ที่มา คอลัมน์ สรรหา มาเล่า มติชนรายวันหน้า 18
เผยแพร่ 27 ส.ค. 59
ขณะที่ทุกวันนี้ “อินเตอร์เน็ต” ช่วยให้คนเราสามารถรู้ไปหมดทุกเรื่องที่อยากรู้ เพราะไม่ว่าอยากรู้เรื่องอะไร เราก็สามารถค้นหาคำตอบได้ใน “กูเกิล” หรือตามช่องทางโซเชียลอื่นๆ ที่ล้วนมีคำตอบให้ แต่จะเป็นคำตอบที่ผิดหรือถูกนั้น เป็นอีกเรื่องที่ต้องใช้วิจารณญาณ และการค้นหาข้อมูลอื่นๆ ประกอบอีก ซึ่งบางคนอาจจะทำบางคนอาจจะไม่ทำ
แต่ที่น่าฉุกคิดก็คือ ล่าสุดมีผลการศึกษาจากนักจิตวิทยาที่ออกมาเตือนว่าพฤติกรรมที่เราใช้อินเตอร์เน็ตกันอยู่ทุกวันนี้ อาจทำให้คนเรา “โง่” ลง เนื่องจากไม่ได้ใช้สมองในการคิดหาคำตอบ พออยากรู้เรื่องอะไรก็พึ่งอินเตอร์เน็ต พึ่งกูเกิล จึงทำให้เกิดความเคยชินทำให้สมองไม่ได้รับการกระตุ้นไม่มีการพัฒนา
ทั้งนี้ จากรายงานของหนังสือเมโทรของอังกฤษ อ้างผลการศึกษาของ ดอกเตอร์เบนจามิน สตรอม และเพื่อนทีมงาน ที่ศึกษาถึงประเด็นนี้ลงตีพิมพ์ในนิตยสารชื่อ Memory เล่าว่า ได้ศึกษาในกลุ่มตัวอย่าง แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม โดยให้ชุดคำถามง่ายๆ แก่กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มไปหาคำตอบ โดยให้กลุ่มตัวอย่างกลุ่มแรก สามารถค้นหาคำตอบได้ในกูเกิล แต่กลุ่มตัวอย่างที่สองให้คิดหาคำตอบเอง ห้ามพึ่ง “กูเกิล” ในการค้นหาคำตอบเด็ดขาด
หลังจากนั้น ทางทีมงานของดอกเตอร์สตรอมก็จะทดสอบอีกครั้ง โดยใช้ชุดคำถามที่สอง ซึ่งเป็นชุดคำถามที่ง่ายยิ่งกว่าชุดคำถามชุดแรกให้กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มไปคิดหาคำตอบ โดยเปิดโอกาสให้กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่ม จะเลือกใช้วิธีใดในการหาคำตอบก็ได้ จะพึ่งอินเตอร์เน็ตหรือจะพึ่งสมองของตัวเองก็ได้
ซึ่งผลปรากฏว่า กลุ่มตัวอย่างแรกที่เคยชินกับการค้นหาคำตอบจากกูเกิล ก็ยังพึ่งคำตอบจากกูเกิลเหมือนเดิม ขณะที่กลุ่มตัวอย่างที่สองที่เคยพึ่งการคิดหาคำตอบด้วยตัวเอง หรือวิธีที่ไม่พึ่งอินเตอร์เน็ตก็มีแนวโน้มที่จะคิดหาคำตอบด้วยตัวเองอย่างที่เคยทำมาและนี่เองที่เป็นเหตุผลที่ทำให้ดอกเตอร์สตรอมเตือนว่า อินเตอร์เน็ตอาจสร้างพฤติกรรมความเคยชินที่อาจทำให้เราโง่ลง เนื่องจากเราเคยชินกับการหาคำตอบโดยไม่พึ่งการค้นคิดจากสมองของเราดูก่อน
บทความจาก : มติชนออนไลน์
http://www.matichon.co.th/news/264586
ข่าวร้าย… อินเตอร์เน็ตอาจทำให้เรา ‘โง่’ ลง!!!
