คู่ผสม
ประเภทนี้น่าตื่นเต้นน้อยที่สุด ไม่มีคู่ที่โดดเด่นเป็นพิเศษก่อนการแข่งขัน Ahmad/Natsir มือวางอันดับ 3 เล่นได้อย่างยอดเยี่ยมโดยไม่เสียเกมส์ให้ใคร สามารถคว้าเหรียญทองคู่ผสมในโอลิมปิคเป็นครั้งแรกให้อินโดนีเซีย พร้อมกับฉลองวันชาติ 17 สิงหาคม ซึ่งตรงกับวันชิงชนะเลิศ
คู่ผสมมาเลเซีย Chan Peng Soon/Goh Liu Ying ทำผลงานได้ค่อนข้างดีหลายรายการในปีนี้ คะแนนสะสมอยู่ในอันดับ 8 จาก 16 ทีม การเข้ามาถึงรอบชิงฯถือว่าทะลุเป้าหมายมาก NST Malaysia แปลข้อความภาษาแมนดารินจาก Facebook ของ Goh Liu Ying ถึงความเป็นรองว่า
“I am just Goh Liu Ying, I did not have a good track record like the Chinese team; I did not have the steady performance as the South Koreans; I did not have a tactical strategy as the European team I did not have the experiences like Indonesian team.”
“I am Goh Liu Ying, I am the Rio Olympics badminton mixed doubles silver medallist. This will make me proud for the rest of my life.”
คู่ผสมจีนที่เป็นคู่ชิงเหรียญทองกันเองใน London 2012 กลับต้องชิงเหรียญทองแดงกันเองในครั้งนี้ ที่น่าผิดหวังคือคู่ Zhang Nan/Zhao Yun Lei แชมป์เก่าและแชมป์โลก 3 สมัยที่ครองมือหนึ่งอย่างยาวนานไม่สามารถผ่านถึงรอบชิงฯได้ ปัญหาอาการบาดเจ็บและความสัมพันธ์ส่วนตัวของทั้งสองคนน่าจะมีผลกระทบต่อผลงานในระยะหลัง
หญิงคู่
Matsutomo/Takahashi ได้เหรียญทองไปตามคาดหมายแบบใจหายใจคว่ำ เป็นความเหมาะสมสำหรับมือวางอันดับหนึ่งจากญี่ปุ่นที่สร้างผลงานได้อย่างสม่ำเสมอ
Juhl/Pedersen คู่เขี้ยวลากดินจากเดนมาร์กเกือบสร้างประวัติศาสตร์คว้าเหรียญทองแรกประเภทหญิงกลับประเทศ ถ้าไม่พลาดในท้ายเกมส์ตัดสิน
หญิงคู่จีนล้มเหลวโดยสิ้นเชิง แชมป์โอลิมปิค 5 สมัยติดต่อกันไม่ได้แม้แต่เหรียญทองแดง การสลับคู่จนดูสับสนเหมือนลวงคู่แข่งไม่ประสบผลประการใด คู่แฝดตระกูล Luo ที่ได้เข้ามาแข่งแทนคู่แชมป์เก่าและมือหนึ่งของจีน (Tian Qing/Zhao Yun Lei) ถูกจับอยู่ใน Group of Death ไม่สามารถผ่านรอบแบ่งกลุ่มได้ Yu Yang/Tang Yuan Ting แพ้คู่เดนส์ในรอบรองฯอย่างเฉียดฉิว 1 ต่อ 2 เกมส์ และแพ้ในรอบชิงเหรียญทองแดงแบบหมดไฟ
ชายคู่
