ทีมวอลเลย์บอลหญิงจีนขณะนี้ได้เดินทางไปบราซิลเรียบร้อยแล้ว แต่ก่อนหน้านั้นหลังจากกลับจากการฝึกซ้อมที่แคมป์เป่ยหลุน
กลับถึงปักกิ่งเมื่อวันที่ 24 ก.ค. ที่ผ่านมา วันรุ่งขึ้น 25 ก.ค. หลางผิงก็มีนัดสัมภาษณ์พิเศษกับสื่อจีน
หลังจากจบการฝึกซ้อมภาคเช้า หลางผิงก็เดินทางมาที่ห้องส่งของ titanplus ให้สัมภาษณ์เป็นเวลาสั้นๆ จากนั้นก็ไปให้สัมภาษณ์ต่อกับ
Titan Sports มี จางปิน เป็นพิธีกรผู้สัมภาษณ์
**************************
พิธีกร : ผมรู้ว่าโค้ชหลางสละเวลาให้กับเราก่อนการฝึกซ้อมภาคบ่าย วันนี้ไม่อยากให้รู้สึกว่าเป็นคำถาม
แต่ถือเป็นการพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน เพราะคุณคงเจอกับคำถามมาแล้วมากมาย แม้ว่าเอาเข้าจริงแล้วเราก็คงเลี่ยงที่จะถามไม่ได้
แต่หวังว่าเราจะคุยกันไปเรื่อยๆ ก่อนอื่นอยากให้พูดถึงการเตรียมตัวโอลิมปิกครั้งนี้
หลางผิง : ฉันคิดว่าเรามีเวลามาก นับแต่เข้าแคมป์ฝึกซ้อมหน้าหนาว เริ่มต้นก็ว่ากันตั้งแต่พื้นฐานที่เราต้องไปแก้ไขบางปัญหา
ไม่ใช่รีบรวบรัดจัดการ ดังนั้นเวลาถือว่ามีค่อนข้างเยอะและเต็มที่
พิธีกร : เริ่มจากพื้นฐาน คุณพอจะบอกได้หรือไม่ว่าพื้นฐานที่ว่านี้มีปัญหาอยู่กี่อย่าง ที่คุณจำเป็นต้องไปแก้ไข
เพื่อให้มีความพร้อมก่อนถึงริโอ บอกให้ฟังสัก 3 ข้อ?
หลางผิง : หนึ่ง ทีมจีนต้องมีหลักประกันในจังหวะเกมการเล่น นั่นก็คือ บอลแรกกับเกมรับ เราก็เริ่มทำตั้งแต่แคมป์หน้าหนาว
เพราะมันต้องใช้ระยะเวลาที่ยาวนาน สอง เราต้องทันกับความเร็วของเกมบล็อกคู่แข่ง สาม ก็คือทำการฝึกซ้อมที่มีเป้าหมายเฉพาะ
จัดฝึกซ้อมเพื่อเน้นเล่นกับบราซิล อเมริกา เพราะพวกเขาคือทีมที่ดีที่สุดในโลก เป็นทีมที่เล่นเร็วที่สุด มีผลงานดี และฟอร์มการเล่น
โดยเฉลี่ยก็สูง ทั้งนี้ก็หวังว่าเมื่อถึงตอนที่ต้องแข่งขันชี้เป็นชี้ตายกับบราซิล อเมริกา เราจะสามารถเพิ่มโอกาสชนะขึ้นอีกหน่อย
พิธีกร : 3 อย่างนี้ที่มุมานะมาจนถึงตอนนี้ที่เหลือเวลาอีก 2 อาทิตย์โอลิมปิกก็จะเปิดฉากขึ้น
ถ้าคะแนนเต็ม 100 คุณจะให้กี่คะแนน?
