สมฤทธิ์ ลือชัย
http://prachatai.com/journal/2016/07/67100
เห็นบทความนี้อ่านแล้วน่าสนใจดีครับเลยนำมาแบ่งปันกันอ่านเครดิตทั้งหมดขอยกให้ผู้เขียนบทความครับ ไม่แน่ใจเคยมีคนลงหรือยังถ้ายังผมขอนำมาลงให้อ่านครับ สงสัยเหมือนกันว่าทำไมทั้งที่มีวัดจึงไม่ค่อยเห็นภิกษุณีเลยและระหว่างอ่านๆไปก็สงสัยไปด้วยว่าประเทศไทยเราไม่มีภิกษุณีจริงๆหรือ บทความไม่ได้ต้องการนำมาลงเพื่อให้เกิดความขัดแย้งหรือขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีอะไรครับ แต่นำมาลงอ่านเพื่อสะท้อนเรื่องราวมุมหนึ่งของศาสนาพุทธในประเทศไทยเราในขณะที่รู้ว่าพุทธศาสนาดำรงอยู่ได้ด้วยพุทธบริษัท 4 แต่เรื่องราวของภิกษูณีทั้งหลายที่เป็นสาวกสำคัญหนึ่งในพุทธบริษัททั้ง 4 ดูจะไม่ค่อยมีการกล่าวถึงเลยในสังคม เนื่องจากบทความอาจมีความยาวหลายหน้าจึงอาจไม่พอเนื้อที่กระทู้จึงขอนำลงในความเห็นถัดไป ขอบคุณครับ
ปฐมเหตุแห่งการเกิดภิกษุณีสงฆ์
เป็นที่น่าสังเกตว่าสตรีที่ประสงค์ออกบวชกลุ่มแรกนั้นมาจากเมืองกบิลพัสดุ์ นัยว่าเป็นเหล่าศากยวงศ์ทั้งหมด เหตุใดสตรีเหล่านี้จึงกล้าที่จะแหกกฎสังคม-วัฒนธรรมของชมพูทวีปซึ่งกีดกันผู้หญิงในทางศาสนาอย่างยิ่ง โดยเฉพาะศาสนาพราหมณ์ แม้ลัทธิใหม่ทั้ง 6 ลัทธิที่เกิดร่วมสมัยกับพุทธศาสนา ลักษณะร่วมที่สำคัญของลัทธิเหล่านี้คือต่อต้านศาสนาพราหมณ์ ในบรรดาลัทธิทั้ง 6 นี้ ศาสนาเชนของมหาวีระดูโดดเด่นมากที่สุด มีคนเลื่อมในมากที่สุด มีคำสอนที่เหมือนหรือใกล้เคียงพุทธศาสนามากที่สุด เชื่อกันว่าเจ้าชายสิทธัตถะตอนที่ออกแสวงหาโมกขธรรมก็เคยมาศึกษาลัทธินี้ด้วยเหมือนกัน ที่สำคัญศาสนาเชนไม่เคยสูญไปจากอินเดีย มีสืบมาจนทุกวันนี้ แต่ศาสนาเชนก็ไม่อนุญาตให้สตรีเป็นนักบวช(หมายถึงสมัยพุทธกาลหรือยุคแรกของศาสนาเชน) แล้วเหตุใดสตรีแห่งศากยวงศ์พวกนี้จึงกล้าที่จะแหกกฎเหล็กอันนี้ แสดงว่าสตรีเหล่านี้ต้องมีอะไรพิเศษแน่ๆ
ถ้าตอบแบบกำปั้นทุบดินก็คือ เมื่อพระพุทธเจ้าเข้าถึงการดับทุกข์อย่างสิ้นเชิงและพาเหล่าบุรุษเข้าถึงการดับทุกข์มาแล้วหลายราย ฝ่ายสตรีก็ปรารถนาบ้าง ตอบแค่นี้ฟังเผินๆก็ดูเหมือนจะสมเหตุสมผล แต่อย่างว่ามันง่ายเกินไป หากท่านมองย้อนไปในอดีตเมื่อ 2500 ปีก่อนโน้น ในยุคสมัยที่สตรีเป็นสมบัติของชาย 3 คน คือ พ่อ สามีและลูกชาย