ทำไมถึงไม่ใช้น้ำยาล้างจานถูตัว

ผิวคนเราทั่วไปมีค่า pH ที่ 4.5-5.5 ซึ่งในน้ำยาล้างจานมีฤทธิ์ เป็นกรด อ่อนๆ ซึ่งก็ใกล้เคียงกับ ค่า pH ของผิวอยู่แล้ว แล้วทำไมถึงไม่ใช้น้ำยาล้างจานถูตัวครับ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 9
ต้องเข้าใจวัตถุประสงค์ของน้ำยาล้างจานนะฮะ ...

น้ำยาล้างจาน เป็นสารลดแรงตึงผิวอย่างหนึ่งที่ปรุงแต่งสูตรผสมมาเพื่อ "ทำลายสายละลายไม่มีขั้วโดยเฉพาะ" ...นั่นคือ พวกคราบไขมันต่างๆ ... ต้องเข้าใจอีกอย่างว่า จริงๆ แล้ว คราบต่างๆ ที่อยู่กับจาน (แม้แต่กับวัสดุอื่นๆ) ที่เรามองและเรียกมันเป็น "คราบ" จริงๆ คือ สารคอนลอยด์ที่มีไขมันเป็นสารละลายหลัก สีต่างๆ เกิดจากฝุ่นหรือวัสดุอื่นๆ ที่ติดอยู่ในสารละลายไขมัน ซึ่ง Concept ในการแก้คราบเหล่านี้ คือ ..ต้องทำให้สารละลายไขมันที่เป็นตัวสะสมตะกอนต่างๆ ให้หลุดจากวัสดุที่เราต้องการให้มันดูสะอาด ...

ทีนี้ ด้วย Concept นี้ มันก็ต้องใช้สารละลายที่มีภาวะขั้วแบบเดียวกันกับสารละลายไม่พึงประสงค์ นั่นก็คือทำยังไงก็ได้ให้เกิดการ "แตกตัว" ของคราบสารละลายไขมัน เพราะพอมันแตกตัว มันก็จะง่ายต่อการนำพาไปทิ้งไหลออกด้วย "น้ำเปล่า" ...อ้าว ...! น้ำเปล่าเป็นสารละลายมีขั้วแล้วมันจะลากไขมันไปได้ยังไง ...ก็หลังจากโดนน้ำยาล้างจานทำลายแรงตึงผิวของคราบไขมันแล้ว พอมันแตกเป็นส่วนย่อยๆ พวกตะกอนส่วนใหญ่ที่แฝงอยู่มักจะเป็นสาร "มีขั้ว" ทำให้น้ำเข้าไปลากมันออกจากจานได้ง่ายขึ้น ...และหากเหลือแต่สารไม่มีขั้วอย่างไขมันเพียวๆ เราก็กระตุ้นด้วย "ฟองน้ำ" ลากถูๆ มันให้ไหลหลุดจากผิวจานได้ ...หลักการทำความสะอาดจานด้วยน้ำยาล้างจานแบบคร่าวๆ ก็จะประมาณนี้ ...

อ้าว ...! แล้วมันเกี่ยวกับกระทู้นี้ยังไง ..

ก็ถ้าเข้าใจการทำงานของน้ำยาล้างจานและจุดประสงค์ของการที่ต้องใช้น้ำยาล้างจานในการทำความสะอาดจานแล้ว ..เวลาคุณจะเอาน้ำยาล้างจานไปทำความสะอาดอะไรอย่างอื่นที่น้ำยาล้างจานไม่ได้ถูกออกแบบเอามาใช้ด้วยจะได้ "ตั้งสติ" ก่อนไง ...ด้วยการใช้แนวคิดตรรกเดียวกัน คือ ..น้ำยาล้างจานเป็นสารละลายที่ถูกออกแบบมาเพื่อทำลายแรงตึงผิวของไขมัน สิ่งที่จะเอาไปใช้นอกเหนือจากวัตถุประสงค์ล้างจานนั้นมันมีสภาพยังไง ...เช่น ทะลึ่งเอาไปล้างรถ ทั้งๆ ที่ผิวสีรถนั้น จะมีการเคลือบ Wax ที่เป็น "ไขมัน" อย่างหนึ่งเหมือนกัน เพื่อปกป้องสีรถจากการสแครชของฝุ่น ...คุณเล่นเอาสารทำลายไขมัน ไปทำละลาย Wax เคลือบสีรถซะงั้น ใช้ไปเรื่อยๆ ถ้าไม่เคลือบกลับสีรถคุณได้ด่างแน่ๆ ..

