คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 93
มาช่วยจับประเด็น สำหรับใครที่อยากถกเถียง ต่อยอดความคิดอย่างสุภาพนะคะ
ไม่จำเป็นต้องอ่านก็ได้ค่ะ 55
1. คงไม่มีใครคิดจะบังคับว่า พวกเราชาวไทย!!! ห้ามพูดคำหยาบ หรือห้ามทำกิริยาที่ไม่เหมาะสมต่างๆ
แต่.. จะพูด จะทำอะไร มันมีมารยาทสังคมอยู่ค่ะ ทุกคนมีสิทธ์เลือกพูด เลือกแสดงออกได้ตามความเหมาะสม ตามวิจารณญาณเลยค่ะ
คีย์เวิร์ด น่าจะเป็นคำว่า "กาลเทศะ" ค่ะ ซึ่งเราเห็นจขกท. และท่านอื่นๆ ย้ำแล้วย้ำอีก 555
"กาลเทศะ" มันอาจไม่มีการระบุขอบเขต ระบุลายลักษณ์อักษรชัดเจนเหมือนข้อกฎกมาย
แต่ละคนก็ไปชั่งใจเอาค่ะ มันเกี่ยวกับความเหมาะสมของ สถานที่ บุคคล สถานการณ์ ธรรมเนียม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมต่างๆ ค่ะ
ในฐานะคนธรรมดา คุณจะพูดหยาบ พูดสุภาพ กับใคร เมื่อไหร่ ยังไง ... แล้วแต่เลยค่ะ
เพียงแต่ต้องยอมรับว่า มันมีเรื่องกาลเทศะอยู่ มันมีเรื่องมารยาทสังคมอยู่ในทุกสังคม ไม่ว่าจะคนไทย หรือต่างชาติค่ะ
2. ต้นกระทู้ เค้ายกตัวอย่างมา โดยเน้นไปที่ "สื่อสารมวลชน" คนทำหน้าที่สื่อค่ะ
แต่ไม่ได้หมายความว่า "ความหยาบคายในสังคม มันเกี่ยวกับสื่อเท่านั้น แล้วไม่เกี่ยวกับเรื่องอื่นๆเลย"
ไม่ช่ายยยค่ะ 555
มันก็เกี่ยวกับเรื่องอื่นๆ ด้วย เช่น การเลี้ยงดูของครอบครัว นิสัยพื้นฐานของแต่ละคน สิ่งแวดล้อมต่างๆ ฯลฯ
แต่ที่เน้นไปที่ "สื่อ" เพราะสื่อมีอิทธิพลสำคัญ ในการปลูกฝัง เผยแพร่ และอื่นๆ ค่ะ
ส่วนคห. ต่างๆ จะต่อยอดไปเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย ก็เป็นเรื่องปกติค่ะ เพราะเรื่องเหล่านี้ มันก็เกี่ยวเนื่องกันหลายอย่างได้ค่ะ
3. ขอเสริมว่า "ใครเป็นคนระบุว่า คำนี้หยาบคาย คำนี้ไม่สุภาพ กิริยานี้ไม่เหมาะสม คำนี้เป็นคำโบราณ
คำนี้เป็นการแบ่งแยก คำนี้...บลา บลา"
ก็คนในสังคมนี่แหละค่ะ ที่สร้างสิ่งเหล่านี้ขึ้นมา มันสั่งสม มันเปลี่ยนแปลง
มันมายังไง ไปยังไง เราคงอธิบายลงลึกไม่ถูกนะคะ 555
เช่น คำว่า กู เมิง ทำไมหลายร้อยปีก่อน มีคนบอกว่า มันไม่ใช่คำหยาบ
แต่มาปัจจุบัน ทำไมมันกลายเป็นคำหยาบ
ก็มันเป็นค่านิยมของคนแต่ละสมัยที่มันเปลี่ยนไปแหละค่ะ
คุณจะไป กูเมิง กับใคร แน่ใจมั้ยคะว่า คุณจะไม่เลือกดูกาลเทศะ
คุณจะอ้างว่า มันเป็นคำโบราณ คุณก็จะพูดกับทุกคน ทุกที่ ทุกสถานการณ์
5555 มันไม่ได้ใช่มั้ยคะ?