ในยุคสมัยที่สตรีแม้เกิดในวรรณะสูงแต่ก็มีค่าแค่ “ศูทร” คือคนชั้นต่ำ ในยุคสมัยที่เชื่อว่าสิ่งที่ถูก “ตี” แล้วจะดี คือ ควาย ทาส กลองและสตรี เท่าที่เล่ามาก็คงพอให้ท่านได้เห็นภาพผู้หญิงในสมัยนั้นว่าเป็นอย่างไร สตรีถูกกำหนดให้เกิดมาใช้แรงกายมากกว่าแรงสมอง ความรู้ที่มีก็เพื่อการเป็นเมียกับแม่ที่ดีเท่านั้น ส่วนความรู้ที่สูงกว่านั้นอย่างความรู้ในทางศาสนา อย่าได้แม้แต่คิด แต่แล้ววันหนึ่งมีสตรีกลุ่มหนึ่งลุกขึ้นมาเรียกร้องว่าฉันอยากเป็นนักบวช ฉันอยากเข้าถึงการดับทุกข์เหมือนบุรุษบ้าง นี่ต้องเป็นเหตุการณ์ที่ผิดปกติมากๆ ในยุคสมัยนั้น แล้วอะไรที่ดลใจหรือเป็นแรงขับให้สตรีศากยวงศ์เหล่านี้ต้องการออกบวช? คงไม่ใช่แค่ความต้องการอย่างเดียว
อย่าลืมว่าการให้สตรีบวชได้นั้นเป็นเหตุการณ์ที่สั่นสะเทือนสังคมชมพูทวีปอย่างแรง เป็น shock of the town เลยทีเดียว ใครที่ทำใจไม่ได้เผลอๆจะหัวใจวายเอา ก็มีที่ไหนที่ปล่อยให้สตรีซึ่งเชื่อกันว่าเป็นผู้มีมลทินเข้ามาร่วมในศาสนากับบุรุษ ก่อนหน้านั้นอย่าว่าแม้แต่เข้ามาเลย เฉียดเข้าไปใกล้ยังไม่ได้ ศาสนาเปรียบเหมือนพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ที่กันไว้สำหรับบุรุษเท่านั้น ดังนั้นเหตุที่เหล่าสตรีศากยวงศ์ต้องการออกบวชจึงน่าจะมีปัจจัยอื่นเกื้อหนุนด้วย แล้วเหตุที่ว่านั้นคืออะไร?
กบิลพัสดุ์ของศากยวงศ์นั้นเป็นเมืองที่ปกครองแบบหมู่คณะ คงคล้ายสภาซีเนตของโรมันหรือสภาของพวกกรีก บางคนอธิบายว่าเป็นแบบสาธารณรัฐ ฝ่ายพุทธเองเรียกการปกครองรูปแบบนี้ว่า “สามัคคีธรรม” เอาเข้าจริงเราไม่ทราบได้แน่ชัดว่าการปกครองที่ว่านี้มีรายละเอียดอย่างไร ได้แต่ทราบคร่าวๆว่าเป็นการปกครองโดยคณะที่สมาชิกมาจากวรรณะกษัตริย์ ซึ่งไม่ใช่แบบราชาธิปไตย เหมือนรัฐใหญ่อย่างมคธหรือสาวัตถี รัฐหรือเมืองที่ปกครองรูปแบบนี้ก็เช่น วัชชี กบิลพัสดุ์ รามคาม กุสินารา ฯ เป็นที่น่าสังเกตว่ารัฐหรือเมืองเหล่านี้มักจะอยู่ทางเหนือของอินเดีย
ลักษณะหนึ่งของการปกครองแบบนี้คือการให้เกียรติสตรี จะเห็นได้จากหลักอปริหานิยธรรม 7 หรือ “ธรรมที่ไม่ทำให้เสื่อม” ที่พระพุทธองค์ตรัสถึงพวกกษัตริย์ลิจฉวีแห่งแคว้นวัชชีว่าตราบใดที่พวกลิจฉวียังยึดหลักธรรมนี้อยู่ ตราบนั้นไม่มีใครมาทำลายได้ เชื่อว่าหลักอปริหานิยธรรมนี้เป็นหลักธรรมร่วมหรือลักษณะการปกครองของรัฐที่ปกครองแบบคณาธิปไตยในชมพูทวีป หนึ่งในหลักธรรมนี้กล่าวว่า “บรรดากุลสตรีกุลกุมารีทั้งหลายมิให้ถูกข่มเหงรังแก” นี่คงจะพอยืนยันได้ว่าสตรีในรัฐดังกล่าวซึ่งหมายรวมถึงเมืองกบิลพัสดุ์ด้วยนั้น คงมีสถานภาพและเสรีภาพที่ดีกว่าสตรีในรัฐอื่นที่อยู่ภายใต้การปกครองแบบราชาธิปไตยและศาสนาพราหมณ์