ทีนี้มาเข้าเรื่อง ...ผิวหนังคน มันจะมี "ไขมันธรรมชาติ" ซึ่งเป็น "สิ่งจำเป็น" ที่ร่างกายทำการผลิตออกมาเพื่อป้องการการสูญเสียน้ำออกไปจากเซลล์ ...และมันยังผสมไปด้วยกรดอะมิโนบางตัวที่ไว้ฆ่าเชื้อโรคเบื้องต้น ...

กลับมาที่กลไกการทำงานของน้ำยาล้างจาน ...ถ้าเอาไปล้างตัวหละ? ...แน่ๆ เลย มันจะไปทำลายไขมันจำเป็น ผลก็คือ เซลล์สูญเสียน้ำเร็วขึ้น เร็วจนผลิตใหม่ไม่ทัน ชั้นผิวหนังก็จะบางขึ้น แห้ง แตก ถ้าคนไวมากก็จะอาจจะมีอาการแพ้ บางคนอาจจะถึงผิวแตกเลือดซึม (อย่าทำเป็นเล่นไป น้ำยาซักผ้าแห้งยังเล่นเอาลายนิ้วมือข้าเจ้าหายไปถาวรมาแล้วเลย ฟังค์ชันการทำงานคล้ายน้ำยาล้างจาน แค่เปลี่ยนเป้าประสงค์ของวัสดุ และถึงมันจะแรงกว่าแต่ก็ใช้หลักการทำงานคล้ายๆ กัน) ... น้ำยาล้างจาน มันช่วยให้เรากวาดเอา "คราบไขมันและตะกอนสิ่งสกปรกทุกชนิดบนวัสดุ" ...แต่เป้าประสงค์ของการทำความสะอาดร่างกายคือ "ล้างเอาเซลล์ผิวที่ตายแล้วทิ้งไป"

อนึ่ง ...ความจริงร่างกายคนมีกลไกการผลัดเซลล์ผิวตามธรรมชาติเป็นการ "กำจัดสิ่งสกปรกไม่พึงประสงค์" ไปในตัวอยู่แล้ว การอาบน้ำคือการช่วยกวาดเอาเซลล์ผิวที่ตายแล้วออกไป...

... แต่การอาบน้ำ เราไม่ได้ต้องการ "ทำลายไขมันธรรมชาติ" ...เพราะงั้น สารละลายที่ใช้ในการอาบน้ำ จึงถูกออกแบบให้ผสมไขมันที่คล้ายคลึงและใกล้เคียงกับไขมันธรรมชาติของร่างกายเพื่อกลับไปเคลือบผิวใหม่ ...

อะฮะ !! ใช่แล้ว การอาบน้ำจึงไม่ได้หมายความว่าจำเป็นต้องใช้สบู่ ความจริงแช่น้ำร้อน ผ้าขนหนูซักผืน กับคนขัดผิวมือฉมังก็ใช้ได้แล้ว ... (แนะนำว่าถ้ามีโอกาสไปสปาในโรงแรมที่จีนที่มีบ่อหรือสระน้ำร้อนให้อาบ เค้าจะมีพนักงานชำนาญเรื่องขัดขี้ไคลช่วยขัดเราชนิดที่แทบจะเปลี่ยนสีผิวเราได้เลย แค่แช่น้ำร้อนซัก 15 นาที แก้ผ้าเดินโทงๆ ไปนอนบนเตียง พอขัดเสร็จก็ไปอาบน้ำเย็นเพื่อปิดรูขุมขน ...ไม่ต้องใช้สบู่อาบน้ำซักหยด)

... เราถึงต้องทำความเข้าใจถึงกลไลการทำงานของน้ำยาล้างจาน จุดประสงค์ในการล้างจาน จุดประสงค์ในการอาบน้ำ ...แล้วจะเข้าใจว่า ...

"ทำไม ไม่ควรเอาน้ำยาล้างจานไปอาบน้ำหรือใช้กับร่างกายโดยตรงเลย" ...

....

ปล. อา... นึกออกแล้ว ...เขาเรียกว่า Sebum ...มันคืออะไร ..ลองไปดูใน

http://www.heimat-ltd.com/th/research/skin/about-sebum.html
http://www.thailabonline.com/Skin&Acne.htm

ดูฮะ

หลิ่วตา
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่