สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
โดยทั่วๆไป มักจะไม่รู้ว่าจริงๆ แล้วนักการทูตต้องเรียนจบอะไรมาถึงจะเป็นได้
คนส่วนมากจะคิดว่าต้องจบเฉพาะแต่ รัฐศาสตร์ สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เท่านั้น
แน่นอนว่าว่า รัฐศาสตร์ สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จะตรงสายที่สุด
แต่จริงๆแล้ว การเป็น นักการทูต สามารถรับบัณฑิตได้จากหลายสาขาวิชาครับ
ทูต คือ ข้าราชการพลเรือนสามัญ ประเภทวิชาการ ตำแหน่งหนึ่ง
เรียกว่า นักการทูต (ปฏิบัติการ, ชำนาญการ, ชำนาญการพิเศษ)
การจะเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญได้
ก็ต้องสอบแข่งขันเข้ามาตามขั้นตอน คือ
1. ภาค ก. ความรู้ความสามารทั่วไป
2. ภาค ข. ความรู้เฉพาะตำแหน่ง
3. ภาค ค. ความเหมาะสมกับตำแหน่ง (สัมภาษณ์)
คนธรรมดาๆ ทุกคนมีสิทธิเป็นข้าราชการได้เท่าเทียมกัน
หากคุณสมบัติพื้นฐานครบถ้วน เช่น วุฒิการศึกษา อายุ สัญชาติ เป็นต้น
ตามประกาศรับสมัครสอบแข่งขันล่าสุดปี 2558
นักการทูตปฏิบัติการ ต้องมีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่
ปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน หรือ
ปริญญาโทหรือคุณอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน
ในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง หรือ หลายสาขาวิชา ดังต่อไปนี้
สาขาวิชารัฐศาสตร์
สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
สาขาวิชาบริหารรัฐกิจ
สาขาวิชาบริหารธุรกิจ
สาขาวิชาการจัดการ
สาขาวิชานิติศาสตร์
สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
สาขาวิชาการบัญชี
สาขาวิชาภาษา วรรณคดี
สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
สาขาวิชาศิลปะ วัฒนธรรม
สาขาวิชาประวัติศาสตร์ โบราณคดี
สาขาวิชาปรัชญา ศาสนา เทววิทยา
สาขาวิชาสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์
หรือ
สาขาวิชานิเทศศาสตร์
http://job.mfa.go.th/201502/mfa201502.pdf
อันนี้เป็นประกาศรับสมัครสอบล่าสุด ลองไปอ่านทำความเข้าใจดูครับ
ในส่วนการเตรียมตัวสอบข้อเขียน ประกาศรับสมัครฯ จะระบุขอบเขตเนื้อหาวิชาที่ใช้สอบมาให้แล้ว
ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันนักการทูตปฏิบัติการล่าสุดปี 2558 ระบุหลักสูตรการสอบแข่งขันไว้ดังนี้
1. การสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (200 คะแนน สอบข้อเขียนปรนัย)
1.1 วิชาความรู้ความสามารถทั่วไป 100 คะแนน เป็นข้อสอบภาษาไทย
เพื่อทดสอบความรู้ความสามารถทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในมิติต่างๆ
ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม กฎหมาย ฯลฯ ทั้งของประเทศไทย และของโลก
1.2 วิชาการใช้ภาษาอังกฤษ 100 คะแนน เป็นข้อสอบภาษาอังกฤษ
เพื่อทดสอบทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ เช่น ไวยากรณ์ และการอ่านจับใจความ เป็นต้น
2. การสอบแข่งขันเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (200 คะแนน สอบข้อเขียนอัตนัย)
2.1 วิชาความรู้ภาษาต่างประเทศ 100 คะแนน
2.1.1 เรียงความเป็นภาษาต่างประเทศ (สามารถเลือกตอบเป็น ภาษา รัสเซีย จีน อังกฤษ
ฝรั่งเศส สเปน อารบิก โปรตุเกส ญี่ปุ่น เยอรมัน บาฮาชา พม่า เขมร หรือ เวียดนาม)
2.1.2 ย่อความภาษาอังกฤษเป็นภาษาอังกฤษ