ด้วยปัจจัยเกื้อหนุนนี้จึงทำให้สตรีศากยวงศ์สามารถเข้าถึงความรู้ทางศาสนา โดยเฉพาะศาสนาใหม่ที่พระพุทธเจ้าได้สถาปนาขึ้น ประกอบกับพระพุทธเจ้าเองก็เป็นหนึ่งในศากยวงศ์ ความใกล้ชิดนี้ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ผลักดันให้สตรีศากยวงศ์กลุ่มนี้กล้าที่จะร้องขอเพื่อใช้สิทธิเข้าถึงการหลุดพ้นเหมือนบุรุษ และในที่สุดการเรียกร้องก็สมหวัง
ถ้าจะเรียกพระนางปชาบดีโคตมีและเหล่าสตรีศากยวงศ์ทั้ง 500 ว่าเป็น Feminist รุ่นแรกก็คงไม่ผิด เพราะพวกเธอกล้าที่จะ deconstruct อคติทางเพศจนมีชัยชนะ อย่างนี้ต้องยกนิ้วให้พร้อมตะโกนว่า “นางแน่มาก”
ความจริงเรื่องเหตุปัจจัยที่ทำให้เหล่าสตรีศากยวงศ์ลุกขึ้นมาขอบวช น่าจะมีการศึกษาให้มากกว่านี้ เพื่อที่จะเข้าใจที่มาที่ไปของการกำเนิดภิกษุณีสงฆ์ได้อย่างลุ่มลึก ที่นำเสนอมาเรื่องอำนาจของความรู้และสถานภาพทางสังคมนั้น ก็เพียงเพื่อเป็นการ “โยนหินถามทาง” เท่านั้น น่าจะมีปัจจัยอื่นอีก
ที่เล่าเรื่องสตรีศากยวงศ์กลุ่มนี้ก็เพื่อชี้ให้เห็นว่า สตรีหรือใครก็ตามที่ถูกกีดกันในสิทธิของความเป็นมนุษย์ เมื่อเหตุปัจจัยพร้อม เขาก็จะลุกขึ้นมาทวงสิทธิอันนั้น ความเชื่อที่เกิดจากอธรรมอันนำไปสู่อคติก็จะไร้น้ำยา เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชมพูทวีปเมื่อ 2500 ปีก่อน ก็ไม่ต่างจากเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในสังคมไทยขณะนี้
การสถาปนาภิกษุณีสงฆ์ครั้งแรกในพุทธศาสนา
เหตุการณ์ครั้งนี้เกิดในพรรษาที่ 5 ตอนที่พระพุทธองค์ประทับอยู่ที่เมืองไวศาลี ความจริงก่อนหน้านั้นตอนที่พระพุทธองค์เสด็จไปเมืองกบิลพัสดุ์ พระนางปชาบดีโคตรมีก็เคยทูลขอบวชมาครั้งหนึ่งแล้วแต่พระพุทธองค์ทรงปฏิเสธ พระนางเองก็ไม่ละความพยายามได้ตามเสด็จมาที่เมืองไวศาลีและได้มาทูลขอบวชอีกครั้ง ผลก็คือทรงปฏิเสธอีก การที่ทรงปฏิเสธถึง 2 ครั้ง 2 ครา ทำให้พวกที่ไม่สนับสนุนการบวชภิกษุณีหรือจะเรียกสั้นๆว่าฝ่ายค้านยกมาอ้างว่าพระพุทธองค์ไม่มีเจตนาที่จะให้มีภิกษุณีสงฆ์ ถ้าเราฟังความแค่นี้ เหตุผลที่ฝ่ายค้านยกมาอ้างก็ดูจะมีน้ำหนัก แต่ถ้าเราศึกษาไปถึงสังคม-วัฒนธรรมของชมพูทวีปในตอนนั้น เข้าใจสถานภาพของสตรีในตอนนั้น เข้าใจการสถาปนาพุทธศาสนาซึ่งเพิ่งตั้งมาเพียง 5 ปี เรียกได้ว่ายังไม่มั่นคงเพียงพอ เราก็จะเข้าใจเหตุผลที่พระพุทธองค์ทรงปฏิเสธการดังกล่าว
อย่าลืมว่าเป้าหมายหลักของพุทธศาสนานั้นก็เพื่อ “พหุชนหิตายะ พหุชนสุขายะ โลกานุกัมปายะ” เพื่อประโยชน์แก่พหุชน เพื่อความสุขของพหุชนและเกื้อกูลโลก นี่คือคำประกาศเจตนารมณ์ที่พระพุทธองค์ได้มอบให้แก่สมณฑูตชุดแรกที่จะออกไปเผยแพร่ศาสนา กล่าวโดยสรุปก็คือการเกิดขึ้นของพุทธศาสนาก็เพื่อความสุขและประโยชน์ของพหุชน ในบาลีใช้คำว่า “พหุชน” ก็หมายถึงมนุษย์ทุกคน ทั้งชายและหญิง ก็เมื่อความสุขที่สูงสุดของพุทธศาสนาคือพระนิพพาน พุทธศาสนาก็ต้องเปิดโอกาสให้มนุษย์ทุกคนที่หวังพระนิพพานได้มีโอกาสเข้าถึง ทางเข้าถึงที่ว่านี้ก็โดยการบวชเท่านั้น ด้วยเหตุนี้โดยหลักการแล้วพุทธศาสนาจึงเปิดโอกาสให้ทุกคนทั้งชายและหญิงได้เข้าถึงพระนิพพาน เพียงแต่ว่าโอกาสนั้นจะมีเมื่อไร พร้อมหรือยัง เหมาะสมหรือยัง โดยเฉพาะกรณีที่สตรีจะเข้ามาบวชนั้น ก็อย่างที่บอกแล้วว่าเหตุการณ์นี้เป็น shock of the town พระพุทธองค์ก็ต้องทรงรอบคอบหน่อย
อันที่จริงการบวชนั้นไม่ยากหรอก แต่ปัญหาอยู่ตรงที่ว่าเมื่อบวชแล้วจะได้รับการยอมรับมากน้อยแค่ไหน การบริหารจัดการจะเป็นอย่างไร ที่สำคัญสตรีเหล่านี้มีความจริงจังในเพศบรรพชิตมากน้อยแค่ไหน หากผลีผลามอาจส่งผลเสียต่อพุทธศาสนาซึ่งกำลังเริ่มผลิดอกออกใบอยู่ในขณะนั้นก็ได้
เหตุการณ์คล้ายๆกันนี้เกิดกับพวกทิเบตในปัจจุบันนี้ ฝ่ายทิเบตเองก็ไม่มีภิกษุณีสงฆ์ เมื่อองค์ดาไลลามะมีพระประสงค์จะให้มีการบวชภิกษุณีสงฆ์ในฝ่ายมูลสรวาสติวาทคือในนิกายของฝ่ายทิเบตเอง พระองค์ต้องตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาเรื่องนี้ แม้เวลาจะผ่านไปแล้วเกือบ 30 ปีเรื่องนี้ก็ยังไม่ได้ข้อสรุป เหตุผลใหญ่ก็คือเมื่อมีภิกษุณีสงฆ์แล้วต้องได้รับการยอมรับจากพุทธทิเบตอีก 3 นิกายนอกจาก “เกลุกปะ” ของพระองค์ คือ นิงมาปะ กากยูปะ และ ศากยะปะ เห็นไหมว่าการบวชนั้นไม่ยาก แต่เรื่องที่จะเกิดหลังการบวชนั้นต่างหากที่ยาก สำหรับกรณีของพระนางปชาบดีและพวกศากยธิดาทั้ง 500 นั้นถือว่าจบเร็วกว่าพวกทิเบตในตอนนี้เสียอีก