หลางผิง : คุณถามโค้ช โค้ชก็ต้องพูดว่ายังไม่น่าพอใจอยู่ตลอด ฉันบอกได้แต่เพียงว่ามีพัฒนาการ
พิธีกร : คุณจะไม่ยอมบอกคะแนนตัวเลขชัดๆให้เราเลยเหรอ
หลางผิง : ใช่ เพราะจนถึงวันนี้ ก่อนมาที่นี่เราก็ยังทำการฝึกซ้อมเรื่องเหล่านี้อยู่
หนึ่ง คือเรื่องความรวดเร็วในเกมสกัดกั้นของคู่แข่ง หนึ่ง คือหลังจากเราได้บอลแล้ว จะควบคุมจังหวะการเล่นของตัวเองยังไง
เพราะว่านี่ไม่ใช่มาพูดกันแค่ไม่กี่วันไม่กี่เดือนก็จะจัดการได้เรียบร้อย มันต้องเริ่มกันตั้งแต่ต้นฝึกซ้อมขั้นพื้นฐาน
พิธีกร : แม้แต่การแข่งขันในโอลิมปิกก็ถือเป็นขั้นตอนการแก้ไขพัฒนาอย่างหนึ่ง
หลางผิง : ใช่ คือคุณเล่น 1 นัดก็ได้การพัฒนา
พิธีกร : จากปี 1984 จนถึงตอนนี้ โอลิมปิกฤดูร้อนมี 9 ครั้ง คุณลองนับให้หน่อยว่านับแต่ปี 1984 จนถึงบัดนี้
คุณทั้งในฐานะนักกีฬาและโค้ชรวมถึงการเป็นโค้ชประเทศอื่นด้วย ในโอลิมปิกทั้ง 9 ครั้งนี้ คุณไม่ได้เข้าร่วมกี่ครั้ง?
หลางผิง : ฉันไม่ได้เข้าร่วม 5 ครั้ง แต่ก็มีบ้างที่ไปในฐานะแขกรับเชิญ ที่ไปในฐานะนักกีฬาและเป็นโค้ชมี 4 ครั้ง
มีปี 1984, 1996, 2008 และก็ครั้งนี้
พิธีกร : โอลิมปิก 4 ครั้ง ในแต่ละครั้งที่เข้าร่วมคงมีความรู้สึกที่แตกต่างไม่เหมือนกัน ความใฝ่ฝันก็คงไม่เหมือนกัน
ขอให้คุณพูดถึงปี 1984 ก่อน เมื่อ 32 ปีที่แล้ว
หลางผิง : ปี 1984 ฉันไปในฐานะนักกีฬาก็ฝันอยากจะกวาด 3 แชมป์ให้เป็นจริง ตอนนั้นได้แชมป์เวิลด์คัพ เวิลด์แชมป์เปี้ยนชิพ
มาแล้ว ขาดก็แต่แชมป์โอลิมปิก คือได้แชมป์ต่อเนื่องติดกันเลย ที่ตอนนี้เรียกกันว่า แกรนด์แสลม แม้ว่าจะได้แชมป์โลกมาแล้ว
แต่ก็ยังไม่เคยเล่นโอลิมปิกมาก่อน ก็ตื่นเต้นมาก แต่ก็มีความมั่นใจ
โอลิมปิกปี 1996 ตอนนั้นทีมวอลเลย์บอลหญิงจีนอยู่ช่วงตกต่ำ เราไม่ได้แชมป์เอเชีย อันดับโลกก็อยู่ที่ 7- 8
ฉันคุมทีมไปตอนนั้นเวลาเตรียมตัวก็มีไม่มาก นับจากตอนที่ฉันรับงานจนถึงรายการแข่งคัดไปโอลิมปิกมีเวลาไม่ถึง 2 ปี
ในฐานะที่เป็นโค้ชก็มีความกดดันสูงมาก หวังขอแค่อย่าทำให้พัง ที่ควรชนะต้องชนะ ถ้าไม่ชนะคงยุ่งแน่
ตอนนั้นก่อนออกเดินทาง FIVB ได้ทำสำรวจเอาไว้ ให้โค้ชแต่ละทีมและก็ผู้คร่ำหวอดวอลเลย์มีชื่อหลายคนทำนาย
ไม่มีใครสักคนที่มองว่าทีมจีนจะได้เข้า 4 ทีมสุดท้าย แต่สุดท้ายโอลิมปิกแอตแลนต้า 1996 สามารถเข้าถึงรอบชิง
พวกเราต่างดีใจมาก นัดชิงเล่นกับคิวบา แน่นอนว่าศักยภาพเราด้อยกว่า ตอนนั้นผู้เล่นชุดนั้นสามารถเข้าถึงรอบชิงได้
ฉันก็คิดว่าพวกเธอก็ต่อสู้ได้ยิ่งใหญ่มาก
