สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 18
กลุ่มคนญี่ปุ่นอพยพในบราซิลเพิ่งจัดงานฉลองครบหนึ่งร้อยปีของการย้ายถิ่นมาที่ประเทศบราซิล ในปี ค.ศ. 2008 นี้เอง นอกจากประเทศญี่ปุ่นแล้ว บราซิลนี่แหละเป็นแผ่นดินอันดับสอง ที่คนญี่ปุ่นพำนักอาศัยอยู่มากที่สุดในโลก นับจาก ค .ศ.1908 จนถึงปัจจุบัน สายเลือดซามูไรสืบเชื้อสายกันมากว่าสี่ถึงห้าเจนเนเรชั่น ด้วยจำนวนไม่ต่ำกว่า 1.5 ล้านคน เข้าไปมีบทบาทในเกือบทุกสาขาอาชีพ โดยเฉพาะในงานด้านบริการ และการเกษตร ถือเป็นกลุ่มคนอพยพอีกกลุ่มหนึ่งที่ช่วยสร้าง และพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศบราซิล
การอพยพจากประเทศแม่สู่บราซิลนั้น แบ่งได้คร่าว ๆ เป็นสองช่วง คือ จาก ค.ศ. 1908-1952 เนื่องจากปัญหาความขาดแคลนอาหารในประเทศญี่ปุ่น ส่วนช่วงที่สองคือ จาก ปี ค.ศ.1952–1970 ซึ่งเป็นช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง และญี่ปุ่นตกอยู่ในสภาพประเทศผู้แพ้สงคราม
ใน ปี ค.ศ. 1908 ขณะนั้นบราซิลกำลังเปิดประเทศต้อนรับผู้อพยพกลุ่มใหม่จากเอเชีย และอัฟริกา เนื่องจากต้องการแรงงานมาพัฒนาที่ดินที่มีอยู่มากมาย โดยก่อนหน้านี้ ผู้อพยพชาวอิตาลี เป็นแรงงานกลุ่มใหญ่ในไร่กาแฟ ในเขตรัฐเซา เปาโล ซึ่งคนกลุ่มนี้ทยอยกันอพยพมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1852 จนถึง 1890 แต่ด้วยความเป็นอยู่ที่ยากลำบาก ค่าแรงต่ำ และชาวอิตาลีพบว่า ทางตอนใต้ของประเทศ มีผืนดินใหม่รอการพัฒนาอยู่มากมาย ภูมิอากาศก็คล้ายกับทางยุโรป และเป็นพื้นที่เชิงเขาซึ่งเหมาะกับการปลูกไวน์ ดังนั้นจึงได้พากันอพยพย้ายลงไปทางใต้ บราซิลจึงขาดแคลนแรงงานในไร่กาแฟ ขณะนั้นเอง ญี่ปุ่นก็มีปัญหาการขาดแคลนอาหาร และยากจน หลังจากรัฐบาลของทั้งสองประเทศเซ็นข้อตกลงให้มีการอพยพคนญี่ปุ่นไปยังประเทศบราซิลได้ คนญี่ปุ่นกลุ่มแรกเจ็ดร้อยกว่าคน เริ่มเดินทางจากประเทศญี่ปุ่นเพื่อความหวังสู่ชีวิตที่ดีกว่า โดยเดินทางทางเรือ Kasato Maru นานถึง 52 วัน จากประเทศบ้านเกิด ผ่านสิงค์โปร์ อัฟริกาใต้ และสิ้นสุดที่รัฐ เซา เปาโล ประเทศบราซิล
งานใช้แรงงานในไร่กาแฟ ค่อนข้างหนักหนา คุณภาพชีวิตตกต่ำ เด็ก ๆ ไม่ได้รับโอกาสทางการศึกษา นี่ไม่ใช่ความหวังใหม่ที่คนญี่ปุ่นรอนแรมเพื่อมาเจอ ในปีถัดมา พวกเขาจึงขยับขยายออกจากไร่กาแฟในเขตชนบทของรัฐเซาเปาโล เดินทางต่อไปทางใต้ ถึงเมืองปารานา เพื่อบุกเบิกที่ดินทำสวนผลไม้ และสวนผัก คนอีกกลุ่มหนึ่งเดินทางเข้าเขตเมืองเซา เปาโล ทำงานในอุตสาหกรรมหนัก เช่นอุตสาหกรรมเหล็ก บางกลุ่มริเริ่มก่อสร้างกิจการด้านงานบริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กิจการซักรีด การพิมพ์ ฯลฯ การอพยพย้ายถิ่นฐานจากญี่ปุ่นยังคงเกิดขึ้นต่อเนื่องมาจนถึงปี ค.ศ.1952 จำนวนคนญี่ปุ่นอพยพในบราซิลทั้งหมดก็เพิ่มจำนวนมากขึ้นถึงห้าแสนคน