เป็นประเภทที่พลิกล๊อคมากที่สุด ตัวเต็งประเภทนี้ล้วนตกรอบไปก่อนเวลาอันควร คู่ชิงฯไม่ได้อยู่ในความคาดหมายต้นๆว่าจะคว้าแชมป์ Fu Hai Feng/Zhang Nan สามารถโกงความตายได้สองครั้งในรอบ QF กับคู่ 2 Kim และรอบชิงชนะเลิศ
รอบชิงฯเป็นการรีแมทช์อีกครั้งจากรอบแบ่งกลุ่ม ซึ่งคู่มาเลเซียเคยชนะ 2 ต่อ 1 เกมส์ Goh V Shem/Tan Wee Kiong อันดับ 8 ของรายการ ทำเหรียญทองหล่นแบบน่าเจ็บใจ โยนทิ้งแมทช์พ๊อยท์สองครั้งจากการเสิร์ฟเสียของทั้งคู่ แถมยังยื่นกลับแมทช์พ๊อยท์ให้คู่แข่งด้วยการตีใส่คอร์ทเปิดโล่งออกหลัง นอกจากฝีมือแล้วโชคชะตาคือผู้กำหนดแชมป์
คู่อังกฤษ Marcus Ellis/Chris Langridge สามารถสร้างบิ๊กเซอร์ไพร๊ส์ผ่านถึงรอบรองฯ และคว้าเหรียญทองแดงด้วยการชนะคู่ Chai Biao/Hong Wei
หญิงเดี่ยว
โอลิมปิคครั้งนี้เป็นความสำเร็จของแบดมินตันสาย Super Power พลังกระทิง พลังม้า ที่ปราดเปรียว ว่องไว และดุดัน ทั้งสายเทพสายลากสายอึดล้วนต้องพ่ายแพ้ไป จีนได้เหรียญทองติดต่อกัน 4 สมัยตั้งแต่ Sydney 2000 ครั้งนี้ไม่ได้เหรียญรางวัลใดเลย
PV Sindhu ปราบมือวางทั้ง Tai Tzu Ying, Wang Yi Han, Nozomi Okuhara ในรายการเดียวกัน และเล่นได้สนุกสูสีกับ Carolina Marin ในรอบชิงฯ เธอจะเป็นที่จับตาของแฟนแบดมินตันทั่วโลกในโอกาสต่อไป นอกจากนี้เธอยังเป็นคนแรกที่สามารถคว้าเหรียญเงินแบดมินตันให้อินเดีย
Carolina Marin ฟอร์มดร็อปลงไปในรายการก่อนหน้าโอลิมปิค การจัดสายมีส่วนช่วยให้ไม่พบคู่แข่งที่ยากลำบากมากนักเมื่อเปรียบกับ Sindhu อุปสรรคสำคัญมีเพียงรอบรองฯที่เจอกับ Li Xue Rui ซึ่งเลยจุดสูงสุดมาแล้ว ซ้ำโชคร้ายได้รับบาดเจ็บที่เข่าระหว่างแข่งขัน ประวัติศาสตร์อาจซ้ำรอยกับที่เสีย Wang Xin ใน London 2012 Marin เล่นรอบชิงด้วยฟอร์มที่ยอดเยี่ยม แม้สถิติเธอจะตีเสียเองมากกว่าแต่เธอก็สามารถทำแต้มเองอย่างเป็นกอบเป็นกำ
อย่างไรก็ตามหญิงเดี่ยวยุคนี้ไม่มีแชมป์ที่สามารถยืนระยะได้ยาวๆ มักสลับหน้ากันขึ้นมาจนคาดไม่ออก โอกาสยังปิดกว้างกับ Top 10 ทุกคนสำหรับรายการต่อๆไป
