หลังจากจบ GP สนามที่ 9 ที่เยอรมันนีแล้ว นักแข่งและทีมงานใน MotoGP จะมีโอกาสได้พักผ่อนสั้นๆในช่วงฤดูร้อนราวๆ 1 เดือน ก่อนที่จะกลับมาลุยกันต่อแบบหนักหน่วงสะใจแฟนๆ ในช่วงครึ่งฤดูกาลหลังในวันที่ 14 เดือนนี้ ทว่าดูไปแล้วคงจะมีแค่ Marc Marquez เท่านั้นแหละที่น่าจะ ไปนอนอาบแดดดูดน้ำมะพร้าวหรือน้ำสัปปะรดปั่นเย็นชื่นใจกลางเรือยอร์ชหรือริมชายหาดกับเพื่อนๆและครอบครัวอย่างสบายใจ
จองๆๆๆ อิอิ
ตรงกันข้ามกับทีมโรงงาน Yamaha ที่ต้องพักเบรกไปอย่างชีช้ำกะหล่ำปลี หลังจากผลงาน 2 สนามล่าสุดก่อนพักของทีม Yamaha นั้น อยู่ในระดับที่เรียกว่าหายนะได้เลยทีเดียว ราวกับว่าสายฝนนั้นพัดพาความช้ำมายังแคมป์สีน้ำเงินอย่างแท้จริง (ฟาดงวงไปถึงทีมสีน้ำเงินอีกทีมอย่าง Suzuki ด้วยก็คงไม่ผิดนัก เอิ๊กๆ) ขณะที่วิศวกรของแต่ละโรงงานกลับต้องทำงานกันอย่างหนัก เตรียมตัวเบิกโอทีเก็บไว้ช๊อปปิ้งช่วงคริสมาสต์ ปีใหม่หรือเก็บไว้มาเที่ยวทะเลใต้บ้านเราปีหน้าได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย เพราะช่วงนี้จะเป็นช่วงที่ทีมแข่งจะสรุปและส่งข้อมูลล็อตใหญ่กลับมายังโรงงานเพื่อวิเคราะห์ปัญหาและหาทางปรับปรุงแก้ไขรถให้ดีขึ้นในช่วงครึ่งฤดูกาลหลัง
ยกล้อแก้เซ็ง ฮึ่ม
ย้อนกลับไปดูการแข่งขันที่ Sachsenring เมื่อ 2 สัปดาห์ก่อนกันหน่อย เป็นสนามที่ 2 ต่อจาก Assen พระพิรุณได้มาเยือนและสร้างความโกลาหลให้กับนักแข่งและทีมงานตามที่กรมอุตุฯได้พยากรณ์เอาไว้ เพียงแต่ว่าฝนมันมาตกหนักๆก็เฉพาะในวันอาทิตย์แค่วันเดียวเท่านั้น ขณะที่วันศุกร์กับเสาร์นั้นน้องฝนมาแบบไม่หนักมากแล้วก็หยุดไป ทำให้ทีมต่างๆไม่มีโอกาสได้ลงไปทดสอบรถในสภาพพื้นสนามเปียกในช่วงทดสอบรถวันศุกร์หรือวันเสาร์เลย ซึ่งพอเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น สิ่งที่แต่ละทีมทำได้ก็คือกางตำราแล้วเสี่ยงเลือกวิธีที่คิดว่าน่าจะได้ผลการแข่งขันที่ดีที่สุด ซึ่งพอไปอยู่ในสนามจริง มันอาจจะเป็นคนละเรื่องก็ได้
