ก่อนอื่นต้องขอบคุณช่อง 7 ที่เล็งเห็นนคุณค่าของละครรีเมคน้ำดี สะท้อนสังคม เน้นสถาบันครอบครัว อย่าง "ลูกไม้ไกลต้น" และอนุมัติละครแนวนี้มาให้ได้ชมกัน ขอบคุณค่ายมีเดียฯ นักแสดงและทีมงานทุกคนที่ถ่ายทอดอารมณ์ของตัวละครแต่ละตัวออกมาได้อย่างสุดยอด ละครสะท้อนสังคม เนื้อหาค่อนข้างเครียด อาจทำให้ไม่ได้คาดหวังในเรตติ้งเท่าไหร่นักในตอนแรก แต่ด้วยองค์ประกอบต่างๆ ของละคร ไม่ว่าจะเป็น "บทละคร", นักแสดง, การตัดต่อ และส่วนประกอบต่าง ๆ ทำให้ละครเรื่องนี้ดำเนินเรื่องไปได้อย่างน่าสนใจ ทำให้คนดูเชื่อและติดตามละครเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง และครอบคลุมคนทุกกลุ่มทั่วประเทศ จากเรตติ้งที่เปิดตัวสูงและเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่องจนใกล้จบ
ละครเรื่องนี้เน้นเรื่องของความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว บทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบ ของคนเป็น "พ่อ แม่" ซึ่งแต่ละการกระทำต่าง ๆ จะมีผลต่อ "ลูก" ในรูปแบบต่าง ๆ และก่อให้เกิด "ปมในใจ" ที่มีผลต่อมุมมองชีวิตและการกระทำของบรรดาลูกๆ และเรื่องราวต่าง ๆ ได้ทำให้ตัวละครต่าง ๆ ได้มาเกี่ยวพันและได้เรียนรู้ และได้ "ข้อคิด" ซึ่งทำให้สุดท้าย "มุมมอง" และ "การกระทำต่างๆ" เปลี่ยนแปลงไปในตอนท้ายของเรื่อง ขอสรุป "ข้อคิด" ที่ได้จากเรื่องนี้ดังนี้
- การหันกลับมาดูบทบาทของ "คนเป็นพ่อเป็นแม่"
ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นเริ่มจาก "การขาดความยับยั้งชั่งใจ" ของคนเป็นพ่อแม่ "กัลยา" แม่ของ ชานนท์ และ อภิรักษ์ หนีตามชู้ไป ทำให้ชานนท์เกลียดแม่ และอภิรักษ์โหยหาความรักจากแม่ ในขณะที่พ่อของชานนท์ กลายเป็นคนขาดความมั่นใจ สุขภาพอ่อนแอ ต้องให้ชานนท์คอยดูแลตลอด
ในส่วนของ "เฉลิม" การขาดความยับยั้งชั่งใจเพียงครั้งเดียว ที่วางแผนหลอกและเข้าหาคนรับใช้ในบ้าน ซึ่งมีสามีแล้ว แต่เกิดมี "รสา" ขึ้นมา และทำให้ "รสา" เจ็บแค้นแทนแม่เมื่อรู้ความจริงตอนแม่ใกล้ตาย รสาต้องการให้เฉลิมไปเคารพศพแม่ ทำให้ครอบครัวที่เหมือนสมบูรณ์แบบของเฉลิมต้องเจอกับอดีตที่เลวร้ายของเฉลิม ที่แม้แต่ตัวเองยังอยากลืม
ผลของการกระทำของทั้งสอง กัลยา ต้องมีชีวิตที่ตกต่ำลงจากผลของการกระทำของตัวเอง แทนชีวิตหรูหรา แต่ต้องมาอยู่ด้วยการหลอกลวงลูก ส่วนเฉลิม ต้องทนทุกข์ทรมานกับการโกหกตัวเอง ไม่ยอมรับอดีต และเมื่อครอบครัวเฉลิม ๆ ลูก ๆ รู้อดีตของตัวเอง เฉลิมต้องทนทุกข์กับการโดนลูกอย่าง วรรณฤดีต่อว่า และไม่ยอมรับ รสา เป็นน้องถึงหวังเอาชีวิต และสุดท้ายต้องเห็นลูกตัวเองเป็นบ้า