พูดถึงหญิงเดี่ยว ขอพูดถึงขวัญใจชาวไทย Ratchanok Intanon หลายครั้งที่น้องเมย์ได้แชมป์รายการใหญ่ต้องยอมรับว่าการจัดสายมีส่วนช่วยเอื้ออำนวย ครั้งนี้โชคไม่ดีที่ไม่ถูกจับฉลากบายรอบ 16 คน แถมยังมาเจอกับตุ๊กตาญี่ปุ่นที่ไม่ใช่หมูให้เคี้ยว วันนั้นน้องเมย์เล่นลักษณะกดดันไม่เป็นธรรมชาติและเล่นเข้าทางคู่แข่งขันโดยเฉพาะท้ายเกมส์แรกคือจุดเปลี่ยนสำคัญ จุดอ่อนของน้องเมย์คือไม่ถนัดเล่นเกมส์เร็ว เรื่องที่ต้องพัฒนาคือการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อดูได้จากสภาพร่างกายของคู่ชิง ส่วนสภาพจิตใจพัฒนาดีขึ้นบ้าง แต่อยากให้ได้อย่าง Wang Yi Han
ชายเดี่ยว
3 เทพยุคปัจจุบันกับอีกหนึ่งดาวรุ่งจากเดนมาร์กผ่านเข้ารอบรองฯ ได้ตามความคาดหมาย นับเป็นความโชคดีของผู้ชมแบดมินตันในยุคนี้ที่มีโอกาสได้เป็นประจักษ์พยานแมตช์ประวัติศาตร์ที่สนุกตื่นเต้นและยิ่งใหญ่โดยเฉพาะในโอลิมปิคเกมส์ระหว่างสามเทพนี้
Lin Dan งัดฟอร์มสุดยอดมาเล่นกับ Lee Chong Wei คู่ต่อสู้สำคัญตลอดกาลในรอบรองฯ สามารถยันสามแมทช์พ๊อยท์ได้อย่างเหลือเชื่อในเกมส์ตัดสินแต่โชคดีที่ย้ำแค้นไม่สำเร็จ มิฉะนั้นเราจะไม่ได้ดูรอบชิงฯที่สนุกตื่นเต้นกว่าการเข้าชิงกันเอง เขาคงจะประกาศอนาคตของตนเองในเร็วๆนี้ การเป็นโค้ชไม่ใช่เรื่องที่น่าสนใจตามที่เขาเคยบอกไว้ ลักษณะการมีพฤติกรรมแบบ Superstar หรือ Celebrity อาจทำให้เขาตัดสินใจทำธุรกิจ เราอาจได้เห็นแร็คเก็ตแบดมินตัน “Lin Dan” ในอนาคต สามีภรรยาเป็น Brand Ambassadors ประหยัดไปได้เยอะ (มโนเองล้วนๆ)
Lee Chong Wei แม้จะปลดล๊อค Lin Dan ในโอลิมปิคได้ ดีใจเหมือนได้แชมป์ แต่ต้องมาเผชิญหน้ากับอีกหนึ่งมังกรจีนที่ขวางสกัดไว้ในรอบชิงฯ การเล่นสามเกมส์ในรอบรองฯ ได้บั่นทอนพละกำลังลงไป และต้องเล่นด้วยความกดดันในรอบชิงฯ LCW ไม่สามารถเล่นเกมส์รุกที่ถนัดได้มากนัก จึงเห็นการทำแต้มจาก smash winner อาวุธสำคัญน้อยมาก แต่การได้เข้าชิงโอลิมปิคสามครั้งติดต่อกันเป็นเรื่องที่ยากมากแล้ว
Chen Long ชนะ LCW ครั้งสุดท้ายในรอบชิงฯศึกชิงแชมป์โลก 2015 เมื่อ 1 ปีเต็มมาแล้ว จากนั้นแพ้ 4 รายการติดต่อกันก่อนถึงโอลิมปิค จึงดูเป็นรองก่อนการแข่งขัน Chen Long เล่นได้อย่างยอดเยี่ยมในรอบชิงฯ ด้วยความได้เปรียบสภาพร่างกาย ประกอบกับเกมส์รับที่เหนียวแน่นกว่าปกติอย่างน่าอัศจรรย์เปิดโอกาสให้เล่นโต้กลับอย่างได้เปรียบ และยังเล่นได้ตามแผนที่วางไว้ สามารถควบคุมเกมส์และสกัดเกมส์รุกของ LCW อย่างได้ผล แต่ CL ยังต้องใช้เวลาสั่งสมบารมีพิสูจน์ความเป็นมหาเทพระดับเดียวกับ LD และ LCW
