สอบถามเกี่ยวกับการทำเดรัจฉานวิชา จากพระสูตรเรื่องของ มหาศีล (พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค ๙/๖๔/๑๑๔-๑๒๑)
http://etipitaka.com/read/thai/9/64/
มีคำถามคือ
1.
เดรัจฉานวิชา มีอะไรบ้าง? (ข้อนี้ อาจอธิบายได้ด้วยพระสูตรด้านล่าง)
2. พระพุทธบัญญัติที่กล่าวว่า "
ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ" คำว่า เลี้ยงชีพ หมายความถึงแค่ไหน? ถ้าทำสิ่งเหล่านี้ และได้ประโยชน์จากสิ่งเหล่านี้ ถือเป็นการเลี้ยงชีพหรือไม่? หรือว่า แค่ลงมือกระทำก็ถือว่า ประพฤติผิดแล้ว?
3. พระพุทธบัญญัติที่กล่าวว่า "
แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง" หมายความว่าอย่างไร? ฤๅจะหมายถึง สิ่งเหล่านี้ (เดรัจฉานวิชา) เป็นข้อห้ามที่ภิกษุไม่ควรทำ ห้ามทำ แต่หากทำแล้ว มีอาบัติหรือไม่อย่างไร? หากมีอาบัติ เป็นอาบัติประเภทใด? มีวิธีการออกอาบัติอย่างไร?
4. ส่วนท้ายพระสูตรกล่าวว่า "ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหนๆ เลย เพราะศีลสังวรนั้น"... คำว่า "
ศีลสังวร" มีความหมายอย่างพิสดารแค่ไหน? ข้อนี้ได้ค้นคว้าเบื้องต้น พบในพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=243
5. หากวินิจฉัยว่า "เดรัจฉานวิชา" เป็น ศีล ดังนี้แล้ว ภิกษุพึงรักษา และสำรวมระวังด้วยหรือไม่? และเดรัจฉานวิชา นั้นถูกรวมอยู่ใน ปาติโมกข์ศีล ๒๒๗ ข้อด้วยหรือไม่? หากไม่ได้รวมอยู่ในปาติโมกข์แล้ว ควรมีแนวปฏิบัติอย่างไร?
6. ส่วนหนึ่งใน พระสูตร กล่าวว่า "
การรดน้ำมนต์" ก็เป็นหนึ่งในเดรัจฉานวิชา แต่เหตุใดปัจจุบันมีการทำน้ำมนต์ รดน้ำมนต์ โดยภิกขุในธรรมวินัยของพระศาสดากันอย่างกว้างขวาง?
7. ส่วนหนึ่งใน พระสูตร กล่าวว่า "
การเป็นหมอปลุกเสก" ก็เป็นหนึ่งในเดรัจฉานวิชา แล้วการที่ภิกขุในธรรมวินัยของพระศาสดา เข้าพิธีปลุกเสก เครื่องรางของขลัง จะถือว่าเป็นหมอปลุกเสกด้วยหรือไม่อย่างไร?
8. ส่วนหนึ่งใน พระสูตร กล่าวว่า "
ให้ฤกษ์วิวาหมงคล" ก็เป็นหนึ่งในเดรัจฉานวิชา แล้วการที่ภิกขุในธรรมวินัยของพระศาสดา มีการให้ฤกษ์ยามต่างๆ ฤกษ์แต่งงาน ฤกษ์ขึ้นบ้านใหม่ ฯลฯ จะถือว่าเป็นการทำเดรัจฉานวิชาด้วยหรือไม่อย่างไร?
สืบเนื่องจาก ความคิดเห็นที่ ๖ ของคุณสมาชิกหมายเลข 2474575 อ้างอิงถึง ภิกษุที่เรียนเดรัจฉานวิชา และอาบัติต่างๆ ผมเลยลองสืบค้นดูเพิ่มเติม พบว่า มีพระพุทธบัญญัติไว้กับ ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ และพระฉัพพัคคีย์ ที่เรียน,สอนเดรัจฉานวิชา
จาก พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) วินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ (๓/๑๙๕/๓๒๒)
http://etipitaka.com/read/thai/3/195/
๙. อนึ่ง ภิกษุณีใด เรียนติรัจฉานวิชา เป็นปาจิตตีย์.