อย่างนี้ จะเรียกว่า ดัดจริต อะไร ก็แล้วแต่เลยค่ะ
บางคนเรียกว่า มารยาท บางคนเรียกดัดจริต
เป็นเรา เราไม่ค่อยโกรธนะ เราดัดจริตอยู่พอสมควร 555 เพราะต้องอยู่ในสังคมไงคะ ก็ไม่สามารถเป็น "ดิบๆ" ได้ตามใจยากอะค่ะ
หรือ บางคน พูดคำว่า กู เมิง แล้วดูไม่หยาบ เช่น คนแก่เฒ่าบางคน พูดกับลูกหลาน ฯลฯ
อันนี้ มันเป็นเรื่องของกาลเทศะ แหละค่ะ
เราว่า หลายคนก็เข้าใจนะคะ
เพราะฉะนั้น ค่านิยมของสังคม มันเปลี่ยนได้ค่ะ
คำว่า "สัตว์" ในตัวมันเอง คำมันก็ไม่ได้เป็นคำหยาบคาย
แต่คนสมัยนี้ เค้าใช้ไว้ด่ากันด้วย
การจะใช้คำนี้ มันจึงมีบริบทของสังคม ของกาลเทศะ มาเกี่ยวข้องค่ะ
โอ่ย อีกเยอะค่ะ
เราว่า หัวกระทู้ และหลายท่าน ก็ให้คห. ไว้ชัดเจนนะคะ
เค้าพยายามติติงสื่อค่ะ
ไม่จำเป็นต้องอ่านก็ได้ค่ะ 55
1. คงไม่มีใครคิดจะบังคับว่า พวกเราชาวไทย!!! ห้ามพูดคำหยาบ หรือห้ามทำกิริยาที่ไม่เหมาะสมต่างๆ
แต่.. จะพูด จะทำอะไร มันมีมารยาทสังคมอยู่ค่ะ ทุกคนมีสิทธ์เลือกพูด เลือกแสดงออกได้ตามความเหมาะสม ตามวิจารณญาณเลยค่ะ
คีย์เวิร์ด น่าจะเป็นคำว่า "กาลเทศะ" ค่ะ ซึ่งเราเห็นจขกท. และท่านอื่นๆ ย้ำแล้วย้ำอีก 555
"กาลเทศะ" มันอาจไม่มีการระบุขอบเขต ระบุลายลักษณ์อักษรชัดเจนเหมือนข้อกฎกมาย
แต่ละคนก็ไปชั่งใจเอาค่ะ มันเกี่ยวกับความเหมาะสมของ สถานที่ บุคคล สถานการณ์ ธรรมเนียม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมต่างๆ ค่ะ
ในฐานะคนธรรมดา คุณจะพูดหยาบ พูดสุภาพ กับใคร เมื่อไหร่ ยังไง ... แล้วแต่เลยค่ะ
เพียงแต่ต้องยอมรับว่า มันมีเรื่องกาลเทศะอยู่ มันมีเรื่องมารยาทสังคมอยู่ในทุกสังคม ไม่ว่าจะคนไทย หรือต่างชาติค่ะ
2. ต้นกระทู้ เค้ายกตัวอย่างมา โดยเน้นไปที่ "สื่อสารมวลชน" คนทำหน้าที่สื่อค่ะ
แต่ไม่ได้หมายความว่า "ความหยาบคายในสังคม มันเกี่ยวกับสื่อเท่านั้น แล้วไม่เกี่ยวกับเรื่องอื่นๆเลย"
ไม่ช่ายยยค่ะ 555
มันก็เกี่ยวกับเรื่องอื่นๆ ด้วย เช่น การเลี้ยงดูของครอบครัว นิสัยพื้นฐานของแต่ละคน สิ่งแวดล้อมต่างๆ ฯลฯ
แต่ที่เน้นไปที่ "สื่อ" เพราะสื่อมีอิทธิพลสำคัญ ในการปลูกฝัง เผยแพร่ และอื่นๆ ค่ะ
ส่วนคห. ต่างๆ จะต่อยอดไปเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย ก็เป็นเรื่องปกติค่ะ เพราะเรื่องเหล่านี้ มันก็เกี่ยวเนื่องกันหลายอย่างได้ค่ะ
3. ขอเสริมว่า "ใครเป็นคนระบุว่า คำนี้หยาบคาย คำนี้ไม่สุภาพ กิริยานี้ไม่เหมาะสม คำนี้เป็นคำโบราณ
คำนี้เป็นการแบ่งแยก คำนี้...บลา บลา"
ก็คนในสังคมนี่แหละค่ะ ที่สร้างสิ่งเหล่านี้ขึ้นมา มันสั่งสม มันเปลี่ยนแปลง
มันมายังไง ไปยังไง เราคงอธิบายลงลึกไม่ถูกนะคะ 555
เช่น คำว่า กู เมิง ทำไมหลายร้อยปีก่อน มีคนบอกว่า มันไม่ใช่คำหยาบ
แต่มาปัจจุบัน ทำไมมันกลายเป็นคำหยาบ
ก็มันเป็นค่านิยมของคนแต่ละสมัยที่มันเปลี่ยนไปแหละค่ะ
คุณจะไป กูเมิง กับใคร แน่ใจมั้ยคะว่า คุณจะไม่เลือกดูกาลเทศะ
คุณจะอ้างว่า มันเป็นคำโบราณ คุณก็จะพูดกับทุกคน ทุกที่ ทุกสถานการณ์
5555 มันไม่ได้ใช่มั้ยคะ?