คงจำกันได้ว่าสงครามโลกครั้งที่สอง เกิดขึ้นในช่วง ปี ค.ศ. 1930 จนถึง 1945 ซึ่งเป็นปีที่ประเทศญี่ปุ่นประกาศยอมรับความพ่ายแพ้ในสงคราม ในระหว่างสงครามนั้น กลุ่มคนญี่ปุ่นอพยพในบราซิลมีความเป็นอยู่กันอย่างยากลำบาก เนื่องจากประเทศบราซิลอยู่ฝ่ายสัมพันธมิตร ส่วนประเทศญี่ปุ่นอยู่ฝ่ายอักษะ หนังสือพิมพ์ภาษาญี่ปุ่น และโรงเรียนภาษาญี่ปุ่นถูกสั่งปิด ในช่วงสงครามจนถึงหลังสงครามเลิกแล้ว จึงมีผู้อพยพจำนวนหนึ่งย้ายถิ่นฐานกลับญี่ปุ่น ในขณะที่คลื่นการอพยพลูกที่สองจากญี่ปุ่นมาบราซิล ก็เริ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อหนีสภาพของการเป็นประเทศผู้แพ้สงคราม
คลื่นอพยพลูกที่สองเกิดขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1952 จนถึง 1970 ซึ่งขณะนั้นประเทศบราซิลมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างมาก คล้ายดังเช่นประเทศจีนทุกวันนี้ บราซิลมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของบราซิลสูงถึง 11% เป็นเวลาเจ็ดปีติดต่อกัน ภาคอุตสาหกรรมในรัฐเซา เปาโล ขยายตัวอย่างรวดเร็ว จนเกิดการขาดแคลนแรงงานมีฝีมือ คนญี่ปุ่น จึงพากันย้ายถิ่นฐานมาที่บราซิลอีกครั้งเพื่อทำงานในภาคอุตสาหกรรม เกิดการพัฒนาเป็นเขตชุมชนชาวญี่ปุ่นในเมืองเซา เปาโล ขนาดใหญ่ขึ้น ชื่อว่าลิเบอร์ดาจี (Liberdade) ซึ่งแปลว่าอิสรภาพ ช่วงปี ค.ศ.1960–1990 ถือเป็นช่วงพีคสำหรับการขยายตัวของชุมชน กลายเป็นเขตชุมชนผู้อพยพชาวญี่ปุ่นที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็น Little Tokyo ในดินแดนอเมริกาใต้
อย่างไรก็ตาม นอกจากการอพยพเข้ามาทำงานในเมืองแล้ว ยังมีอีกกลุ่มหนึ่งที่เดินทางไปบุกเบิกที่ดินในชนบท พัฒนาเป็นสวนดอกไม้ และสวนผลไม้ โดยนำความรู้ และเทคโนโลยีจากประเทศญี่ปุ่นมาประยุกต์ใช้
หนทางไม่ได้ราบรื่นเสมอไป เศรษฐกิจของบราซิลเกิดวิกฤติอย่างหนักในปี ค.ศ.1980–1990 กลุ่มคนญี่ปุ่นบราซิล เลียน ซึ่งขณะนั้นเป็นสายเลือดรุ่นที่สอง (นิคเค : Nikkei) หรือรุ่นที่สาม (ซันเซะ :Sansei) บางส่วนย้ายถิ่นฐานกลับไปประเทศญี่ปุ่นอีกครั้ง โดยการสนับสนุนของรัฐบาลญี่ปุ่นที่ออกวีซ่าทำงานให้ คนญี่ปุ่นบราซิลเลียนนี้ ถูกเรียกว่า พวกเดคาเซกิ (Dekaseki) ว่ากันว่าเดคาเซกิเหล่านี้ต้องทำงานอย่างหนัก ค่าแรงน้อย และเผชิญกับการดูถูกจากคนญี่ปุ่นด้วยกัน เนื่องจากไม่สามารถพูดและเขียนภาษาญี่ปุ่นอย่างภาษาแม่ คนเหล่านี้โดยมากทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมยานยนต์ และอิเลคโทรนิกส์ ด้วยความขยันและอดทน จำนวนไม่น้อยเลยที่สามารถสร้างเนื้อสร้างตัวขึ้นมาจนมีฐานะ ในปี ค.ศ. 2002 เดคาเซกิได้ส่งเงินกลับไปประเทศบราซิลถึง 2,500 ล้านเหรียญสหรัฐ เลยทีเดียว เวลาเดียวกันนี้เอง หลังจากปี ค.ศ.1990 เขตลิเบอร์ดาจี ในเมืองเซา เปาโล ก็เสื่อมลง กลุ่มคนเกาหลี และกลุ่มนักธุรกิจใหม่ชาวจีน เข้าไปครอบครองมากขึ้นในปัจจุบัน