สำหรับสนามนี้ ต้องบอกว่าทุกทีมนั้นเจอปัญหาเหมือนกันหมด แต่แตกต่างกันไปตามเนื้อผ้า Yamaha เจอปัญหาเรื่องอุณหภูมิที่ต่ำกว่าปกติเล่นงาน ซึ่งรถ YZR-M1 นั้นปกติก็มีปัญหาเรื่องอุณหภูมิต่ำอยู่แล้ว แต่มาสนามนี้ที่เรียกได้ว่าเจองานโหดเลย เนื่องจากรถไม่สามารถทำความร้อนไปยังยางได้อย่างที่ต้องการได้โดยเฉพาะยางหน้า จะได้เห็นได้ว่าเวลาที่ทำได้ในวันศุกร์นั้น ค่อนข้างช้ามากๆ ซึ่งจริงๆแล้วการที่ฝนตกนั้น จริงๆถือว่าเป็นผลดีต่อ Yamaha ซะด้วยซ้ำ ที่ทีมต้องใช้ยางฝนไม่ต้องไปกังวลกับการต้องใช้ยางสลิค
แฟนๆโมโตจีพีในเยอรมันนี
ในส่วนของ Honda นั้น เนื่องด้วยสภาพอากาศที่ค่อนข้างเย็นผิดปกติ ทำให้ MM93 ตัดสินใจเลือกยางหน้าเป็นยางเปียกแบบ Extra soft เพราะคาดว่ายางน่าจะทำอุณภูมิได้ดีกว่า แต่พอไปแข่งจริงกลับพบว่ายางนั้นอ่อนเกินไปสำหรับเค้า ทำให้เริ่มโดนรถคันอื่นแซงไปเรื่อยๆ จนกระทั่งเค้าหลุดออกจากแทรคไป ก่อนที่จะตัดสินใจเข้าไปเปลี่ยนเป็นยางสลิคออกมาและทำให้เค้าสามารถกลับมาคว้าชัยชนะไปได้ในที่สุด
Ducati ที่มาดีเกือบทุกอย่างในสภาพฝนตก แต่การที่ทีมไม่สามารถเปลี่ยนเกมไปตามสภาพอากาศและพื้นผิวแทรคได้ดีพอ ทำให้ต้องพลาดโอกาสที่จะคว้าชัยชนะไป(อีกแล้ว) ส่วน Suzuki นั้นยังไม่สามารถแก้ปัญหากริปหลังของรถได้ ถึงแม้ว่าวิศวกรของ Suzuki นั้นได้พยายามแก้ปัญหาที่เกิดจากสนาม Assen มาแล้ว แต่ดูเหมือนพอนำมาใช้จริงกลับกลายเป็นว่ามันยังไม่เวิร์ค เลยทำให้ผลงานของทีมกลายเละเป็นโจ๊กไปอีก 1 สนาม ซึ่งก็ต้องกลับไปหาสาเหตุและแก้ปัญหากันต่อไป
รุ่น MotoGP ออกสตาร์ทท่ามกลางสายฝนและพื้นผิวแทรคที่เปียกชุ่ม
หลังจบการแข่งขันประเด็นที่ถูกหยิบมาพูดถึงกันมากคือทำไมรถกลุ่มนำไม่ยอมเข้าไปเปลี่ยนยางเหมือนกับที่มาร์ค มาเคสทำ ทั้งๆที่ทีมงานน่าจะเห็นแล้วว่าเวลาต่อรอบของ MM93 นั้นดีกว่ารถคันอื่นอย่างเห็นได้ชัดและกรณีที่ Valentino Rossi นั้นเข้า Pit ช้ากว่าที่ทีมงานบอกถึงประมาณ 3 รอบ ซึ่งคำตอบจากบทสัมภาษณ์ของนักแข่งหลังจบการแข่งขันคือในช่วงท้ายนั้น กลุ่มนำนั้นกำลังขับเคี่ยวกันอย่างหนัก นักแข่งต้องใช้สมาธิในการรักษาตำแหน่งหรือพยายามทำความเร็วเพื่อที่จะแซงรถคันหน้า การเสียสมาธิเพียงแค่วินาทีเดียวอาจจะโดนแย่งตำแหน่งได้ ด้วยตำแหน่งที่ Pit board อยู่ซึ่งอยู่ต่อจากหลังโค้งทันที ทำให้มีเวลาในการสังเกตุน้อยมากบวกกับในสภาพอากาศแบบนั้น ทำให้เป็นไปได้ยากที่จะมองเห็นพิทบอร์ดอย่างชัดเจน เลยทำให้กลุ่มนี้กลับเข้าไปเปลี่ยนรถช้ากว่าที่ทีมงานบอก
