[แปลและเรียบเรียงจากเว็บไซต์ข่าว livescience (
http://www.livescience.com/48343-fbi-targets-animal-cruelty-as-serious-crime.html)]
สำนักงานสอบสวนกลางของสหรัฐ (เอฟบีไอ) ยกการทารุณสัตว์ขึ้นเป็นอาชญากรรมขั้นร้ายแรงระดับเดียวกับการลอบวางเพลิง การย่องเบา การลักพาตัว การฆาตกรรม และอาชญากรรมอื่นๆ ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อสังคม นอกจากนี้ ตั้งแต่ราวเดือนมกราคม 2016 เป็นต้นไปจะมีการบันทึกคดีทารุณสัตว์เข้าฐานเก็บข้อมูลสถิติอาชญากรรมของประเทศ ที่เรียกว่า รายงานข้อมูลอาชญากรรมของทางราชการในสหรัฐ (Uniform Crime Reports หรือ ยูซีอาร์) ด้วย ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเลื่อนระดับความสำคัญของคดีทารุณสัตว์ขึ้นมา จากเดิมที่ถูกจัดให้อยู่ในหมวด “การกระทำผิดอื่นๆ” ซึ่งไม่ได้รับความสนใจจากเจ้าหน้าที่กฎหมายมากเท่า
การเปลี่ยนแปลงข้อกฎหมายในระดับชาติเช่นนี้มีที่มาที่ไป โดยหนึ่งในเหตุผลประกอบการตัดสินใจของเอฟบีไอก็คือหลักฐานงานวิจัยหลายชิ้นที่ระบุตรงกันว่า อาชญากรจำนวนมากที่ใช้ความรุนแรงกับมนุษย์นั้นมีประวัติการกระทำทารุณสัตว์มาก่อน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ คนที่ทารุณสัตว์นั้นมีแนวโน้มว่าจะทำร้ายมนุษย์คนอื่นๆ ด้วย ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ซึ่งเอฟบีไอตระหนักถึงความเชื่อมโยงข้อนี้มาเป็นระยะเวลานานนับทศวรรษแล้ว
จากการศึกษา เอฟบีไอพบว่าบรรดาฆาตกรต่อเนื่องอย่าง เจฟฟรีย์ ดาห์เมอร์ ซึ่งต้องโทษจำคุกตลอดชีวิตหลังฆ่า ข่มขืน ทรมาน หั่นศพ และกินเนื้อมนุษย์ โดยมีผู้เคราะห์ร้ายตกเป็นเหยื่อของเขาทั้งสิ้น 17 ราย มีประวัติการตัดหัวสุนัข แมว และกบมาเสียบไม้เล่นในวัยเด็ก ขณะที่ เดวิด เบอร์โควิทซ์ ผู้ออกอาละวาดฆ่าเหล่าหญิงสาวในนิวยอร์ก เคยวางยาพิษนกแก้วของแม่ตัวเอง ส่วน อัลเบิร์ต เดอ ซัลโว นักฆ่ารัดคอแห่งบอสตัน ที่ก่อคดีข่มขืนและสังหารหญิงชรานับสิบศพ ก็เคยขังสุนัขและแมวในลังไม้ แล้วฆ่าพวกมันด้วยการยิงธนูทะลุลัง
อลัน แบรนท์ลีย์ เจ้าหน้าที่พิเศษเอฟบีไอ เปิดเผยว่า ในการสัมภาษณ์ฆาตกรต่อเนื่อง 36 คน เรื่องการทารุณสัตว์ มีหลายคนเล่าว่าในวัยเด็กเคยฆ่าหรือทรมานสัตว์ และมีถึง 46 เปอร์เซ็นต์ที่ยอมรับว่าเคยทำร้ายสัตว์สมัยเป็นวัยรุ่น
...