2.1.3 แปลภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ
2.1.4 แปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย
2.2 วิชาความรู้สำหรับนักการทูต 100 คะแนน มีข้อสอบ 4 ข้อ บังคับทำ 1 ข้อ และให้เลือกทำ 2 ใน 3 ข้อ
สามารถเลือกตอบเป็น ภาษาไทย รัสเซีย จีน อังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน อารบิก โปรตุเกส ญี่ปุ่น เยอรมัน บาฮาชา พม่า เขมร หรือ เวียดนาม)
2.2.1 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (บังคับทำ)
2.2.2 องค์การระหว่างประเทศ (เลือกทำ)
2.2.3 เศรษฐกิจระหว่างประเทศ (เลือกทำ)
2.2.4 กฎหมายระหว่างประเทศ (เลือกทำ)
จะสังเกตได้ว่า การสอบนักการทูตปฏิบัติการ
สิ่งที่ควรเน้นหนักมี 2 ประการ คือ
1. ทักษะภาษาอังกฤษ เพราะเป็นพื้นฐานในการทำข้อสอบ และ
2. ความรู้ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เพราะเป็นเนื้อหาที่ออกข้อสอบ ครับ
หากจะเตรียมตัว ก็เตรียมทักษะในข้อ 1. และ ความรู้ในข้อ 2. ให้มากๆนะครับ
ข้อแนะนำ
ไม่ต้องกังวล ว่า นามสกุลไม่ได้ดัง เส้นไม่ใหญ่ ไม่มีทุนทรัพย์ในการไปเรียนต่อนอก
ทูต คือ ข้าราชการ ประเภทหนึ่ง ต้องมีการสอบแข่งขันเข้าตามกระบวนการ
สามารถเป็นได้แน่นอนถ้าสอบผ่าน ไอ้เรื่องเส้นน่ะ อย่าไปฟังคนอื่นมาก
ตำแหน่งประเภทนี้ ระดับนี้ ไอ้พวกเส้นล้วนๆ ไม่มีความสามารถ ฝากเข้ามาเลยแบบไม่ต้องสอบน่ะ ไม่มีหรอกครับ
อีกอย่างนึง คนเก่งกว่าเราก็อยากเป็นทูตเยอะแยะ
ถ้าเราอ่อนหัด ไม่พัฒนาตัวเอง ก็ไม่มีวันได้เป็นหรอกครับ
รู้ว่าอ่อนอะไร ก็ไปฝึกหัดมา
รู้ว่าเกรดไม่ดี ก็ขยันให้มากๆ
อยากเข้ามหาวิทยาลัยดีๆ ดังๆ ก็ต้องขยัน ต้องเก่ง ต้องพยายาม ครับ
คนส่วนมากจะคิดว่าต้องจบเฉพาะแต่ รัฐศาสตร์ สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เท่านั้น
แน่นอนว่าว่า รัฐศาสตร์ สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จะตรงสายที่สุด
แต่จริงๆแล้ว การเป็น นักการทูต สามารถรับบัณฑิตได้จากหลายสาขาวิชาครับ
ทูต คือ ข้าราชการพลเรือนสามัญ ประเภทวิชาการ ตำแหน่งหนึ่ง
เรียกว่า นักการทูต (ปฏิบัติการ, ชำนาญการ, ชำนาญการพิเศษ)
การจะเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญได้
ก็ต้องสอบแข่งขันเข้ามาตามขั้นตอน คือ
1. ภาค ก. ความรู้ความสามารทั่วไป
2. ภาค ข. ความรู้เฉพาะตำแหน่ง
3. ภาค ค. ความเหมาะสมกับตำแหน่ง (สัมภาษณ์)
คนธรรมดาๆ ทุกคนมีสิทธิเป็นข้าราชการได้เท่าเทียมกัน
หากคุณสมบัติพื้นฐานครบถ้วน เช่น วุฒิการศึกษา อายุ สัญชาติ เป็นต้น
ตามประกาศรับสมัครสอบแข่งขันล่าสุดปี 2558
นักการทูตปฏิบัติการ ต้องมีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่
ปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน หรือ
ปริญญาโทหรือคุณอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน
ในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง หรือ หลายสาขาวิชา ดังต่อไปนี้
สาขาวิชารัฐศาสตร์
สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
สาขาวิชาบริหารรัฐกิจ
สาขาวิชาบริหารธุรกิจ
สาขาวิชาการจัดการ
สาขาวิชานิติศาสตร์
สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
สาขาวิชาการบัญชี
สาขาวิชาภาษา วรรณคดี
สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
สาขาวิชาศิลปะ วัฒนธรรม