และที่อ้างว่าพระพุทธองค์ไม่มีเจตนาจะให้มีภิกษุณีสงฆ์มาตั้งแต่แรกนั้น ดูจะเป็นการหมิ่นพระบรมศาสดามากไปหน่อย ก็จะไม่หมิ่นได้อย่างไร ถ้าพระพุทธองค์ไม่มีเจตนาแล้วต่อมาให้บวชทำไม? อย่างนี้ก็กล่าวหาว่าพระพุทธองค์ทรงโลเลนะซิ หรือว่าที่ให้บวชนั้นเพราะสงสารด้วยเป็นศากยวงศ์ด้วยกัน เห็นแก่ญาติพี่น้องว่างั้นเถอะ ถ้าพระพุทธองค์มีเจตนาที่จะไม่ให้มีภิกษุณีสงฆ์จริงๆแล้วละก็ คงไม่อนุญาตต่อมาในภายหลังอย่างเด็ดขาด ความจริงตอนที่ทรงตรัสรู้แล้วใหม่ๆ พระพุทธองค์เคยกล่าวถึงภิกษุณีสงฆ์แล้วด้วยซ้ำ(ซึ่งแน่นอนว่าตอนนั้นยังไม่มีทั้งภิกษุและภิกษุณี) ไม่เชื่อไปอ่านมหาปรินิพพานสูตร ก็จะพบว่าหลังการตรัสรู้ใหม่ ในสัปดาห์หนึ่งตอนที่อยู่ไต้ต้นนิโครธ มารได้เข้ามาทูลให้ดับขันธ์ปรินิพพาน พระพุทธองค์ได้กล่าวกับมารว่าต้องรอให้พุทธบริษัทที่มี ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา รู้พระธรรมวินัย เผยแพร่พระธรรมวินัย และปกป้องพระธรรมวินัยได้ก่อน เมื่อไรที่พุทธบริษัททำได้อย่างนี้แล้วพระพุทธองค์ก็จะดับขันธ์ปรินิพพาน นี้อ้างจากพระไตรปิฎกนะ ไม่ได้คิดเอาเอง
เห็นไหมว่าพระพุทธองค์นั้นทรงมีเจตนาเรื่องภิกษุณีสงฆ์มาก่อนตั้งนานแล้ว ก่อนที่พระนางปชาบดีและเหล่าศากยธิดาจะมาขอบวชเสียอีก(คือก่อนตั้ง 5 ปี) ก็อย่างที่บอกถ้าไม่มีเจตนาแล้วพระพุทธองค์จะไม่ทรงอนุญาตให้บวชอย่างเด็ดขาด ไม่ว่านางนั้นจะเป็นใครก็ตาม
ในเรื่องเจตนานี้ทางพุทธศาสนากับฝ่ายกฎหมายมีมุมมองที่ต่างกัน ทางกฎหมายถือหลักว่า “กรรมส่อเจตนา” หมายความว่าพฤติกรรมที่แสดงออกมานั้นจะเป็นตัวชี้วัดถึงเจตนา โทษานุโทษก็ว่าไปตามเจตนานั้นๆ อย่างนาย ก.พกปืนเข้าไปบ้านนาย ข. ในบ้านไม่มีไครนอกจากนาย ข. ต่อมานาย ข. ถูกยิงเสียชีวิต นาย ก. ให้การกับตำรวจว่านาย ข. ฆ่าตัวตายเอง ดูจากพฤติกรรมแล้วใครจะไปเชื่อ การที่พกปืนเข้าไปในบ้านของคนอื่น ก็ส่อเจตนาไม่ดีแล้ว เรื่องนี้นายก.เป็นผู้ต้องหาแน่ๆ ส่วนทางพุทธศาสนาจะถือหลัก “เจตนาส่อกรรม” หมายความว่าเจตนาจะเป็นตัวตัดสินหรือชี้นำไปสู่การกระทำนั้นๆ ว่าเป็นกรรมดีหรือกรรมไม่ดี การที่พระพุทธองค์มีเจตนาเรื่องภิกษุณีสงฆ์มาก่อน ต่อมาก็ทรงอนุญาตให้สตรีบวชได้ นี่เป็นเจตนาที่ส่อกรรมอย่างชัดๆ ดังนั้นใครที่อ้างว่าพระพุทธองค์ไม่มีเจตนาที่จะให้มีภิกษุณีสงฆ์ ต้องศึกษาให้มากกว่านี้แล้วจะเข้าใจ