กลุ่มนำในช่วงต้นของการแข่งขัน
และในขณะเดียวกัน ยางที่นักแข่งส่วนมากได้ออกมาหลังจากเปลี่ยนรถนั้น เป็นยาง Intermediate เกือบทั้งหมด ซึ่งยางตัวนี้นั้นนักแข่งมีโอกาสได้ทดสอบมันน้อยมาก ซึ่งคำถามก็ตามมาอีกว่า ทำไมไม่เปลี่ยนเป็นยางสลิคเหมือน MM ซึ่งจริงๆก็ต้องถามกลับว่าแล้วทำไม Marquez ถึงเปลี่ยนไปใช้ยางสลิคทั้งๆที่ผืนผิวแทรคนั้นยังเปียกอยู่เยอะ คำตอบก็คือ MM นั้นไม่เคยทดสอบยาง Inter มาก่อน ทำให้ทีมงานของเค้าไม่กล้าเสี่ยงที่จะใช้ ในทางกลับกัน เค้าเลือกที่จะเสี่ยงกับยางสลิคมาวิ่งบนแทรคเปียกแทน ทั้งๆที่ตอนนั้นมีไลน์ที่พอจะวิ่งได้แคบมากแถมบางโค้งก็ยังเปียกอยู่เลย ซึ่ง 3 รอบแรกนั้นมาเคสต้องประคับประคองรถเป็นพิเศษ
นอกจากนี้ต้องบอกว่าด้วยคุณสมบัติของรถ RC213V ที่สร้างความร้อนไปยังยางหน้าได้สูงกว่ารถโรงงานอื่น โดยเฉพาะในจังหวะเบรก (เนื่องจากตัวรถที่สั้นและสูง ทำให้น้ำหนักส่วนใหญ่ถูกถ่ายไปยังล้อหน้าต่างจากรถของ Yamaha และ Ducati ที่เตี้ยและยาวกว่า) ก็กลายเป็นอีกแรงที่ช่วยให้เค้าใช้ยางนี้ได้ ซึ่งโดยปกติแล้วจุดนี้จะเป็นข้อเสียเปรียบของ Honda ที่ต้องใช้เนื้อยางหน้าที่หนากว่าคู่แข่ง แต่ในสถานการณ์แบบนี้แล้ว กลับกลายเป็นประโยชน์ให้กับนักแข่งไปโดยปริยาย
ปีนี้เราสลับบทบาทกันนะเฮีย จุ๊ฟๆ 555+
ในกรณีของ Rossi ที่แฟนๆอาจจะเซ็งกับการตัดสินใจของทีมนั้น Rossi ออกมาเปิดเผยเองว่า ตัวเค้ามั่นใจว่าถึงแม้จะเข้าไปเปลี่ยนเป็นยางสลิคออกมาหรือเข้าไปเร็วกว่านี้ซัก 3 รอบ ผลการแข่งขันที่ได้ก็คงไม่เกินอันดับ 6 หรือเผลอๆอาจจะแย่กว่าผลที่ได้ซะด้วยซ้ำ เพราะในวันศุกร์ รถ YZR-M1 ของเค้านั้นมีปัญหาอย่างมากกับยางสลิค(กับอุณหภูมิผิวแทรคแบบนี้) เค้าเลยไม่มีแผนที่จะเปลี่ยนไปเลือกยางแห้งอยู่แล้ว และเลือกที่จะเข้าพิทพร้อมกับ Dovi และ Cruthlow ตามเกมปกติ ทั้งนี้โชคเองก็มีส่วนช่วยเยอะ สมมุติว่าถ้า Marquez ไม่หลุดออกไป เค้าจะได้เปลี่ยนยางตอนไหน หรือถ้าเกิดฝนเทหนักกลับมาอีกครั้งในช่วงท้าย MM ก็อาจจะไม่ชนะก็ได้ แต่ทั้งนี้ต้องยอมรับว่าการจัดการของทีมงานเบอร์ 93 นั้นทำได้ดีกว่าคนอื่นจริงๆ