๑๐. อนึ่ง ภิกษุณีใด สอนติรัจฉานวิชา เป็นปาจิตตีย์.
จาก พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) วินัยปิฎก จุลวรรค ภาค ๒ (๗/๔๖/๑๘๓)
http://etipitaka.com/read/thai/7/46/
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเรียนดิรัจฉานวิชา รูปใดเรียน ต้องอาบัติทุกกฏ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสอนดิรัจฉานวิชา รูปใดสอน ต้องอาบัติทุกกฏ ฯ
พระสูตรเรื่อง "มหาศีล" จาก พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค (๙/๖๔/๑๑๔-๑๒๑)
http://etipitaka.com/read/thai/9/64/
มหาศีล
[๑๑๔] ๑. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่าง
สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย
ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ คือ ทายอวัยวะ ทายนิมิต ทายอุปบาต ทำนายฝัน ทำนายลักษณะ
ทำนายหนูกัดผ้า ทำพิธีบูชาไฟ ทำพิธีเบิกแว่นเวียนเทียน ทำพิธีซัดแกลบบูชาไฟ ทำพิธีซัด
รำบูชาไฟ ทำพิธีซัดข้าวสารบูชาไฟ ทำพิธีเติมเนยบูชาไฟ ทำพิธีเติมน้ำมันบูชาไฟ ทำพิธีเสกเป่า
บูชาไฟ ทำพลีกรรมด้วยโลหิต เป็นหมอดูอวัยวะ ดูลักษณะที่บ้าน ดูลักษณะที่นา เป็นหมอ
ปลุกเสก เป็นหมอผี เป็นหมอลงเลขยันต์คุ้มกันบ้านเรือน เป็นหมองู เป็นหมอยาพิษ
เป็นหมอแมลงป่อง เป็นหมอรักษาแผลหนูกัด เป็นหมอทายเสียงนก เป็นหมอทายเสียงกา
เป็นหมอทายอายุ เป็นหมอเสกกันลูกศร เป็นหมอทายเสียงสัตว์ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอ
ประการหนึ่ง.
[๑๑๕] ๒. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่
สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว เลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย
ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ คือ ทายลักษณะแก้วมณี ทายลักษณะผ้า ทายลักษณะไม้พลอง
ทายลักษณะศาตรา ทายลักษณะดาบ ทายลักษณะศร ทายลักษณะธนู ทายลักษณะอาวุธ
ทายลักษณะสตรี ทายลักษณะบุรุษ ทายลักษณะกุมาร ทายลักษณะกุมารี ทายลักษณะทาส
ทายลักษณะทาสี ทายลักษณะช้าง ทายลักษณะม้า ทายลักษณะกระบือ ทายลักษณะโคอุสภะ
ทายลักษณะโค ทายลักษณะแพะ ทายลักษณะแกะ ทายลักษณะไก่ ทายลักษณะนกกระทา
ทายลักษณะ***(
ใช้คำแทนคือ ตัวเงินตัวทอง หรือตะกวด หรือ Varanus Salvator) ทายลักษณะตุ่น ทายลักษณะเต่า ทายลักษณะมฤค แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอ
ประการหนึ่ง.
