การขึ้นเป็นมือหนึ่งของโลกและคว้าแชมป์โลกสองสมัยของนักแบดสาวชาวสเปนเป็นดัชนีชี้ความนิยมของกีฬาแบดมินตันในภาพพื้นยุโรป ล่าสุดชัยชนะคู่ผสมของโปแลนด์ที่มีต่อประเทศจีนก็เป็นการตอกย้ำว่า กีฬาประเภทนี้กำลังเป็นที่นิยมกว้างขึ้นแต่ก่อนมากมาย
เดนมาร์กคือประเทศต้นๆ ของยุโรปที่ยังคงเส้นคงในกีฬาประเภทนี้และเคยเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวที่สุดจากยุโรป จากคำบอกเล่าของเพื่อนชาวยุโรป ที่ประเทศฝรั่งเศสตอนนี้ กีฬาแบดมินตันกำลังจะเป็นกีฬายอดฮิตติดอันหนึ่งแล้ว ที่อังกฤษอันเป็นดินแดนต้นกำเนิดของแบดมินตันนั้น แบดมินตันเคยเป็นกีฬาที่นิยมอันดับสอง อย่าว่าแต่เฉพาะในตัวเมือง แม้แต่ในเขตชนบทของอังกฤษ....แทบทุกที่ที่มีHall เอนกประสงค์ (ถ้าเป็นภาษาบ้านเราก็คือ ศาลากลางประจำหมู่บ้าน) ที่นั่นจะถูกดัดแปลงเป็นสนามกีฬาแบดฯ ประจำหมู่บ้าน หรือแม้แต่หน่วยงานบางหน่วยงาน เขามีสนามแบดในอาคารด้วย
ส่วนรัสเซีย สามสี่ปีมานี่เขาทดลองนำกีฬาแบดฯ เป็นกีฬาสำหรับออกกำลังในกองทัพ สวนที่สเปนนั้น...ไม่ต้องพูดถึง การคว้าแชมป์โลกหญิงสองสมัยของ มาริน และเป็นมือหนึ่งของโลกสร้างความฮือฮาและความนิยมต่อกีฬาแบดมินตันชนิดพุ่งกระฉูดในสเปน เนเธอร์แลนด์ประเทศเพื่อนบ้านเดนมาร์กตอนนี้เริ่มทุ่มเทให้กับกีฬาประเภทนี้ ชัยชนะที่มีต่อทีมหญิงคู่ไทยในโอลิมปิคเป็นแค่การก้าวแรกของเขา อีกสี่ห้าปีข้างหน้า...เนเธอร์แลนด์จะเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวไม่แพ้เดนมาร์คก อังกฤษ และสเปน
ที่ฝรั่งอเมริกา แบดมินตันนั้นนิยมในอเมริกามาระยะหนึ่งแล้ว แต่รัฐบาลพึ่งจะหันมาให้ความสนใจไม่นานมานี่เอง
โทนี่ กวนน่าวันนักแบดระดับแนวหน้าของโลกจากอินโดฯ ได้รับการอ้าแขนรับจากอเมริกาโดยโอนสัญชาติเป็นอเมริกันอย่างอบอุ่นพร้อมกับความหวังว่าอเมริกาจะค่อยๆ เติบโตในกีฬาประเภทนี้ที่มีโทนี่ กวนนาวันเป็นหัวหอกเหมือนที่เคยค่อยๆ เติบโตในกีฬายิมนาสติก
ย้อนกลับมาที่อังกฤษที่ผมคุ้นเคย ผมทำงานในสถานที่ศึกษาแห่งหนึ่ง ที่ทำงานของผมมีสนามแบดสิบเอ็ดคอร์ต โรงเรียนระดับมัธยมไปจนถึงมหาวิทยาลัยเกือบจะทั้งหมดจะมีสนามแบดฯ นอกจากงานหลักที่ทำแล้ว ผมรับโค้ชแบดเป็นชั่วโมงกิจกรรมให้นักศึกษาแต่ไม่ได้รับสอนส่วนตัว อัตราค่าโค้ชโดยทั่วๆ ไปในอังกฤษจะตกชั่วโมงละ 25-40 ปอนด์แล้วแต่ระดับของโค้ช ใครจะเป็นโค้ชก็ต้องสอบอย่างน้อยๆ ให้ได้ระดับ1 ก่อน การเป็นโค้ชต้องมีการสอบถึงสามระดับคือ1-2-3