จากปัญหาการมองพิทบอร์ดไม่ชัดเพราะนักแข่งกำลังใช้สมาธิอยู่กับการป้องกันหรือแย่งตำแหน่งอยู่นั้น ประเด็นที่ถูกหยิบยกมาถกกันมากๆเรื่องนึงคือใน MotoGP ควรจะต้องใช้วิทยุสื่อสารเหมือนใน F1 รึเปล่า แน่นอนว่าคนส่วนใหญ่นั้นไม่เห็นด้วย ร่วมถึงส่วนตัวด้วย เพราะว่าวิทยุเองมันก็มีปัญหาในตัวของมันเองด้วยเช่นกัน สำหรับปัญหาในสถานการณ์ที่มีฝนตกแล้วฝนเริ่มหยุด มีอยู่ 2 ประเด็นที่น่าสนใจคือ
1. นักแข่งมองไม่เห็นป้ายที่ทีมงานส่งสัญญาณหรือว่าไม่สามารถละสายตาไปมองได้ ทำให้พลาดโอกาสในการเข้าพิท
2. การสื่อสารทุกวันนี้เป็นการสื่อสารทางเดียว จากทีมงานไปยังนักแข่ง ซึ่งเป็น กรณีที่นักแข่งต้องการบอกทีมงานล่ะว่า อยากเข้าพิทและยางได้ยางสลิคหรือยางกึ่งเปียกกึ่งแห้งนั้นไม่สามารถทำได้
ข้อมูลที่สื่อสารไปยังนักแข่ง สั้น ต้องกระชับและได้ใจความ
ซึ่งทั้ง 2 ข้อนี้ ต้องไปถามนักแข่งและทีมแข่งว่าอยากจะปรับปรุงให้มันดีขึ้นมั้ยหรือยังไง วิธีการในปัจุบันคือนักแข่งและทีมงานจะมีการประชุมกันเพื่อวางแผนในการแข่ง ทุกเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้น จะต้องถูกกำหนดวิธีจัดการไว้ล่วงหน้า แล้วก็ปฏิบัติตามที่ตกลงกันไว้ ซึ่งตรงนี้ก็อยู่ที่ความละเอียดของแต่ละทีมว่าเซ็ตระบบกันไว้ดีแค่ไหน Marc Marquez นั้นเคยทำพลาดที่ Australia เมื่อปี 2013 จนทำให้เค้าต้องได้รับธงดำไปในสนามนั้น ซึ่งเค้าบอกว่าเหตุการณ์ตรงนั้นเป็นบทเรียนสำคัญที่ทีมงานของเค้านั้นต้องมาปรับรูปแบบการทำงานกันใหม่ที่ต้องระเอียดรอบคอบมากกว่าเดิม
การเปลี่ยนรถกลางอากาศ อีกหนึ่งเอกลักษณ์ของนักแข่งเบอร์ 93
สำหรับเสียงส่วนมากจากแฟนก็คือไม่เห็นด้วยที่จะนำวิทยุสื่อสารมาใช้ แต่ก็มีข้อเสนอบางอย่างที่น่าสนใจเหมือนกัน เช่นการที่ให้แสดงสัญญาณให้เข้าพิทผ่าน Dash board ด้วยอีกทาง อาจจะให้สัญญาณนี้ติดเฉพาะช่วงทางตรงก็ได้ หรือกรณีที่นักแข่งเห็นว่าแทรคมันเริ่มแห้ง อยากจะได้ยางแบบไหน ก็อาจจะเพิ่มปุ่มขึ้นมาเพื่อบอกกลับไปยังทีมงาน นี่คือทางออกที่คนส่วนใหญ่มองว่าถ้าจะทำ ก็อาจจะมาปรับปรุงตรงนี้ (มีคนด่าน้อยสุดว่างั้น) แต่ว่าในรายละเอียดมันก็จะมีข้อจำกัดของมัน เพราะการเลือกยาง มันต้องบอกทั้งประเภทยางและเนื้อยางด้วย แค่นี้ปุ่มมันก็เยอะพอแล้ว จะทำกันยังไง ก็นะ ถ้าหากทาง FIM ต้องการที่จะปรับปรุงวิธีสื่อสารตรงนี้จริงๆ ก็คงต้องใช้เวลาในการทำงานอีกพักใหญ่ แต่ทั้งนี้เชื่อว่าน่าจะยังไม่มีการขยับตัวในเร็วๆนี้หรอก