[๑๑๖] ๓. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่
สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย
ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ คือ ดูฤกษ์ยาตราทัพว่า พระราชาจักยกออก พระราชาจักไม่ยกออก
พระราชาภายในจักยกเข้าประชิด พระราชาภายนอกจักถอย พระราชาภายนอกจักยกเข้าประชิด
พระราชาภายในจักถอย พระราชาภายในจักมีชัย พระราชาภายนอกจักปราชัย พระราชาภายนอก
จักมีชัย พระราชาภายในจักปราชัย พระราชาองค์นี้จักมีชัย พระราชาองค์นี้จักปราชัย เพราะเหตุ
นี้ๆ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
[๑๑๗] ๔. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่
สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย
ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ คือ พยากรณ์ว่า จักมีจันทรคราส จักมีสุริยคราส จักมีนักษัตรคราส
ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์จักเดินถูกทาง ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์จักเดินผิดทาง ดาวนักษัตรจักเดินถูกทาง
ดาวนักษัตรจักเดินผิดทาง จักมีอุกกาบาต จักมีดาวหาง จักมีแผ่นดินไหว จักมีฟ้าร้อง ดวงจันทร์
ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักขึ้น ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักตก ดวงจันทร์
ดวงอาทิตย์ และดาวนักษัตรจักมัวหมอง ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ และดาวนักษัตรจักกระจ่าง
จันทรคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้ สุริยคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้ นักษัตรคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้
ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เดินถูกทางจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เดินผิดทางจักมีผลเป็น
อย่างนี้ ดาวนักษัตรเดินถูกทางจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดาวนักษัตรเดินผิดทางจักมีผลเป็นอย่างนี้
มีอุกกาบาตจักมีผลเป็นอย่างนี้ มีดาวหางจักมีผลเป็นอย่างนี้ แผ่นดินไหวจักมีผลเป็นอย่างนี้
ฟ้าร้องจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรขึ้นจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์
ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรตกจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรมัวหมอง
จักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรกระจ่างจักมีผลเป็นอย่างนี้ แม้ข้อนี้
ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
[๑๑๘] ๕. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่
สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย
ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ คือ พยากรณ์ว่า จักมีฝนดี จักมีฝนแล้ง จักมีภิกษาหาได้ง่าย จักมีภิกษา
หาได้ยาก จักมีความเกษม จักมีภัย จักเกิดโรค จักมีความสำราญหาโรคมิได้ หรือนับคะแนน
คำนวณ นับประมวลแต่งกาพย์ โลกายศาสตร์ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
[๑๑๙] ๖. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่
สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย
ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ คือ ให้ฤกษ์อาวาหมงคล ให้ฤกษ์วิวาหมงคล ดูฤกษ์เรียงหมอน ดูฤกษ์
หย่าร้าง ดูฤกษ์เก็บทรัพย์ ดูฤกษ์จ่ายทรัพย์ ดูโชคดี ดูเคราะห์ร้าย ให้ยาผดุงครรภ์ ร่ายมนต์
ให้ลิ้นกระด้าง ร่ายมนต์ให้คางแข็ง ร่ายมนต์ให้มือสั่น ร่ายมนต์ไม่ให้หูได้ยินเสียง เป็นหมอ
ทรงกระจก เป็นหมอทรงหญิงสาว เป็นหมอทรงเจ้า บวงสรวงพระอาทิตย์ บวงสรวงท้าวมหาพรหม
ร่ายมนต์พ่นไฟ ทำพิธีเชิญขวัญ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
[๑๒๐] ๗. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่
สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย
ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ คือ ทำพิธีบนบาน ทำพิธีแก้บน ร่ายมนต์ขับผี สอนมนต์ป้องกัน
บ้านเรือน ทำกะเทยให้กลับเป็นชาย ทำชายให้กลายเป็นกะเทย ทำพิธีปลูกเรือน ทำพิธี
บวงสรวงพื้นที่ พ่นน้ำมนต์ รดน้ำมนต์ ทำพิธีบูชาไฟ ปรุงยาสำรอก ปรุงยาถ่าย ปรุงยา
ถ่ายโทษเบื้องบน ปรุงยาถ่ายโทษเบื้องล่าง ปรุงยาแก้ปวดศีรษะ หุงน้ำมันหยอดหู ปรุงยาตา
ปรุงยานัตถุ์ ปรุงยาทากัด ปรุงยาทาสมาน ป้ายยาตา ทำการผ่าตัด รักษาเด็ก ใส่ยา ชะแผล
แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
[๑๒๑] ดูกรมหาบพิตร ภิกษุสมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้ ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหนๆ เลย
เพราะศีลสังวรนั้นเปรียบเหมือนกษัตริย์ผู้ได้มุรธาภิเษก กำจัดราชศัตรูได้แล้ว ย่อมไม่ประสบภัย
แต่ไหนๆ เพราะราชศัตรูนั้น ดูกรมหาบพิตร ภิกษุก็ฉันนั้น สมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้แล้ว
ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหนๆ เพราะศีลสังวรนั้น ภิกษุสมบูรณ์ด้วยอริยศีลขันธ์นี้ ย่อมได้เสวยสุข
อันปราศจากโทษในภายใน ดูกรมหาบพิตร ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถึง
พร้อมด้วยศีล.
จบมหาศีล.