สาขาวิชาประวัติศาสตร์ โบราณคดี
สาขาวิชาปรัชญา ศาสนา เทววิทยา
สาขาวิชาสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์
หรือ
สาขาวิชานิเทศศาสตร์
http://job.mfa.go.th/201502/mfa201502.pdf
อันนี้เป็นประกาศรับสมัครสอบล่าสุด ลองไปอ่านทำความเข้าใจดูครับ
ในส่วนการเตรียมตัวสอบข้อเขียน ประกาศรับสมัครฯ จะระบุขอบเขตเนื้อหาวิชาที่ใช้สอบมาให้แล้ว
ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันนักการทูตปฏิบัติการล่าสุดปี 2558 ระบุหลักสูตรการสอบแข่งขันไว้ดังนี้
1. การสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (200 คะแนน สอบข้อเขียนปรนัย)
1.1 วิชาความรู้ความสามารถทั่วไป 100 คะแนน เป็นข้อสอบภาษาไทย
เพื่อทดสอบความรู้ความสามารถทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในมิติต่างๆ
ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม กฎหมาย ฯลฯ ทั้งของประเทศไทย และของโลก
1.2 วิชาการใช้ภาษาอังกฤษ 100 คะแนน เป็นข้อสอบภาษาอังกฤษ
เพื่อทดสอบทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ เช่น ไวยากรณ์ และการอ่านจับใจความ เป็นต้น
2. การสอบแข่งขันเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (200 คะแนน สอบข้อเขียนอัตนัย)
2.1 วิชาความรู้ภาษาต่างประเทศ 100 คะแนน
2.1.1 เรียงความเป็นภาษาต่างประเทศ (สามารถเลือกตอบเป็น ภาษา รัสเซีย จีน อังกฤษ
ฝรั่งเศส สเปน อารบิก โปรตุเกส ญี่ปุ่น เยอรมัน บาฮาชา พม่า เขมร หรือ เวียดนาม)
2.1.2 ย่อความภาษาอังกฤษเป็นภาษาอังกฤษ
2.1.3 แปลภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ
2.1.4 แปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย
2.2 วิชาความรู้สำหรับนักการทูต 100 คะแนน มีข้อสอบ 4 ข้อ บังคับทำ 1 ข้อ และให้เลือกทำ 2 ใน 3 ข้อ
สามารถเลือกตอบเป็น ภาษาไทย รัสเซีย จีน อังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน อารบิก โปรตุเกส ญี่ปุ่น เยอรมัน บาฮาชา พม่า เขมร หรือ เวียดนาม)
2.2.1 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (บังคับทำ)
2.2.2 องค์การระหว่างประเทศ (เลือกทำ)
2.2.3 เศรษฐกิจระหว่างประเทศ (เลือกทำ)
2.2.4 กฎหมายระหว่างประเทศ (เลือกทำ)
จะสังเกตได้ว่า การสอบนักการทูตปฏิบัติการ
สิ่งที่ควรเน้นหนักมี 2 ประการ คือ
1. ทักษะภาษาอังกฤษ เพราะเป็นพื้นฐานในการทำข้อสอบ และ
2. ความรู้ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เพราะเป็นเนื้อหาที่ออกข้อสอบ ครับ
หากจะเตรียมตัว ก็เตรียมทักษะในข้อ 1. และ ความรู้ในข้อ 2. ให้มากๆนะครับ
ข้อแนะนำ
ไม่ต้องกังวล ว่า นามสกุลไม่ได้ดัง เส้นไม่ใหญ่ ไม่มีทุนทรัพย์ในการไปเรียนต่อนอก
ทูต คือ ข้าราชการ ประเภทหนึ่ง ต้องมีการสอบแข่งขันเข้าตามกระบวนการ
สามารถเป็นได้แน่นอนถ้าสอบผ่าน ไอ้เรื่องเส้นน่ะ อย่าไปฟังคนอื่นมาก
ตำแหน่งประเภทนี้ ระดับนี้ ไอ้พวกเส้นล้วนๆ ไม่มีความสามารถ ฝากเข้ามาเลยแบบไม่ต้องสอบน่ะ ไม่มีหรอกครับ
อีกอย่างนึง คนเก่งกว่าเราก็อยากเป็นทูตเยอะแยะ
ถ้าเราอ่อนหัด ไม่พัฒนาตัวเอง ก็ไม่มีวันได้เป็นหรอกครับ
รู้ว่าอ่อนอะไร ก็ไปฝึกหัดมา
รู้ว่าเกรดไม่ดี ก็ขยันให้มากๆ
อยากเข้ามหาวิทยาลัยดีๆ ดังๆ ก็ต้องขยัน ต้องเก่ง ต้องพยายาม ครับ
แสดงความคิดเห็น
อยากเป็น " นักการทูต " ต้องเรียนอะไรยังไงบ้างคะ?
ปล.ขอบคุณสำหรับคำตอบนะคะ