[MotoGP] Mid-Season Review - ผ่านครึ่งฤดูกาล แต่การลุ้นแชมป์โลกดูเหมือนจะมีคนถูกทิ้งไว้กลางทาง
จองๆๆๆ อิอิ
ตรงกันข้ามกับทีมโรงงาน Yamaha ที่ต้องพักเบรกไปอย่างชีช้ำกะหล่ำปลี หลังจากผลงาน 2 สนามล่าสุดก่อนพักของทีม Yamaha นั้น อยู่ในระดับที่เรียกว่าหายนะได้เลยทีเดียว ราวกับว่าสายฝนนั้นพัดพาความช้ำมายังแคมป์สีน้ำเงินอย่างแท้จริง (ฟาดงวงไปถึงทีมสีน้ำเงินอีกทีมอย่าง Suzuki ด้วยก็คงไม่ผิดนัก เอิ๊กๆ) ขณะที่วิศวกรของแต่ละโรงงานกลับต้องทำงานกันอย่างหนัก เตรียมตัวเบิกโอทีเก็บไว้ช๊อปปิ้งช่วงคริสมาสต์ ปีใหม่หรือเก็บไว้มาเที่ยวทะเลใต้บ้านเราปีหน้าได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย เพราะช่วงนี้จะเป็นช่วงที่ทีมแข่งจะสรุปและส่งข้อมูลล็อตใหญ่กลับมายังโรงงานเพื่อวิเคราะห์ปัญหาและหาทางปรับปรุงแก้ไขรถให้ดีขึ้นในช่วงครึ่งฤดูกาลหลัง
ยกล้อแก้เซ็ง ฮึ่ม
ย้อนกลับไปดูการแข่งขันที่ Sachsenring เมื่อ 2 สัปดาห์ก่อนกันหน่อย เป็นสนามที่ 2 ต่อจาก Assen พระพิรุณได้มาเยือนและสร้างความโกลาหลให้กับนักแข่งและทีมงานตามที่กรมอุตุฯได้พยากรณ์เอาไว้ เพียงแต่ว่าฝนมันมาตกหนักๆก็เฉพาะในวันอาทิตย์แค่วันเดียวเท่านั้น ขณะที่วันศุกร์กับเสาร์นั้นน้องฝนมาแบบไม่หนักมากแล้วก็หยุดไป ทำให้ทีมต่างๆไม่มีโอกาสได้ลงไปทดสอบรถในสภาพพื้นสนามเปียกในช่วงทดสอบรถวันศุกร์หรือวันเสาร์เลย ซึ่งพอเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น สิ่งที่แต่ละทีมทำได้ก็คือกางตำราแล้วเสี่ยงเลือกวิธีที่คิดว่าน่าจะได้ผลการแข่งขันที่ดีที่สุด ซึ่งพอไปอยู่ในสนามจริง มันอาจจะเป็นคนละเรื่องก็ได้
สำหรับสนามนี้ ต้องบอกว่าทุกทีมนั้นเจอปัญหาเหมือนกันหมด แต่แตกต่างกันไปตามเนื้อผ้า Yamaha เจอปัญหาเรื่องอุณหภูมิที่ต่ำกว่าปกติเล่นงาน ซึ่งรถ YZR-M1 นั้นปกติก็มีปัญหาเรื่องอุณหภูมิต่ำอยู่แล้ว แต่มาสนามนี้ที่เรียกได้ว่าเจองานโหดเลย เนื่องจากรถไม่สามารถทำความร้อนไปยังยางได้อย่างที่ต้องการได้โดยเฉพาะยางหน้า จะได้เห็นได้ว่าเวลาที่ทำได้ในวันศุกร์นั้น ค่อนข้างช้ามากๆ ซึ่งจริงๆแล้วการที่ฝนตกนั้น จริงๆถือว่าเป็นผลดีต่อ Yamaha ซะด้วยซ้ำ ที่ทีมต้องใช้ยางฝนไม่ต้องไปกังวลกับการต้องใช้ยางสลิค