การเฉลิมฉลองหนึ่งร้อยปีการย้ายถิ่นฐานจากประเทศญี่ปุ่น จัดขึ้นในเดือนมิถุนายน ปีนี้ โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองเซา เปาโล ไฮไลท์สำคัญคือการเสด็จมาของเจ้าชายมงกุฏราชกุมาร นารูฮิโต เพื่อเข้าร่วมงาน และการแสดงพาเหรดขนาดใหญ่เพื่อเผยแผ่ศิลปะ และวัฒนธรรมของประเทศญี่ปุ่นไม่ยากเลยที่จะเห็นสายเลือดญี่ปุ่นร่วมงานกันอย่างคับคั่ง ทั้งนิคเค รุ่นสองสูงอายุที่มารำลึกความหลัง หรือลูกหลานรุ่นถัดมาซึ่งอาจผสมผสานสาย เลือดกับคนอิตาเลี่ยน เยอรมัน หรือโปรตุเกส ไปแล้ว คนเหล่านี้เองเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดการผสมผสานวัฒนธรรม ญี่ปุ่นในบราซิลอย่างกลมกลืน ทั้งวัฒนธรรมด้านอาหาร และสถาปัตยกรรม ภัตตาคารญี่ปุ่น หรือซูชิไม่ใช่สิ่งแปลกปลอมที่นี่ ภาษาญี่ปุ่นกำลังได้รับความนิยมในการเรียนเป็นภาษาที่สอง หรือที่สามจากคนบราซิล เส้นทางการอพยพที่ยาวไกล และระยะเวลาที่ยาวนานกำลังได้รับการเฉลิมฉลอง แต่ใครจะรู้ว่าเบื้องหลังของใบหน้าฉาบสุข ญี่ปุ่นบราซิลเลียนเหล่านี้ได้เผชิญความยากลำบากอะไรมาบ้าง กับการเป็นคนตะวันออกในดินแดนเสรีแห่งประเทศบราซิล และกับการเป็นคนนอกในสายตาของคนญี่ปุ่นด้วยกันเอง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
การอพยพจากประเทศแม่สู่บราซิลนั้น แบ่งได้คร่าว ๆ เป็นสองช่วง คือ จาก ค.ศ. 1908-1952 เนื่องจากปัญหาความขาดแคลนอาหารในประเทศญี่ปุ่น ส่วนช่วงที่สองคือ จาก ปี ค.ศ.1952–1970 ซึ่งเป็นช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง และญี่ปุ่นตกอยู่ในสภาพประเทศผู้แพ้สงคราม
ใน ปี ค.ศ. 1908 ขณะนั้นบราซิลกำลังเปิดประเทศต้อนรับผู้อพยพกลุ่มใหม่จากเอเชีย และอัฟริกา เนื่องจากต้องการแรงงานมาพัฒนาที่ดินที่มีอยู่มากมาย โดยก่อนหน้านี้ ผู้อพยพชาวอิตาลี เป็นแรงงานกลุ่มใหญ่ในไร่กาแฟ ในเขตรัฐเซา เปาโล ซึ่งคนกลุ่มนี้ทยอยกันอพยพมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1852 จนถึง 1890 แต่ด้วยความเป็นอยู่ที่ยากลำบาก ค่าแรงต่ำ และชาวอิตาลีพบว่า ทางตอนใต้ของประเทศ มีผืนดินใหม่รอการพัฒนาอยู่มากมาย ภูมิอากาศก็คล้ายกับทางยุโรป และเป็นพื้นที่เชิงเขาซึ่งเหมาะกับการปลูกไวน์ ดังนั้นจึงได้พากันอพยพย้ายลงไปทางใต้ บราซิลจึงขาดแคลนแรงงานในไร่กาแฟ ขณะนั้นเอง ญี่ปุ่นก็มีปัญหาการขาดแคลนอาหาร และยากจน หลังจากรัฐบาลของทั้งสองประเทศเซ็นข้อตกลงให้มีการอพยพคนญี่ปุ่นไปยังประเทศบราซิลได้ คนญี่ปุ่นกลุ่มแรกเจ็ดร้อยกว่าคน เริ่มเดินทางจากประเทศญี่ปุ่นเพื่อความหวังสู่ชีวิตที่ดีกว่า โดยเดินทางทางเรือ Kasato Maru นานถึง 52 วัน จากประเทศบ้านเกิด ผ่านสิงค์โปร์ อัฟริกาใต้ และสิ้นสุดที่รัฐ เซา เปาโล ประเทศบราซิล
