วิศวกรรมนิวเคลียร์และรังสี จุฬา อนาคตดีไหม

แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
เพิ่งเปิดป.ตรีเป็นปีแรกจริงครับ เดิมทีมีสอนแต่ระดับป.โท+ป.เอก เรียกได้ว่ามีมานานจนคนเรียนรุ่นแรกๆเกษียณกันไปแล้วครับ

เนื้อหาการเรียนคร่าวๆก็ตาม คห.1

สมัยผมเรียนป.ตรี มีโอกาสไปฝึกงานที่สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ อยากจะบอกว่าบ้านเรานอกจากหน่วยงาน ในคห.2 แล้ว ยังมีบริษัทเอกชนอีกมากมายครับที่ใช้งานต้นกำเนิดรังสี หรือปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับรังสี สังเกตุจากมีการส่งเครื่องสำรวจรังสี (Survey meter) มาปรับเทียบกันทุกวัน คิวยาวเหยียด ถามว่ามีโอกาสตกงานไหม ผมก็ตอบตรงๆว่ามีครับ  ซึ่งมันก็เหมือนกับคณะและสาขาอื่นๆ  *ยกเว้นคณะ แพทย์ พยาบาล ไว้ละกันเพราะความต้องการในบ้านเรายังมีอยู่เยอะ*

มันก็เหมือนความรักแหละ ขึ้นอยู่กับตัวเองเป็นหลัก ระหว่างเรียน 4 ปี ก็ทำตัวให้พร้อม ถ้าคุณสมบัติเพียงพอ มีหรือใครจะไม่ต้องการ  ฮ่าๆ

งานที่ทำเสี่ยงไหม ก็ต้องตอบตรงๆว่าเสี่ยง มันก็เหมือนอาชีพอื่นๆอีกนั้นแหละครับ ทุกอาชีพมีความเสี่ยงหมด แม้กระทั่งความเสี่ยงจากอาหาร อากาศ การเดินทาง บลาๆ

เนื่องจากประสาทสัมผัสเราไม่สามารถรับรู้รังสีได้ เขาก็มีอุปกรณ์วัดรังสีประจำตัวบุคคลครับ เช่น Thermoluminescence Dosimeter (TLD) หรือ Optical Stimulated Luminescent Dosimeter (OSL) ฯลฯ  จึงไม่เป็นปัญหาแน่นอนครับ ไม่งั้นคนที่ทำงานในคห.2 คงลาออกกันเป็นแถบๆล่ะ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่