ในสมัยสงครามระหว่างรัฐ(จั้นกั๋ว) มีครอบครัวครอบครัวหนึ่งในรัฐฉู่ เมื่อทำพิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษ
แล้วมักจะมอบสุราให้กับผู้ที่มาช่วยงานเป็นการตอบแทน 1 ไห แต่ในความเป็นจริงแล้วสุรา 1 ไห
มีปริมาณน้อยเกินไป หากแบ่งให้ทุกคนดื่มต่างก็ดื่มได้ไม่เต็มที่ ไม่สู้ดื่มเพียงคนเดียว
ผู้ที่มาช่วยงานผู้หนึ่งจึงออกความเห็นว่า
“เพื่อความเป็นธรรม เอาอย่างนี้ดีกว่า พวกเราวาดรูปงูแข่งกัน ใครวาดเสร็จก่อนก็ได้สุราไหนั้นไป”
คนอื่นๆ ต่างเห็นด้วย จึงพากันวาดรูปงูลงบนพื้น สักพักมีคนผู้หนึ่งวาดเสร็จก่อน แต่เมื่อเขามองไป
รอบๆ เห็นคนอื่นยังคงก้มหน้าก้มตาวาดกันอยู่ เขาจึงกระหยิ่มใจ และคิดว่าเพื่อเป็นการแสดงให้คนอื่น
เห็นว่าตนวาดภาพเร็วมาก หากวาดขาเติมลงไปในรูปงูของตนเองอีก 4 ข้างก็ยังทัน คิดได้ดังนั้นจึงวาด
ต่อ แต่วาดยังไม่ทันเสร็จ มีคนอีกผู้หนึ่งวาดรูปงูเสร็จแล้ว
และเดินไปหยิบไหสุรามาถือไว้ก่อนใคร ทั้งยังเดินมากล่าวกับชายที่เติมขาให้งูว่า
“ท่านจะมัวเติมขาให้งูไปทำไม ในเมื่อความจริงงูไม่มีขา งูที่มีขาย่อมไม่ใช่งู”
หลังจากกล่าวจบก็ดื่มสุราไหนั้นจนหมดเกลี้ยง
...................................
นั่นคือที่มาของสุภาษิต “ฮว่าเสอเทียนจู๋” หรือ “วาดงูเติมขา”
ปัจจุบันใช้เพื่อเปรียบเทียบกับการทำสิ่งที่เกินจำเป็น เกินพอดี ไม่มีเหตุผล ซึ่งนอกจาก
จะไม่มีประโยชน์แล้วยังเสียเวลา และอาจจะทำให้เรื่องราวเลวร้ายลงไปอีกด้วย
http://www.somdom.com/archiver/tid-3487.html
画蛇添足 วาดงูเติมขา
ในสมัยสงครามระหว่างรัฐ(จั้นกั๋ว) มีครอบครัวครอบครัวหนึ่งในรัฐฉู่ เมื่อทำพิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษ
แล้วมักจะมอบสุราให้กับผู้ที่มาช่วยงานเป็นการตอบแทน 1 ไห แต่ในความเป็นจริงแล้วสุรา 1 ไห
มีปริมาณน้อยเกินไป หากแบ่งให้ทุกคนดื่มต่างก็ดื่มได้ไม่เต็มที่ ไม่สู้ดื่มเพียงคนเดียว
ผู้ที่มาช่วยงานผู้หนึ่งจึงออกความเห็นว่า
“เพื่อความเป็นธรรม เอาอย่างนี้ดีกว่า พวกเราวาดรูปงูแข่งกัน ใครวาดเสร็จก่อนก็ได้สุราไหนั้นไป”
คนอื่นๆ ต่างเห็นด้วย จึงพากันวาดรูปงูลงบนพื้น สักพักมีคนผู้หนึ่งวาดเสร็จก่อน แต่เมื่อเขามองไป
รอบๆ เห็นคนอื่นยังคงก้มหน้าก้มตาวาดกันอยู่ เขาจึงกระหยิ่มใจ และคิดว่าเพื่อเป็นการแสดงให้คนอื่น
เห็นว่าตนวาดภาพเร็วมาก หากวาดขาเติมลงไปในรูปงูของตนเองอีก 4 ข้างก็ยังทัน คิดได้ดังนั้นจึงวาด
ต่อ แต่วาดยังไม่ทันเสร็จ มีคนอีกผู้หนึ่งวาดรูปงูเสร็จแล้ว
และเดินไปหยิบไหสุรามาถือไว้ก่อนใคร ทั้งยังเดินมากล่าวกับชายที่เติมขาให้งูว่า
“ท่านจะมัวเติมขาให้งูไปทำไม ในเมื่อความจริงงูไม่มีขา งูที่มีขาย่อมไม่ใช่งู”
หลังจากกล่าวจบก็ดื่มสุราไหนั้นจนหมดเกลี้ยง
...................................
นั่นคือที่มาของสุภาษิต “ฮว่าเสอเทียนจู๋” หรือ “วาดงูเติมขา”
ปัจจุบันใช้เพื่อเปรียบเทียบกับการทำสิ่งที่เกินจำเป็น เกินพอดี ไม่มีเหตุผล ซึ่งนอกจาก
จะไม่มีประโยชน์แล้วยังเสียเวลา และอาจจะทำให้เรื่องราวเลวร้ายลงไปอีกด้วย
http://www.somdom.com/archiver/tid-3487.html