Viktor Axelsen สามารถคว้าเหรียญทองแดงโอลิมปิคได้ในวัย 22 ปี Tokyo 2020 น่าจะเป็นโอกาสที่ดีมากของเขา การเพิ่งคว้าแชมป์ Thomas Cup 2016 และเหรียญทองแดงโอลิมปิคตลอดจนประสบการณ์ที่เพิ่มขึ้นจะช่วยสร้างความมั่นใจในการเล่นของเขาให้มากยิ่งขึ้น
คู่แข่งขันที่สนุกตื่นเต้นเร้าใจมากที่สุดตามความเห็นส่วนตัว ได้แก่
Chen Long vs. Lee Chong Wei รอบชิงฯ
Fu Hai Feng/Zhang Nan vs. Goh V Shem/Tan Wee Kiong รอบชิงฯ
Matsutomo/Takahashi vs. Juhl/Pedersen รอบชิงฯ
Lee Chong Wei vs. Lin Dan รอบรองฯ
Fu Hai Feng/Zhang Nan vs KIM Gi Jung/KIM Sa Rang รอบ QF
สรุปโอลิมปิคครั้งนี้ยังเป็น tournament ที่ยอดเยี่ยม ชายเดี่ยวยังคงเป็นสีสันที่โดดเด่น ผลงานแบดมินตันจีนอาจจะดูล้มเหลวเมื่อเปรียบเทียบกับ London 2012 แต่การได้แชมป์ชายเดี่ยวสามารถชดเชยความผิดหวังลงไปได้มาก และไม่บ่อยนักที่จะได้เห็นหมวกดำลงไปกำกับข้างสนามด้วยตัวเองในหลายแมทซ์สำคัญ อีกชาติที่ผิดหวังคือเกาหลี ชายคู่มือวางอันดับหนึ่งแพ้พลิกล๊อคคู่มาเลเซียตกรอบ QF ยังดีที่ได้เหรียญทองแดงจากหญิงคู่กู้หน้าไว้ Lee Yong Dae และ Lee Chong Wei ยังคงอยู่ในสถานะเดียวกันเป็น “ราชันที่ไร้มงกุฎ” ทั้งแชมป์โลกและแชมป์โอลิมปิค ความสำเร็จของคู่ผสมและชายคู่ของมาเลเซียน่าจะเป็นแรงบันดาลใจให้กับนักแบดมินตันไทยได้
การที่เหรียญรางวัลกระจายไปหลายๆชาติ ทำให้การแข่งขันสนุกและน่าติดตามมากยิ่งขึ้น นักแบดมินตันจากยุโรปสร้างความประหลาดใจสามารถเล่นได้ดีกว่าที่คาดไว้หลายประเภท หวังว่าในอนาคตจะมีนักแบดมินตันยุโรปหลายๆชาติเข้ามาเขย่าบัลลังค์นักแบดมินตันเอเซียเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ Rio 2016 เป็นจุดเปลี่ยนผ่านที่นักแบดมินตันชั้นนำหลายๆคนถึงเวลาจะเลิกเล่นไป พบกันใหม่ที่ Tokyo 2020
สรุปเหรียญ Olympic Rio 2016
XD : ทอง อินโดนีเซีย, เงิน มาเลเซีย, ทองแดง จีน
WD : ทอง ญี่ปุ่น, เงิน เดนมาร์ก, ทองแดง เกาหลี
MD : ทอง จีน, เงิน มาเลเซีย, ทองแดง อังกฤษ
WS : ทอง สเปน, เงิน อินเดีย. ทองแดง ญี่ปุ่น
MS : ทอง จีน, เงิน มาเลเซีย, ทองแดง เดนมาร์ก
จีน 2 ทอง 1 ทองแดง
ญี่ปุ่น 1 ทอง 1 ทองแดง
อินโดนีเซีย 1 ทอง
สเปน 1 ทอง
มาเลเซีย 3 เงิน
เดนมาร์ก 1 เงิน 1 ทองแดง
อินเดีย 1 เงิน
เกาหลี 1 ทองแดง
อังกฤษ 1 ทองแดง
ไทย -
