พิษสวาท .... เกร็ดประวัติศาสตร์ (ฉบับย่อถึงย่อมาก) ว่าด้วยเรื่อง พงศาวดาร กรุงศรีอยุธยา

เคดิต Ju Nkt
เกร็ดประวัติศาสตร์ (ฉบับย่อถึงย่อมาก) ว่าด้วยเรื่อง พงศาวดาร กรุงศรีอยุธยา
เป็นที่ทราบกันดีนะคะว่า หนังสือ ตำรับตำรา กรุงศรีฯ ถูกเผาวอดวายไปตั้งแต่ครั้งเสียกรุง
แต่ก็มีบางส่วนที่หลุดรอดจากการเผา บางอย่างก็เล่าปากต่อปากจนมีการจดบันทึกขึ้นใหม่
และเมื่อสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ร.๑ ได้โปรดให้มีการชำระพระราชพงศาวดาร จากนั้นก็มีการคัดลอกกันเยอะแยะ
คัดลอกไม่พอ เติมแต่งเข้าไปอีก เช่น ฉบับบริติช ซึ่งต้นฉบับคือ พัน จันทนุมาศ (เจิม)
อันนี้ เติมแต่งจนอ่านกันสนุกสนาน นักวิชาการบางคนจะไม่เชื่อถือสักเท่าไหร่ ฉบับที่นักวิชาการให้การเชื่อถือมากที่สุด
คือ พงศาวดาร ฉบับหลวงประเสริฐ แต่เนื้อความก็มีถึงแค่ ประวัติพระนเรศวรเท่านั้น
ตอนที่เจอต้นฉบับ หลวงประเสริฐได้ขอชาวบ้าน ซึ่งกำลังจะนำไปเผาไฟพอดี
สำหรับการบันทึก พระราชพงศาวดาร หรือจดหมายเหตุ อันเป็นต้นฉบับนั้น
ปกติจะถูกจดบันทึกลงในสมุดไทยโดยพระอาลักษณ์ บันทึกกันไว้เป็นเล่มๆ แต่เมื่อเวลาผ่านไป
เวลาเราเจอหลักฐานก็เจอเล่มนั้น ขาดเล่มนี้ บางเรื่องราวที่ขาดหายไป มันอาจจะมีอยู่ก็ได้
แต่เรายังไม่เจอบันทึก มันจึงหาหลักฐานสนับสนุนในสิ่งที่เราเชื่อไม่ได้
(เสน่ห์ของการเขียนนิยายอิงประวัติศาสตร์คือ การใช้ช่องว่างทางประวัติศาสตร์พวกนี้แหละ เขียนนิยาย )
ในละคร "พิษสวาท" มีคนไปตามหาบ้านของพระอรรค ตามบันทึกของพงศาวดาร ฉบับพัน จันทนุมาศ(เจิม) ^_^
ดีใจที่มีคนสนใจประวัติศาสตร์ขนาดนี้ค่ะ เราใช้ช่องว่างของพงศาวดารที่ขาดหาย
เติมส่วนของนิยายลงไป ซึ่งตำแหน่งนั้น ไม่ได้คิดเองค่ะ เอาจากนิยายแล้วก็ตามหาในแผนที่ เหมือนกับที่แฟนละครตามหา
เรากางแผนที่อยุธยา แล้วชี้จุด ว่า บ้านพระอรรคควรอยู่ตรงไหน
ป้าทมยนตี ระบุ ในนิยายว่า เรือนที่มีผีหัวขาด ที่พวกขุดกรุเจอนั้น อยู่ หลังป้อมท้ายพระสนม
ฝั่งตรงข้ามคือวัดเชิงท่า // การขุดอุโมงคฺ์จากในวังมาโผล่ที่นอกวัง ระหว่างทาง มีการสร้างโบสถ์คล่อมไว้ เพื่อระบายอากาศ
บริเวณที่ป้าทมยันตีระบุไว้นั้น มันคือบริเวณแถวคลองท่อ (คลองฉะไกรใหญ่) ค่ะ
ตอนที่ตามหาบ้านพระอรรค ที่ระบุในหนังสือ จุคิดไปไกลกว่านิยายว่า นี่มันคือทางหนีชัดๆ
เพราะโผล่จากอุโมงค์ ออกไปคือคลองท่อ ออกจากคลองท่อคือแม่น้ำเจ้าพระยา
และฝั่งตรงข้าม ระหว่างรั้ววัง กับคลองท่อ จะมีตลาดเหล็ก ซึ่งขายพวกอาวุธมีด ดาบ จอบ เสียม อะไรพวกนี้ แต่ทางหนีนี้ ไม่ได้ใช้
เรากำหนด บ้านพระอรรคอยู่บริเวณ ริมคลองท่อ ฝั่งตรงข้ามกับรั้ววังลงมา ไม่ได้ติดวังเหมือนในหนังสือ
แต่สร้างวัดราชบดินทร์ขึ้นมาแทน โดยวัดราชบดินทร์ จะอยู่ติดกับรั้ววัง ซึ่งต้องข้ามสะพาน
แล้วเดินย้อนขึ้นไป จะถึงบ้านของพระอรรค ส่วนตลาดเหล็กไม่ได้พูดถึง....ในใจคิดว่า
ที่นั่นคือ บ้านเดิมของ "จัน" ซึ่งซื่อสัตย์ และเป็นเสมือนด่านสำคัญที่จะป้องกันปากอุโมงค์อีกชั้น
จากกลุ่มค้าขายพวกมีด พวกดาบ (ซึ่งเป็นพวกของจัน)
เมื่อเห็นแฟนละคร อินจนไปตามหาบ้านพระอรรค ทั้งแปลกใจและปลื้มใจ ที่"พิษสวาท" ทำให้คนได้เที่ยวอยุธยา
และเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของอยุธยาไปด้วย แม้บ้านพระอรรค และ วัดราชบดินทร์ จะเป็นเรื่องที่แต่งขึ้น
แต่เราก็ได้ตำแหน่งสถานที่จาก นิยายของป้าทมยนตี ซึ่งวางตำแหน่งได้อย่างน่าอัศจรรย์มาก
ปล.1 ระหว่างอุโมงค์ จากวัดราชบดินทร์ไปถึงพระราชมณเทียร สมบัติควรจะอยู่ตรงไหนของอุโมงค์ ....ฝากให้คิดสนุกๆ ค่ะ
ปล.2 ถ้าละครออนแอร์เรื่องประเพณี ว่าจะเขียนเรื่องเกร็ดความรู้ในเรื่องประเพณีให้อ่านค่ะ




