าเรียน ซึ่งวิธีนี้แน่นอนว่าน่าจะเป็นตัวช่วยคัดกรองได้อย่างดีว่าเด็กที่จะเข้ามาเรียนคณะนั้นๆ จะมาเรียนเพราะอะไร มีจุดมุ่งหมายอะไร... แน่นอนทุกระบบมีข้อดีข้อเสีย แต่คิดว่ายังไงก็น่าจะดีกว่าแค่ใช้คะแนนสอบตัดสินชีวิต
คิดอย่างไรกับระบบ Entrance 4.0 ที่จะใช้กับเด็ก ม.6 ตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นไป? (อ่านข่าวแล้วสงสารเด็ก บอกเลย)
GAT-PAT ก็ต้องสอบ O-NET ก็ต้องสอบ 9 วิชาสามัญก็ต้องสอบ แต่ที่เปลี่ยนคือ
1. แต่ละอย่างสอบได้ครั้งเดียวและสอบช่วงเดียวกันหมดคือ มีนา-เมษา... นร เครียดกันให้ตายไปข้างนึง (จากที่ GAT-PAT เคยสอบได้ 2 ครั้ง และการสอบแต่ละอันไม่ได้จัดสอบติดๆ ในช่วงเวลาใกล้กัน)
2.) ที่ต่างจากเดิมอีกอย่างคือมีการยื่นคะแนน 2 ครัง รอบแรกถ้ายื่นแล้วติดและเอาจะเข้าระบบเคลียร์ริงเฮาส์ ห้ามยื่นรอบ 2 เป็นอันจบกระบวนการ แต่ถ้ารอบแรกไม่ติดก็ยื่นรอบ 2 รอบ 2 นี้ถ้าติดก็ติด ถ้าไม่ติดก็คือไม่ติด จบกระบวนอยู่ดี 5555
ปล ที่ 1: ที่ไม่เข้าใจคือ...ประโยชน์ของการยื่นคะแนน 2 ครั้ง คืออะไร??? เพราะคะแนนที่ยื่นก็คะแนนเท่าเดิม (ไม่ได้สอบใหม่) เราควรส่งเสริมให้เด็กเรียนคณะที่เด็กอยากเรียน มากกว่าให้เด็กเรียนคณะที่คะแนนตัวเองสามารถเข้าได้ปะวะ??? สุดท้ายปัญหาซิ่ว ปัญหาเรียนไม่จบ ปัญหาเด็กไม่มีแรงจูงใจในการเรียนเพราะไม่ได้เรียนสิ่งที่ตัวเองสนใจแค่ไปเรียนเพราะสอบติด (เนื่องจากค่านิยมของประเทศคือนิยมการสอบให้ติดมหาลัยของรัฐ) ก็วนอยู่ที่เดิมไม่ได้ถูกแก้ไขปะ? งงกับผู้ใหญ่ที่คิดระบบมากกกก ทั้งๆที่ แต่ละคนนี่ ผศ/รศ/ศ + ดร. ทั้งนั้น คิดอะไรกันอยู่??? เป้าหมายของการเปลี่ยนระบบคืออะไร???
