มาตรการลดสถิติโลก เหตุเด็กไทยตายคาถนน ปีล่ะ กว่า 2,600 คน หรือเฉลี่ยมากกว่า 7 คนต่อวัน
ภาพจาก
https://goo.gl/gr31uS
ทุกวันนี้ประเทศไทยถูกจัดอันดับจากองค์การอนามัยโลก มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนถนนสูงเป็นอันดับ 2 ของโลก
ที่น่าสลดยิ่งไปกว่านั้น ยังพบว่า ผู้ที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนสูงสุด คือ เด็กและเยาวชน
ในแต่ละปี มีเด็กไทยกว่า 2,600 คน เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนถนน หรือเฉลี่ยมากกว่า 7 คนต่อวัน และอีกเกือบ 200 คนต่อวัน หรือเฉลี่ยกว่า 72,000 คนต่อปี ที่ได้รับบาดเจ็บ หรือพิการ
พาหนะที่ทำให้เด็กและเยาวชนไทยต้องบาดเจ็บ พิการ และล้มตายมากที่สุด คือ มอเตอร์ไซค์
หากเปรียบเทียบให้เห็นภาพง่ายขึ้น จะพูดว่าในแต่ละปี มีนักเรียนในโรงเรียนขนาดใหญ่หายไปเกลี้ยง 1 โรงเรียน โดยมีสาเหตุมาจาก รถมอเตอร์ไซค์ เกิดอุบัติเหตุ ก็พูดได้
เพราะทุกวันนี้ทั่วประเทศมีเด็กและเยาวชนไทย วัยเรียนประมาณ 1.3 ล้านคน เดินทางโดยการซ้อนท้ายมอเตอร์ไซค์ แต่มีเพียง 7% เท่านั้น ที่สวมหมวกกันน็อกตามที่กฎหมายบังคับ
ช่วงเปิดเทอมทุกเช้าและเย็น เราอาจเห็นเด็กวัยอนุบาล หรือชั้นประถม นั่งซ้อนท้ายมอเตอร์ไซค์หรือจักรยานยนต์ โดยที่พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ไม่สวมหมวกกันน็อกให้บ้าง ขาของเด็กหยั่งไม่ถึงที่พักเท้าบ้าง ขาเข้าไปติดในซี่ล้อมอเตอร์ไซค์บ้าง
หรือไม่เรามักเห็นวัยรุ่นระดับมัธยม หรืออาชีวะ ขี่รถมอเตอร์ไซค์ด้วยความเร็ว แต่ไม่สวมหมวกกันน็อก เท่านั้นยังไม่พอ บางคนมีพฤติกรรมเสี่ยงในการขับขี่ที่ผาดโผน คึกคะนอง ฝ่าสัญญาณจราจร คุยมือถือไปด้วย หรือดื่มแอลกอฮอล์แล้วซิ่งมอเตอร์ไซค์
ภาพเหล่านี้เกือบจะกลายเป็นเรื่องปกติในสังคมไทยไปแล้ว
นิกร จำนง ประธานกรรมาธิการวิสามัญขับเคลื่อนการปฏิรูประบบความปลอดภัยทางถนน บอกว่า เคยมีการวิจัย ทุกวันนี้แค่ก้าวเท้าเดินออกจากบ้านคนไทยทั่วไปมีอัตราความเสี่ยงที่จะตายบนถนน จากอุบัติเหตุทางรถยนต์ หรือจักรยานยนต์สูงถึง 10% แล้ว
เขาบอกว่า ครั้งหนึ่งแพทย์ที่จะทำการผ่าตัดให้แก่บิดาของเขาซึ่งมีอายุมากแล้ว บอกกับเขาว่า ถ้าผ่าตัดบิดาของนิกร จะมีอัตราความเสี่ยง หรือพูดง่ายๆไม่รอด ประมาณ 3% นิกรบอกว่า งั้นหมอลงมือผ่าได้เลย เพราะทุกวันนี้ แค่คนไทยโดยทั่วไปก้าวเท้าออกจากบ้านก็มีโอกาสเสียชีวิตบนถนน สูงถึง 10% แล้ว