[พระสูตร] เดรัจฉานวิชา คืออะไรบ้าง?
สอบถามเกี่ยวกับการทำเดรัจฉานวิชา จากพระสูตรเรื่องของ มหาศีล (พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค ๙/๖๔/๑๑๔-๑๒๑) http://etipitaka.com/read/thai/9/64/
มีคำถามคือ
1. เดรัจฉานวิชา มีอะไรบ้าง? (ข้อนี้ อาจอธิบายได้ด้วยพระสูตรด้านล่าง)
2. พระพุทธบัญญัติที่กล่าวว่า "ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ" คำว่า เลี้ยงชีพ หมายความถึงแค่ไหน? ถ้าทำสิ่งเหล่านี้ และได้ประโยชน์จากสิ่งเหล่านี้ ถือเป็นการเลี้ยงชีพหรือไม่? หรือว่า แค่ลงมือกระทำก็ถือว่า ประพฤติผิดแล้ว?
3. พระพุทธบัญญัติที่กล่าวว่า "แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง" หมายความว่าอย่างไร? ฤๅจะหมายถึง สิ่งเหล่านี้ (เดรัจฉานวิชา) เป็นข้อห้ามที่ภิกษุไม่ควรทำ ห้ามทำ แต่หากทำแล้ว มีอาบัติหรือไม่อย่างไร? หากมีอาบัติ เป็นอาบัติประเภทใด? มีวิธีการออกอาบัติอย่างไร?
4. ส่วนท้ายพระสูตรกล่าวว่า "ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหนๆ เลย เพราะศีลสังวรนั้น"... คำว่า "ศีลสังวร" มีความหมายอย่างพิสดารแค่ไหน? ข้อนี้ได้ค้นคว้าเบื้องต้น พบในพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=243
5. หากวินิจฉัยว่า "เดรัจฉานวิชา" เป็น ศีล ดังนี้แล้ว ภิกษุพึงรักษา และสำรวมระวังด้วยหรือไม่? และเดรัจฉานวิชา นั้นถูกรวมอยู่ใน ปาติโมกข์ศีล ๒๒๗ ข้อด้วยหรือไม่? หากไม่ได้รวมอยู่ในปาติโมกข์แล้ว ควรมีแนวปฏิบัติอย่างไร?
6. ส่วนหนึ่งใน พระสูตร กล่าวว่า "การรดน้ำมนต์" ก็เป็นหนึ่งในเดรัจฉานวิชา แต่เหตุใดปัจจุบันมีการทำน้ำมนต์ รดน้ำมนต์ โดยภิกขุในธรรมวินัยของพระศาสดากันอย่างกว้างขวาง?
7. ส่วนหนึ่งใน พระสูตร กล่าวว่า "การเป็นหมอปลุกเสก" ก็เป็นหนึ่งในเดรัจฉานวิชา แล้วการที่ภิกขุในธรรมวินัยของพระศาสดา เข้าพิธีปลุกเสก เครื่องรางของขลัง จะถือว่าเป็นหมอปลุกเสกด้วยหรือไม่อย่างไร?
8. ส่วนหนึ่งใน พระสูตร กล่าวว่า "ให้ฤกษ์วิวาหมงคล" ก็เป็นหนึ่งในเดรัจฉานวิชา แล้วการที่ภิกขุในธรรมวินัยของพระศาสดา มีการให้ฤกษ์ยามต่างๆ ฤกษ์แต่งงาน ฤกษ์ขึ้นบ้านใหม่ ฯลฯ จะถือว่าเป็นการทำเดรัจฉานวิชาด้วยหรือไม่อย่างไร?
สืบเนื่องจาก ความคิดเห็นที่ ๖ ของคุณสมาชิกหมายเลข 2474575 อ้างอิงถึง ภิกษุที่เรียนเดรัจฉานวิชา และอาบัติต่างๆ ผมเลยลองสืบค้นดูเพิ่มเติม พบว่า มีพระพุทธบัญญัติไว้กับ ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ และพระฉัพพัคคีย์ ที่เรียน,สอนเดรัจฉานวิชา
จาก พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) วินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ (๓/๑๙๕/๓๒๒) http://etipitaka.com/read/thai/3/195/
๙. อนึ่ง ภิกษุณีใด เรียนติรัจฉานวิชา เป็นปาจิตตีย์.