ในทุกๆ เขตของอังกฤษจะมีการแข่งขันลีคเหมือนฟุตบอล เขตที่ผมอยู่มี3 ลีค และแต่ละลีคจะมี6 ดีวีชั่น นอกจากลีคประจำในพื้นที่แล้ว ก็ยังมีการแข่งขันประเภทเขต โดยแต่ละเขตในอังกฤษจะมีตั้งแต่ระดับอายุ junior under 12,14,16,18 และ senior จะตระเวณแข่งทีมเย้าทีมเยือนเหมือนฟุตบอล
ในระยะสี่ห้าปีที่ผ่านมานี้ จะเห็นว่าชาติยุโรปกำลังตื่นตัวและถีบตัวสูงและรวดเร็วในกีฬาแบดมินตันมาก โดยเฉพาะเดินมาร์คนั้นมีนักแบดชายเดี่ยวระดับโลกมากมายให้เป็นตัวเลือก มีตัวตายตัวแทนมากกว่าประเทศไทยทีเดียว หรือแม้แต่หญิงเดี่ยวที่เคยดับฝันรัชนกที่จะทำสถิติในซุเปอร์ซีรีส์ออลอิงแลนด์
เมื่อมองกลับมายังประเทศไทย.....แม้เราจะยังคงมีนักกีฬาแบดเสริมเข้ามาอย่างไม่ขาดสาย แต่ดูเหมือนว่ากว่าจะผลิตนักกีฬาด้านนี้ระดับแถวหน้าของโลกนั้นจะลำบากขรุขระอยู่มาก สมาคมฯแบดควรจะมีความหลากหลาย ถ้าจะพูดให้ตรงๆ แบบไม่อ้อมค้อม....ควรจ้างโค้ชชาวต่างประเทศอย่างอินโดฯ จีน(แม้จะมีแล้วที่ค่ายบ้านทองหยอด) หรือแม้กระทั่งจ้างโค้ชจากเดนมาร์กมาฝึกสอนดู(อย่าไปมองว่าเป็นแค่ฝรั่งตาน้ำข้าวจะรู้แบดดีไปกว่าไทยได้อย่างไร) ชาติๆ ต่างๆ ในยุโรปมักจะจ้างโค้ชจากเอเชียอย่างจีน เขามีจุดมุ่งหมายในการจ้างตรงนั้น เขาไม่ใส่ใจว่าชาติตัวเองต้องจ้างโค้ชชาติตัวเองเสมอไป ฝากให้คิดด้วยนะครับ
...แบดมินตัน กับกระแสโลก...ที่ไทยควรแอ๊คทีฟกว่านี้เป็นทวีคูณ...
เดนมาร์กคือประเทศต้นๆ ของยุโรปที่ยังคงเส้นคงในกีฬาประเภทนี้และเคยเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวที่สุดจากยุโรป จากคำบอกเล่าของเพื่อนชาวยุโรป ที่ประเทศฝรั่งเศสตอนนี้ กีฬาแบดมินตันกำลังจะเป็นกีฬายอดฮิตติดอันหนึ่งแล้ว ที่อังกฤษอันเป็นดินแดนต้นกำเนิดของแบดมินตันนั้น แบดมินตันเคยเป็นกีฬาที่นิยมอันดับสอง อย่าว่าแต่เฉพาะในตัวเมือง แม้แต่ในเขตชนบทของอังกฤษ....แทบทุกที่ที่มีHall เอนกประสงค์ (ถ้าเป็นภาษาบ้านเราก็คือ ศาลากลางประจำหมู่บ้าน) ที่นั่นจะถูกดัดแปลงเป็นสนามกีฬาแบดฯ ประจำหมู่บ้าน หรือแม้แต่หน่วยงานบางหน่วยงาน เขามีสนามแบดในอาคารด้วย
ส่วนรัสเซีย สามสี่ปีมานี่เขาทดลองนำกีฬาแบดฯ เป็นกีฬาสำหรับออกกำลังในกองทัพ สวนที่สเปนนั้น...ไม่ต้องพูดถึง การคว้าแชมป์โลกหญิงสองสมัยของ มาริน และเป็นมือหนึ่งของโลกสร้างความฮือฮาและความนิยมต่อกีฬาแบดมินตันชนิดพุ่งกระฉูดในสเปน เนเธอร์แลนด์ประเทศเพื่อนบ้านเดนมาร์กตอนนี้เริ่มทุ่มเทให้กับกีฬาประเภทนี้ ชัยชนะที่มีต่อทีมหญิงคู่ไทยในโอลิมปิคเป็นแค่การก้าวแรกของเขา อีกสี่ห้าปีข้างหน้า...เนเธอร์แลนด์จะเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวไม่แพ้เดนมาร์คก อังกฤษ และสเปน