งานใช้แรงงานในไร่กาแฟ ค่อนข้างหนักหนา คุณภาพชีวิตตกต่ำ เด็ก ๆ ไม่ได้รับโอกาสทางการศึกษา นี่ไม่ใช่ความหวังใหม่ที่คนญี่ปุ่นรอนแรมเพื่อมาเจอ ในปีถัดมา พวกเขาจึงขยับขยายออกจากไร่กาแฟในเขตชนบทของรัฐเซาเปาโล เดินทางต่อไปทางใต้ ถึงเมืองปารานา เพื่อบุกเบิกที่ดินทำสวนผลไม้ และสวนผัก คนอีกกลุ่มหนึ่งเดินทางเข้าเขตเมืองเซา เปาโล ทำงานในอุตสาหกรรมหนัก เช่นอุตสาหกรรมเหล็ก บางกลุ่มริเริ่มก่อสร้างกิจการด้านงานบริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กิจการซักรีด การพิมพ์ ฯลฯ การอพยพย้ายถิ่นฐานจากญี่ปุ่นยังคงเกิดขึ้นต่อเนื่องมาจนถึงปี ค.ศ.1952 จำนวนคนญี่ปุ่นอพยพในบราซิลทั้งหมดก็เพิ่มจำนวนมากขึ้นถึงห้าแสนคน
คงจำกันได้ว่าสงครามโลกครั้งที่สอง เกิดขึ้นในช่วง ปี ค.ศ. 1930 จนถึง 1945 ซึ่งเป็นปีที่ประเทศญี่ปุ่นประกาศยอมรับความพ่ายแพ้ในสงคราม ในระหว่างสงครามนั้น กลุ่มคนญี่ปุ่นอพยพในบราซิลมีความเป็นอยู่กันอย่างยากลำบาก เนื่องจากประเทศบราซิลอยู่ฝ่ายสัมพันธมิตร ส่วนประเทศญี่ปุ่นอยู่ฝ่ายอักษะ หนังสือพิมพ์ภาษาญี่ปุ่น และโรงเรียนภาษาญี่ปุ่นถูกสั่งปิด ในช่วงสงครามจนถึงหลังสงครามเลิกแล้ว จึงมีผู้อพยพจำนวนหนึ่งย้ายถิ่นฐานกลับญี่ปุ่น ในขณะที่คลื่นการอพยพลูกที่สองจากญี่ปุ่นมาบราซิล ก็เริ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อหนีสภาพของการเป็นประเทศผู้แพ้สงคราม
คลื่นอพยพลูกที่สองเกิดขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1952 จนถึง 1970 ซึ่งขณะนั้นประเทศบราซิลมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างมาก คล้ายดังเช่นประเทศจีนทุกวันนี้ บราซิลมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของบราซิลสูงถึง 11% เป็นเวลาเจ็ดปีติดต่อกัน ภาคอุตสาหกรรมในรัฐเซา เปาโล ขยายตัวอย่างรวดเร็ว จนเกิดการขาดแคลนแรงงานมีฝีมือ คนญี่ปุ่น จึงพากันย้ายถิ่นฐานมาที่บราซิลอีกครั้งเพื่อทำงานในภาคอุตสาหกรรม เกิดการพัฒนาเป็นเขตชุมชนชาวญี่ปุ่นในเมืองเซา เปาโล ขนาดใหญ่ขึ้น ชื่อว่าลิเบอร์ดาจี (Liberdade) ซึ่งแปลว่าอิสรภาพ ช่วงปี ค.ศ.1960–1990 ถือเป็นช่วงพีคสำหรับการขยายตัวของชุมชน กลายเป็นเขตชุมชนผู้อพยพชาวญี่ปุ่นที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็น Little Tokyo ในดินแดนอเมริกาใต้
อย่างไรก็ตาม นอกจากการอพยพเข้ามาทำงานในเมืองแล้ว ยังมีอีกกลุ่มหนึ่งที่เดินทางไปบุกเบิกที่ดินในชนบท พัฒนาเป็นสวนดอกไม้ และสวนผลไม้ โดยนำความรู้ และเทคโนโลยีจากประเทศญี่ปุ่นมาประยุกต์ใช้