ปล ที่ 2: ความเห็นส่วนตัว ทุกการสอบควรจะให้สอบได้อย่างน้อย 2 ครั้ง และเลือกใช้คะแนนของครั้งที่ดีที่สุด มั้ย (เสียงสู๊งงงงง)? เพราะครั้งเดียวตัดสินชีวิตนี่โหดร้ายไปนะ ถ้าป่วย ปวดหัว ตัวร้อน ไข้หวัดใหญ่ ไข้เลือดออก ท้องเสีย อาหารเป็นพิษ ฯลฯ หรือมีเหตุการณ์กระทบกระเทือนใจในช่วงนั้น ญาติป่วย ญาติเสีย แฟนทิ้ง ฯลฯ แล้วทำคะแนนสอบไม่ดีนี่หมดสิทธิ์เข้าเรียนมหา'ลัยกันเลยทีเดียว... โดยส่วนตัวคิดว่า น่าจะจัดสอบทุกการสอบปีละ 2 ครั้ง (กำหนดไปเลยช่วงไหนของปีอย่างชัดเจน) และกำหนดไปเลยว่าคะแนนนั้นมีอายุใช้ยื่นได้ 2 ปีนับจากวันที่ประกาศผล โดย นร จะสอบเมื่อไหร่ก็ได้ตั้งแต่เข้าสู่ม.ปลาย (คือกลัวอะไร? ทำไมต้องบังคับให้จบ ม.6 ค่อยสอบ? ไหนๆ ระบบนี้ก็ไม่เอา GPA มาใช้อยู่แล้ว และอย่างที่ประจักษ์อยู่แล้วว่าใช้ GPA เป็นส่วนหนึ่งของ admission เพื่ออยากให้เด็กตั้งใจเรียนใน รร แต่สุดท้ายเด็กก็กวดวิชากันอยู่ดี และ GPA ของแต่ละ รร มันก็มาตราฐานไม่เท่ากัน สมมติเด็ก รรกอไก่ ได้เกรด 2 วิชาคณิต อาจจะเก่งคณิตกว่าเด็ก รร ขอไข่ ที่ได้เกรด 3 ถ้าเอาเด็ก 2 คนนั้นมาทำข้อสอบชุดเดียวกัน) ถ้าพอใจในคะแนนนั้นก็จบ ถ้าไม่พอใจก็สอบไปเรื่อยๆ จนกว่าจะพอใจ ซึ่งนำไปสู่ ปล ที่ 3
ปล ที่ 3: ไม่รู้ว่าการสอบพวกนี้ ณ ตอนนี้ที่ยังเป็น admission คิดเงินค่าสอบมั้ย?? แต่สมัยเรา O-NET รุ่นแรกปี 49 (บ่งบอกอายุมาก 555+) สอบฟรี ดังนั้นเพื่อความเสมอภาคของเด็กทั้งประเทศก็น่าจะให้สอบครั้งแรกฟรี (ประกาศไปเลย... อยากสอบเมื่อไหร่ก็สอบ แต่ฟรีครั้งเดียวนะโว้ยยย หลังจากนี้คิดค่าสอบนะโว้ยยยย แล้วก็ประกาศไปเลยว่าสอบอะไรคิดค่าเท่าไหร่) ระบบสมัยนี้ hi-tech จะตายยังไงทุกครั้งที่สมัครสอบก็ต้องใส่เลขประจำตัวประชาชนอยู่แล้ว ดังนั้นมันน่าจะไม่ยากที่จะ set ให้คนที่สมัครสอบครั้งแรกสอบฟรีและครั้งหลังจากนั้นไม่ฟรีเพราะแค่คีย์เลขประจำตัวประชาชนมันก็ขึ้นหมดปะ?
ปล ที่ 4: ระบบสอบเข้าช่วยมีความเสถียรหน่อยเถอะ เปลี่ยนระบบ เปลี่ยนวิธีบ่อยเหลือเกิน
ปล ที่ 5: ในความเห็นส่วนตัว คิดว่าการใช้แค่คะแนนอย่างเดียวเพื่อ entrance มันดูล้าสมัยมาก น่าจะไปดูตัวอย่างมหาลัยชั้นนำของโลกว่าเขาไม่ได้ใช้คะแนน SAT หรือ TOEFL หรืออะไรต่างๆ ที่เป็นคะแนนสอบในการเลือก นร เข้าเรียนอย่างเดียว แต่ผู้สมัครจะต้องเขียน Personal Statement และ essay เพื่อตอบคำถามที่มหาวิทยาลัยหรือคณะนั้นๆ ตั้งไว้ โดยทั้งคะแนนสอบ GPA ที่ได้จากใน รร และ essays จะถูกพิจารณาเพื่อรับ นร เข้าเรียน ซึ่งวิธีนี้แน่นอนว่าน่าจะเป็นตัวช่วยคัดกรองได้อย่างดีว่าเด็กที่จะเข้ามาเรียนคณะนั้นๆ จะมาเรียนเพราะอะไร มีจุดมุ่งหมายอะไร... แน่นอนทุกระบบมีข้อดีข้อเสีย แต่คิดว่ายังไงก็น่าจะดีกว่าแค่ใช้คะแนนสอบตัดสินชีวิต