๑๐. อนึ่ง ภิกษุณีใด สอนติรัจฉานวิชา เป็นปาจิตตีย์.
จาก พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) วินัยปิฎก จุลวรรค ภาค ๒ (๗/๔๖/๑๘๓) http://etipitaka.com/read/thai/7/46/
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเรียนดิรัจฉานวิชา รูปใดเรียน ต้องอาบัติทุกกฏ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสอนดิรัจฉานวิชา รูปใดสอน ต้องอาบัติทุกกฏ ฯ
พระสูตรเรื่อง "มหาศีล" จาก พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค (๙/๖๔/๑๑๔-๑๒๑) http://etipitaka.com/read/thai/9/64/
มหาศีล
[๑๑๔] ๑. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่าง
สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย
ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ คือ ทายอวัยวะ ทายนิมิต ทายอุปบาต ทำนายฝัน ทำนายลักษณะ
ทำนายหนูกัดผ้า ทำพิธีบูชาไฟ ทำพิธีเบิกแว่นเวียนเทียน ทำพิธีซัดแกลบบูชาไฟ ทำพิธีซัด
รำบูชาไฟ ทำพิธีซัดข้าวสารบูชาไฟ ทำพิธีเติมเนยบูชาไฟ ทำพิธีเติมน้ำมันบูชาไฟ ทำพิธีเสกเป่า
บูชาไฟ ทำพลีกรรมด้วยโลหิต เป็นหมอดูอวัยวะ ดูลักษณะที่บ้าน ดูลักษณะที่นา เป็นหมอ
ปลุกเสก เป็นหมอผี เป็นหมอลงเลขยันต์คุ้มกันบ้านเรือน เป็นหมองู เป็นหมอยาพิษ
เป็นหมอแมลงป่อง เป็นหมอรักษาแผลหนูกัด เป็นหมอทายเสียงนก เป็นหมอทายเสียงกา
เป็นหมอทายอายุ เป็นหมอเสกกันลูกศร เป็นหมอทายเสียงสัตว์ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอ
ประการหนึ่ง.
[๑๑๕] ๒. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่
สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว เลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย
ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ คือ ทายลักษณะแก้วมณี ทายลักษณะผ้า ทายลักษณะไม้พลอง
ทายลักษณะศาตรา ทายลักษณะดาบ ทายลักษณะศร ทายลักษณะธนู ทายลักษณะอาวุธ
ทายลักษณะสตรี ทายลักษณะบุรุษ ทายลักษณะกุมาร ทายลักษณะกุมารี ทายลักษณะทาส
ทายลักษณะทาสี ทายลักษณะช้าง ทายลักษณะม้า ทายลักษณะกระบือ ทายลักษณะโคอุสภะ
ทายลักษณะโค ทายลักษณะแพะ ทายลักษณะแกะ ทายลักษณะไก่ ทายลักษณะนกกระทา
ทายลักษณะ***(ใช้คำแทนคือ ตัวเงินตัวทอง หรือตะกวด หรือ Varanus Salvator) ทายลักษณะตุ่น ทายลักษณะเต่า ทายลักษณะมฤค แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอ
ประการหนึ่ง.
