วงในเผยสิงเทล ผงาดในอินทัช กระชับธุรกิจมือถือ หวังเสริมเขี้ยวเล็บเอไอเอสป้องเก้าอี้แชมป์ “ทรู”เผยแค่จัดพอร์ตภายใน ไม่กระทบการแข่งขัน เพราะเป็นคู่แข่งรายเดิม หวังตลาดโพสต์เพดมีสิทธิเบียดขึ้นเบอร์ 2 ด้านนักวิเคราะห์ชี้แค่ปรับโครงสร้างภายใน เผยไม่ต้องตั้งโต๊ะซื้อหุ้นจากรายย่อย
จากกรณีที่บริษัท สิงคโปร์ เทเลคอมมูนิเคชั่นส์ หรือ สิงเทล ได้เข้าซื้อหุ้นบริษัท อินทัช โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)(บมจ.) หรือบมจ.ชินคอร์ปเดิม จากบริษัท แอสเพน โฮลดิ้งส์ จำกัด (แอสเพน) ในสัดส่วน 21% ของทุนชำระแล้วของบริษัท ในราคา 60.83 บาทต่อหุ้น จากที่แอสเพนถืออยู่ในสัดส่วน 40.5% มีผลให้สิงเทลฯถือหุ้นเป็นอันดับหนึ่งในบมจ.อินทัช คิดเป็นสัดส่วน 21% และมีผลทางอ้อมให้สิงเทลฯ ถือหุ้นในบมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส(เอไอเอส) เพิ่มจาก 23.2 % เป็น 31.8% นั้น
แหล่งข่าวจากวงการโทรคมนาคมไทย เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า การซื้อขายหุ้นดังกล่าว จะทำให้สิงเทล มีความคล่องตัวในการบริหารจัดการ ทั้งในบมจ.อินทัช และเอไอเอส ขณะที่เทมาเสกโฮลดิ้ง ที่ก่อนหน้านี้เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ทำหน้าที่ลงทุนในประเทศต่าง ๆ จึงไม่น่าจะมีผลกระทบในการบริหารของบมจ.อินทัช เพราะทั้งสิงเทล และเทมาเสก เป็นกลุ่มเดียวกัน ดังนั้น การจัดสรรหุ้นครั้งนี้สะท้อนความมั่นใจในศักยภาพของเอไอเอส
“แสดงให้เห็นว่าสิงเทลฯ ต้องการเสริมเขี้ยวเล็บ และส่งสัญญาณไม่ยอมแพ้การแข่งขันในตลาดเมืองไทย เนื่องจากเอไอเอสมีฐานลูกค้าถึง 39.36 ล้านเลขหมาย ซึ่งนโยบายของเอไอเอสคือ ต้องรักษาความเป็นผู้นำโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย” แหล่งข่าวกล่าว
ขณะที่แหล่งข่าวจาก บมจ. ทรูคอร์ปอเรชั่น ประเมินว่า เป็นการจัดพอร์ตภายใน และที่มีการจัดสรรหุ้นก็เพื่อต้องการให้สิงเทลฯ มีอำนาจในการบริหารงานที่ชัดเจน เพราะเทมาเสกฯ เป็นกองทุนที่ทำหน้าที่ขยายการลงทุนในต่างประเทศเป็นหลัก โดยเอไอเอสก็จะได้ประโยชน์จากสิงเทลฯมากขึ้น เช่น การผสมผสาน (synergy) เทคโนโลยีระหว่างกัน
อย่างไรก็ตาม ทรูฯเชื่อว่าการปรับองค์กรของคู่แข่งคราวนี้ ไม่ส่งผลต่อรูปแบบการตลาดที่แข่งขันรุนแรง แม้ผลประกอบการของกลุ่มทรูจะมีรายได้เป็นอันดับที่ 3 ในอุตสาหกรรมโทรศัพท์เคลื่อนที่ แต่ในส่วนลูกค้าโพสต์เพด หรือจดทะเบียนแบบรายเดือน กลุ่มทรูฯมาเป็นอันดับที่สอง และเชื่อว่าปีหน้าฐานลูกค้ากลุ่มนี้จะมีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
“แม้สิงเทล จะเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ แต่ก็เป็นคู่แข่งรายเดิม ไม่มีอะไรน่ากังวล คิดว่าเป็นการปรับพอร์ตเพื่อให้สิงเทลเข้ามาบริหารจัดการมากขึ้น”
