หมายเหตุ : อาจถูกสปอยล์เล็กน้อยด้วยภาพ
คำว่า “Zombie” ถูกนำมาใช่ในภาพยนตร์ครั้งแรกในหนังเรื่อง “White Zombie” ที่ฉายเมื่อปี 1932 ที่นำแสดงโดย Bela Lugosi นักแสดงเก่าแก่ที่เป็นที่จดจำในบทบาทของของท่านเค้าท์แดร็กคูล่าและตัวละครจากหนังสยองขวัญมากมายในยุคสมัยนั้น
นักแสดง Bela Lugosi จากเรื่อง White Zombie ที่สามารถทำให้หญิงสาวทำทุกอย่างตามสั่ง เครดิต kino.mustwatchtv.cz
โดย “White Zombie” เป็นภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับชายคนหนึ่ง (Bela Lugozi) ที่ใช้ศาสตร์มนต์ดำของ voodoo (ที่เป็นความเชื่อทางไสยศาสตร์ของแถบอัฟฟริกา) มาใช้ควบคุมจิตใจของผู้หญิงคนหนึ่ง ให้ทำตามคำสั่งของเขา
ถึงแม้ว่าชื่อของหนังเรื่องนี้จะใช้ชื่อว่า “White Zombie” แต่ในตัวหนังก็ไม่ได้มีภาพของ zombie ที่เราคุ้นเคย หรือความของคำว่า zombie ที่เราเข้าใจกันในยุคปัจจุบัน คำว่า zombie ที่ใช้ในหนังนั้น มาจากคำว่า zombi ที่เป็นภาษาปขงประเทศเฮติ (Haiti) ที่หมายถึงการปลุกวิญญาณของคนตายให้กลับมามีชีวิตใหม่ โดยตัวหนัง ก็ทำได้เพียงแค่การหยิบคำๆนี้มาใช้ และเปรียบเปรยกับหญิงสาวในเรื่องที่โดนมนต์สะกดควบคุม จนดูราวกับว่าเป็นวัตถุสิ่งของสำหรับเพศชาย
หญิงสาวที่ถูกควบคุมจิตใจ จนเป็นที่มาของคำว่า White Zombie เครดิต : goldenagehorror.com
ภาพของ zombie ที่เป็นศพเดินได้ และหิวกระหายเลือดเนื้อของมนุษย์ที่เราคุ้นเคยกัน ได้ถูกนำมาปรากฏในภาพยนตร์จริงๆเป็นครั้งแรกในอีก 30 กว่าปีต่อมา ในภาพยนตร์ของ George A. Romero เรื่อง Night of the living dead ในปี 1969 ที่เป็นเรื่องราวของคู่รักหนุ่มสาวที่เดินทางไปที่รัฐเพนซิลเวเนียทางตอนเหนือของอเมริกา เหตุการณ์ประหลาดทำให้ต้องมาหลบหนีในฟาร์มแห่งหนึ่ง
Night of the living dead (1969) เครดิต : bloody-disgusting.com
ภาพของศพที่ไม่ยอมตาย อยู่กันเป็นฝูง เดินอย่างเชื่องช้า เซื่องๆ โง่ๆ ไม่ค่อยฉลาด ของ George A. Romero ถือว่าเป็น blueprint แรกของวัฒนธรรม zombie ที่มีให้เราเห็นในปัจจุบัน แต่ทว่าในหนังเรื่อง Night of the living dead นั้น ไม่มีการใช้คำว่า “zombie” เลยแม้แต่ครั้งเดียว แต่กลับใช่คำว่า “ghoul” ที่แปลว่าผีที่กินซากศพ (ภาษาไทยจะแปลว่า ผีปอบ)
เครดิต : comsumerguideproductreviews.com
ต่อมา George A. Romero ถึงได้ใช้คำว่า “zombie” ในบทสัมภาษณ์ และมีการพูดถึงคำว่า “zombie” ในภาคต่อของหนัง Night of the living dead โดยใช้ชื่อว่า Dawn of the dead (1978) ในเวลาต่อมา
ภาพจากภาพยนตร์ Dawn of the dead (1978) ของ George A. Romero เครดิต : moviefancentral.com