อย่างนี้ จะเรียกว่า ดัดจริต อะไร ก็แล้วแต่เลยค่ะ
บางคนเรียกว่า มารยาท บางคนเรียกดัดจริต
เป็นเรา เราไม่ค่อยโกรธนะ เราดัดจริตอยู่พอสมควร 555 เพราะต้องอยู่ในสังคมไงคะ ก็ไม่สามารถเป็น "ดิบๆ" ได้ตามใจยากอะค่ะ
หรือ บางคน พูดคำว่า กู เมิง แล้วดูไม่หยาบ เช่น คนแก่เฒ่าบางคน พูดกับลูกหลาน ฯลฯ
อันนี้ มันเป็นเรื่องของกาลเทศะ แหละค่ะ
เราว่า หลายคนก็เข้าใจนะคะ
เพราะฉะนั้น ค่านิยมของสังคม มันเปลี่ยนได้ค่ะ
คำว่า "สัตว์" ในตัวมันเอง คำมันก็ไม่ได้เป็นคำหยาบคาย
แต่คนสมัยนี้ เค้าใช้ไว้ด่ากันด้วย
การจะใช้คำนี้ มันจึงมีบริบทของสังคม ของกาลเทศะ มาเกี่ยวข้องค่ะ
โอ่ย อีกเยอะค่ะ
เราว่า หัวกระทู้ และหลายท่าน ก็ให้คห. ไว้ชัดเจนนะคะ
เค้าพยายามติติงสื่อค่ะ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 1
โหวตค่ะ อยากให้พูดคุยกันจนขึ้นแนะนำ 555
เราเองก็ไม่ชินค่ะ
ทั้งในบทบาทคนดูสื่อและคนผลิตสื่อเอง เราว่ามันไม่เหมาะไม่ควร
ที่ตกใจคือในงานประกาศรางวัลทางวิทยุและโทรทัศน์เวทีสำคัญที่มีการถ่ายทอดสด พิธีกรซึ่งเป็นดีเจคนนึงหลุดพูด กู-เมิง ออกอากาศ .. ซึ่งเรารู้สึกว่ามันเป็นการไม่ให้เกียรติเวที และแขกผู้มีเกียรติที่นั่งร่วมอยู่ในงาน
การเกิดขึ้นของทีวีดิจิตัล และสื่อทางเลือกต่างๆ เปิดโอกาสให้มีผู้ผลิตคอนเท้นท์ที่หลากหลายจริง แต่ก็กลับไม่ได้เป็นไปในแนวทางของการแข่งกันผลิตเนื้อหาหรือคอนเท้นท์ที่ดีขึ้น หรือเป็นประโยชน์มากขึ้น ... เห็นแต่แข่งกันหยาบ กาก เกรียน เพื่อสร้างตัวตนและจุดยืนให้เป็นที่พูดถึง
อีกหน่อย เรื่องของมารยาท ซึ่งเป็นสเน่ห์อย่างหนึ่งของคนไทยคงหายไป
ป.ล.แก้คำผิดค่ะ
เราเองก็ไม่ชินค่ะ
ทั้งในบทบาทคนดูสื่อและคนผลิตสื่อเอง เราว่ามันไม่เหมาะไม่ควร
ที่ตกใจคือในงานประกาศรางวัลทางวิทยุและโทรทัศน์เวทีสำคัญที่มีการถ่ายทอดสด พิธีกรซึ่งเป็นดีเจคนนึงหลุดพูด กู-เมิง ออกอากาศ .. ซึ่งเรารู้สึกว่ามันเป็นการไม่ให้เกียรติเวที และแขกผู้มีเกียรติที่นั่งร่วมอยู่ในงาน
การเกิดขึ้นของทีวีดิจิตัล และสื่อทางเลือกต่างๆ เปิดโอกาสให้มีผู้ผลิตคอนเท้นท์ที่หลากหลายจริง แต่ก็กลับไม่ได้เป็นไปในแนวทางของการแข่งกันผลิตเนื้อหาหรือคอนเท้นท์ที่ดีขึ้น หรือเป็นประโยชน์มากขึ้น ... เห็นแต่แข่งกันหยาบ กาก เกรียน เพื่อสร้างตัวตนและจุดยืนให้เป็นที่พูดถึง