บทสรุปแบดมินตัน Olympic Rio 2016
ประเภทนี้น่าตื่นเต้นน้อยที่สุด ไม่มีคู่ที่โดดเด่นเป็นพิเศษก่อนการแข่งขัน Ahmad/Natsir มือวางอันดับ 3 เล่นได้อย่างยอดเยี่ยมโดยไม่เสียเกมส์ให้ใคร สามารถคว้าเหรียญทองคู่ผสมในโอลิมปิคเป็นครั้งแรกให้อินโดนีเซีย พร้อมกับฉลองวันชาติ 17 สิงหาคม ซึ่งตรงกับวันชิงชนะเลิศ
คู่ผสมมาเลเซีย Chan Peng Soon/Goh Liu Ying ทำผลงานได้ค่อนข้างดีหลายรายการในปีนี้ คะแนนสะสมอยู่ในอันดับ 8 จาก 16 ทีม การเข้ามาถึงรอบชิงฯถือว่าทะลุเป้าหมายมาก NST Malaysia แปลข้อความภาษาแมนดารินจาก Facebook ของ Goh Liu Ying ถึงความเป็นรองว่า
“I am just Goh Liu Ying, I did not have a good track record like the Chinese team; I did not have the steady performance as the South Koreans; I did not have a tactical strategy as the European team I did not have the experiences like Indonesian team.”
“I am Goh Liu Ying, I am the Rio Olympics badminton mixed doubles silver medallist. This will make me proud for the rest of my life.”
คู่ผสมจีนที่เป็นคู่ชิงเหรียญทองกันเองใน London 2012 กลับต้องชิงเหรียญทองแดงกันเองในครั้งนี้ ที่น่าผิดหวังคือคู่ Zhang Nan/Zhao Yun Lei แชมป์เก่าและแชมป์โลก 3 สมัยที่ครองมือหนึ่งอย่างยาวนานไม่สามารถผ่านถึงรอบชิงฯได้ ปัญหาอาการบาดเจ็บและความสัมพันธ์ส่วนตัวของทั้งสองคนน่าจะมีผลกระทบต่อผลงานในระยะหลัง
หญิงคู่
Matsutomo/Takahashi ได้เหรียญทองไปตามคาดหมายแบบใจหายใจคว่ำ เป็นความเหมาะสมสำหรับมือวางอันดับหนึ่งจากญี่ปุ่นที่สร้างผลงานได้อย่างสม่ำเสมอ
Juhl/Pedersen คู่เขี้ยวลากดินจากเดนมาร์กเกือบสร้างประวัติศาสตร์คว้าเหรียญทองแรกประเภทหญิงกลับประเทศ ถ้าไม่พลาดในท้ายเกมส์ตัดสิน
หญิงคู่จีนล้มเหลวโดยสิ้นเชิง แชมป์โอลิมปิค 5 สมัยติดต่อกันไม่ได้แม้แต่เหรียญทองแดง การสลับคู่จนดูสับสนเหมือนลวงคู่แข่งไม่ประสบผลประการใด คู่แฝดตระกูล Luo ที่ได้เข้ามาแข่งแทนคู่แชมป์เก่าและมือหนึ่งของจีน (Tian Qing/Zhao Yun Lei) ถูกจับอยู่ใน Group of Death ไม่สามารถผ่านรอบแบ่งกลุ่มได้ Yu Yang/Tang Yuan Ting แพ้คู่เดนส์ในรอบรองฯอย่างเฉียดฉิว 1 ต่อ 2 เกมส์ และแพ้ในรอบชิงเหรียญทองแดงแบบหมดไฟ
ชายคู่