ภาพลักษณ์ของ zombie ที่ George A. Romero สร้างไว้ ได้ค่อยๆก่อตัวขึ้นเป็นความกลัวที่เกิดขึ้นในใจของมนุษย์เรา จากกลุ่มศพเดินได้ที่มาจากการปลุกเสกด้วยเวทย์มนต์ ได้พัฒนาเรื่องเล่าให้กลายเป็นไวรัสสายพันธ์ใหม่ที่สามารถแพร่พันธุ์ผ่านมนุษย์อย่างรวดเร็ว
ภาพ George A. Romero และซอมบี้จากภาพยนตร์ Day of the dead (1985) ที่เขากำกับ เครดิต : nerdist.com
คำว่า zombie apocalypse หรือ วิกฤติซอมบี้ครองโลก กลายเป็นสิ่งคนยุคใหม่มีแนวโน้มเชื่อว่าจะเป็นไปได้ โดยอาศัยหลักการอ้างอิงทางวิทยาศาสตร์ และพัฒนาการของ zombie ในภาพยนตร์ที่ทำให้ดูน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
จาก zombie ที่ระบาดด้วยไวรัสที่มนุษย์สร้างขึ้น อย่างในเรื่อง Resident Evil (เกมเพลย์ 1 ออกมาเมื่อปี 1996 , ภาพยนตร์ปี 2002)
ซอมบี้จำนวนมากที่เกิดจากไวรัสของ Umbrella Corp. ใน Resident Evil (2002) เครดิต : gbhbl.com
ไปสู่ zombie ที่เคลื่อนไหวได้อย่างรวดเร็วด้วยโรคระบาดคล้ายๆพิษสุนัขบ้า อย่าง 28 Days Later (2002)
ซอมบี้ที่เคลื่อนไหวรวดเร็ว หรือ rabies zombies จาก 28 Days Later (2002) เครดิต : meeples.wordpress.com
จนกลายเป็น zombie ที่สามารถจู่โจมอย่างบ้าคลั่งอย่างมีรูปแบบเหมือนใน World War Z (2013)
ซอมบี้ที่เคลื่อนไหวอย่างมีรูปแบบมากขึ้นจาก World War Z (2013) เครดิต : digitaltrends.com
ความกลัว zombie ได้ขยายความสมจริงขึ้น เมื่อจำนวนประชากรของมนุษย์เรามีมากขึ้น บวกกับพฤติกรรมยึดติดกับเทคโนโลยีและเครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่ทำให้เราชินกับความอ่อนแอและการอยู่อย่างเห็นแก่ตัว จึงไม่แปลกอะไรที่ทฤษฏีวิกฤติการณ์ซอมบี้จะทำให้เราเกิดความสงสัยว่า ถ้าหากว่าวันหนึ่ง เราทุกคนต่างต้องแก่งแย่งและดิ้นรนเพื่อเอาชีวิตรอด จิตใจและโครงสร้างของสังคมมนุษย์จะกลายเป็นเช่นไร
ซีรี่ย์ The Walking Dead (2010 – ปัจจุบัน) เครดิต : forbes.com
ภาพยนตร์ zombie ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ได้มีการถ่ายทอดเรื่องราวของผลกระทบของวิกฤติระบาดของ zombie ผ่านวัฒนธรรมของคนในประเทศนั้นๆ อย่างล่าสุดที่สามารถเปรียบเทียบได้ชัดเจนเลยคือ I am a Hero ของประเทศญี่ปุ่น และ Train to Busan ของประเทศเกาหลี
I am a Hero เป็นภาพยนตร์ zombie ที่ทำมาจากการ์ตูนมังงะ ของ Hanazawa Kengo ที่แตกต่างจากการ์ตูน zombie เรื่องอื่นๆ ด้วยการเล่าเรื่องด้วยภาพที่คล้ายภาพยนตร์ และการอ้างอิงการอยู่รอดจริงๆเมื่อเกิดวิกฤติการณ์ซอมบี้ระบาดในประเทศญี่ปุ่น
