สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 4
ครู เป็นชื่ออาชีพๆหนึ่ง
ครู หากจำแนกตามประเภทตำแหน่ง แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท คือ
1. ข้าราชการครู
2. พนักงานราชการครู
3. ครูอัตราจ้าง ร.ร.รัฐ
4. ครู ร.ร.เอกชน
หากเป็น ครูโรงเรียนเอกชน หรือ ครูอัตราจ้างของโรงเรียรรัฐ
จะเรียน ป.ตรี สาขาใดมาก็ได้ ขอให้มีความรู้ที่จะสอนหนังสือได้
สำหรับครูเอกชน เงินเดือน สิทธิประโยชน์ มากน้อย ก็แล้วแต่โรงเรียนไป
ส่วนครูอัตราจ้างโรงเรียนรัฐ บอกเลยว่าไม่มีความก้าวหน้า มีสถานะเป็นแค่ลูกจ้างตามสัญญาเท่านั้น
ครูในโรงเรียนรัฐ ต้องเป็น ข้าราชการครู ถึงจะดีที่สุด ครับ
เพราะเป็นประเภทบุคลากรภาครัฐขั้นสุดแล้ว ในสายงานราชการ
มีความก้าวหน้า มียศขั้น มีสิทธิสวัสดิการเต็ม มีบำเหน็จบำนาญ
ส่วน พนักงานราชการครู จะมีสถานะเป็นรอง ข้าราชการครูหลายขุม
แม้มีฐานเงินเดือนสูงกว่าข้าราชการ แต่ไม่มีสิทธิสวัสดิการ ไม่มียศขั้น ไม่มีบำเหน็จบำนาญ
การจะสมัครสอบแข่งขันเป็น ข้าราชการครู และ พนักงานราชการครู ได้
1. ต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา (ป.ตรี ครู หลักสูตร 5 ป)
ที่ ก.ค.ศ. (คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา) รับรอง และ
2. มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู หรือ ใบอนุญาตปฏิบัติการสอน
http://www.dailynews.co.th/education/219082
ปริญญาตรีทางการศึกษา (หลักสูตร 5 ปี)
เช่น ครุศาสตรบัณฑิต, ศึกษาศาสตรบัณฑิต, การศึกษาบัณฑิต, ครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต เป็นต้น
หากมีคุณสมบัติครบก็รอประกาศรับสมัครได้เลย
ทั้งนี้ วุฒิ ป.ตรี ทางการศึกษา อาจจะสมัครสอบข้าราชการครูแบบเหมาไม่ได้ทุกตำแหน่ง
เพราะครู ก็จะแยกไปตามวิชาเอกที่สอนอีกทีหนึ่ง
จะสมัครตำแหน่งไหนได้หรือไม่ จะขึ้นอยู่กับเอกที่รับ กับ สาขาที่จบมาด้วยครับ
ลองอ่านประกาศรับสมัครล่าสุด ปี 2558 ดูครับ
http://www.ประกาศผลสอบ.com/pdf/082557/1440132749.pdf
ทั้งนี้ มีช่องทางที่สามารถสมัครสอบข้าราชการครู
สำหรับบุคคลที่ไม่มีคุณวุฒิปริญญาตรีทางการศึกษา (แต่มีคุณวุฒิ ป.ตรี มาแล้ว)
ได้ด้วย 3 ทางหลักๆ คือ
1. เรียน ป.ตรี ทางการศึกษาหลักสูตร 5 ปี ที่คุรุสภารับรอง (ไปเรียน ป.ตรี ครู หลักสูตร 5 ปี มาใหม่)
2. เรียน ป.บัณฑิต ที่คุรุสภารับรอง
ซึ่งการเรียน ป.บัณฑิต วิชาชีพครู ได้ จะไม่ใช่ใครที่ไหนก็เรียนได้นะครับ
ผู้ที่จะเรียนได้ ต้องเป็น ครูจ้าง ที่มีหนังสือขออนุญาตให้ปฏิบัติการสอนโดยไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
มีประสบการณ์สอน 1 ปี
และ หากจะสอบบรรจุครูผู้ช่วย วุฒิ ป.ตรี ที่เรียนจบมานั้น
ก.ค.ศ. (สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา) จะต้องรับรองแล้วด้วย
http://qual55p.otepc.go.th/menu.php
3. เรียน ป.โท ทางการศึกษา ที่คุรุสภารับรอง
http://www.ksp.or.th/ksp2013/content/view.php?mid=95&did=543&tid=&pid=
ซึ่งเป็นการเรียนเพื่อเอาใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู
เมื่อถึงเวลาสมัครสอบข้าราชการครู ก็ต้องเอาวุฒิ ป.ตรี ที่เรียนจบมาใช้สมัครสอบ
และ วุฒิ ป.ตรี นั้น ก.ค.ศ. (สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา) ต้องรับรองแล้วด้วย
http://qual55p.otepc.go.th/menu.php
ครู หากจำแนกตามประเภทตำแหน่ง แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท คือ