- บทบาทของ "ความเป็นลูก"
สะท้อนให้เห็นถึงมุมมองของอดีตที่เลวร้ายของ "คนเป็นพ่อแม่" ที่แตกต่างไปในมุมมองของแต่ละคน และเรื่องราวต่าง ๆ ที่เข้ามาทำให้ได้เรียนรู้ที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไป
"ชานนท์" เป็นตัวแทนของการเจ็บแล้วจำ มองโลกในแง่ของความเป็นจริง ไม่ให้อภัยกับความผิดพลาดในอดีตของแม่ ไม่อยากยุ่งเกี่ยว และซ่อนปมที่เจ็บปวดไว้ในใจ และพยายามขัดขวาง "อภิรักษ์" ไม่ให้ไปยุ่งเกี่ยวกับแม่ เพราะรู้ว่ากัลยาต้องการมาหลอกเอาเงิน แต่สุดท้าย ชานนท์ ได้เห็นแบบอย่างการเสียสละของ รสา ที่มอบไตให้ เฉลิม ซึ่งไม่เคยยอมรับว่ารสาเป็นลูก รสาบอกว่า "คนเราจะผูกใจเจ็บกันทำไม เพียงแค่ให้อภัยทุกอย่างจะดีขึ้น แม้แต่ความรู้สึกในใจเราเอง" ทำให้ ชานนท์ ได้คิดและใจอ่อนกับแม่มากขึ้น ยอมขอโทษแม่ และอโหสิกรรม หลายคนอาจจะเคยมองปัญหาต่างๆ แบบชานนท์ และแบกความเจ็บแค้นเอาไว้ในใจ แต่ถ้าเราลอง let it go ปล่อยมันไป ให้อภัย และใช้ชีวิตต่อไปข้างหน้า มากกว่าจมปลักกับอดีต ก็คงดีไม่น้อย
"อภิรักษ์" เป็นตัวแทนของความโหยหาความรักจากแม่ พร้อมให้อภัย และหวังว่าแม่จะกลับมาใช้ชีวิตเป็นครอบครัวด้วยกันอีก ในตอนท้าย อภิรักษ์ได้เรียนรู้ว่า สิ่งที่ตัวเองคาดหวังมาตลอด ไม่อาจเป็นจริงได้ เมื่อรู้ความจริงว่า แม่ต้องการมีชีวิตคู่กับชู้รัก อภิรักษ์เข้าใจชานนท์มากขึ้นว่าทำไมถึงไม่ชอบแม่ แต่อภิรักษ์ก็ยังบอกว่าจะยังให้เงินแม่ใช้เหมือนเดิม เพราะแม่ก็คือแม่ ในส่วนนี้ อภิรักษ์ เคยพูดว่าตัวเองใช้ชีวิตเสวยสุขอยู่ และมีกำลังจะให้แม่ได้โดยไม่เดือดร้อน อภิรักษ์ ทนเป็นแม่ลำบากโดยไม่ช่วยไม่ได้ ในส่วนนี้ทำให้ได้คิดว่า การเลี้ยงดูแม่ผู้ให้กำเนิด ถ้ามีกำลังเหลือเฟือ การได้ดูแลตามสมควรก็เป็นเรื่องควรกระทำ ไม่เหลือบ่ากว่าแรง
"รสา" เป็นตัวแทนของการเจ็บแค้นแทนแม่ และต้องการเรียกร้องให้พ่อไปขอขมาศพแม่ แต่สุดท้ายเมื่อรู้ว่าพ่อไม่ยอมรับจริง ๆ รสา ก็ยอมปล่อยวาง และเมื่อเฉลิมต้องการเปลี่ยนไต รสาก็ไม่ลังเลที่จะบริจาคไตให้ ถึงแม้เฉลิมจะไม่เคยยอมรับรสาเป็นลูก รสา เป็นตัวแทนของ "การเอาความดี" เข้าชนะจิตใจของพ่อ, คุณเปรม และศศิ และในขณะเดียวกัน รสา เคยเอาความคิดของตัวเองเข้าตัดสิน ชานนท์ ที่ไม่ดีต่อแม่ แต่สุดท้าย รสา ได้ไปเห็นว่าแท้จริงแล้ว รสาเองก็โดนกัลยาหลอกใช้ เพื่อให้ได้เงินจากลูก ๆ ของเธอ