เครดิต : imdb.com
ภาพยนตร์เรื่องนี้ออกฉายเมื่อเดือนกรกฏาคมที่ผ่านมา และได้พยายามถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆจากในการ์ตูนที่ทำออกมาแล้ว 20 เล่ม (และยังคงดำเนินต่อไปอยู่) ให้จบภายใน 2 ชั่วโมง 6 นาที ซึ่งก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย แต่สิ่งที่เห็นได้ชัดที่สุดเลยคือการเสียดสีลักษณะพฤติกรรมของวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของคนญี่ปุ่น ที่ยังคงขี้เกรงใจ และขี้กังวลกับการต้องมีความรับผิดชอบ ทั้งๆที่ในก้นบึ้งจิตใจลึกๆแล้วทุกคนล้วนมีความเห็นแก่ตัวและความอยากที่จะเอาตัวรอดอยู่
เครดิต : imdb.com
กลับกันกับ Train to Busan ของประเทศเกาหลี ที่ทุกคนล้วนเห็นแก่ตัว ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกหากว่าใครเคยมีประสบการณ์ได้คุ้นเคยกับคนเกาหลีโดยตรง ซึ่งคนเกาหลีในปัจจุบัน มักจะแบ่งลักษณะนิสัยออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่หลักๆคือ คนรุ่นใหม่ กับ คนรุ่นเก่า
เครดิต : jediyuth.com
คนรุ่นใหม่ของเกาหลี ที่มีอายุต่ำกว่า 30 และเติบโตมาในช่วงที่เกาหลีนั้นเริ่มพัฒนา มีความเจริญและชีวิตสุขสบาย ต่างกับคนยุดเก่าที่เติบโตมาในช่วงที่ประเทศนั้นยากลำบากและต้องดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่ธรรมดาที่คนเกาหลียุคเก่าจะมีลักษณะนิสัยที่แข็งกระด้าง หยาบคาย และเห็นแก่ตัว ผิดกับคนยุคใหม่ที่อ่อนโยนและคิดอะไรเพื่อส่วนรวมมากขึ้น
เครดิต : m.cgv.co.kr
สิ่งนี้คือสิ่งที่สะท้อนในภาพยนตร์เรื่อง Train to Busan และถ่ายทอดออกมาเป็นภาพยนตร์ zombie สไตล์เอเซีย ที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ปิดที่น่าสนใจ และถือว่าเป็นหนังซอมบี้เอเซียที่สามารถรักษาสมดุลของเหตุการณ์ต่างๆในภาพยนตร์ได้อย่างลงตัว รวมไปถึงการถ่ายทอดความเห็นแก่ตัวของมนุษย์ (คนเกาหลี) ที่อิงกับวัฒนธรรมคนเอเซีย ไม่ใช่อิงกับวิถีชีวิตของคนอเมริกันอย่างที่เราคุ้นเลย และการถ่ายทอดการแสดงออกเมื่อมนุษย์หลากหลายประเภทถูกต้อนให้อยู่ในสถานการณ์ที่คับขัน ซึ่งสุดท้ายแล้วเราทุกคนก็ต่างล้วนมีความเห็นแก่ตัวที่จะมีชีวิตรอด เพราะการมีชีวิตรอดนั้น ไม่มีเกณฑ์การตัดสินผิดหรือถูก ไม่ต่างอะไรกับการดิ้นรนในการใช้ชีวิตปกติของเราในแต่ล่ะวัน เพราะทุกคนล้วนมีเหตุผลในการกระทำของตนเอง และการเอาชีวิตรอก็เป็นเพียงแค่สัญชาติญาณพื้นฐานของการเป็นสิ่งมีชีวิต ที่มีอยู่ในตัวเราทุกคนก็แค่นั้น
ขอบคุณที่อ่านครับ : )
ฝาก blog วิจารณ์หนังแบบไม่สปอยล์ด้วยครับ :
https://nospoil.wordpress.com/