พิธีกร : ปี 2008 ถือเป็นปีที่พิเศษมาก เพราะพวกเราเห็นหลางผิงคุมทีมอเมริกากลับมายังดินแดนบ้านเกิด
ตอนนั้นความรู้สึกแน่นอนว่าต้องพิเศษมาก
หลางผิง : จริงๆตอนนั้นจิตใจรู้สึกนิ่งมาก เพราะทีมอเมริกาตอนนั้นก็ไม่ได้ดีเด่นอะไร คืออยู่อันดับ 7
ฉันพูดกับนักกีฬาว่า ชิงชัยเพื่อเข้ารอบ 8 ทีม สภาพจิตใจผ่อนคลายมาก สมาคมวอลเลย์อเมริกาก็ไม่ได้มากดดันอะไร
บอกแต่ว่าไปร่วม ชนะ 1 นัดก็คือ 1 นัด ตอนนั้นไม่มีความคิดเรื่องเหรียญรางวัล ลำดับทีมวางก็ค่อนข้างต่ำ
ความจริงตอนแรกก็เล่นไม่ดีด้วย แต่ก็ค่อยปรับดีขึ้นทีละนัดๆ จนสุดท้ายสามารถทะลุไปถึงรอบชิงได้ก็ดีใจมาก
ปี 1996 กับ 2008 เป็นทีมวางอันดับต่ำแต่ก็สามารถทะลุเข้าไปถึงรอบชิงได้
พิธีกร : ปี 2008 มีนัดหนึ่งที่ถูกกล่าวถึงกันมากว่าเป็นศึกแห่งสันติภาพ ตอนนั้นคุณต้องควบคุมจิตใจตัวเองอยู่ตลอดเลยใช่หรือไม่?
หลางผิง : นัดนั้นฉันรู้สึกสงบนิ่งมาก คิดว่ากับทีมจีนก็จะไม่เหมือนกับทีมอื่น ที่พูดว่าฉันจะต้องอย่างนั้นอย่างนี้
เพราะยังไงตัวเองก็เกิดมาจากทีมจีน อีกอย่างทีมจีนก็เป็นทีมที่แข็งแกร่ง และถึงยังไงนัดนั้นก็เป็นเพียงรอบแบ่งกลุ่ม
ไม่ใช่เป็นนัดชี้เป็นชี้ตาย
*** ยังมีต่อ
บทสัมภาษณ์พิเศษหลางผิงก่อนไปโอลิมปิกริโอ
กลับถึงปักกิ่งเมื่อวันที่ 24 ก.ค. ที่ผ่านมา วันรุ่งขึ้น 25 ก.ค. หลางผิงก็มีนัดสัมภาษณ์พิเศษกับสื่อจีน
หลังจากจบการฝึกซ้อมภาคเช้า หลางผิงก็เดินทางมาที่ห้องส่งของ titanplus ให้สัมภาษณ์เป็นเวลาสั้นๆ จากนั้นก็ไปให้สัมภาษณ์ต่อกับ
Titan Sports มี จางปิน เป็นพิธีกรผู้สัมภาษณ์
**************************
แต่ถือเป็นการพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน เพราะคุณคงเจอกับคำถามมาแล้วมากมาย แม้ว่าเอาเข้าจริงแล้วเราก็คงเลี่ยงที่จะถามไม่ได้
แต่หวังว่าเราจะคุยกันไปเรื่อยๆ ก่อนอื่นอยากให้พูดถึงการเตรียมตัวโอลิมปิกครั้งนี้
ไม่ใช่รีบรวบรัดจัดการ ดังนั้นเวลาถือว่ามีค่อนข้างเยอะและเต็มที่
เพื่อให้มีความพร้อมก่อนถึงริโอ บอกให้ฟังสัก 3 ข้อ?
เพราะมันต้องใช้ระยะเวลาที่ยาวนาน สอง เราต้องทันกับความเร็วของเกมบล็อกคู่แข่ง สาม ก็คือทำการฝึกซ้อมที่มีเป้าหมายเฉพาะ
จัดฝึกซ้อมเพื่อเน้นเล่นกับบราซิล อเมริกา เพราะพวกเขาคือทีมที่ดีที่สุดในโลก เป็นทีมที่เล่นเร็วที่สุด มีผลงานดี และฟอร์มการเล่น
โดยเฉลี่ยก็สูง ทั้งนี้ก็หวังว่าเมื่อถึงตอนที่ต้องแข่งขันชี้เป็นชี้ตายกับบราซิล อเมริกา เราจะสามารถเพิ่มโอกาสชนะขึ้นอีกหน่อย
ถ้าคะแนนเต็ม 100 คุณจะให้กี่คะแนน?