อีกหน่อย เรื่องของมารยาท ซึ่งเป็นสเน่ห์อย่างหนึ่งของคนไทยคงหายไป
ป.ล.แก้คำผิดค่ะ
ความคิดเห็นที่ 18
สำหรับผม พิจารณา case by case ครับ
แล้วแต่ลักษณะรายการ และบริบทตัวละคร
ตัวอย่างบริบทที่พูดกูได้โดยไม่รู้สึกหยาบคาย
- ละครที่ ตัวละครเป็นเพื่อนสนิทกัน
- คอนเสิร์ต
- รายการตลก
- รายการทอล์กโชว์
รายการที่พูดกูแล้วรู้สึกหยาบคาย
- รายการข่าว
- รายสารให้ความรู้
- การ์ตูนเด็ก
- พิธีกรเกมโชว์
ประมาณนี้น่ะครับ
ในฐานะที่ผมเคยเป็นเด็กประถม มัธยม มหาลัยมาก่อน
การพูดกูเกิดขึ้นได้กับเด็กทุกคน
แต่ผู้ใหญ่ก็ควรสอนให้เด็กพูดจา ถูกกาลเทศะ และมารยาท ครับ เมื่อไรควรพูด เมื่อไรไม่ควร
แล้วแต่ลักษณะรายการ และบริบทตัวละคร
ตัวอย่างบริบทที่พูดกูได้โดยไม่รู้สึกหยาบคาย
- ละครที่ ตัวละครเป็นเพื่อนสนิทกัน
- คอนเสิร์ต
- รายการตลก
- รายการทอล์กโชว์
รายการที่พูดกูแล้วรู้สึกหยาบคาย
- รายการข่าว
- รายสารให้ความรู้
- การ์ตูนเด็ก
- พิธีกรเกมโชว์
ประมาณนี้น่ะครับ
ในฐานะที่ผมเคยเป็นเด็กประถม มัธยม มหาลัยมาก่อน
การพูดกูเกิดขึ้นได้กับเด็กทุกคน
แต่ผู้ใหญ่ก็ควรสอนให้เด็กพูดจา ถูกกาลเทศะ และมารยาท ครับ เมื่อไรควรพูด เมื่อไรไม่ควร
แสดงความคิดเห็น
การพูด "กู-เมิง" ออกอากาศ กลายเป็นเรื่องปกติแล้วเหรอคะ?
จริงๆ ก็หลายปีมาแล้วนะคะ ที่เราสังเกตุว่า
พิธีกร ดารา คนในวงการบันเทิงหลายท่าน พูดคำไม่สุภาพออกสื่อ ทั้งทีวี หรือวิทยุ
ยกตัวอย่างแค่คำว่า กู-เมิง ละกัน (พิมพ์คำว่า "มอม้า-สระอึ-งองู" ไม่ได้ค่ะ โดนเซ็นเซอร์ ต้องพิมพ์เป็น "เมิง" แทน)
เอ่อ เราไม่ได้ดัดจริตอะไรนะคะ 555 แค่ตั้งข้อสังเกตค่ะ
- เมื่อหลายสิบปีก่อน คนมองว่า พวกตลกคาเฟ่ชอบใช้คำหยาบ
พอตลกคาเฟ่ มาออกทีวี ก็ต้องสุภาพ เล่นมุขอะไรก็ต้องเลี่ยงคำหยาบ
กู-เมิง เนี่ย จะไม่ได้ออกจากปากตลกคาเฟ่เลย เมื่อออกอากาศตามสื่อสาธารณะต่างๆ เช่น ทีวี วิทยุ ฯลฯ
- ช่วงเกือบสิบกว่าปีมานี้ กลายเป็นดารา พิธีกร หลายท่านที่ไม่ใช่ตลกคาเฟ่
(ขอไม่ระบุชื่อละกันค่ะ เด๋วจะกลายเป็นการโจมตีบุคคล)
เราว่า พวกเค้าก็ตลกบ้าง ไม่ตลกบ้าง
แต่เค้าคงคิดว่า การพูดติดคำสบถ หรือ พูดหยาบ พูด กู-เมิง
มันทำให้ดูเป็นกันเอง ดูฮามากขึ้น เค้าก็พูดออกทีวีบ่อยๆ ไม่ใช่หลุดพูดนะคะ
คือตั้งใจพูด แล้วคนดูก็ฮา!!!