ที่มา คอลัมน์ สรรหา มาเล่า มติชนรายวันหน้า 18
เผยแพร่ 27 ส.ค. 59
ขณะที่ทุกวันนี้ “อินเตอร์เน็ต” ช่วยให้คนเราสามารถรู้ไปหมดทุกเรื่องที่อยากรู้ เพราะไม่ว่าอยากรู้เรื่องอะไร เราก็สามารถค้นหาคำตอบได้ใน “กูเกิล” หรือตามช่องทางโซเชียลอื่นๆ ที่ล้วนมีคำตอบให้ แต่จะเป็นคำตอบที่ผิดหรือถูกนั้น เป็นอีกเรื่องที่ต้องใช้วิจารณญาณ และการค้นหาข้อมูลอื่นๆ ประกอบอีก ซึ่งบางคนอาจจะทำบางคนอาจจะไม่ทำ
แต่ที่น่าฉุกคิดก็คือ ล่าสุดมีผลการศึกษาจากนักจิตวิทยาที่ออกมาเตือนว่าพฤติกรรมที่เราใช้อินเตอร์เน็ตกันอยู่ทุกวันนี้ อาจทำให้คนเรา “โง่” ลง เนื่องจากไม่ได้ใช้สมองในการคิดหาคำตอบ พออยากรู้เรื่องอะไรก็พึ่งอินเตอร์เน็ต พึ่งกูเกิล จึงทำให้เกิดความเคยชินทำให้สมองไม่ได้รับการกระตุ้นไม่มีการพัฒนา
ทั้งนี้ จากรายงานของหนังสือเมโทรของอังกฤษ อ้างผลการศึกษาของ ดอกเตอร์เบนจามิน สตรอม และเพื่อนทีมงาน ที่ศึกษาถึงประเด็นนี้ลงตีพิมพ์ในนิตยสารชื่อ Memory เล่าว่า ได้ศึกษาในกลุ่มตัวอย่าง แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม โดยให้ชุดคำถามง่ายๆ แก่กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มไปหาคำตอบ โดยให้กลุ่มตัวอย่างกลุ่มแรก สามารถค้นหาคำตอบได้ในกูเกิล แต่กลุ่มตัวอย่างที่สองให้คิดหาคำตอบเอง ห้ามพึ่ง “กูเกิล” ในการค้นหาคำตอบเด็ดขาด
หลังจากนั้น ทางทีมงานของดอกเตอร์สตรอมก็จะทดสอบอีกครั้ง โดยใช้ชุดคำถามที่สอง ซึ่งเป็นชุดคำถามที่ง่ายยิ่งกว่าชุดคำถามชุดแรกให้กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มไปคิดหาคำตอบ โดยเปิดโอกาสให้กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่ม จะเลือกใช้วิธีใดในการหาคำตอบก็ได้ จะพึ่งอินเตอร์เน็ตหรือจะพึ่งสมองของตัวเองก็ได้
ซึ่งผลปรากฏว่า กลุ่มตัวอย่างแรกที่เคยชินกับการค้นหาคำตอบจากกูเกิล ก็ยังพึ่งคำตอบจากกูเกิลเหมือนเดิม ขณะที่กลุ่มตัวอย่างที่สองที่เคยพึ่งการคิดหาคำตอบด้วยตัวเอง หรือวิธีที่ไม่พึ่งอินเตอร์เน็ตก็มีแนวโน้มที่จะคิดหาคำตอบด้วยตัวเองอย่างที่เคยทำมาและนี่เองที่เป็นเหตุผลที่ทำให้ดอกเตอร์สตรอมเตือนว่า อินเตอร์เน็ตอาจสร้างพฤติกรรมความเคยชินที่อาจทำให้เราโง่ลง เนื่องจากเราเคยชินกับการหาคำตอบโดยไม่พึ่งการค้นคิดจากสมองของเราดูก่อน
บทความจาก : มติชนออนไลน์
http://www.matichon.co.th/news/264586