หนึ่ง คือเรื่องความรวดเร็วในเกมสกัดกั้นของคู่แข่ง หนึ่ง คือหลังจากเราได้บอลแล้ว จะควบคุมจังหวะการเล่นของตัวเองยังไง
เพราะว่านี่ไม่ใช่มาพูดกันแค่ไม่กี่วันไม่กี่เดือนก็จะจัดการได้เรียบร้อย มันต้องเริ่มกันตั้งแต่ต้นฝึกซ้อมขั้นพื้นฐาน
คุณทั้งในฐานะนักกีฬาและโค้ชรวมถึงการเป็นโค้ชประเทศอื่นด้วย ในโอลิมปิกทั้ง 9 ครั้งนี้ คุณไม่ได้เข้าร่วมกี่ครั้ง?
มีปี 1984, 1996, 2008 และก็ครั้งนี้
ขอให้คุณพูดถึงปี 1984 ก่อน เมื่อ 32 ปีที่แล้ว
มาแล้ว ขาดก็แต่แชมป์โอลิมปิก คือได้แชมป์ต่อเนื่องติดกันเลย ที่ตอนนี้เรียกกันว่า แกรนด์แสลม แม้ว่าจะได้แชมป์โลกมาแล้ว
แต่ก็ยังไม่เคยเล่นโอลิมปิกมาก่อน ก็ตื่นเต้นมาก แต่ก็มีความมั่นใจ
โอลิมปิกปี 1996 ตอนนั้นทีมวอลเลย์บอลหญิงจีนอยู่ช่วงตกต่ำ เราไม่ได้แชมป์เอเชีย อันดับโลกก็อยู่ที่ 7- 8
ฉันคุมทีมไปตอนนั้นเวลาเตรียมตัวก็มีไม่มาก นับจากตอนที่ฉันรับงานจนถึงรายการแข่งคัดไปโอลิมปิกมีเวลาไม่ถึง 2 ปี
ในฐานะที่เป็นโค้ชก็มีความกดดันสูงมาก หวังขอแค่อย่าทำให้พัง ที่ควรชนะต้องชนะ ถ้าไม่ชนะคงยุ่งแน่
ตอนนั้นก่อนออกเดินทาง FIVB ได้ทำสำรวจเอาไว้ ให้โค้ชแต่ละทีมและก็ผู้คร่ำหวอดวอลเลย์มีชื่อหลายคนทำนาย
ไม่มีใครสักคนที่มองว่าทีมจีนจะได้เข้า 4 ทีมสุดท้าย แต่สุดท้ายโอลิมปิกแอตแลนต้า 1996 สามารถเข้าถึงรอบชิง
พวกเราต่างดีใจมาก นัดชิงเล่นกับคิวบา แน่นอนว่าศักยภาพเราด้อยกว่า ตอนนั้นผู้เล่นชุดนั้นสามารถเข้าถึงรอบชิงได้
ฉันก็คิดว่าพวกเธอก็ต่อสู้ได้ยิ่งใหญ่มาก
ตอนนั้นความรู้สึกแน่นอนว่าต้องพิเศษมาก
ฉันพูดกับนักกีฬาว่า ชิงชัยเพื่อเข้ารอบ 8 ทีม สภาพจิตใจผ่อนคลายมาก สมาคมวอลเลย์อเมริกาก็ไม่ได้มากดดันอะไร
บอกแต่ว่าไปร่วม ชนะ 1 นัดก็คือ 1 นัด ตอนนั้นไม่มีความคิดเรื่องเหรียญรางวัล ลำดับทีมวางก็ค่อนข้างต่ำ
ความจริงตอนแรกก็เล่นไม่ดีด้วย แต่ก็ค่อยปรับดีขึ้นทีละนัดๆ จนสุดท้ายสามารถทะลุไปถึงรอบชิงได้ก็ดีใจมาก
ปี 1996 กับ 2008 เป็นทีมวางอันดับต่ำแต่ก็สามารถทะลุเข้าไปถึงรอบชิงได้
เพราะยังไงตัวเองก็เกิดมาจากทีมจีน อีกอย่างทีมจีนก็เป็นทีมที่แข็งแกร่ง และถึงยังไงนัดนั้นก็เป็นเพียงรอบแบ่งกลุ่ม
ไม่ใช่เป็นนัดชี้เป็นชี้ตาย
*** ยังมีต่อ