สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 3
คำถามน่าจะเป็นว่า ทำไมเลือดถึงมีสีแดง เพราะสีไม่ได้มีความจำเป็นอะไร แล้วสีของเลือดก็ไม่ใช่สีแดงเสมอ
สีของเลือดเกิดจากโปรตีนที่ชื่อว่า hemoglobin สิ่งที่ทำให้มีสีเพราะโปรตีนนี้มี โมเลกุลขนาดเล็กที่เรียกว่า heme
ไอ heme เนี่ย เป็นสารประกอบที่มีธาตุเหล็กอยู่ ความสำคัญคือมันเป็นตัวจับกับออกซิเจน ลำเลียงออกซิเจนในเลือดไปยังเซลล์ต่างๆ
เนื่องจาก ธาตุเหล็ก เป็นโลหะทราสซิชั่น คือมีวาเลนซ์อิเล็กตรอนใน d-orbitals ที่ไม่เต็ม ดังนั้น อิเล็กตรอนสามารถรับพลังงานในช่วงความยาวคลื่นของแสงในบางย่าน ซึ่ง ธาตุเหล็กใน heme สามารถดูดคลื่นแสงในช่วงสีน้ำเงินได้ดี เลยมีสีแดง
ที่ผมบอกว่าเลือดไม่ได้มีสีแดงเสมอ เพราะ ธาตุเหล็ก สามารถอยู่ในรูป Fe2+ หรือ Fe3+
ไอ Fe2+ เป็นรูปที่สามารถจับกับออกซิเจนได้ ส่วน Fe3+ จับไม่ได้
ถ้า hemoglobin ในรูป Fe2+ ไม่ได้จับกับออกซิเจน จะมีสีคล้ำๆ ที่เขาเรียกว่า"เลือดดำ"หนะ
แต่เวลาเลือดไหลออกมา มันจะจับกับออกซิเจนในอากาศอย่างรวดเร็ว สีมันเปลี่ยนเป็นสีแดง อันนี้เกิดจาก d-orbital splitting energy ที่เปลี่ยนไป พลังงานแสงที่ดูดก็เปลี่ยนไป อันนี้ผมก็ไม่เข้าใจเท่าไร
ส่วน hemoglobin ในรูป Fe3+ จะมีสีออกน้ำตาลเข้มๆ เหตุผลเดียวกับข้างบน
สีของเลือดก็คล้ายๆสีของเนื้อ แต่ในเนื้อมีโปรตีนชื่อ Myoglobin หลักการเดียวกัน
เนื้อที่สดมีสีแดง เพราะ myoglobin ในรูป Fe2+ ถ้าสังเกตดีๆ เนื้อที่บรรจุสุญญากาศ จะมีสีออกคล้ำๆ เพราะ Fe2+ ไม่ได้จับกับออกซิเจน แต่พอเปิดถุงออก หรือหั่นเนื้อซักพักมันจะเปลี่ยนเป็นสีแดง เขาเรียกว่า blooming
เนื้อบดที่เก็บไว้ๆนานๆ มันจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ไม่แดง เพราะ Fe2+ เปลี่ยนเป็น Fe3+
สีของเลือดเกิดจากโปรตีนที่ชื่อว่า hemoglobin สิ่งที่ทำให้มีสีเพราะโปรตีนนี้มี โมเลกุลขนาดเล็กที่เรียกว่า heme
ไอ heme เนี่ย เป็นสารประกอบที่มีธาตุเหล็กอยู่ ความสำคัญคือมันเป็นตัวจับกับออกซิเจน ลำเลียงออกซิเจนในเลือดไปยังเซลล์ต่างๆ
เนื่องจาก ธาตุเหล็ก เป็นโลหะทราสซิชั่น คือมีวาเลนซ์อิเล็กตรอนใน d-orbitals ที่ไม่เต็ม ดังนั้น อิเล็กตรอนสามารถรับพลังงานในช่วงความยาวคลื่นของแสงในบางย่าน ซึ่ง ธาตุเหล็กใน heme สามารถดูดคลื่นแสงในช่วงสีน้ำเงินได้ดี เลยมีสีแดง
ที่ผมบอกว่าเลือดไม่ได้มีสีแดงเสมอ เพราะ ธาตุเหล็ก สามารถอยู่ในรูป Fe2+ หรือ Fe3+
ไอ Fe2+ เป็นรูปที่สามารถจับกับออกซิเจนได้ ส่วน Fe3+ จับไม่ได้
ถ้า hemoglobin ในรูป Fe2+ ไม่ได้จับกับออกซิเจน จะมีสีคล้ำๆ ที่เขาเรียกว่า"เลือดดำ"หนะ
แต่เวลาเลือดไหลออกมา มันจะจับกับออกซิเจนในอากาศอย่างรวดเร็ว สีมันเปลี่ยนเป็นสีแดง อันนี้เกิดจาก d-orbital splitting energy ที่เปลี่ยนไป พลังงานแสงที่ดูดก็เปลี่ยนไป อันนี้ผมก็ไม่เข้าใจเท่าไร
ส่วน hemoglobin ในรูป Fe3+ จะมีสีออกน้ำตาลเข้มๆ เหตุผลเดียวกับข้างบน
สีของเลือดก็คล้ายๆสีของเนื้อ แต่ในเนื้อมีโปรตีนชื่อ Myoglobin หลักการเดียวกัน
เนื้อที่สดมีสีแดง เพราะ myoglobin ในรูป Fe2+ ถ้าสังเกตดีๆ เนื้อที่บรรจุสุญญากาศ จะมีสีออกคล้ำๆ เพราะ Fe2+ ไม่ได้จับกับออกซิเจน แต่พอเปิดถุงออก หรือหั่นเนื้อซักพักมันจะเปลี่ยนเป็นสีแดง เขาเรียกว่า blooming
เนื้อบดที่เก็บไว้ๆนานๆ มันจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ไม่แดง เพราะ Fe2+ เปลี่ยนเป็น Fe3+
แสดงความคิดเห็น
ทำไม? เลือดถึงต้องเป็น สีแดง
- จริงๆแล้วสีของเลือดเรียกว่าสีอะไรกันแน่
- มีสิ่งมีชีวิตชนิดไหนอีกที่มีเลือดสีเดียวกับมนุษย์
- เลือดสีอื่นเกิดขึ้นได้ยังไง
- มีสิ่งมีชีวิตอะไรบ้างที่สีของเลือดแปลกตา
รบกวนด้วยครับ