คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 5
คุณ yuanhan 49. ได้แนะนำแล้วนะคะ ขอเพิ่มเติมเทคนิคเล็กน้อยเพื่อความสะดวกตอนขาย และตอนสลับ
1. ต้นปี เปิดมาวันที่. 2มค. เราซื้อกอง K พันธบัตรRMF. ไว้เลย 5000บาท. แล้วไม่ไปยุ่งกับเขาเลย. ไปอัพบุ๊คไว้ก็พอ
อันนี้เก็บไว้เป็น. ref. ว่าเราได้ซื้อทุกปีต่อเนื่อง ตามเงื่อนไข. และเผื่อปีไหนไม่มีตังค์ซื้อก็ไม่ซื้อเพิ่มได้ แต่ไม่ลืมแน่นอน
2. เลือกซื้อบลจ. อื่น อีก 3 กอง เราเลือกบลจ.ที่ขายทำรายการทางเน็ตได้ถึง4 โมงเย็น ไม่มีค่าธรรมเนียมในการสับเปลี่ยน
และได้ราคาวันเดียวกันกับที่ทำรายการค่ะ. เพราะบางบลจ. บางกองโดยเฉพาะกองทองและต่างประเทศ มีค่าธรรมเนียมขาย(เราสับเข้าก็โดน)
แถมอาจมีค่าธรรมเนียมรับซื้อคืน (เราสับออกก็โดน). แค่นี้ยังไม่พอ เวลาสับออกใช้เวลา 3-5วันกว่าจะไปเข้ากองใหม่. ปวดหัวเลย
เพราะตลาดเปลี่ยนไปจากวันที่เราตัดสินใจเยอะแล้ว
3. แนะนำให้คำนวณรายได้ทั้งปี เอาเฉพาะรายได้ที่แน่นอน แล้วคำนวณสิทธิที่ซื้อได้ แล้วหาร12 เป็นรายการที่ซื้อแต่ละเดือน
แล้วซื้อกองตราสารหนี้R. ไว้ทุกเดือน. ที่แนะนำเช่นนี้เพราะเคยมีคนเจอว่าซื้อไปแล้ว แต่เจอย้ายที่ทำงาน/ตกงาน รายได้น้อยกว่าที่คาด
เลยซื้อเกินสิทธิ ยุ่งอีก
4. อย่าซื้อหลายกอง หลายบลจ. จนเกินไป. ตามข่าวไม่ไหว.
5. ของเรามี 3กอง ทั่เป็น RMF อยู่ต่างบลจ.กับข้อ1 แล้วก็สับไปตามสถานการณ์. ทองตก สับเข้ากองทอง ทองขึ้นสับเข้าตราสารหนี้
หุ้นตกสับเข้ากองหุ้น. ส่วนมากแบ่งเป็นไม้ๆ สัก 4 ครั้ง แน่นอนมันไม่เป๊ะว่าได้ราคาต่ำสุด หรือสับออกตอนสูงสุด แต่ต้องกำหนดกรอบของตัวเอง
ว่าแค่ไหนจะเริ่มเข้า แค่ไหนเริ่มหวาดเสียว ก็จะเริ่มออก บางปีทำได้รอบเดียว บางปีทำได้3-4 รอบ แล้วแต่ตลาด
ก่อนหน้านี้เราซื้อมันทุกบลจ. สับไปมา. โอ๊ยปวดหัวมาก จนท.โทรมาคุยห้ามปรามเหมือนกัน ช่วงหลัง เหลือที่เดียวไม่รวมข้อ1 พบว่าชีวิตสบายขึ้นเยอะ555
ปล. เราเชื่อว่าในห้องนี้มีคนเก่งกว่าเราหลายคน แต่เป็นเสือซุ่มอิอิ
1. ต้นปี เปิดมาวันที่. 2มค. เราซื้อกอง K พันธบัตรRMF. ไว้เลย 5000บาท. แล้วไม่ไปยุ่งกับเขาเลย. ไปอัพบุ๊คไว้ก็พอ
อันนี้เก็บไว้เป็น. ref. ว่าเราได้ซื้อทุกปีต่อเนื่อง ตามเงื่อนไข. และเผื่อปีไหนไม่มีตังค์ซื้อก็ไม่ซื้อเพิ่มได้ แต่ไม่ลืมแน่นอน
2. เลือกซื้อบลจ. อื่น อีก 3 กอง เราเลือกบลจ.ที่ขายทำรายการทางเน็ตได้ถึง4 โมงเย็น ไม่มีค่าธรรมเนียมในการสับเปลี่ยน
และได้ราคาวันเดียวกันกับที่ทำรายการค่ะ. เพราะบางบลจ. บางกองโดยเฉพาะกองทองและต่างประเทศ มีค่าธรรมเนียมขาย(เราสับเข้าก็โดน)
แถมอาจมีค่าธรรมเนียมรับซื้อคืน (เราสับออกก็โดน). แค่นี้ยังไม่พอ เวลาสับออกใช้เวลา 3-5วันกว่าจะไปเข้ากองใหม่. ปวดหัวเลย
เพราะตลาดเปลี่ยนไปจากวันที่เราตัดสินใจเยอะแล้ว
3. แนะนำให้คำนวณรายได้ทั้งปี เอาเฉพาะรายได้ที่แน่นอน แล้วคำนวณสิทธิที่ซื้อได้ แล้วหาร12 เป็นรายการที่ซื้อแต่ละเดือน
แล้วซื้อกองตราสารหนี้R. ไว้ทุกเดือน. ที่แนะนำเช่นนี้เพราะเคยมีคนเจอว่าซื้อไปแล้ว แต่เจอย้ายที่ทำงาน/ตกงาน รายได้น้อยกว่าที่คาด
เลยซื้อเกินสิทธิ ยุ่งอีก
4. อย่าซื้อหลายกอง หลายบลจ. จนเกินไป. ตามข่าวไม่ไหว.
