แนะแนวทางการเอา action camera ขึ้นไปลอยอยู่บนฟ้า

กระทู้สนทนา
แนะแนวทางการเอา action camera ขึ้นไปลอยอยู่บนฟ้า

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

การจะเอา action camera ขึ้นไปลอยอยู่บนฟ้าได้ เราต้องเลือกวัตถุประสงค์หลักในการเอาขึ้นไปก่อน

ผมคัดมาให้เลือกสามอัน

1 บันทึกภาพ/video ขณะบิน (ไม่เน้นหมุนกล้อง)
2 ถ่ายภาพ/video ทางอากาศ


ซึ่งจะมีผลต่อการเลือกขนาดของเฟรมครับ

step 1

ขนาดของเฟรม multirotor นั้นก็จะมี ตั้งแต่ 180 210 220 250 280 330 450 เป็นต้น

โดย ถ้าเอา action cam ขึ้นไปเพื่อ บันทึกภาพ/video ขณะบิน (ไม่เน้นหมุนกล้อง) สามาถเลือกเฟรมได้ตั้งแต่ size 180 เลย

ส่วน ถ้าจะเอาไปถ่ายภาพทางอากาศ หรือบินนานๆหน่อย ก็ size 330 ขึ้นไปครับ

ข้อดีของ multirotor size ใหญ่คือ สามารถติด gimbal ได้ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องน้ำหนักครับผม

ตัวอย่าง multirotor size 180 ติด gopro


ตัวอย่าง multirotor size 250 ติด gopro
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
ตัวอย่าง multirotor size 280 ติด gopro
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
ซึ่งจะเน้นไปทาง บันทึกภาพ/video ขณะบิน ไม่ค่อยเหมาะกับ การถ่ายภาพ/video ทางอากาศ


ตัวอย่าง multirotor size 450 ติด gopro + gimbal สามารถหมุนกล้องในทิศทางต่างๆได้ เหมาะกับการถ่ายภาพ/video ทางอากาศ


ตัวอย่าง multirotor size 350 ติด gopro + gimbal
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

step 2

ทีนี้อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญที่ควรเลือกเป็นอันดับต้นๆ คือ รีโมท
ถ้าคิดจะบินจริงๆแล้วละก็ ควรซื้อ รีโมทมาหัดบินกับ flight sim ก่อนเริ่มบินจริงครับ

โดยมีหลักการเลือกรีโมทง่ายๆดังนี้ครับ
1 บันทึกภาพ/video ขณะบิน (ไม่เน้นหมุนกล้อง) ให้ซื้อรีโมท 6ch ขึ้นไป (ควรมีระบบ sbus หรือ ibus และ ppm ครับ)
2 ถ่ายภาพ/video ทางอากาศ (เน้นหมุนกล้องไปมา) ให้ซื้อรีโมท 9ch ขึ้นไป (ควรมีระบบ sbus หรือ ibus และ ppm ครับ)

ซึ่ง ราคารีโมทจะอยู่ที่ 1800 บาท ถึง สองหมื่นบาทตามแต่ยี่ห้อและความสามารถ
(ของผมใช้ flysky fs-i6s 10ch ราคาไม่แพงครับ)



step 3
flight control  อธิบายสั้นๆคือ มันคือสมองของโดรนครับ

แนะนำสองรุ่นครับ
1 sp f3 deluxe
2 naze 32 rev6 full Ver.

ทั้งสองรุ่นนี้มี magnetometer ไว้ล๊อกทิศทาง , barometer ไว้รักษาระดับ , gyro /accelerometer ไว้รักษาระดับแกน pitch แกน roll
และสามารถใส่ เซ็นเซอร์ gps ไว้ บินกลับบ้าน หรือล๊อกทิศทางได้ด้วย (gpsตัวละไม่ถึงครึ่งพัน )

sp f3 deluxe


naze 32 rev6 full Ver.



step 4
เลือกขนาดมอเตอร์ และขนาดใบพัด ตามสเป็คของเฟรมที่เราเลือกไว้
เฟรมที่เราเลือกนั่นในคู่มือของเฟรม จะบอกถึงระยะของจุดยึดต่างๆ รวมถึงบอกรุ่นมอเตอร์ และใบพัดที่สามารถใช้ได้ด้วย
เฟรมบางรุ่นไม่มีคู่มือ ทำไงละ? ก็ไปดูที่คู่มือมอเตอร์ครับ จะระบุไว้ว่า ใช้กับ เฟรม size ไหนได้บ้าง

มอเตอร์ จะถูกระบุเป็น ขนาด มอเตอร์ กับ kv

เช่น
1806 2300kv
2204 2300kv
2205 2300kv
2208  1500kv
เป็นต้น
ซึ่งถ้าเอาค่า kv มา คูณกับ volt ก็จะได้ จำนวนรอบต่อนาที เป็นต้น

ปล.ไม่ซีเรียดครับ ไปที่ร้านเดี๋ยวเค้าจัดให้ได้นะอันนี้ แต่ถ้าอยากให้ดีควรศึกษาเพิ่มเติมไว้ครับ

step 5
เลือกใบพัด
ใบพัดส่วนใหญ่จะถูกกำหนดขนาดใหญ่สุดที่ใช้ได้ จากขนาดของเฟรม

เช่น
เฟรม size 180 ใช้ขนาดใหญ่สุดได้ที่ 4045  
เฟรม size 210 ใช้ขนาดใหญ่สุดได้ที่ 5045  
เป็นต้น