ที่ฝรั่งอเมริกา แบดมินตันนั้นนิยมในอเมริกามาระยะหนึ่งแล้ว แต่รัฐบาลพึ่งจะหันมาให้ความสนใจไม่นานมานี่เอง โทนี่ กวนน่าวันนักแบดระดับแนวหน้าของโลกจากอินโดฯ ได้รับการอ้าแขนรับจากอเมริกาโดยโอนสัญชาติเป็นอเมริกันอย่างอบอุ่นพร้อมกับความหวังว่าอเมริกาจะค่อยๆ เติบโตในกีฬาประเภทนี้ที่มีโทนี่ กวนนาวันเป็นหัวหอกเหมือนที่เคยค่อยๆ เติบโตในกีฬายิมนาสติก
ย้อนกลับมาที่อังกฤษที่ผมคุ้นเคย ผมทำงานในสถานที่ศึกษาแห่งหนึ่ง ที่ทำงานของผมมีสนามแบดสิบเอ็ดคอร์ต โรงเรียนระดับมัธยมไปจนถึงมหาวิทยาลัยเกือบจะทั้งหมดจะมีสนามแบดฯ นอกจากงานหลักที่ทำแล้ว ผมรับโค้ชแบดเป็นชั่วโมงกิจกรรมให้นักศึกษาแต่ไม่ได้รับสอนส่วนตัว อัตราค่าโค้ชโดยทั่วๆ ไปในอังกฤษจะตกชั่วโมงละ 25-40 ปอนด์แล้วแต่ระดับของโค้ช ใครจะเป็นโค้ชก็ต้องสอบอย่างน้อยๆ ให้ได้ระดับ1 ก่อน การเป็นโค้ชต้องมีการสอบถึงสามระดับคือ1-2-3
ในทุกๆ เขตของอังกฤษจะมีการแข่งขันลีคเหมือนฟุตบอล เขตที่ผมอยู่มี3 ลีค และแต่ละลีคจะมี6 ดีวีชั่น นอกจากลีคประจำในพื้นที่แล้ว ก็ยังมีการแข่งขันประเภทเขต โดยแต่ละเขตในอังกฤษจะมีตั้งแต่ระดับอายุ junior under 12,14,16,18 และ senior จะตระเวณแข่งทีมเย้าทีมเยือนเหมือนฟุตบอล
ในระยะสี่ห้าปีที่ผ่านมานี้ จะเห็นว่าชาติยุโรปกำลังตื่นตัวและถีบตัวสูงและรวดเร็วในกีฬาแบดมินตันมาก โดยเฉพาะเดินมาร์คนั้นมีนักแบดชายเดี่ยวระดับโลกมากมายให้เป็นตัวเลือก มีตัวตายตัวแทนมากกว่าประเทศไทยทีเดียว หรือแม้แต่หญิงเดี่ยวที่เคยดับฝันรัชนกที่จะทำสถิติในซุเปอร์ซีรีส์ออลอิงแลนด์
เมื่อมองกลับมายังประเทศไทย.....แม้เราจะยังคงมีนักกีฬาแบดเสริมเข้ามาอย่างไม่ขาดสาย แต่ดูเหมือนว่ากว่าจะผลิตนักกีฬาด้านนี้ระดับแถวหน้าของโลกนั้นจะลำบากขรุขระอยู่มาก สมาคมฯแบดควรจะมีความหลากหลาย ถ้าจะพูดให้ตรงๆ แบบไม่อ้อมค้อม....ควรจ้างโค้ชชาวต่างประเทศอย่างอินโดฯ จีน(แม้จะมีแล้วที่ค่ายบ้านทองหยอด) หรือแม้กระทั่งจ้างโค้ชจากเดนมาร์กมาฝึกสอนดู(อย่าไปมองว่าเป็นแค่ฝรั่งตาน้ำข้าวจะรู้แบดดีไปกว่าไทยได้อย่างไร) ชาติๆ ต่างๆ ในยุโรปมักจะจ้างโค้ชจากเอเชียอย่างจีน เขามีจุดมุ่งหมายในการจ้างตรงนั้น เขาไม่ใส่ใจว่าชาติตัวเองต้องจ้างโค้ชชาติตัวเองเสมอไป ฝากให้คิดด้วยนะครับ