Train to Busan และวิวัฒนาการของซอมบี้บนจอภาพยนตร์
คำว่า “Zombie” ถูกนำมาใช่ในภาพยนตร์ครั้งแรกในหนังเรื่อง “White Zombie” ที่ฉายเมื่อปี 1932 ที่นำแสดงโดย Bela Lugosi นักแสดงเก่าแก่ที่เป็นที่จดจำในบทบาทของของท่านเค้าท์แดร็กคูล่าและตัวละครจากหนังสยองขวัญมากมายในยุคสมัยนั้น
นักแสดง Bela Lugosi จากเรื่อง White Zombie ที่สามารถทำให้หญิงสาวทำทุกอย่างตามสั่ง เครดิต kino.mustwatchtv.cz
โดย “White Zombie” เป็นภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับชายคนหนึ่ง (Bela Lugozi) ที่ใช้ศาสตร์มนต์ดำของ voodoo (ที่เป็นความเชื่อทางไสยศาสตร์ของแถบอัฟฟริกา) มาใช้ควบคุมจิตใจของผู้หญิงคนหนึ่ง ให้ทำตามคำสั่งของเขา
ถึงแม้ว่าชื่อของหนังเรื่องนี้จะใช้ชื่อว่า “White Zombie” แต่ในตัวหนังก็ไม่ได้มีภาพของ zombie ที่เราคุ้นเคย หรือความของคำว่า zombie ที่เราเข้าใจกันในยุคปัจจุบัน คำว่า zombie ที่ใช้ในหนังนั้น มาจากคำว่า zombi ที่เป็นภาษาปขงประเทศเฮติ (Haiti) ที่หมายถึงการปลุกวิญญาณของคนตายให้กลับมามีชีวิตใหม่ โดยตัวหนัง ก็ทำได้เพียงแค่การหยิบคำๆนี้มาใช้ และเปรียบเปรยกับหญิงสาวในเรื่องที่โดนมนต์สะกดควบคุม จนดูราวกับว่าเป็นวัตถุสิ่งของสำหรับเพศชาย
หญิงสาวที่ถูกควบคุมจิตใจ จนเป็นที่มาของคำว่า White Zombie เครดิต : goldenagehorror.com
ภาพของ zombie ที่เป็นศพเดินได้ และหิวกระหายเลือดเนื้อของมนุษย์ที่เราคุ้นเคยกัน ได้ถูกนำมาปรากฏในภาพยนตร์จริงๆเป็นครั้งแรกในอีก 30 กว่าปีต่อมา ในภาพยนตร์ของ George A. Romero เรื่อง Night of the living dead ในปี 1969 ที่เป็นเรื่องราวของคู่รักหนุ่มสาวที่เดินทางไปที่รัฐเพนซิลเวเนียทางตอนเหนือของอเมริกา เหตุการณ์ประหลาดทำให้ต้องมาหลบหนีในฟาร์มแห่งหนึ่ง
Night of the living dead (1969) เครดิต : bloody-disgusting.com
ภาพของศพที่ไม่ยอมตาย อยู่กันเป็นฝูง เดินอย่างเชื่องช้า เซื่องๆ โง่ๆ ไม่ค่อยฉลาด ของ George A. Romero ถือว่าเป็น blueprint แรกของวัฒนธรรม zombie ที่มีให้เราเห็นในปัจจุบัน แต่ทว่าในหนังเรื่อง Night of the living dead นั้น ไม่มีการใช้คำว่า “zombie” เลยแม้แต่ครั้งเดียว แต่กลับใช่คำว่า “ghoul” ที่แปลว่าผีที่กินซากศพ (ภาษาไทยจะแปลว่า ผีปอบ)
เครดิต : comsumerguideproductreviews.com
ต่อมา George A. Romero ถึงได้ใช้คำว่า “zombie” ในบทสัมภาษณ์ และมีการพูดถึงคำว่า “zombie” ในภาคต่อของหนัง Night of the living dead โดยใช้ชื่อว่า Dawn of the dead (1978) ในเวลาต่อมา
ภาพจากภาพยนตร์ Dawn of the dead (1978) ของ George A. Romero เครดิต : moviefancentral.com