5. ของเรามี 3กอง ทั่เป็น RMF อยู่ต่างบลจ.กับข้อ1 แล้วก็สับไปตามสถานการณ์. ทองตก สับเข้ากองทอง ทองขึ้นสับเข้าตราสารหนี้
หุ้นตกสับเข้ากองหุ้น. ส่วนมากแบ่งเป็นไม้ๆ สัก 4 ครั้ง แน่นอนมันไม่เป๊ะว่าได้ราคาต่ำสุด หรือสับออกตอนสูงสุด แต่ต้องกำหนดกรอบของตัวเอง
ว่าแค่ไหนจะเริ่มเข้า แค่ไหนเริ่มหวาดเสียว ก็จะเริ่มออก บางปีทำได้รอบเดียว บางปีทำได้3-4 รอบ แล้วแต่ตลาด
ก่อนหน้านี้เราซื้อมันทุกบลจ. สับไปมา. โอ๊ยปวดหัวมาก จนท.โทรมาคุยห้ามปรามเหมือนกัน ช่วงหลัง เหลือที่เดียวไม่รวมข้อ1 พบว่าชีวิตสบายขึ้นเยอะ555
ปล. เราเชื่อว่าในห้องนี้มีคนเก่งกว่าเราหลายคน แต่เป็นเสือซุ่มอิอิ
แสดงความคิดเห็น
รบกวนคุณ ต็อตโตะจัง หรือคุณ yuanhan49 หรือท่านใดก็ได้ ช่วยดูหน่อยค่ะ เรื่องการสับกอง RMF
แต่อยากมีเงินออมยามเกษียณ คิดว่า RMF มีข้อผูกมัดเยอะดีค่ะ น่าจะบังคับตัวเองว่าต้องทำให้ได้
เท่าที่ตามอ่านดู ส่วนมากไม่ค่อยแนะให้ให้คนเงินเดือนน้อยๆ ลง RMF เนื่องจากไม่ค่อยคุ้มสักเท่าไหร่
แต่เท่าที่เราตามอ่าน ถ้าเราบริหารจัดการดีๆ ผลที่ได้รับก็น่าจะโอเคอยู่นะ
เท่าที่เราตามอ่านจะเจอ คุณ ต็อตโตะจัง กับคุณ yuanhan49 มาตอบกระทู้เรื่อง LTF/RMF เยอะมาก
แล้วทั้งสองท่านเสนอเรื่องการสับกองทุน เราเลยลองทำการบ้านมาค่ะ
อยากให้ทั้ง 2 ท่านหรือท่านใดก็ได้ ช่วยตรวจทีค่ะ ว่าแนวคิดที่เราทำ รวมทั้งวิธีการคำนวณถูกต้องไหม
กรณีที่มีการสับกอง
เริ่มซื้อจากกองตราสารหนี้ (BF)ก่อน
Date Fund Details NAV Unit Cost
13/8/2013 BF Buy 13.0025 769.0828687 10000
รอจังหวะกองหุ้น (BE) ตกแล้วเข้าทำการ Switch จาก BF>>>BE
Date Fund Details NAV Unit Market Value
25/12/2013 BF Switch 13.1519 769.0828687 10114.90098
BE 76.0818 132.9477087
กองหุ้น (BE) ขึ้นเรื่อยๆ จนคาดว่าจะเริ่มตก จึงทำการ Switch จาก BE>>>>BF
Date Fund Details NAV Unit Market Value
19/8/2014 BE Switch 86.0017 132.9477087 11433.72896
BF 13.4908 847.5204551
กองหุ้น (BE) มีแนวโน้มขึ้นเรื่อยๆ จึงทำการ Switch จาก BF>>>>BE
Date Fund Details NAV Unit Market Value Gain (%)
24/2/2016 BF Switch 14.1497 847.5204551 11992.16018
BE 76.8855 155.9742758
ตอนนี้ 14/8/2016 BE 92.5078 155.9742758 14428.83711 44.28837113
กรณีที่ไม่มีการสับกอง
Date Fund Details NAV Unit Cost
13/8/2013 BE Buy 78.8828 126.7703479 10000
Date Fund NAV Unit Market Value Gain (%)
ตอนนี้ 14/8/2016 BE 92.5078 126.7703479 11727.24599 17.2724599
ปล. -ในที่นี้เป็นตัวอย่างสมมุตินะคะ เรายังไม่เคยซื้อ RMF เลย
- กองทุนที่ยกตัวอย่างคือของบลจ.บัวหลางค่ะ BF= BFRMF-กองทุนเปิดบัวหลวงตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพ
BE= BERMF-กองทุนเปิดบัวหลวงตราสารทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ
- เพิ่งรู้ว่าใช้เมลล์ log in มันโพสต์รูปไม่ได้.....ตั้งใจทำเอ็กเซลล์ซะสวยเลย
จากการคำนวณพบว่าการสับกอง ทำให้มูลค่าของกองเพิ่มมากขึ้นกว่าปล่อยให้มันอยู่เฉยๆ
ขอบคุณค่ะ