การทารุณสัตว์กับความรุนแรงในครอบครัว
[แปลและเรียบเรียงจากเว็บไซต์
http://nationallinkcoalition.org/what-is-the-link]
ผู้เชี่ยวชาญในแวดวงที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงในครอบครัวต่างไม่ประหลาดใจอีกต่อไปแล้วเมื่อพบว่ามีบ่อยครั้งที่การทารุณสัตว์นั้นสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับการใช้ความรุนแรงในครอบครัว ไม่ว่าเหยื่อจะเป็นคู่ครอง เด็ก หรือผู้สูงอายุในบ้าน โดยที่มักมีปรากฏก็คือ ผู้ใช้ความรุนแรงอาจฆ่า ทำร้าย หรือขู่ว่าจะทำร้ายสัตว์เลี้ยง เพื่อแสดงความมีอำนาจเหนือเหยื่อ และเพื่อเชือดไก่ให้ลิงดู ผลที่ตามมา นอกจากความบาดเจ็บทางร่างกายและจิตใจ รวมถึงบางครั้งชีวิตของมนุษย์และสัตว์แล้ว ก็คือวงจรอุบาทว์ของความรุนแรง กล่าวคือเหยื่อเองก็อาจกลายเป็นผู้ใช้ความรุนแรงได้ในอนาคต และจากความรุนแรงในครอบครัวก็อาจลุกลามไปสู่ความรุนแรงในสังคมและประเทศชาติต่อไป
เมื่อเด็กทำร้ายสัตว์ จึงอาจหมายความได้ว่า เด็กคนนั้นอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีความรุนแรง หรือเป็นสัญญาณเริ่มต้นบ่งชี้ความผิดปกติทางภาวะจิต ซึ่งต้องได้รับการเอาใจใส่จากผู้เชี่ยวชาญเพื่อป้องกันไม่ให้กลายเป็นภัยของสังคมต่อไปในอนาคต
สรุป (ผ่านการตีความของผู้เรียบเรียงแล้ว)
1) คนที่ทารุณสัตว์มีแนวโน้มว่าจะทำร้ายมนุษย์ด้วย โดยอาจจะทำอยู่หรือทำในอนาคต
2) เด็กที่ทารุณสัตว์ อาจเป็นเด็กมีปัญหา หรือมีความผิดปกติทางภาวะจิต ซึ่งต้องได้รับการดูแลโดยไม่ล่าช้า
3) ผู้ใหญ่ที่ทารุณสัตว์ อาจเป็นเด็กมีปัญหามาก่อน มีความผิดปกติทางภาวะจิต เป็นบุคคลอันตราย
เอฟบีไอจัดทารุณสัตว์เป็นอาชญากรรมร้ายแรง หลังงานวิจัยเผยคนทารุณสัตว์มีแนวโน้มทำร้ายมนุษย์
สำนักงานสอบสวนกลางของสหรัฐ (เอฟบีไอ) ยกการทารุณสัตว์ขึ้นเป็นอาชญากรรมขั้นร้ายแรงระดับเดียวกับการลอบวางเพลิง การย่องเบา การลักพาตัว การฆาตกรรม และอาชญากรรมอื่นๆ ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อสังคม นอกจากนี้ ตั้งแต่ราวเดือนมกราคม 2016 เป็นต้นไปจะมีการบันทึกคดีทารุณสัตว์เข้าฐานเก็บข้อมูลสถิติอาชญากรรมของประเทศ ที่เรียกว่า รายงานข้อมูลอาชญากรรมของทางราชการในสหรัฐ (Uniform Crime Reports หรือ ยูซีอาร์) ด้วย ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเลื่อนระดับความสำคัญของคดีทารุณสัตว์ขึ้นมา จากเดิมที่ถูกจัดให้อยู่ในหมวด “การกระทำผิดอื่นๆ” ซึ่งไม่ได้รับความสนใจจากเจ้าหน้าที่กฎหมายมากเท่า