"ศศิ" เป็นตัวแทนของลูกที่ยอมรับอดีตของพ่อได้ และพร้อมจะเสียสละทุกอย่างให้พ่อได้ ศศิ เป็นตัวแทนของคนดีที่ตั้งรับสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างมีสติ ซึ่งเป็นคนละขั้วกับพี่สาวอย่างชัดเจน
"วรรรณฤดี" เป็นตัวแทนความยึดติดกับวัตถุ พร้อมจะทำทุกอย่างเพื่อให้ได้สิ่งที่ตัวเองต้องการ ถึงขนาดไม่สนใจใยดีกับชีวิตพ่อ สุดท้ายเพลิงของความโลภ และริษยาของวรรณฤดีก็แผดเผาตัวเอง ทำให้ต้องแท้งลูก โดนสามีทรยศ และเป็นบ้าในที่สุด เพราะไม่ยอมปล่อยวาง
นอกจากข้อคิดต่าง ๆ ที่ได้จากละครเรื่องนี้แล้ว ขอชื่นชมนักแสดงมากความสามารถทุกคนที่ทำให้เชื่อว่าเป็นตัวละครตัวนั้นจริง ๆ ทั้ง ชานนท์ อ๋อม, รสา มิน, ศศิ เพลง, อภิรักษ์ ไต้ฝุ่น, วรรณฤดี ส้ม, เฉลิม คุณสันติสุข, กัลยา คุณปู, คุณปรม คุณฮั่นนี่, คุณจันทร์ คุณดวงใจ, พานิช, ธัชชัย เจ จินตัย, มนัส ที่แสดงได้อย่างสมบทบาทกันทุกคนจริงๆ ขอยกนิ้วให้กับทีมนักแสดง "ลูกไม้ไกลต้น" ทุกคนล้วนมีบทบาทสำคัญในเรื่องและรับผิดชอบบทได้ดี
ในส่วนขององค์ประกอบต่าง ๆ ของละครที่ทำให้ละครสนุก คือ การตัดต่อ, ซาวน์ประกอบต่างๆ , เพลงประกอบ ล้วนยิงมาได้ถูกที่ถูกเวลาตลอด ขอชื่นชมและเป็นกำลังใจให้กับทีมงานทุกๆ ท่านด้วยค่ะ
สุดท้ายขอขอบคุณทุกสิ่งทุกอย่างและทุกคนที่เกี่ยวข้องกับ "ลูกไม้ไกลต้น" ละครรีเมคคุณภาพอีกเรื่องหนึ่งที่มีคุณค่า ให้แง่คิดดี ๆ กับสังคม และขอเป็นกำลังใจให้สร้างผลงานดี ๆ และพัฒนางานชิ้นต่อไปให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไปค่ะ
ขอบคุณ ช่อง 7 มีเดีย นักแสดงและทีมงานทุกคน สำหรับละครสะท้อนสังคมน้ำดี "ลูกไม้ไกลต้น"
ละครเรื่องนี้เน้นเรื่องของความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว บทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบ ของคนเป็น "พ่อ แม่" ซึ่งแต่ละการกระทำต่าง ๆ จะมีผลต่อ "ลูก" ในรูปแบบต่าง ๆ และก่อให้เกิด "ปมในใจ" ที่มีผลต่อมุมมองชีวิตและการกระทำของบรรดาลูกๆ และเรื่องราวต่าง ๆ ได้ทำให้ตัวละครต่าง ๆ ได้มาเกี่ยวพันและได้เรียนรู้ และได้ "ข้อคิด" ซึ่งทำให้สุดท้าย "มุมมอง" และ "การกระทำต่างๆ" เปลี่ยนแปลงไปในตอนท้ายของเรื่อง ขอสรุป "ข้อคิด" ที่ได้จากเรื่องนี้ดังนี้
- การหันกลับมาดูบทบาทของ "คนเป็นพ่อเป็นแม่"
ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นเริ่มจาก "การขาดความยับยั้งชั่งใจ" ของคนเป็นพ่อแม่ "กัลยา" แม่ของ ชานนท์ และ อภิรักษ์ หนีตามชู้ไป ทำให้ชานนท์เกลียดแม่ และอภิรักษ์โหยหาความรักจากแม่ ในขณะที่พ่อของชานนท์ กลายเป็นคนขาดความมั่นใจ สุขภาพอ่อนแอ ต้องให้ชานนท์คอยดูแลตลอด
ในส่วนของ "เฉลิม" การขาดความยับยั้งชั่งใจเพียงครั้งเดียว ที่วางแผนหลอกและเข้าหาคนรับใช้ในบ้าน ซึ่งมีสามีแล้ว แต่เกิดมี "รสา" ขึ้นมา และทำให้ "รสา" เจ็บแค้นแทนแม่เมื่อรู้ความจริงตอนแม่ใกล้ตาย รสาต้องการให้เฉลิมไปเคารพศพแม่ ทำให้ครอบครัวที่เหมือนสมบูรณ์แบบของเฉลิมต้องเจอกับอดีตที่เลวร้ายของเฉลิม ที่แม้แต่ตัวเองยังอยากลืม
ผลของการกระทำของทั้งสอง กัลยา ต้องมีชีวิตที่ตกต่ำลงจากผลของการกระทำของตัวเอง แทนชีวิตหรูหรา แต่ต้องมาอยู่ด้วยการหลอกลวงลูก ส่วนเฉลิม ต้องทนทุกข์ทรมานกับการโกหกตัวเอง ไม่ยอมรับอดีต และเมื่อครอบครัวเฉลิม ๆ ลูก ๆ รู้อดีตของตัวเอง เฉลิมต้องทนทุกข์กับการโดนลูกอย่าง วรรณฤดีต่อว่า และไม่ยอมรับ รสา เป็นน้องถึงหวังเอาชีวิต และสุดท้ายต้องเห็นลูกตัวเองเป็นบ้า
- บทบาทของ "ความเป็นลูก"
สะท้อนให้เห็นถึงมุมมองของอดีตที่เลวร้ายของ "คนเป็นพ่อแม่" ที่แตกต่างไปในมุมมองของแต่ละคน และเรื่องราวต่าง ๆ ที่เข้ามาทำให้ได้เรียนรู้ที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไป
"ชานนท์" เป็นตัวแทนของการเจ็บแล้วจำ มองโลกในแง่ของความเป็นจริง ไม่ให้อภัยกับความผิดพลาดในอดีตของแม่ ไม่อยากยุ่งเกี่ยว และซ่อนปมที่เจ็บปวดไว้ในใจ และพยายามขัดขวาง "อภิรักษ์" ไม่ให้ไปยุ่งเกี่ยวกับแม่ เพราะรู้ว่ากัลยาต้องการมาหลอกเอาเงิน แต่สุดท้าย ชานนท์ ได้เห็นแบบอย่างการเสียสละของ รสา ที่มอบไตให้ เฉลิม ซึ่งไม่เคยยอมรับว่ารสาเป็นลูก รสาบอกว่า "คนเราจะผูกใจเจ็บกันทำไม เพียงแค่ให้อภัยทุกอย่างจะดีขึ้น แม้แต่ความรู้สึกในใจเราเอง" ทำให้ ชานนท์ ได้คิดและใจอ่อนกับแม่มากขึ้น ยอมขอโทษแม่ และอโหสิกรรม หลายคนอาจจะเคยมองปัญหาต่างๆ แบบชานนท์ และแบกความเจ็บแค้นเอาไว้ในใจ แต่ถ้าเราลอง let it go ปล่อยมันไป ให้อภัย และใช้ชีวิตต่อไปข้างหน้า มากกว่าจมปลักกับอดีต ก็คงดีไม่น้อย
"อภิรักษ์" เป็นตัวแทนของความโหยหาความรักจากแม่ พร้อมให้อภัย และหวังว่าแม่จะกลับมาใช้ชีวิตเป็นครอบครัวด้วยกันอีก ในตอนท้าย อภิรักษ์ได้เรียนรู้ว่า สิ่งที่ตัวเองคาดหวังมาตลอด ไม่อาจเป็นจริงได้ เมื่อรู้ความจริงว่า แม่ต้องการมีชีวิตคู่กับชู้รัก อภิรักษ์เข้าใจชานนท์มากขึ้นว่าทำไมถึงไม่ชอบแม่ แต่อภิรักษ์ก็ยังบอกว่าจะยังให้เงินแม่ใช้เหมือนเดิม เพราะแม่ก็คือแม่ ในส่วนนี้ อภิรักษ์ เคยพูดว่าตัวเองใช้ชีวิตเสวยสุขอยู่ และมีกำลังจะให้แม่ได้โดยไม่เดือดร้อน อภิรักษ์ ทนเป็นแม่ลำบากโดยไม่ช่วยไม่ได้ ในส่วนนี้ทำให้ได้คิดว่า การเลี้ยงดูแม่ผู้ให้กำเนิด ถ้ามีกำลังเหลือเฟือ การได้ดูแลตามสมควรก็เป็นเรื่องควรกระทำ ไม่เหลือบ่ากว่าแรง