ในฐานะประธานกรรมาธิการวิสามัญขับเคลื่อนการปฏิรูประบบความปลอดภัยทางถนน นิกรบอกว่า มาตรการที่ให้ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์เปิดไฟ และใส่หมวกกันน็อก ซึ่งไทยไปลอกแบบมาจากญี่ปุ่นนั้น ช่วยลดสถิติอุบัติเหตุบนถนนจากรถมอเตอร์ไซค์ลงได้ประมาณ 25%
นิกรเชื่อว่า ถ้าเรามีระบบการโดยสารรถไฟ หรือรถไฟฟ้าที่ดี ผู้คนบนถนนจะปลอดภัยมากขึ้น
“ถ้าใครเคยขึ้นเครื่องบิน จะเห็นว่า ก่อนที่กัปตันจะนำเครื่องขึ้นสู่ท้องฟ้า จะมีแอร์โฮสเตสสาธิตวิธีการใช้อุปกรณ์ยามเครื่องบินอยู่ในภาวะฉุกเฉิน ซึ่งจะมีหน้ากากออกซิเจนร่วงลงมาเหนือศีรษะของผู้โดยสาร ผู้ใหญ่จะต้องใส่เครื่องช่วยหายใจให้ตัวเองก่อน แล้วจึงค่อยใส่ให้เด็ก นั่นคือ ผู้ใหญ่ต้องเป็นฝ่ายดูแลเด็ก”
แต่นิกรบอกว่า เรื่องขับขี่หรือซ้อนท้ายมอเตอร์ไซค์อย่างปลอดภัยนั้น ต้องทำกลับกัน...
“ผมอยากร้องขอให้เด็กๆและเยาวชนไทยเป็นฝ่ายช่วยดูแลผู้ใหญ่ ที่ชอบขี่รถเร็ว ชอบดื่มเหล้าแล้วขี่มอเตอร์ไซค์ รวมทั้งตัวเด็กและเยาวชนเอง ต้องยืนกรานอย่างแข็งขัน หากผู้ใหญ่ให้นั่งซ้อนท้ายแล้วไม่ยอมสวมหมวก กันน็อก และรัดสายรัดคาง หรือไม่หาหมวกกันน็อกมาให้เด็กใส่ และรัดคางให้ อย่ายอมซ้อนเด็ดขาด”
ข่าวดีก็คือ ความสูญเสียที่เกิดขึ้นเหล่านี้ สามารถป้องกันได้ด้วยการให้เด็กๆที่เดินทางด้วยการซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์สวมหมวกกันน็อกและรัดสายรัดคางทุกครั้ง
ฟังดูเหมือนมิใช่เรื่องยากเย็นที่จะร่วมกันป้องกันแก้ไขเหตุร้ายบนท้องถนน แต่ในสภาพเป็นจริงจากการสำรวจ พบว่าสาเหตุหลักของการไม่สวมหมวกกันน็อก ล้วนเกิดจากหลายเหตุผล ที่ฟังดูงี่เง่า
เช่น ไม่ได้ออกถนนใหญ่ หรือแค่เดินทางระยะใกล้ๆ คิดว่าหมวก กันน็อก ไม่ใช่สิ่งจำเป็น เป็นเรื่องเสียเวลา หรือใส่แล้วกลัวผมจะเสียทรง หรือหลายครั้งถูกมองว่าไม่เท่
นิกรบอกว่า ทุกวันนี้ถึงแม้ปริมาณรถและถนนมีเพิ่มขึ้น แต่การดื่มเหล้าของคนไทยก็เพิ่มขึ้นด้วย จะให้การปฏิบัติได้ผล ต้องใช้ยาแรงขึ้นกว่าเก่า ทั้งกระทรวงคมนาคม และตำรวจ ต้องมีแผนชัดเจน เพราะขืนปล่อยให้ขับขี่กันอย่างไร้วินัย ชีวิตคนไทยบนท้องถนนก็ยังต้องแขวนเอาไว้กับอันตราย
ดร.เตือนใจ ฟูกูดะ เลขาธิการสมาคมวิจัยวิทยาการขนส่งแห่งเอเชีย เสริมในประเด็นนี้ว่า สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุบนถนนจะมีอยู่ 3 สิ่งที่ต้องนึกถึง คือ ตัวคน ตัวรถ และ สภาพถนน ที่มีปัญหา
“ลองสังเกตดู ถ้าแต่ละปัจจัยที่มีปัญหา แยกกันอยู่ มักไม่ค่อยเป็นอะไร แต่ถ้าเมื่อไรก็ตามที่ทั้ง 3 ปัจจัยนี้มาเจอกัน อุบัติเหตุครั้งนั้นมักจะรุนแรง และมีการตายค่อนข้างสูง”