[๑๑๖] ๓. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่
สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย
ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ คือ ดูฤกษ์ยาตราทัพว่า พระราชาจักยกออก พระราชาจักไม่ยกออก
พระราชาภายในจักยกเข้าประชิด พระราชาภายนอกจักถอย พระราชาภายนอกจักยกเข้าประชิด
พระราชาภายในจักถอย พระราชาภายในจักมีชัย พระราชาภายนอกจักปราชัย พระราชาภายนอก
จักมีชัย พระราชาภายในจักปราชัย พระราชาองค์นี้จักมีชัย พระราชาองค์นี้จักปราชัย เพราะเหตุ
นี้ๆ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
[๑๑๗] ๔. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่
สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย
ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ คือ พยากรณ์ว่า จักมีจันทรคราส จักมีสุริยคราส จักมีนักษัตรคราส
ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์จักเดินถูกทาง ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์จักเดินผิดทาง ดาวนักษัตรจักเดินถูกทาง
ดาวนักษัตรจักเดินผิดทาง จักมีอุกกาบาต จักมีดาวหาง จักมีแผ่นดินไหว จักมีฟ้าร้อง ดวงจันทร์
ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักขึ้น ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักตก ดวงจันทร์
ดวงอาทิตย์ และดาวนักษัตรจักมัวหมอง ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ และดาวนักษัตรจักกระจ่าง
จันทรคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้ สุริยคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้ นักษัตรคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้
ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เดินถูกทางจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เดินผิดทางจักมีผลเป็น
อย่างนี้ ดาวนักษัตรเดินถูกทางจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดาวนักษัตรเดินผิดทางจักมีผลเป็นอย่างนี้
มีอุกกาบาตจักมีผลเป็นอย่างนี้ มีดาวหางจักมีผลเป็นอย่างนี้ แผ่นดินไหวจักมีผลเป็นอย่างนี้
ฟ้าร้องจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรขึ้นจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์
ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรตกจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรมัวหมอง
จักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรกระจ่างจักมีผลเป็นอย่างนี้ แม้ข้อนี้
ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
[๑๑๘] ๕. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่
สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย
ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ คือ พยากรณ์ว่า จักมีฝนดี จักมีฝนแล้ง จักมีภิกษาหาได้ง่าย จักมีภิกษา
หาได้ยาก จักมีความเกษม จักมีภัย จักเกิดโรค จักมีความสำราญหาโรคมิได้ หรือนับคะแนน
คำนวณ นับประมวลแต่งกาพย์ โลกายศาสตร์ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
[๑๑๙] ๖. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่
สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย
ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ คือ ให้ฤกษ์อาวาหมงคล ให้ฤกษ์วิวาหมงคล ดูฤกษ์เรียงหมอน ดูฤกษ์
หย่าร้าง ดูฤกษ์เก็บทรัพย์ ดูฤกษ์จ่ายทรัพย์ ดูโชคดี ดูเคราะห์ร้าย ให้ยาผดุงครรภ์ ร่ายมนต์
ให้ลิ้นกระด้าง ร่ายมนต์ให้คางแข็ง ร่ายมนต์ให้มือสั่น ร่ายมนต์ไม่ให้หูได้ยินเสียง เป็นหมอ
ทรงกระจก เป็นหมอทรงหญิงสาว เป็นหมอทรงเจ้า บวงสรวงพระอาทิตย์ บวงสรวงท้าวมหาพรหม
ร่ายมนต์พ่นไฟ ทำพิธีเชิญขวัญ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
[๑๒๐] ๗. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่
สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย
ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ คือ ทำพิธีบนบาน ทำพิธีแก้บน ร่ายมนต์ขับผี สอนมนต์ป้องกัน
บ้านเรือน ทำกะเทยให้กลับเป็นชาย ทำชายให้กลายเป็นกะเทย ทำพิธีปลูกเรือน ทำพิธี
บวงสรวงพื้นที่ พ่นน้ำมนต์ รดน้ำมนต์ ทำพิธีบูชาไฟ ปรุงยาสำรอก ปรุงยาถ่าย ปรุงยา
ถ่ายโทษเบื้องบน ปรุงยาถ่ายโทษเบื้องล่าง ปรุงยาแก้ปวดศีรษะ หุงน้ำมันหยอดหู ปรุงยาตา
ปรุงยานัตถุ์ ปรุงยาทากัด ปรุงยาทาสมาน ป้ายยาตา ทำการผ่าตัด รักษาเด็ก ใส่ยา ชะแผล
แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
[๑๒๑] ดูกรมหาบพิตร ภิกษุสมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้ ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหนๆ เลย
เพราะศีลสังวรนั้นเปรียบเหมือนกษัตริย์ผู้ได้มุรธาภิเษก กำจัดราชศัตรูได้แล้ว ย่อมไม่ประสบภัย
แต่ไหนๆ เพราะราชศัตรูนั้น ดูกรมหาบพิตร ภิกษุก็ฉันนั้น สมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้แล้ว
ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหนๆ เพราะศีลสังวรนั้น ภิกษุสมบูรณ์ด้วยอริยศีลขันธ์นี้ ย่อมได้เสวยสุข
อันปราศจากโทษในภายใน ดูกรมหาบพิตร ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถึง
พร้อมด้วยศีล.
จบมหาศีล.