ก่อนหน้านี้นายฟิลิป เชียง ชอง แทน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. อินทัช โฮลดิ้งส์ ได้ชี้แจงข่าวการขายหุ้นบางส่วนของผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทว่า ข้อมูลตามที่สิงคโปร์ เทเลคอมมูนิเคชั่น หรือสิงเทลได้แจ้งตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม 2559 ว่า ได้เข้าทำสัญญาซื้อหุ้นของบริษัทแบบมีเงื่อนไขจากบริษัท แอสเพน โฮลดิ้งส์ จำกัด (แอสเพน) ในสัดส่วน 21%ของทุนชำระแล้วของบริษัทในราคา 60.83 บาทต่อหุ้น อย่างไรก็ตาม การทำรายการดังกล่าวจะเกิดขึ้นหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติตามเงื่อนไขบังคับก่อน ซึ่งต้องได้รับการอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นของสิงเทล และหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ คาดว่ารายการดังกล่าวจะแล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม 2559
อินทัชขอเรียนชี้แจงว่า ในขณะนี้บริษัทยังไม่ได้รับการแจ้งอย่างเป็นทางการในกรณีดังกล่าว จากกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทแต่อย่างใด หากบริษัทได้รับแจ้งข้อมูลเพิ่มเติมจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ด้านความเห็นของนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ โดยนายเอกภาวิน สุนทราภิชาติ ผู้จัดการฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์(บล.)ไทยพาณิชย์ จำกัด มองว่า กรณีดังกล่าวไม่ต้องตั้งโต๊ะรับซื้อหุ้นจากนักลงทุนทั่วไป (เทนเดอร์ ออฟเฟอร์) โดยสิงเทล จะถือหุ้นเอไอเอสเพิ่มขึ้นแบบทางอ้อม ตามกฎเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ไม่กำหนดไว้ว่าต้องทำเทนเดอร์ กับสัดส่วนหุ้นที่เพิ่มขึ้นในทางอ้อม
ขณะที่มองว่ากลุ่มเทมาเสก คงต้องการปรับโครงสร้างการถือหุ้นภายใน โดยจะเน้นให้สิงเทลมีบทบาทควบคุมในธุรกิจโทรคมนาคมมากขึ้น เพราะด้วยราคาหุ้นที่ซื้อขายถือว่าเป็นราคาตลาดตามปกติ แต่การเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในครั้งนี้เป็นสัญญาณที่ดี ที่กลุ่มต่างชาติให้ความสนใจธุรกิจโทรคมนาคมในไทยมากขึ้น อย่างไรก็ตามการเข้าซื้อหุ้นอินทัช ในครั้งนี้ประเมินว่า คงไม่มีการเข้ามามีส่วนร่วมบริหารกลับกลุ่มอิชทัช อย่างมีนัยสำคัญ
นักวิเคราะห์บล.บัวหลวง มีมุมมองกรณีนี้ทำนองเดียวกันว่า เป็นการปรับโครงสร้างภายในการถือหุ้นของกลุ่มเทมาเสก เพื่อให้สิงเทล เข้ามาจัดการในด้านธุรกิจโทรคมนาคมอย่างชัดเจน และในอนาคตอาจเห็นสิงเทล เข้ามามีบทบาทช่วยส่งเสริมศักยภาพของกลุ่มอินทัชเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันการแข่งขันด้านธุรกิจเครือข่ายโทรศัพท์มือถือค่อนข้างรุนแรงมากพอสมควร
http://www.thansettakij.com/2016/08/23/87705
Singtel Network