แฟนๆโมโตจีพีในเยอรมันนี
ในส่วนของ Honda นั้น เนื่องด้วยสภาพอากาศที่ค่อนข้างเย็นผิดปกติ ทำให้ MM93 ตัดสินใจเลือกยางหน้าเป็นยางเปียกแบบ Extra soft เพราะคาดว่ายางน่าจะทำอุณภูมิได้ดีกว่า แต่พอไปแข่งจริงกลับพบว่ายางนั้นอ่อนเกินไปสำหรับเค้า ทำให้เริ่มโดนรถคันอื่นแซงไปเรื่อยๆ จนกระทั่งเค้าหลุดออกจากแทรคไป ก่อนที่จะตัดสินใจเข้าไปเปลี่ยนเป็นยางสลิคออกมาและทำให้เค้าสามารถกลับมาคว้าชัยชนะไปได้ในที่สุด
Ducati ที่มาดีเกือบทุกอย่างในสภาพฝนตก แต่การที่ทีมไม่สามารถเปลี่ยนเกมไปตามสภาพอากาศและพื้นผิวแทรคได้ดีพอ ทำให้ต้องพลาดโอกาสที่จะคว้าชัยชนะไป(อีกแล้ว) ส่วน Suzuki นั้นยังไม่สามารถแก้ปัญหากริปหลังของรถได้ ถึงแม้ว่าวิศวกรของ Suzuki นั้นได้พยายามแก้ปัญหาที่เกิดจากสนาม Assen มาแล้ว แต่ดูเหมือนพอนำมาใช้จริงกลับกลายเป็นว่ามันยังไม่เวิร์ค เลยทำให้ผลงานของทีมกลายเละเป็นโจ๊กไปอีก 1 สนาม ซึ่งก็ต้องกลับไปหาสาเหตุและแก้ปัญหากันต่อไป
รุ่น MotoGP ออกสตาร์ทท่ามกลางสายฝนและพื้นผิวแทรคที่เปียกชุ่ม
หลังจบการแข่งขันประเด็นที่ถูกหยิบมาพูดถึงกันมากคือทำไมรถกลุ่มนำไม่ยอมเข้าไปเปลี่ยนยางเหมือนกับที่มาร์ค มาเคสทำ ทั้งๆที่ทีมงานน่าจะเห็นแล้วว่าเวลาต่อรอบของ MM93 นั้นดีกว่ารถคันอื่นอย่างเห็นได้ชัดและกรณีที่ Valentino Rossi นั้นเข้า Pit ช้ากว่าที่ทีมงานบอกถึงประมาณ 3 รอบ ซึ่งคำตอบจากบทสัมภาษณ์ของนักแข่งหลังจบการแข่งขันคือในช่วงท้ายนั้น กลุ่มนำนั้นกำลังขับเคี่ยวกันอย่างหนัก นักแข่งต้องใช้สมาธิในการรักษาตำแหน่งหรือพยายามทำความเร็วเพื่อที่จะแซงรถคันหน้า การเสียสมาธิเพียงแค่วินาทีเดียวอาจจะโดนแย่งตำแหน่งได้ ด้วยตำแหน่งที่ Pit board อยู่ซึ่งอยู่ต่อจากหลังโค้งทันที ทำให้มีเวลาในการสังเกตุน้อยมากบวกกับในสภาพอากาศแบบนั้น ทำให้เป็นไปได้ยากที่จะมองเห็นพิทบอร์ดอย่างชัดเจน เลยทำให้กลุ่มนี้กลับเข้าไปเปลี่ยนรถช้ากว่าที่ทีมงานบอก
กลุ่มนำในช่วงต้นของการแข่งขัน