เป็นประเภทที่พลิกล๊อคมากที่สุด ตัวเต็งประเภทนี้ล้วนตกรอบไปก่อนเวลาอันควร คู่ชิงฯไม่ได้อยู่ในความคาดหมายต้นๆว่าจะคว้าแชมป์ Fu Hai Feng/Zhang Nan สามารถโกงความตายได้สองครั้งในรอบ QF กับคู่ 2 Kim และรอบชิงชนะเลิศ
รอบชิงฯเป็นการรีแมทช์อีกครั้งจากรอบแบ่งกลุ่ม ซึ่งคู่มาเลเซียเคยชนะ 2 ต่อ 1 เกมส์ Goh V Shem/Tan Wee Kiong อันดับ 8 ของรายการ ทำเหรียญทองหล่นแบบน่าเจ็บใจ โยนทิ้งแมทช์พ๊อยท์สองครั้งจากการเสิร์ฟเสียของทั้งคู่ แถมยังยื่นกลับแมทช์พ๊อยท์ให้คู่แข่งด้วยการตีใส่คอร์ทเปิดโล่งออกหลัง นอกจากฝีมือแล้วโชคชะตาคือผู้กำหนดแชมป์
คู่อังกฤษ Marcus Ellis/Chris Langridge สามารถสร้างบิ๊กเซอร์ไพร๊ส์ผ่านถึงรอบรองฯ และคว้าเหรียญทองแดงด้วยการชนะคู่ Chai Biao/Hong Wei
หญิงเดี่ยว
โอลิมปิคครั้งนี้เป็นความสำเร็จของแบดมินตันสาย Super Power พลังกระทิง พลังม้า ที่ปราดเปรียว ว่องไว และดุดัน ทั้งสายเทพสายลากสายอึดล้วนต้องพ่ายแพ้ไป จีนได้เหรียญทองติดต่อกัน 4 สมัยตั้งแต่ Sydney 2000 ครั้งนี้ไม่ได้เหรียญรางวัลใดเลย
PV Sindhu ปราบมือวางทั้ง Tai Tzu Ying, Wang Yi Han, Nozomi Okuhara ในรายการเดียวกัน และเล่นได้สนุกสูสีกับ Carolina Marin ในรอบชิงฯ เธอจะเป็นที่จับตาของแฟนแบดมินตันทั่วโลกในโอกาสต่อไป นอกจากนี้เธอยังเป็นคนแรกที่สามารถคว้าเหรียญเงินแบดมินตันให้อินเดีย
Carolina Marin ฟอร์มดร็อปลงไปในรายการก่อนหน้าโอลิมปิค การจัดสายมีส่วนช่วยให้ไม่พบคู่แข่งที่ยากลำบากมากนักเมื่อเปรียบกับ Sindhu อุปสรรคสำคัญมีเพียงรอบรองฯที่เจอกับ Li Xue Rui ซึ่งเลยจุดสูงสุดมาแล้ว ซ้ำโชคร้ายได้รับบาดเจ็บที่เข่าระหว่างแข่งขัน ประวัติศาสตร์อาจซ้ำรอยกับที่เสีย Wang Xin ใน London 2012 Marin เล่นรอบชิงด้วยฟอร์มที่ยอดเยี่ยม แม้สถิติเธอจะตีเสียเองมากกว่าแต่เธอก็สามารถทำแต้มเองอย่างเป็นกอบเป็นกำ
อย่างไรก็ตามหญิงเดี่ยวยุคนี้ไม่มีแชมป์ที่สามารถยืนระยะได้ยาวๆ มักสลับหน้ากันขึ้นมาจนคาดไม่ออก โอกาสยังปิดกว้างกับ Top 10 ทุกคนสำหรับรายการต่อๆไป