หนทางไม่ได้ราบรื่นเสมอไป เศรษฐกิจของบราซิลเกิดวิกฤติอย่างหนักในปี ค.ศ.1980–1990 กลุ่มคนญี่ปุ่นบราซิล เลียน ซึ่งขณะนั้นเป็นสายเลือดรุ่นที่สอง (นิคเค : Nikkei) หรือรุ่นที่สาม (ซันเซะ :Sansei) บางส่วนย้ายถิ่นฐานกลับไปประเทศญี่ปุ่นอีกครั้ง โดยการสนับสนุนของรัฐบาลญี่ปุ่นที่ออกวีซ่าทำงานให้ คนญี่ปุ่นบราซิลเลียนนี้ ถูกเรียกว่า พวกเดคาเซกิ (Dekaseki) ว่ากันว่าเดคาเซกิเหล่านี้ต้องทำงานอย่างหนัก ค่าแรงน้อย และเผชิญกับการดูถูกจากคนญี่ปุ่นด้วยกัน เนื่องจากไม่สามารถพูดและเขียนภาษาญี่ปุ่นอย่างภาษาแม่ คนเหล่านี้โดยมากทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมยานยนต์ และอิเลคโทรนิกส์ ด้วยความขยันและอดทน จำนวนไม่น้อยเลยที่สามารถสร้างเนื้อสร้างตัวขึ้นมาจนมีฐานะ ในปี ค.ศ. 2002 เดคาเซกิได้ส่งเงินกลับไปประเทศบราซิลถึง 2,500 ล้านเหรียญสหรัฐ เลยทีเดียว เวลาเดียวกันนี้เอง หลังจากปี ค.ศ.1990 เขตลิเบอร์ดาจี ในเมืองเซา เปาโล ก็เสื่อมลง กลุ่มคนเกาหลี และกลุ่มนักธุรกิจใหม่ชาวจีน เข้าไปครอบครองมากขึ้นในปัจจุบัน
การเฉลิมฉลองหนึ่งร้อยปีการย้ายถิ่นฐานจากประเทศญี่ปุ่น จัดขึ้นในเดือนมิถุนายน ปีนี้ โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองเซา เปาโล ไฮไลท์สำคัญคือการเสด็จมาของเจ้าชายมงกุฏราชกุมาร นารูฮิโต เพื่อเข้าร่วมงาน และการแสดงพาเหรดขนาดใหญ่เพื่อเผยแผ่ศิลปะ และวัฒนธรรมของประเทศญี่ปุ่นไม่ยากเลยที่จะเห็นสายเลือดญี่ปุ่นร่วมงานกันอย่างคับคั่ง ทั้งนิคเค รุ่นสองสูงอายุที่มารำลึกความหลัง หรือลูกหลานรุ่นถัดมาซึ่งอาจผสมผสานสาย เลือดกับคนอิตาเลี่ยน เยอรมัน หรือโปรตุเกส ไปแล้ว คนเหล่านี้เองเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดการผสมผสานวัฒนธรรม ญี่ปุ่นในบราซิลอย่างกลมกลืน ทั้งวัฒนธรรมด้านอาหาร และสถาปัตยกรรม ภัตตาคารญี่ปุ่น หรือซูชิไม่ใช่สิ่งแปลกปลอมที่นี่ ภาษาญี่ปุ่นกำลังได้รับความนิยมในการเรียนเป็นภาษาที่สอง หรือที่สามจากคนบราซิล เส้นทางการอพยพที่ยาวไกล และระยะเวลาที่ยาวนานกำลังได้รับการเฉลิมฉลอง แต่ใครจะรู้ว่าเบื้องหลังของใบหน้าฉาบสุข ญี่ปุ่นบราซิลเลียนเหล่านี้ได้เผชิญความยากลำบากอะไรมาบ้าง กับการเป็นคนตะวันออกในดินแดนเสรีแห่งประเทศบราซิล และกับการเป็นคนนอกในสายตาของคนญี่ปุ่นด้วยกันเอง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แสดงความคิดเห็น
ประเทศญี่ปุ่นกับบราซิล มีความสัมพันธ์อะไรกันเหรอ ???
นงงามญี่ปุ่น ที่เข้ารอบนางงามจักรวาลครั้งล่าสุด นั่นก็ลูกครึ่งบราซิล
นักบอลบราซิลก็มีลูกครึ่งญี่ปุ่นอีก ไคโอะ เฟลิเป้นั่นไง
มาโอลิมปิกหนนี้ นักปิงปองบราซิลบางคนนี่ ทั้งชื่อ ทั้งหน้า ญี่ปุ่นมาเชียว