ถ้าลองวิเคราะห์ถึงสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุของเด็กและเยาวชนไทย โดยใช้องค์ประกอบ 3 ข้อที่ ดร.เตือนใจว่า ด้านตัวคน หรือ ผู้ขับขี่ นอกจากมักขาดทักษะในการขับขี่ที่ปลอดภัย และการตัดสินใจกับเหตุการณ์เฉพาะหน้า อายุและประสบการณ์ของผู้ขับขี่แต่ละคนก็ถือเป็นเรื่องสำคัญ
ตัวรถ เมื่อมีการดัดแปลงเครื่องยนต์ให้แรงและเร็วขึ้น แต่กลับใช้ล้อที่นิยมกันว่า ยิ่งเล็กยิ่งเท่หรือดูเจ๋งในสายตาวัยรุ่น เมื่อรถถูกดัดแปลงสภาพไปมากเท่าใด ความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุก็สูงขึ้นเท่านั้น
เช่นเดียวกับ สภาพถนน ทุกวันนี้ถนนหลายสายในเมืองไทย มาตรฐานความปลอดภัยมีน้อยอยู่แล้ว แถมไม่ได้ถูกออกแบบเพื่อใช้เป็นสนามประลองความเร็ว จุดเสี่ยงบนถนนก็เยอะ รถเล็กรถใหญ่วิ่งปนกัน
เมื่อทั้ง 3 ปัจจัย คือ ผู้ขับขี่ขาดประสบการณ์ ใช้รถแต่ง บนถนนที่ไม่มีความปลอดภัย คงเดาได้ไม่ยากว่าจะเกิดอะไรขึ้น
ในต่างประเทศ เช่น ที่ ออสเตรเลีย มีการเรียนการสอนเรื่องความปลอดภัยทางถนนให้แก่เด็กนักเรียนระดับประถมศึกษา ด้วยการสอดแทรกเรื่องการจราจร และการใช้รถใช้ถนน ลงไปในการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เช่น เรื่องการตัดสินใจข้ามถนน การวิเคราะห์ความเสี่ยงในฐานะผู้ขับขี่
ที่ อังกฤษ สอนให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตระหนักถึงความประมาท มีการจำลองสถานการณ์การเกิดอุบัติเหตุ โดยให้นักเรียนวิเคราะห์ถึงสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุในแต่ละครั้ง
ดร.เตือนใจบอกว่า ที่ ญี่ปุ่น จะสอนให้นักเรียนตั้งแต่ระดับอนุบาล เรียนรู้เครื่องหมายจราจรผ่านนิทาน การระบายสี และการสวมบทบาทเป็นผู้เดินทาง
และห้ามผู้ปกครองของเด็กประถม ขับรถไปรับ-ส่งบุตรหลานที่โรงเรียน แต่จะให้เครือข่ายผู้ปกครอง ครู ตำรวจ และคนในชุมชน ร่วมกันวางแผนจัดทำเส้นทางปลอดภัย จากบ้านสู่โรงเรียนให้แก่นักเรียน ป.1-ป.6 เกาะกลุ่มกันเดินไปโรงเรียนในรัศมี 1-2 กม. โดยมีแม่บ้านจิตอาสาคอยถือป้าย ช่วยให้เด็กข้ามถนน”
เทียบกับเมืองไทย เรายังให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ค่อนข้างน้อย เช่น มีสอนเฉพาะในวิชาสุขศึกษา เพียง 4 ชั่วโมงต่อปี ซึ่งไม่มากพอที่จะสร้างความตระหนักในระดับสร้างพฤติกรรมที่ปลอดภัยขึ้นมาได้
ได้ข่าวว่า ล่าสุดผู้ใหญ่ในกระทรวงศึกษาธิการ เตรียมจัดให้มีการเรียนการสอนเรื่องความปลอดภัยบนท้องถนน โดยนำประสบการณ์ของหลายประเทศที่ประสบความสำเร็จมาปรับใช้ให้ครูนำไปสอนเพิ่ม ในกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
หวังว่า แนวทางนี้จะเป็นนิมิตหมายที่ดี ช่วยลดสถิติการตายบนถนนของคนไทย.