"รสา" เป็นตัวแทนของการเจ็บแค้นแทนแม่ และต้องการเรียกร้องให้พ่อไปขอขมาศพแม่ แต่สุดท้ายเมื่อรู้ว่าพ่อไม่ยอมรับจริง ๆ รสา ก็ยอมปล่อยวาง และเมื่อเฉลิมต้องการเปลี่ยนไต รสาก็ไม่ลังเลที่จะบริจาคไตให้ ถึงแม้เฉลิมจะไม่เคยยอมรับรสาเป็นลูก รสา เป็นตัวแทนของ "การเอาความดี" เข้าชนะจิตใจของพ่อ, คุณเปรม และศศิ และในขณะเดียวกัน รสา เคยเอาความคิดของตัวเองเข้าตัดสิน ชานนท์ ที่ไม่ดีต่อแม่ แต่สุดท้าย รสา ได้ไปเห็นว่าแท้จริงแล้ว รสาเองก็โดนกัลยาหลอกใช้ เพื่อให้ได้เงินจากลูก ๆ ของเธอ
"ศศิ" เป็นตัวแทนของลูกที่ยอมรับอดีตของพ่อได้ และพร้อมจะเสียสละทุกอย่างให้พ่อได้ ศศิ เป็นตัวแทนของคนดีที่ตั้งรับสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างมีสติ ซึ่งเป็นคนละขั้วกับพี่สาวอย่างชัดเจน
"วรรรณฤดี" เป็นตัวแทนความยึดติดกับวัตถุ พร้อมจะทำทุกอย่างเพื่อให้ได้สิ่งที่ตัวเองต้องการ ถึงขนาดไม่สนใจใยดีกับชีวิตพ่อ สุดท้ายเพลิงของความโลภ และริษยาของวรรณฤดีก็แผดเผาตัวเอง ทำให้ต้องแท้งลูก โดนสามีทรยศ และเป็นบ้าในที่สุด เพราะไม่ยอมปล่อยวาง
นอกจากข้อคิดต่าง ๆ ที่ได้จากละครเรื่องนี้แล้ว ขอชื่นชมนักแสดงมากความสามารถทุกคนที่ทำให้เชื่อว่าเป็นตัวละครตัวนั้นจริง ๆ ทั้ง ชานนท์ อ๋อม, รสา มิน, ศศิ เพลง, อภิรักษ์ ไต้ฝุ่น, วรรณฤดี ส้ม, เฉลิม คุณสันติสุข, กัลยา คุณปู, คุณปรม คุณฮั่นนี่, คุณจันทร์ คุณดวงใจ, พานิช, ธัชชัย เจ จินตัย, มนัส ที่แสดงได้อย่างสมบทบาทกันทุกคนจริงๆ ขอยกนิ้วให้กับทีมนักแสดง "ลูกไม้ไกลต้น" ทุกคนล้วนมีบทบาทสำคัญในเรื่องและรับผิดชอบบทได้ดี
ในส่วนขององค์ประกอบต่าง ๆ ของละครที่ทำให้ละครสนุก คือ การตัดต่อ, ซาวน์ประกอบต่างๆ , เพลงประกอบ ล้วนยิงมาได้ถูกที่ถูกเวลาตลอด ขอชื่นชมและเป็นกำลังใจให้กับทีมงานทุกๆ ท่านด้วยค่ะ
สุดท้ายขอขอบคุณทุกสิ่งทุกอย่างและทุกคนที่เกี่ยวข้องกับ "ลูกไม้ไกลต้น" ละครรีเมคคุณภาพอีกเรื่องหนึ่งที่มีคุณค่า ให้แง่คิดดี ๆ กับสังคม และขอเป็นกำลังใจให้สร้างผลงานดี ๆ และพัฒนางานชิ้นต่อไปให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไปค่ะ