1. ข้าราชการครู
2. พนักงานราชการครู
3. ครูอัตราจ้าง ร.ร.รัฐ
4. ครู ร.ร.เอกชน
หากเป็น ครูโรงเรียนเอกชน หรือ ครูอัตราจ้างของโรงเรียรรัฐ
จะเรียน ป.ตรี สาขาใดมาก็ได้ ขอให้มีความรู้ที่จะสอนหนังสือได้
สำหรับครูเอกชน เงินเดือน สิทธิประโยชน์ มากน้อย ก็แล้วแต่โรงเรียนไป
ส่วนครูอัตราจ้างโรงเรียนรัฐ บอกเลยว่าไม่มีความก้าวหน้า มีสถานะเป็นแค่ลูกจ้างตามสัญญาเท่านั้น
ครูในโรงเรียนรัฐ ต้องเป็น ข้าราชการครู ถึงจะดีที่สุด ครับ
เพราะเป็นประเภทบุคลากรภาครัฐขั้นสุดแล้ว ในสายงานราชการ
มีความก้าวหน้า มียศขั้น มีสิทธิสวัสดิการเต็ม มีบำเหน็จบำนาญ
ส่วน พนักงานราชการครู จะมีสถานะเป็นรอง ข้าราชการครูหลายขุม
แม้มีฐานเงินเดือนสูงกว่าข้าราชการ แต่ไม่มีสิทธิสวัสดิการ ไม่มียศขั้น ไม่มีบำเหน็จบำนาญ
การจะสมัครสอบแข่งขันเป็น ข้าราชการครู และ พนักงานราชการครู ได้
1. ต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา (ป.ตรี ครู หลักสูตร 5 ป)
ที่ ก.ค.ศ. (คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา) รับรอง และ
2. มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู หรือ ใบอนุญาตปฏิบัติการสอน
http://www.dailynews.co.th/education/219082
ปริญญาตรีทางการศึกษา (หลักสูตร 5 ปี)
เช่น ครุศาสตรบัณฑิต, ศึกษาศาสตรบัณฑิต, การศึกษาบัณฑิต, ครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต เป็นต้น
หากมีคุณสมบัติครบก็รอประกาศรับสมัครได้เลย
ทั้งนี้ วุฒิ ป.ตรี ทางการศึกษา อาจจะสมัครสอบข้าราชการครูแบบเหมาไม่ได้ทุกตำแหน่ง
เพราะครู ก็จะแยกไปตามวิชาเอกที่สอนอีกทีหนึ่ง
จะสมัครตำแหน่งไหนได้หรือไม่ จะขึ้นอยู่กับเอกที่รับ กับ สาขาที่จบมาด้วยครับ
ลองอ่านประกาศรับสมัครล่าสุด ปี 2558 ดูครับ
http://www.ประกาศผลสอบ.com/pdf/082557/1440132749.pdf
ทั้งนี้ มีช่องทางที่สามารถสมัครสอบข้าราชการครู
สำหรับบุคคลที่ไม่มีคุณวุฒิปริญญาตรีทางการศึกษา (แต่มีคุณวุฒิ ป.ตรี มาแล้ว)
ได้ด้วย 3 ทางหลักๆ คือ
1. เรียน ป.ตรี ทางการศึกษาหลักสูตร 5 ปี ที่คุรุสภารับรอง (ไปเรียน ป.ตรี ครู หลักสูตร 5 ปี มาใหม่)
2. เรียน ป.บัณฑิต ที่คุรุสภารับรอง
ซึ่งการเรียน ป.บัณฑิต วิชาชีพครู ได้ จะไม่ใช่ใครที่ไหนก็เรียนได้นะครับ
ผู้ที่จะเรียนได้ ต้องเป็น ครูจ้าง ที่มีหนังสือขออนุญาตให้ปฏิบัติการสอนโดยไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
มีประสบการณ์สอน 1 ปี
และ หากจะสอบบรรจุครูผู้ช่วย วุฒิ ป.ตรี ที่เรียนจบมานั้น
ก.ค.ศ. (สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา) จะต้องรับรองแล้วด้วย
http://qual55p.otepc.go.th/menu.php
3. เรียน ป.โท ทางการศึกษา ที่คุรุสภารับรอง
http://www.ksp.or.th/ksp2013/content/view.php?mid=95&did=543&tid=&pid=
ซึ่งเป็นการเรียนเพื่อเอาใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู
เมื่อถึงเวลาสมัครสอบข้าราชการครู ก็ต้องเอาวุฒิ ป.ตรี ที่เรียนจบมาใช้สมัครสอบ
และ วุฒิ ป.ตรี นั้น ก.ค.ศ. (สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา) ต้องรับรองแล้วด้วย
http://qual55p.otepc.go.th/menu.php
แสดงความคิดเห็น
อยากเป็นครู แต่ไม่ได้จบครูมาต้องทำยังไงบ้างคะ?
แล้วพอดีอยากมีใบประกอบวิชาชีพครู
สามารถเรียนต่อทางไหนอีก 1 ปี เพื่อให้ได้วุฒิครูไหมคะ?
หรือว่าต้องทำอย่างไร มีขั้นตอนอะไรบ้าง