จัดทัพ Singtel เสริมเขี้ยวเล็บ AIS !! สู้ศึกมือถือ ย้ำ!! ต้องเป็นผู้นำโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย
วงในเผยสิงเทล ผงาดในอินทัช กระชับธุรกิจมือถือ หวังเสริมเขี้ยวเล็บเอไอเอสป้องเก้าอี้แชมป์ “ทรู”เผยแค่จัดพอร์ตภายใน ไม่กระทบการแข่งขัน เพราะเป็นคู่แข่งรายเดิม หวังตลาดโพสต์เพดมีสิทธิเบียดขึ้นเบอร์ 2 ด้านนักวิเคราะห์ชี้แค่ปรับโครงสร้างภายใน เผยไม่ต้องตั้งโต๊ะซื้อหุ้นจากรายย่อย
จากกรณีที่บริษัท สิงคโปร์ เทเลคอมมูนิเคชั่นส์ หรือ สิงเทล ได้เข้าซื้อหุ้นบริษัท อินทัช โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)(บมจ.) หรือบมจ.ชินคอร์ปเดิม จากบริษัท แอสเพน โฮลดิ้งส์ จำกัด (แอสเพน) ในสัดส่วน 21% ของทุนชำระแล้วของบริษัท ในราคา 60.83 บาทต่อหุ้น จากที่แอสเพนถืออยู่ในสัดส่วน 40.5% มีผลให้สิงเทลฯถือหุ้นเป็นอันดับหนึ่งในบมจ.อินทัช คิดเป็นสัดส่วน 21% และมีผลทางอ้อมให้สิงเทลฯ ถือหุ้นในบมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส(เอไอเอส) เพิ่มจาก 23.2 % เป็น 31.8% นั้น
แหล่งข่าวจากวงการโทรคมนาคมไทย เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า การซื้อขายหุ้นดังกล่าว จะทำให้สิงเทล มีความคล่องตัวในการบริหารจัดการ ทั้งในบมจ.อินทัช และเอไอเอส ขณะที่เทมาเสกโฮลดิ้ง ที่ก่อนหน้านี้เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ทำหน้าที่ลงทุนในประเทศต่าง ๆ จึงไม่น่าจะมีผลกระทบในการบริหารของบมจ.อินทัช เพราะทั้งสิงเทล และเทมาเสก เป็นกลุ่มเดียวกัน ดังนั้น การจัดสรรหุ้นครั้งนี้สะท้อนความมั่นใจในศักยภาพของเอไอเอส
“แสดงให้เห็นว่าสิงเทลฯ ต้องการเสริมเขี้ยวเล็บ และส่งสัญญาณไม่ยอมแพ้การแข่งขันในตลาดเมืองไทย เนื่องจากเอไอเอสมีฐานลูกค้าถึง 39.36 ล้านเลขหมาย ซึ่งนโยบายของเอไอเอสคือ ต้องรักษาความเป็นผู้นำโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย” แหล่งข่าวกล่าว
ขณะที่แหล่งข่าวจาก บมจ. ทรูคอร์ปอเรชั่น ประเมินว่า เป็นการจัดพอร์ตภายใน และที่มีการจัดสรรหุ้นก็เพื่อต้องการให้สิงเทลฯ มีอำนาจในการบริหารงานที่ชัดเจน เพราะเทมาเสกฯ เป็นกองทุนที่ทำหน้าที่ขยายการลงทุนในต่างประเทศเป็นหลัก โดยเอไอเอสก็จะได้ประโยชน์จากสิงเทลฯมากขึ้น เช่น การผสมผสาน (synergy) เทคโนโลยีระหว่างกัน
อย่างไรก็ตาม ทรูฯเชื่อว่าการปรับองค์กรของคู่แข่งคราวนี้ ไม่ส่งผลต่อรูปแบบการตลาดที่แข่งขันรุนแรง แม้ผลประกอบการของกลุ่มทรูจะมีรายได้เป็นอันดับที่ 3 ในอุตสาหกรรมโทรศัพท์เคลื่อนที่ แต่ในส่วนลูกค้าโพสต์เพด หรือจดทะเบียนแบบรายเดือน กลุ่มทรูฯมาเป็นอันดับที่สอง และเชื่อว่าปีหน้าฐานลูกค้ากลุ่มนี้จะมีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
“แม้สิงเทล จะเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ แต่ก็เป็นคู่แข่งรายเดิม ไม่มีอะไรน่ากังวล คิดว่าเป็นการปรับพอร์ตเพื่อให้สิงเทลเข้ามาบริหารจัดการมากขึ้น”