ภาพลักษณ์ของ zombie ที่ George A. Romero สร้างไว้ ได้ค่อยๆก่อตัวขึ้นเป็นความกลัวที่เกิดขึ้นในใจของมนุษย์เรา จากกลุ่มศพเดินได้ที่มาจากการปลุกเสกด้วยเวทย์มนต์ ได้พัฒนาเรื่องเล่าให้กลายเป็นไวรัสสายพันธ์ใหม่ที่สามารถแพร่พันธุ์ผ่านมนุษย์อย่างรวดเร็ว
ภาพ George A. Romero และซอมบี้จากภาพยนตร์ Day of the dead (1985) ที่เขากำกับ เครดิต : nerdist.com
คำว่า zombie apocalypse หรือ วิกฤติซอมบี้ครองโลก กลายเป็นสิ่งคนยุคใหม่มีแนวโน้มเชื่อว่าจะเป็นไปได้ โดยอาศัยหลักการอ้างอิงทางวิทยาศาสตร์ และพัฒนาการของ zombie ในภาพยนตร์ที่ทำให้ดูน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
จาก zombie ที่ระบาดด้วยไวรัสที่มนุษย์สร้างขึ้น อย่างในเรื่อง Resident Evil (เกมเพลย์ 1 ออกมาเมื่อปี 1996 , ภาพยนตร์ปี 2002)
ซอมบี้จำนวนมากที่เกิดจากไวรัสของ Umbrella Corp. ใน Resident Evil (2002) เครดิต : gbhbl.com
ไปสู่ zombie ที่เคลื่อนไหวได้อย่างรวดเร็วด้วยโรคระบาดคล้ายๆพิษสุนัขบ้า อย่าง 28 Days Later (2002)
ซอมบี้ที่เคลื่อนไหวรวดเร็ว หรือ rabies zombies จาก 28 Days Later (2002) เครดิต : meeples.wordpress.com
จนกลายเป็น zombie ที่สามารถจู่โจมอย่างบ้าคลั่งอย่างมีรูปแบบเหมือนใน World War Z (2013)
ซอมบี้ที่เคลื่อนไหวอย่างมีรูปแบบมากขึ้นจาก World War Z (2013) เครดิต : digitaltrends.com
ความกลัว zombie ได้ขยายความสมจริงขึ้น เมื่อจำนวนประชากรของมนุษย์เรามีมากขึ้น บวกกับพฤติกรรมยึดติดกับเทคโนโลยีและเครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่ทำให้เราชินกับความอ่อนแอและการอยู่อย่างเห็นแก่ตัว จึงไม่แปลกอะไรที่ทฤษฏีวิกฤติการณ์ซอมบี้จะทำให้เราเกิดความสงสัยว่า ถ้าหากว่าวันหนึ่ง เราทุกคนต่างต้องแก่งแย่งและดิ้นรนเพื่อเอาชีวิตรอด จิตใจและโครงสร้างของสังคมมนุษย์จะกลายเป็นเช่นไร
ซีรี่ย์ The Walking Dead (2010 – ปัจจุบัน) เครดิต : forbes.com
ภาพยนตร์ zombie ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ได้มีการถ่ายทอดเรื่องราวของผลกระทบของวิกฤติระบาดของ zombie ผ่านวัฒนธรรมของคนในประเทศนั้นๆ อย่างล่าสุดที่สามารถเปรียบเทียบได้ชัดเจนเลยคือ I am a Hero ของประเทศญี่ปุ่น และ Train to Busan ของประเทศเกาหลี
I am a Hero เป็นภาพยนตร์ zombie ที่ทำมาจากการ์ตูนมังงะ ของ Hanazawa Kengo ที่แตกต่างจากการ์ตูน zombie เรื่องอื่นๆ ด้วยการเล่าเรื่องด้วยภาพที่คล้ายภาพยนตร์ และการอ้างอิงการอยู่รอดจริงๆเมื่อเกิดวิกฤติการณ์ซอมบี้ระบาดในประเทศญี่ปุ่น