และในขณะเดียวกัน ยางที่นักแข่งส่วนมากได้ออกมาหลังจากเปลี่ยนรถนั้น เป็นยาง Intermediate เกือบทั้งหมด ซึ่งยางตัวนี้นั้นนักแข่งมีโอกาสได้ทดสอบมันน้อยมาก ซึ่งคำถามก็ตามมาอีกว่า ทำไมไม่เปลี่ยนเป็นยางสลิคเหมือน MM ซึ่งจริงๆก็ต้องถามกลับว่าแล้วทำไม Marquez ถึงเปลี่ยนไปใช้ยางสลิคทั้งๆที่ผืนผิวแทรคนั้นยังเปียกอยู่เยอะ คำตอบก็คือ MM นั้นไม่เคยทดสอบยาง Inter มาก่อน ทำให้ทีมงานของเค้าไม่กล้าเสี่ยงที่จะใช้ ในทางกลับกัน เค้าเลือกที่จะเสี่ยงกับยางสลิคมาวิ่งบนแทรคเปียกแทน ทั้งๆที่ตอนนั้นมีไลน์ที่พอจะวิ่งได้แคบมากแถมบางโค้งก็ยังเปียกอยู่เลย ซึ่ง 3 รอบแรกนั้นมาเคสต้องประคับประคองรถเป็นพิเศษ
นอกจากนี้ต้องบอกว่าด้วยคุณสมบัติของรถ RC213V ที่สร้างความร้อนไปยังยางหน้าได้สูงกว่ารถโรงงานอื่น โดยเฉพาะในจังหวะเบรก (เนื่องจากตัวรถที่สั้นและสูง ทำให้น้ำหนักส่วนใหญ่ถูกถ่ายไปยังล้อหน้าต่างจากรถของ Yamaha และ Ducati ที่เตี้ยและยาวกว่า) ก็กลายเป็นอีกแรงที่ช่วยให้เค้าใช้ยางนี้ได้ ซึ่งโดยปกติแล้วจุดนี้จะเป็นข้อเสียเปรียบของ Honda ที่ต้องใช้เนื้อยางหน้าที่หนากว่าคู่แข่ง แต่ในสถานการณ์แบบนี้แล้ว กลับกลายเป็นประโยชน์ให้กับนักแข่งไปโดยปริยาย
ปีนี้เราสลับบทบาทกันนะเฮีย จุ๊ฟๆ 555+
ในกรณีของ Rossi ที่แฟนๆอาจจะเซ็งกับการตัดสินใจของทีมนั้น Rossi ออกมาเปิดเผยเองว่า ตัวเค้ามั่นใจว่าถึงแม้จะเข้าไปเปลี่ยนเป็นยางสลิคออกมาหรือเข้าไปเร็วกว่านี้ซัก 3 รอบ ผลการแข่งขันที่ได้ก็คงไม่เกินอันดับ 6 หรือเผลอๆอาจจะแย่กว่าผลที่ได้ซะด้วยซ้ำ เพราะในวันศุกร์ รถ YZR-M1 ของเค้านั้นมีปัญหาอย่างมากกับยางสลิค(กับอุณหภูมิผิวแทรคแบบนี้) เค้าเลยไม่มีแผนที่จะเปลี่ยนไปเลือกยางแห้งอยู่แล้ว และเลือกที่จะเข้าพิทพร้อมกับ Dovi และ Cruthlow ตามเกมปกติ ทั้งนี้โชคเองก็มีส่วนช่วยเยอะ สมมุติว่าถ้า Marquez ไม่หลุดออกไป เค้าจะได้เปลี่ยนยางตอนไหน หรือถ้าเกิดฝนเทหนักกลับมาอีกครั้งในช่วงท้าย MM ก็อาจจะไม่ชนะก็ได้ แต่ทั้งนี้ต้องยอมรับว่าการจัดการของทีมงานเบอร์ 93 นั้นทำได้ดีกว่าคนอื่นจริงๆ
จากปัญหาการมองพิทบอร์ดไม่ชัดเพราะนักแข่งกำลังใช้สมาธิอยู่กับการป้องกันหรือแย่งตำแหน่งอยู่นั้น ประเด็นที่ถูกหยิบยกมาถกกันมากๆเรื่องนึงคือใน MotoGP ควรจะต้องใช้วิทยุสื่อสารเหมือนใน F1 รึเปล่า แน่นอนว่าคนส่วนใหญ่นั้นไม่เห็นด้วย ร่วมถึงส่วนตัวด้วย เพราะว่าวิทยุเองมันก็มีปัญหาในตัวของมันเองด้วยเช่นกัน สำหรับปัญหาในสถานการณ์ที่มีฝนตกแล้วฝนเริ่มหยุด มีอยู่ 2 ประเด็นที่น่าสนใจคือ