ถามว่า ถ้าเอา 5045 ไปใช้กับเฟรม 180 จะเกิดอะไรขึ้น
คำตอบก็คือ ใบพัดจะชนกับเฟรม บินไม่ขึ้น

แล้วถ้าเอา 4045 ไปใช้กับเฟรม 210 จะเกิดอะไรขึ้น
คำตอบคือ มอเตอร์จะทำงานหนักมากขึ้นกว่าปกติ
ส่งผลให้ต้องจ่ายกระแสไฟให้มอเตอร์ สูงๆ เป็นเวลานานๆ
ทำให้ สปีด ร้อน ไหม้ หยุดทำงาน เครื่องตกได้

ดังนั้น ควรใช้มอเตอร์ และใบ ให้สัมพันธ์กับขนาดของลำนะครับ

เปลียบเทียบขนาดใบพัด 4045 กับ 5045


step 6

สปีดคอนโทล มันคือตัวที่จะคุมความเร็วมอเตอร์ โดยรับคำสั่งจาก flight control อีกที

ซึ่งสปีด จะประกอบไปด้วยค่า 2 อย่างที่ต้องสนใจมันนิดหน่อยคือ
1 ค่า Amp ที่สปีดสามารถทนกระแส และจ่ายกระแสให้มอเตอร์ได้
2 FW ของสปีดคอนโทล

มาว่าด้วยเรื่อง Amp ก่อน จะรู้ได้ไงว่าต้องใช้สปีดกี่ Amp
เราสามารถดูได้จาก คู่มือมอเตอร์ โดยส่วนใหญ่จะแสดงเป็นกราฟ
กราฟจะบอกว่า ถ้าเราใช้มอเตอร์รุ่นนี้ กับใบพัดขนาดนี้จะกินกระแสกี่ Amp

สมมุติ (ค่าของมอเตอร์แต่ละยี่ห้อไม่เหมือนกัน)
ผมใช้ มอเตอร์ ขนาด 2204 กับใบพัด 5045  กินกระแสที่ 11 A
ดังนั้น ถ้าผมเลือกสปีด 12 A ก็มีโอกาสไหม้สูง(มันไหม้จริงๆนะ บินครั้งแรกก็ไหม้เลย ตกเลย จริงๆนะ)
ดังนั้นผมจึงเลือกสปีดจ่ายกระแสได้ 20 A แทน (เย็นสบายไม่ร้อน อย่างมากก็อุ่นๆ)

ตัวอย่าง ค่า Amp ที่มอเตอร์ต้องการ มอเตอร์บางรุ่นก็สรุปมาให้เป็นตารางครับ


ต่อมา FW ของสปีดคอนโทล
แนะนำ bL-Heli ครับ หน้า speed จะเขียนไว้อยู่
มีหลายยี่ห้อให้เลือก แต่ไม่เอาอีแม็ค เข็ด ไม่ค่อยทนไม้ทนมือ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

step 7
PDB อธิบายง่ายๆ เหมือนหม้อแปลง เอาไว้แปลงไฟ ไปใช้กับอุปกรณ์ต่างๆบนตัวลำ
สั้นๆง่ายๆ แนะนำ matek xt60 with bec 5v/12v


step 8
ระบบ fpv คือระบบรับส่งภาพผ่านสัญญาณ 5.8Ghz (ถ่ายทอดสด)
ประกอบด้วย
กล้อง cctv
5.8Ghz tx
5.8Ghz rx
จอรับภาพ

step 9
gimball คือ ตัดลดอาการสั่นของกล้อง
มีแบบสองแกนและสามแกน

สองแกน หมุนขึ้นลง เอนซ้าย  เอนขวา (เอนซ้ายเอนขวาใช้วิธีเลี้ยวตัวลำ)

สามแกน หมุนขึ้นลง เอนซ้าย  เอนขวา หมุนซ้าย หมุนขวา

step 10
ราคา ในไทย

เฟรม 400-1500 บาท
รีโมท 1800-20000 บาท
flight control 1000 บาท มีทอน มากน้อยแล้วแต่ร้าน
มอเตอร์ 4ตัว 1200-11200 บาท แล้วแต่ยี่ห้อ
ใบพัด 4 ใบ ประมาณ 70-150 บาท แล้วแต่ยี่ห้อ
สปีดคอนโทล 4 ตัว 1600 บาท มีทอน แค่นี้ก็น่าจะเอาอยู่นะ
pdb 200-300

แค่นี้ก็ขึ้นบินได้แล้ว

กิเลสเพิ่มเติม
ชุด fpv
   กล้อง cctv 500 บาทพอพอเพียง
   5.8Ghz tx 500 บาทพอพอเพียง

   5.8Ghz rx 500 บาทพอพอเพียง
   จอรับภาพ 1000-1300 บาทพอเพียง

gimbal
2 แกน 1800-2200 บาท
3 แกน 2000-3000 บาท

ก็หวังว่าจะพอมีประโยชน์บ้าง ไม่มากก็น้อยครับ

ขอบคุณครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่