เครดิต : imdb.com
ภาพยนตร์เรื่องนี้ออกฉายเมื่อเดือนกรกฏาคมที่ผ่านมา และได้พยายามถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆจากในการ์ตูนที่ทำออกมาแล้ว 20 เล่ม (และยังคงดำเนินต่อไปอยู่) ให้จบภายใน 2 ชั่วโมง 6 นาที ซึ่งก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย แต่สิ่งที่เห็นได้ชัดที่สุดเลยคือการเสียดสีลักษณะพฤติกรรมของวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของคนญี่ปุ่น ที่ยังคงขี้เกรงใจ และขี้กังวลกับการต้องมีความรับผิดชอบ ทั้งๆที่ในก้นบึ้งจิตใจลึกๆแล้วทุกคนล้วนมีความเห็นแก่ตัวและความอยากที่จะเอาตัวรอดอยู่
เครดิต : imdb.com
กลับกันกับ Train to Busan ของประเทศเกาหลี ที่ทุกคนล้วนเห็นแก่ตัว ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกหากว่าใครเคยมีประสบการณ์ได้คุ้นเคยกับคนเกาหลีโดยตรง ซึ่งคนเกาหลีในปัจจุบัน มักจะแบ่งลักษณะนิสัยออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่หลักๆคือ คนรุ่นใหม่ กับ คนรุ่นเก่า
เครดิต : jediyuth.com
คนรุ่นใหม่ของเกาหลี ที่มีอายุต่ำกว่า 30 และเติบโตมาในช่วงที่เกาหลีนั้นเริ่มพัฒนา มีความเจริญและชีวิตสุขสบาย ต่างกับคนยุดเก่าที่เติบโตมาในช่วงที่ประเทศนั้นยากลำบากและต้องดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่ธรรมดาที่คนเกาหลียุคเก่าจะมีลักษณะนิสัยที่แข็งกระด้าง หยาบคาย และเห็นแก่ตัว ผิดกับคนยุคใหม่ที่อ่อนโยนและคิดอะไรเพื่อส่วนรวมมากขึ้น
เครดิต : m.cgv.co.kr
สิ่งนี้คือสิ่งที่สะท้อนในภาพยนตร์เรื่อง Train to Busan และถ่ายทอดออกมาเป็นภาพยนตร์ zombie สไตล์เอเซีย ที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ปิดที่น่าสนใจ และถือว่าเป็นหนังซอมบี้เอเซียที่สามารถรักษาสมดุลของเหตุการณ์ต่างๆในภาพยนตร์ได้อย่างลงตัว รวมไปถึงการถ่ายทอดความเห็นแก่ตัวของมนุษย์ (คนเกาหลี) ที่อิงกับวัฒนธรรมคนเอเซีย ไม่ใช่อิงกับวิถีชีวิตของคนอเมริกันอย่างที่เราคุ้นเลย และการถ่ายทอดการแสดงออกเมื่อมนุษย์หลากหลายประเภทถูกต้อนให้อยู่ในสถานการณ์ที่คับขัน ซึ่งสุดท้ายแล้วเราทุกคนก็ต่างล้วนมีความเห็นแก่ตัวที่จะมีชีวิตรอด เพราะการมีชีวิตรอดนั้น ไม่มีเกณฑ์การตัดสินผิดหรือถูก ไม่ต่างอะไรกับการดิ้นรนในการใช้ชีวิตปกติของเราในแต่ล่ะวัน เพราะทุกคนล้วนมีเหตุผลในการกระทำของตนเอง และการเอาชีวิตรอก็เป็นเพียงแค่สัญชาติญาณพื้นฐานของการเป็นสิ่งมีชีวิต ที่มีอยู่ในตัวเราทุกคนก็แค่นั้น
ขอบคุณที่อ่านครับ : )
ฝาก blog วิจารณ์หนังแบบไม่สปอยล์ด้วยครับ :
https://nospoil.wordpress.com/