การเปลี่ยนแปลงข้อกฎหมายในระดับชาติเช่นนี้มีที่มาที่ไป โดยหนึ่งในเหตุผลประกอบการตัดสินใจของเอฟบีไอก็คือหลักฐานงานวิจัยหลายชิ้นที่ระบุตรงกันว่า อาชญากรจำนวนมากที่ใช้ความรุนแรงกับมนุษย์นั้นมีประวัติการกระทำทารุณสัตว์มาก่อน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ คนที่ทารุณสัตว์นั้นมีแนวโน้มว่าจะทำร้ายมนุษย์คนอื่นๆ ด้วย ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ซึ่งเอฟบีไอตระหนักถึงความเชื่อมโยงข้อนี้มาเป็นระยะเวลานานนับทศวรรษแล้ว
จากการศึกษา เอฟบีไอพบว่าบรรดาฆาตกรต่อเนื่องอย่าง เจฟฟรีย์ ดาห์เมอร์ ซึ่งต้องโทษจำคุกตลอดชีวิตหลังฆ่า ข่มขืน ทรมาน หั่นศพ และกินเนื้อมนุษย์ โดยมีผู้เคราะห์ร้ายตกเป็นเหยื่อของเขาทั้งสิ้น 17 ราย มีประวัติการตัดหัวสุนัข แมว และกบมาเสียบไม้เล่นในวัยเด็ก ขณะที่ เดวิด เบอร์โควิทซ์ ผู้ออกอาละวาดฆ่าเหล่าหญิงสาวในนิวยอร์ก เคยวางยาพิษนกแก้วของแม่ตัวเอง ส่วน อัลเบิร์ต เดอ ซัลโว นักฆ่ารัดคอแห่งบอสตัน ที่ก่อคดีข่มขืนและสังหารหญิงชรานับสิบศพ ก็เคยขังสุนัขและแมวในลังไม้ แล้วฆ่าพวกมันด้วยการยิงธนูทะลุลัง
อลัน แบรนท์ลีย์ เจ้าหน้าที่พิเศษเอฟบีไอ เปิดเผยว่า ในการสัมภาษณ์ฆาตกรต่อเนื่อง 36 คน เรื่องการทารุณสัตว์ มีหลายคนเล่าว่าในวัยเด็กเคยฆ่าหรือทรมานสัตว์ และมีถึง 46 เปอร์เซ็นต์ที่ยอมรับว่าเคยทำร้ายสัตว์สมัยเป็นวัยรุ่น
...
การทารุณสัตว์กับความรุนแรงในครอบครัว
[แปลและเรียบเรียงจากเว็บไซต์ http://nationallinkcoalition.org/what-is-the-link]
ผู้เชี่ยวชาญในแวดวงที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงในครอบครัวต่างไม่ประหลาดใจอีกต่อไปแล้วเมื่อพบว่ามีบ่อยครั้งที่การทารุณสัตว์นั้นสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับการใช้ความรุนแรงในครอบครัว ไม่ว่าเหยื่อจะเป็นคู่ครอง เด็ก หรือผู้สูงอายุในบ้าน โดยที่มักมีปรากฏก็คือ ผู้ใช้ความรุนแรงอาจฆ่า ทำร้าย หรือขู่ว่าจะทำร้ายสัตว์เลี้ยง เพื่อแสดงความมีอำนาจเหนือเหยื่อ และเพื่อเชือดไก่ให้ลิงดู ผลที่ตามมา นอกจากความบาดเจ็บทางร่างกายและจิตใจ รวมถึงบางครั้งชีวิตของมนุษย์และสัตว์แล้ว ก็คือวงจรอุบาทว์ของความรุนแรง กล่าวคือเหยื่อเองก็อาจกลายเป็นผู้ใช้ความรุนแรงได้ในอนาคต และจากความรุนแรงในครอบครัวก็อาจลุกลามไปสู่ความรุนแรงในสังคมและประเทศชาติต่อไป
เมื่อเด็กทำร้ายสัตว์ จึงอาจหมายความได้ว่า เด็กคนนั้นอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีความรุนแรง หรือเป็นสัญญาณเริ่มต้นบ่งชี้ความผิดปกติทางภาวะจิต ซึ่งต้องได้รับการเอาใจใส่จากผู้เชี่ยวชาญเพื่อป้องกันไม่ให้กลายเป็นภัยของสังคมต่อไปในอนาคต
สรุป (ผ่านการตีความของผู้เรียบเรียงแล้ว)
1) คนที่ทารุณสัตว์มีแนวโน้มว่าจะทำร้ายมนุษย์ด้วย โดยอาจจะทำอยู่หรือทำในอนาคต
2) เด็กที่ทารุณสัตว์ อาจเป็นเด็กมีปัญหา หรือมีความผิดปกติทางภาวะจิต ซึ่งต้องได้รับการดูแลโดยไม่ล่าช้า
3) ผู้ใหญ่ที่ทารุณสัตว์ อาจเป็นเด็กมีปัญหามาก่อน มีความผิดปกติทางภาวะจิต เป็นบุคคลอันตราย