มาตรการลดสถิติโลก เหตุเด็กไทยตายคาถนน ปีล่ะ กว่า 2,600 คน หรือเฉลี่ยมากกว่า 7 คนต่อวัน
ภาพจาก https://goo.gl/gr31uS
ทุกวันนี้ประเทศไทยถูกจัดอันดับจากองค์การอนามัยโลก มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนถนนสูงเป็นอันดับ 2 ของโลก
ที่น่าสลดยิ่งไปกว่านั้น ยังพบว่า ผู้ที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนสูงสุด คือ เด็กและเยาวชน
ในแต่ละปี มีเด็กไทยกว่า 2,600 คน เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนถนน หรือเฉลี่ยมากกว่า 7 คนต่อวัน และอีกเกือบ 200 คนต่อวัน หรือเฉลี่ยกว่า 72,000 คนต่อปี ที่ได้รับบาดเจ็บ หรือพิการ
พาหนะที่ทำให้เด็กและเยาวชนไทยต้องบาดเจ็บ พิการ และล้มตายมากที่สุด คือ มอเตอร์ไซค์
หากเปรียบเทียบให้เห็นภาพง่ายขึ้น จะพูดว่าในแต่ละปี มีนักเรียนในโรงเรียนขนาดใหญ่หายไปเกลี้ยง 1 โรงเรียน โดยมีสาเหตุมาจาก รถมอเตอร์ไซค์ เกิดอุบัติเหตุ ก็พูดได้
เพราะทุกวันนี้ทั่วประเทศมีเด็กและเยาวชนไทย วัยเรียนประมาณ 1.3 ล้านคน เดินทางโดยการซ้อนท้ายมอเตอร์ไซค์ แต่มีเพียง 7% เท่านั้น ที่สวมหมวกกันน็อกตามที่กฎหมายบังคับ
ช่วงเปิดเทอมทุกเช้าและเย็น เราอาจเห็นเด็กวัยอนุบาล หรือชั้นประถม นั่งซ้อนท้ายมอเตอร์ไซค์หรือจักรยานยนต์ โดยที่พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ไม่สวมหมวกกันน็อกให้บ้าง ขาของเด็กหยั่งไม่ถึงที่พักเท้าบ้าง ขาเข้าไปติดในซี่ล้อมอเตอร์ไซค์บ้าง
หรือไม่เรามักเห็นวัยรุ่นระดับมัธยม หรืออาชีวะ ขี่รถมอเตอร์ไซค์ด้วยความเร็ว แต่ไม่สวมหมวกกันน็อก เท่านั้นยังไม่พอ บางคนมีพฤติกรรมเสี่ยงในการขับขี่ที่ผาดโผน คึกคะนอง ฝ่าสัญญาณจราจร คุยมือถือไปด้วย หรือดื่มแอลกอฮอล์แล้วซิ่งมอเตอร์ไซค์
ภาพเหล่านี้เกือบจะกลายเป็นเรื่องปกติในสังคมไทยไปแล้ว
นิกร จำนง ประธานกรรมาธิการวิสามัญขับเคลื่อนการปฏิรูประบบความปลอดภัยทางถนน บอกว่า เคยมีการวิจัย ทุกวันนี้แค่ก้าวเท้าเดินออกจากบ้านคนไทยทั่วไปมีอัตราความเสี่ยงที่จะตายบนถนน จากอุบัติเหตุทางรถยนต์ หรือจักรยานยนต์สูงถึง 10% แล้ว
เขาบอกว่า ครั้งหนึ่งแพทย์ที่จะทำการผ่าตัดให้แก่บิดาของเขาซึ่งมีอายุมากแล้ว บอกกับเขาว่า ถ้าผ่าตัดบิดาของนิกร จะมีอัตราความเสี่ยง หรือพูดง่ายๆไม่รอด ประมาณ 3% นิกรบอกว่า งั้นหมอลงมือผ่าได้เลย เพราะทุกวันนี้ แค่คนไทยโดยทั่วไปก้าวเท้าออกจากบ้านก็มีโอกาสเสียชีวิตบนถนน สูงถึง 10% แล้ว