บางท่านก็ไม่ได้เป็นตลก แต่เป็นพิธีกร หรือนักจัดรายการวิทยุ ฯลฯ
ก็ออกแนวว่า เป็นคนตรง พูดตรงไปตรงมา อะไรแบบนี้
(ความจริงใจ - การพูดตรงไปตรงมา - กับการมีมารยาทสังคม
เราว่ามันต่างกันนะ ยิ่งคนมาทำงานสื่อ น่าจะตระหนักเรื่องนี้มากกว่าคนปกติ)
จนผ่านมาหลายปี เราว่า การพูด กู-เมิง ของพิธีกร ดารา ออกสื่อต่างๆ กลายเป็นเรื่องที่ "เกือบปกติ" ไปแล้ว 555
เราว่า พวกค่านิยมพวกนี้ มันถ่ายทอดกันได้เหมือนกันเนอะในหมู่ดารา
ดาราบางคน พิธีกรบางคน ก็ไม่เคยพูดคำนี้ออกสื่อมาก่อน
หลังๆ เราเห็นว่า พวกเค้า ก็พูดคำนี้ ออกอากาศอย่างสบายๆ
(วันก่อน เพิ่งเห็นรายการนึง พี่คนนี้ อยู่ในวงการทีวีมานาน ก็ฮาบ้าง ไม่ฮาบ้าง ตามวาระ
แต่แกไม่เคยเล่นมุขหยาบ หรือพูด กู-เมิง ออกอากาศ
แต่วันนั้นที่เราเห็น แกก็เอากะเค้าด้วย 555)
รายการทีวีบางอัน ก็ดูดเสียงออกบ้าง ไม่ดูดบ้าง มันจะกลายเป้นเรื่องปกติไปแล้วมั้งคะ
แน่นอนว่า การพูดคำหยาบคาย หรือ กู-เมิง หรือคำอื่นๆ ออกสื่อ
มันคงไม่ได้ทำให้ประเทศชาติ หรือ มารยาทคนไทย ล่มจม มั้งคะ 55
คือ มันไม่ได้หนักหนาขนาดนั้นนะ เราว่านะ
แต่ประเด็น คือ เราแค่ยกตัวอย่างนี้ มาให้เห็นว่า
"คนทำงานสื่อเบื้องหน้า ไม่ว่าคุณจะทำอะไร มันมีผลต่อสังคมนะคะ
จะทำอะไร เอาฮา เอาบันเทิง เอาสะใจ อย่างเดียว คงไม่เหมาะมั้งคะ 55"
ใครจะเห็นต่างกันก็ได้นะคะ ไม่เป็นไรค่ะ เป็นเรื่องธรรมดาค่ะ
ติติงด้วยความสุภาพ
ปล.
เน้นว่า ไม่ได้ดัดจริตอะไรนะคะ การพูดคำหยาบออกสื่อ คงไม่ได้ทำให้ชาติล่มจม อย่างที่บอกไว้
แต่ติติง การทำงานของสื่อ เพราะสื่อที่หน้าที่สำคัญ ในการนำสาร ถ่ายทอด จับตา สอดส่อง ผู้อื่น
สื่อก็ควรโดนตรวจสอบ จัดระเบียบตัวเองด้วยเหมือนกันเนอะ
ใครมีส่วนเกี่ยวข้อง องค์กรอะไรต่างๆ ก็ฝากเอาไปพิจารณาตามสมควรละกันค่ะ