เพิ่มเติมจากSurat Jongda
พิษสวาท วันจันทร์นี้จะได้พบฉากคณะละครแม่อุบล คุณพระอรรคให้อุบลเอาลูกบ่าวไพร่มาหัดละคร
ละครที่หัดเป็นละครเด็กผู้ชาย ด้วยมีกฏมณเฑียรบาลห้ามนักหนาว่าละครผู้หญิงมีได้แต่ละครพระมหากษัตริย์
คณะละครก็ฝึกแต่ผู้ชายเล่นเป็นพื้น แม้ในสมัยรัชกาลที่1 เจ้าฟ้าอิสรสุนทร(รัชกาลที่2)
หัดละครผู้หญิงขึ้นโรงหนึ่งเล่นเรื่องอุณรุฑอย่างกรุงเก่า ความทราบถึงพระเนตรพระกรรณก็ทรงกริ้ว
จนต้องเลิกไป คณะละครเอกชนขุนนางเจ้านายมาแอบหัดละครผู้หญิงกันขึ้นเล่นเมื่อรัชกาลที่3เมื่อท่านให้เลิกละครหลวงผู้หญิงเสีย
จนสมัยรัชกาลที่4 จึงมีประกาศอนุญาตให้หัดละครผู้หญิง ละครผู้ชายได้อย่างเสรีไม่ห้ามปราม
แต่อย่าไปฉุดคร่าลักเด็กชายหญิงที่ไม่สมัครใจมาเป็นละครให้เขาเดือดร้อน
(เล่าไว้ก่อนดูละครจะได้สนุก)

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่