ในฐานะประธานกรรมาธิการวิสามัญขับเคลื่อนการปฏิรูประบบความปลอดภัยทางถนน นิกรบอกว่า มาตรการที่ให้ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์เปิดไฟ และใส่หมวกกันน็อก ซึ่งไทยไปลอกแบบมาจากญี่ปุ่นนั้น ช่วยลดสถิติอุบัติเหตุบนถนนจากรถมอเตอร์ไซค์ลงได้ประมาณ 25%
นิกรเชื่อว่า ถ้าเรามีระบบการโดยสารรถไฟ หรือรถไฟฟ้าที่ดี ผู้คนบนถนนจะปลอดภัยมากขึ้น
“ถ้าใครเคยขึ้นเครื่องบิน จะเห็นว่า ก่อนที่กัปตันจะนำเครื่องขึ้นสู่ท้องฟ้า จะมีแอร์โฮสเตสสาธิตวิธีการใช้อุปกรณ์ยามเครื่องบินอยู่ในภาวะฉุกเฉิน ซึ่งจะมีหน้ากากออกซิเจนร่วงลงมาเหนือศีรษะของผู้โดยสาร ผู้ใหญ่จะต้องใส่เครื่องช่วยหายใจให้ตัวเองก่อน แล้วจึงค่อยใส่ให้เด็ก นั่นคือ ผู้ใหญ่ต้องเป็นฝ่ายดูแลเด็ก”
แต่นิกรบอกว่า เรื่องขับขี่หรือซ้อนท้ายมอเตอร์ไซค์อย่างปลอดภัยนั้น ต้องทำกลับกัน...
“ผมอยากร้องขอให้เด็กๆและเยาวชนไทยเป็นฝ่ายช่วยดูแลผู้ใหญ่ ที่ชอบขี่รถเร็ว ชอบดื่มเหล้าแล้วขี่มอเตอร์ไซค์ รวมทั้งตัวเด็กและเยาวชนเอง ต้องยืนกรานอย่างแข็งขัน หากผู้ใหญ่ให้นั่งซ้อนท้ายแล้วไม่ยอมสวมหมวก กันน็อก และรัดสายรัดคาง หรือไม่หาหมวกกันน็อกมาให้เด็กใส่ และรัดคางให้ อย่ายอมซ้อนเด็ดขาด”
ข่าวดีก็คือ ความสูญเสียที่เกิดขึ้นเหล่านี้ สามารถป้องกันได้ด้วยการให้เด็กๆที่เดินทางด้วยการซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์สวมหมวกกันน็อกและรัดสายรัดคางทุกครั้ง
ฟังดูเหมือนมิใช่เรื่องยากเย็นที่จะร่วมกันป้องกันแก้ไขเหตุร้ายบนท้องถนน แต่ในสภาพเป็นจริงจากการสำรวจ พบว่าสาเหตุหลักของการไม่สวมหมวกกันน็อก ล้วนเกิดจากหลายเหตุผล ที่ฟังดูงี่เง่า
เช่น ไม่ได้ออกถนนใหญ่ หรือแค่เดินทางระยะใกล้ๆ คิดว่าหมวก กันน็อก ไม่ใช่สิ่งจำเป็น เป็นเรื่องเสียเวลา หรือใส่แล้วกลัวผมจะเสียทรง หรือหลายครั้งถูกมองว่าไม่เท่
นิกรบอกว่า ทุกวันนี้ถึงแม้ปริมาณรถและถนนมีเพิ่มขึ้น แต่การดื่มเหล้าของคนไทยก็เพิ่มขึ้นด้วย จะให้การปฏิบัติได้ผล ต้องใช้ยาแรงขึ้นกว่าเก่า ทั้งกระทรวงคมนาคม และตำรวจ ต้องมีแผนชัดเจน เพราะขืนปล่อยให้ขับขี่กันอย่างไร้วินัย ชีวิตคนไทยบนท้องถนนก็ยังต้องแขวนเอาไว้กับอันตราย
ดร.เตือนใจ ฟูกูดะ เลขาธิการสมาคมวิจัยวิทยาการขนส่งแห่งเอเชีย เสริมในประเด็นนี้ว่า สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุบนถนนจะมีอยู่ 3 สิ่งที่ต้องนึกถึง คือ ตัวคน ตัวรถ และ สภาพถนน ที่มีปัญหา
“ลองสังเกตดู ถ้าแต่ละปัจจัยที่มีปัญหา แยกกันอยู่ มักไม่ค่อยเป็นอะไร แต่ถ้าเมื่อไรก็ตามที่ทั้ง 3 ปัจจัยนี้มาเจอกัน อุบัติเหตุครั้งนั้นมักจะรุนแรง และมีการตายค่อนข้างสูง”