พูดถึงหญิงเดี่ยว ขอพูดถึงขวัญใจชาวไทย Ratchanok Intanon หลายครั้งที่น้องเมย์ได้แชมป์รายการใหญ่ต้องยอมรับว่าการจัดสายมีส่วนช่วยเอื้ออำนวย ครั้งนี้โชคไม่ดีที่ไม่ถูกจับฉลากบายรอบ 16 คน แถมยังมาเจอกับตุ๊กตาญี่ปุ่นที่ไม่ใช่หมูให้เคี้ยว วันนั้นน้องเมย์เล่นลักษณะกดดันไม่เป็นธรรมชาติและเล่นเข้าทางคู่แข่งขันโดยเฉพาะท้ายเกมส์แรกคือจุดเปลี่ยนสำคัญ จุดอ่อนของน้องเมย์คือไม่ถนัดเล่นเกมส์เร็ว เรื่องที่ต้องพัฒนาคือการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อดูได้จากสภาพร่างกายของคู่ชิง ส่วนสภาพจิตใจพัฒนาดีขึ้นบ้าง แต่อยากให้ได้อย่าง Wang Yi Han
ชายเดี่ยว
3 เทพยุคปัจจุบันกับอีกหนึ่งดาวรุ่งจากเดนมาร์กผ่านเข้ารอบรองฯ ได้ตามความคาดหมาย นับเป็นความโชคดีของผู้ชมแบดมินตันในยุคนี้ที่มีโอกาสได้เป็นประจักษ์พยานแมตช์ประวัติศาตร์ที่สนุกตื่นเต้นและยิ่งใหญ่โดยเฉพาะในโอลิมปิคเกมส์ระหว่างสามเทพนี้
Lin Dan งัดฟอร์มสุดยอดมาเล่นกับ Lee Chong Wei คู่ต่อสู้สำคัญตลอดกาลในรอบรองฯ สามารถยันสามแมทช์พ๊อยท์ได้อย่างเหลือเชื่อในเกมส์ตัดสินแต่โชคดีที่ย้ำแค้นไม่สำเร็จ มิฉะนั้นเราจะไม่ได้ดูรอบชิงฯที่สนุกตื่นเต้นกว่าการเข้าชิงกันเอง เขาคงจะประกาศอนาคตของตนเองในเร็วๆนี้ การเป็นโค้ชไม่ใช่เรื่องที่น่าสนใจตามที่เขาเคยบอกไว้ ลักษณะการมีพฤติกรรมแบบ Superstar หรือ Celebrity อาจทำให้เขาตัดสินใจทำธุรกิจ เราอาจได้เห็นแร็คเก็ตแบดมินตัน “Lin Dan” ในอนาคต สามีภรรยาเป็น Brand Ambassadors ประหยัดไปได้เยอะ (มโนเองล้วนๆ)
Lee Chong Wei แม้จะปลดล๊อค Lin Dan ในโอลิมปิคได้ ดีใจเหมือนได้แชมป์ แต่ต้องมาเผชิญหน้ากับอีกหนึ่งมังกรจีนที่ขวางสกัดไว้ในรอบชิงฯ การเล่นสามเกมส์ในรอบรองฯ ได้บั่นทอนพละกำลังลงไป และต้องเล่นด้วยความกดดันในรอบชิงฯ LCW ไม่สามารถเล่นเกมส์รุกที่ถนัดได้มากนัก จึงเห็นการทำแต้มจาก smash winner อาวุธสำคัญน้อยมาก แต่การได้เข้าชิงโอลิมปิคสามครั้งติดต่อกันเป็นเรื่องที่ยากมากแล้ว
Chen Long ชนะ LCW ครั้งสุดท้ายในรอบชิงฯศึกชิงแชมป์โลก 2015 เมื่อ 1 ปีเต็มมาแล้ว จากนั้นแพ้ 4 รายการติดต่อกันก่อนถึงโอลิมปิค จึงดูเป็นรองก่อนการแข่งขัน Chen Long เล่นได้อย่างยอดเยี่ยมในรอบชิงฯ ด้วยความได้เปรียบสภาพร่างกาย ประกอบกับเกมส์รับที่เหนียวแน่นกว่าปกติอย่างน่าอัศจรรย์เปิดโอกาสให้เล่นโต้กลับอย่างได้เปรียบ และยังเล่นได้ตามแผนที่วางไว้ สามารถควบคุมเกมส์และสกัดเกมส์รุกของ LCW อย่างได้ผล แต่ CL ยังต้องใช้เวลาสั่งสมบารมีพิสูจน์ความเป็นมหาเทพระดับเดียวกับ LD และ LCW