1. นักแข่งมองไม่เห็นป้ายที่ทีมงานส่งสัญญาณหรือว่าไม่สามารถละสายตาไปมองได้ ทำให้พลาดโอกาสในการเข้าพิท
2. การสื่อสารทุกวันนี้เป็นการสื่อสารทางเดียว จากทีมงานไปยังนักแข่ง ซึ่งเป็น กรณีที่นักแข่งต้องการบอกทีมงานล่ะว่า อยากเข้าพิทและยางได้ยางสลิคหรือยางกึ่งเปียกกึ่งแห้งนั้นไม่สามารถทำได้
ข้อมูลที่สื่อสารไปยังนักแข่ง สั้น ต้องกระชับและได้ใจความ
ซึ่งทั้ง 2 ข้อนี้ ต้องไปถามนักแข่งและทีมแข่งว่าอยากจะปรับปรุงให้มันดีขึ้นมั้ยหรือยังไง วิธีการในปัจุบันคือนักแข่งและทีมงานจะมีการประชุมกันเพื่อวางแผนในการแข่ง ทุกเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้น จะต้องถูกกำหนดวิธีจัดการไว้ล่วงหน้า แล้วก็ปฏิบัติตามที่ตกลงกันไว้ ซึ่งตรงนี้ก็อยู่ที่ความละเอียดของแต่ละทีมว่าเซ็ตระบบกันไว้ดีแค่ไหน Marc Marquez นั้นเคยทำพลาดที่ Australia เมื่อปี 2013 จนทำให้เค้าต้องได้รับธงดำไปในสนามนั้น ซึ่งเค้าบอกว่าเหตุการณ์ตรงนั้นเป็นบทเรียนสำคัญที่ทีมงานของเค้านั้นต้องมาปรับรูปแบบการทำงานกันใหม่ที่ต้องระเอียดรอบคอบมากกว่าเดิม
การเปลี่ยนรถกลางอากาศ อีกหนึ่งเอกลักษณ์ของนักแข่งเบอร์ 93
สำหรับเสียงส่วนมากจากแฟนก็คือไม่เห็นด้วยที่จะนำวิทยุสื่อสารมาใช้ แต่ก็มีข้อเสนอบางอย่างที่น่าสนใจเหมือนกัน เช่นการที่ให้แสดงสัญญาณให้เข้าพิทผ่าน Dash board ด้วยอีกทาง อาจจะให้สัญญาณนี้ติดเฉพาะช่วงทางตรงก็ได้ หรือกรณีที่นักแข่งเห็นว่าแทรคมันเริ่มแห้ง อยากจะได้ยางแบบไหน ก็อาจจะเพิ่มปุ่มขึ้นมาเพื่อบอกกลับไปยังทีมงาน นี่คือทางออกที่คนส่วนใหญ่มองว่าถ้าจะทำ ก็อาจจะมาปรับปรุงตรงนี้ (มีคนด่าน้อยสุดว่างั้น) แต่ว่าในรายละเอียดมันก็จะมีข้อจำกัดของมัน เพราะการเลือกยาง มันต้องบอกทั้งประเภทยางและเนื้อยางด้วย แค่นี้ปุ่มมันก็เยอะพอแล้ว จะทำกันยังไง ก็นะ ถ้าหากทาง FIM ต้องการที่จะปรับปรุงวิธีสื่อสารตรงนี้จริงๆ ก็คงต้องใช้เวลาในการทำงานอีกพักใหญ่ แต่ทั้งนี้เชื่อว่าน่าจะยังไม่มีการขยับตัวในเร็วๆนี้หรอก