ถ้าลองวิเคราะห์ถึงสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุของเด็กและเยาวชนไทย โดยใช้องค์ประกอบ 3 ข้อที่ ดร.เตือนใจว่า ด้านตัวคน หรือ ผู้ขับขี่ นอกจากมักขาดทักษะในการขับขี่ที่ปลอดภัย และการตัดสินใจกับเหตุการณ์เฉพาะหน้า อายุและประสบการณ์ของผู้ขับขี่แต่ละคนก็ถือเป็นเรื่องสำคัญ
ตัวรถ เมื่อมีการดัดแปลงเครื่องยนต์ให้แรงและเร็วขึ้น แต่กลับใช้ล้อที่นิยมกันว่า ยิ่งเล็กยิ่งเท่หรือดูเจ๋งในสายตาวัยรุ่น เมื่อรถถูกดัดแปลงสภาพไปมากเท่าใด ความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุก็สูงขึ้นเท่านั้น
เช่นเดียวกับ สภาพถนน ทุกวันนี้ถนนหลายสายในเมืองไทย มาตรฐานความปลอดภัยมีน้อยอยู่แล้ว แถมไม่ได้ถูกออกแบบเพื่อใช้เป็นสนามประลองความเร็ว จุดเสี่ยงบนถนนก็เยอะ รถเล็กรถใหญ่วิ่งปนกัน
เมื่อทั้ง 3 ปัจจัย คือ ผู้ขับขี่ขาดประสบการณ์ ใช้รถแต่ง บนถนนที่ไม่มีความปลอดภัย คงเดาได้ไม่ยากว่าจะเกิดอะไรขึ้น
ในต่างประเทศ เช่น ที่ ออสเตรเลีย มีการเรียนการสอนเรื่องความปลอดภัยทางถนนให้แก่เด็กนักเรียนระดับประถมศึกษา ด้วยการสอดแทรกเรื่องการจราจร และการใช้รถใช้ถนน ลงไปในการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เช่น เรื่องการตัดสินใจข้ามถนน การวิเคราะห์ความเสี่ยงในฐานะผู้ขับขี่
ที่ อังกฤษ สอนให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตระหนักถึงความประมาท มีการจำลองสถานการณ์การเกิดอุบัติเหตุ โดยให้นักเรียนวิเคราะห์ถึงสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุในแต่ละครั้ง
ดร.เตือนใจบอกว่า ที่ ญี่ปุ่น จะสอนให้นักเรียนตั้งแต่ระดับอนุบาล เรียนรู้เครื่องหมายจราจรผ่านนิทาน การระบายสี และการสวมบทบาทเป็นผู้เดินทาง
และห้ามผู้ปกครองของเด็กประถม ขับรถไปรับ-ส่งบุตรหลานที่โรงเรียน แต่จะให้เครือข่ายผู้ปกครอง ครู ตำรวจ และคนในชุมชน ร่วมกันวางแผนจัดทำเส้นทางปลอดภัย จากบ้านสู่โรงเรียนให้แก่นักเรียน ป.1-ป.6 เกาะกลุ่มกันเดินไปโรงเรียนในรัศมี 1-2 กม. โดยมีแม่บ้านจิตอาสาคอยถือป้าย ช่วยให้เด็กข้ามถนน”
เทียบกับเมืองไทย เรายังให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ค่อนข้างน้อย เช่น มีสอนเฉพาะในวิชาสุขศึกษา เพียง 4 ชั่วโมงต่อปี ซึ่งไม่มากพอที่จะสร้างความตระหนักในระดับสร้างพฤติกรรมที่ปลอดภัยขึ้นมาได้
ได้ข่าวว่า ล่าสุดผู้ใหญ่ในกระทรวงศึกษาธิการ เตรียมจัดให้มีการเรียนการสอนเรื่องความปลอดภัยบนท้องถนน โดยนำประสบการณ์ของหลายประเทศที่ประสบความสำเร็จมาปรับใช้ให้ครูนำไปสอนเพิ่ม ในกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
หวังว่า แนวทางนี้จะเป็นนิมิตหมายที่ดี ช่วยลดสถิติการตายบนถนนของคนไทย.