ก่อนหน้านี้นายฟิลิป เชียง ชอง แทน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. อินทัช โฮลดิ้งส์ ได้ชี้แจงข่าวการขายหุ้นบางส่วนของผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทว่า ข้อมูลตามที่สิงคโปร์ เทเลคอมมูนิเคชั่น หรือสิงเทลได้แจ้งตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม 2559 ว่า ได้เข้าทำสัญญาซื้อหุ้นของบริษัทแบบมีเงื่อนไขจากบริษัท แอสเพน โฮลดิ้งส์ จำกัด (แอสเพน) ในสัดส่วน 21%ของทุนชำระแล้วของบริษัทในราคา 60.83 บาทต่อหุ้น อย่างไรก็ตาม การทำรายการดังกล่าวจะเกิดขึ้นหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติตามเงื่อนไขบังคับก่อน ซึ่งต้องได้รับการอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นของสิงเทล และหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ คาดว่ารายการดังกล่าวจะแล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม 2559
อินทัชขอเรียนชี้แจงว่า ในขณะนี้บริษัทยังไม่ได้รับการแจ้งอย่างเป็นทางการในกรณีดังกล่าว จากกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทแต่อย่างใด หากบริษัทได้รับแจ้งข้อมูลเพิ่มเติมจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ด้านความเห็นของนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ โดยนายเอกภาวิน สุนทราภิชาติ ผู้จัดการฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์(บล.)ไทยพาณิชย์ จำกัด มองว่า กรณีดังกล่าวไม่ต้องตั้งโต๊ะรับซื้อหุ้นจากนักลงทุนทั่วไป (เทนเดอร์ ออฟเฟอร์) โดยสิงเทล จะถือหุ้นเอไอเอสเพิ่มขึ้นแบบทางอ้อม ตามกฎเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ไม่กำหนดไว้ว่าต้องทำเทนเดอร์ กับสัดส่วนหุ้นที่เพิ่มขึ้นในทางอ้อม
ขณะที่มองว่ากลุ่มเทมาเสก คงต้องการปรับโครงสร้างการถือหุ้นภายใน โดยจะเน้นให้สิงเทลมีบทบาทควบคุมในธุรกิจโทรคมนาคมมากขึ้น เพราะด้วยราคาหุ้นที่ซื้อขายถือว่าเป็นราคาตลาดตามปกติ แต่การเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในครั้งนี้เป็นสัญญาณที่ดี ที่กลุ่มต่างชาติให้ความสนใจธุรกิจโทรคมนาคมในไทยมากขึ้น อย่างไรก็ตามการเข้าซื้อหุ้นอินทัช ในครั้งนี้ประเมินว่า คงไม่มีการเข้ามามีส่วนร่วมบริหารกลับกลุ่มอิชทัช อย่างมีนัยสำคัญ
นักวิเคราะห์บล.บัวหลวง มีมุมมองกรณีนี้ทำนองเดียวกันว่า เป็นการปรับโครงสร้างภายในการถือหุ้นของกลุ่มเทมาเสก เพื่อให้สิงเทล เข้ามาจัดการในด้านธุรกิจโทรคมนาคมอย่างชัดเจน และในอนาคตอาจเห็นสิงเทล เข้ามามีบทบาทช่วยส่งเสริมศักยภาพของกลุ่มอินทัชเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันการแข่งขันด้านธุรกิจเครือข่ายโทรศัพท์มือถือค่อนข้างรุนแรงมากพอสมควร
http://www.thansettakij.com/2016/08/23/87705