Viktor Axelsen สามารถคว้าเหรียญทองแดงโอลิมปิคได้ในวัย 22 ปี Tokyo 2020 น่าจะเป็นโอกาสที่ดีมากของเขา การเพิ่งคว้าแชมป์ Thomas Cup 2016 และเหรียญทองแดงโอลิมปิคตลอดจนประสบการณ์ที่เพิ่มขึ้นจะช่วยสร้างความมั่นใจในการเล่นของเขาให้มากยิ่งขึ้น
คู่แข่งขันที่สนุกตื่นเต้นเร้าใจมากที่สุดตามความเห็นส่วนตัว ได้แก่
Chen Long vs. Lee Chong Wei รอบชิงฯ
Fu Hai Feng/Zhang Nan vs. Goh V Shem/Tan Wee Kiong รอบชิงฯ
Matsutomo/Takahashi vs. Juhl/Pedersen รอบชิงฯ
Lee Chong Wei vs. Lin Dan รอบรองฯ
Fu Hai Feng/Zhang Nan vs KIM Gi Jung/KIM Sa Rang รอบ QF
สรุปโอลิมปิคครั้งนี้ยังเป็น tournament ที่ยอดเยี่ยม ชายเดี่ยวยังคงเป็นสีสันที่โดดเด่น ผลงานแบดมินตันจีนอาจจะดูล้มเหลวเมื่อเปรียบเทียบกับ London 2012 แต่การได้แชมป์ชายเดี่ยวสามารถชดเชยความผิดหวังลงไปได้มาก และไม่บ่อยนักที่จะได้เห็นหมวกดำลงไปกำกับข้างสนามด้วยตัวเองในหลายแมทซ์สำคัญ อีกชาติที่ผิดหวังคือเกาหลี ชายคู่มือวางอันดับหนึ่งแพ้พลิกล๊อคคู่มาเลเซียตกรอบ QF ยังดีที่ได้เหรียญทองแดงจากหญิงคู่กู้หน้าไว้ Lee Yong Dae และ Lee Chong Wei ยังคงอยู่ในสถานะเดียวกันเป็น “ราชันที่ไร้มงกุฎ” ทั้งแชมป์โลกและแชมป์โอลิมปิค ความสำเร็จของคู่ผสมและชายคู่ของมาเลเซียน่าจะเป็นแรงบันดาลใจให้กับนักแบดมินตันไทยได้
การที่เหรียญรางวัลกระจายไปหลายๆชาติ ทำให้การแข่งขันสนุกและน่าติดตามมากยิ่งขึ้น นักแบดมินตันจากยุโรปสร้างความประหลาดใจสามารถเล่นได้ดีกว่าที่คาดไว้หลายประเภท หวังว่าในอนาคตจะมีนักแบดมินตันยุโรปหลายๆชาติเข้ามาเขย่าบัลลังค์นักแบดมินตันเอเซียเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ Rio 2016 เป็นจุดเปลี่ยนผ่านที่นักแบดมินตันชั้นนำหลายๆคนถึงเวลาจะเลิกเล่นไป พบกันใหม่ที่ Tokyo 2020
สรุปเหรียญ Olympic Rio 2016
XD : ทอง อินโดนีเซีย, เงิน มาเลเซีย, ทองแดง จีน
WD : ทอง ญี่ปุ่น, เงิน เดนมาร์ก, ทองแดง เกาหลี
MD : ทอง จีน, เงิน มาเลเซีย, ทองแดง อังกฤษ
WS : ทอง สเปน, เงิน อินเดีย. ทองแดง ญี่ปุ่น
MS : ทอง จีน, เงิน มาเลเซีย, ทองแดง เดนมาร์ก
จีน 2 ทอง 1 ทองแดง
ญี่ปุ่น 1 ทอง 1 ทองแดง
อินโดนีเซีย 1 ทอง
สเปน 1 ทอง
มาเลเซีย 3 เงิน
เดนมาร์ก 1 เงิน 1 ทองแดง
อินเดีย 1 เงิน
เกาหลี 1 ทองแดง
อังกฤษ 1 ทองแดง
ไทย -