อ่านเนื้อหาต่อได้ที่ความเห็นถัดไปหรือจากลิงค์ด้านบนได้เลยครับ
ขอโทษที่อัพเนื้อหาต่อช้าด้วยนะครับเน็ตมือถือไม่ค่อยดีช่วงนี้จึงอัพโหลดไม่ค่อยขึ้นเลย
อคติและมายาคติที่ขัดขวางการฟื้นฟูภิกษุณีสงฆ์ฝ่ายเถรวาท
http://prachatai.com/journal/2016/07/67100
เห็นบทความนี้อ่านแล้วน่าสนใจดีครับเลยนำมาแบ่งปันกันอ่านเครดิตทั้งหมดขอยกให้ผู้เขียนบทความครับ ไม่แน่ใจเคยมีคนลงหรือยังถ้ายังผมขอนำมาลงให้อ่านครับ สงสัยเหมือนกันว่าทำไมทั้งที่มีวัดจึงไม่ค่อยเห็นภิกษุณีเลยและระหว่างอ่านๆไปก็สงสัยไปด้วยว่าประเทศไทยเราไม่มีภิกษุณีจริงๆหรือ บทความไม่ได้ต้องการนำมาลงเพื่อให้เกิดความขัดแย้งหรือขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีอะไรครับ แต่นำมาลงอ่านเพื่อสะท้อนเรื่องราวมุมหนึ่งของศาสนาพุทธในประเทศไทยเราในขณะที่รู้ว่าพุทธศาสนาดำรงอยู่ได้ด้วยพุทธบริษัท 4 แต่เรื่องราวของภิกษูณีทั้งหลายที่เป็นสาวกสำคัญหนึ่งในพุทธบริษัททั้ง 4 ดูจะไม่ค่อยมีการกล่าวถึงเลยในสังคม เนื่องจากบทความอาจมีความยาวหลายหน้าจึงอาจไม่พอเนื้อที่กระทู้จึงขอนำลงในความเห็นถัดไป ขอบคุณครับ
ปฐมเหตุแห่งการเกิดภิกษุณีสงฆ์
เป็นที่น่าสังเกตว่าสตรีที่ประสงค์ออกบวชกลุ่มแรกนั้นมาจากเมืองกบิลพัสดุ์ นัยว่าเป็นเหล่าศากยวงศ์ทั้งหมด เหตุใดสตรีเหล่านี้จึงกล้าที่จะแหกกฎสังคม-วัฒนธรรมของชมพูทวีปซึ่งกีดกันผู้หญิงในทางศาสนาอย่างยิ่ง โดยเฉพาะศาสนาพราหมณ์ แม้ลัทธิใหม่ทั้ง 6 ลัทธิที่เกิดร่วมสมัยกับพุทธศาสนา ลักษณะร่วมที่สำคัญของลัทธิเหล่านี้คือต่อต้านศาสนาพราหมณ์ ในบรรดาลัทธิทั้ง 6 นี้ ศาสนาเชนของมหาวีระดูโดดเด่นมากที่สุด มีคนเลื่อมในมากที่สุด มีคำสอนที่เหมือนหรือใกล้เคียงพุทธศาสนามากที่สุด เชื่อกันว่าเจ้าชายสิทธัตถะตอนที่ออกแสวงหาโมกขธรรมก็เคยมาศึกษาลัทธินี้ด้วยเหมือนกัน ที่สำคัญศาสนาเชนไม่เคยสูญไปจากอินเดีย มีสืบมาจนทุกวันนี้ แต่ศาสนาเชนก็ไม่อนุญาตให้สตรีเป็นนักบวช(หมายถึงสมัยพุทธกาลหรือยุคแรกของศาสนาเชน) แล้วเหตุใดสตรีแห่งศากยวงศ์พวกนี้จึงกล้าที่จะแหกกฎเหล็กอันนี้ แสดงว่าสตรีเหล่านี้ต้องมีอะไรพิเศษแน่ๆ
ถ้าตอบแบบกำปั้นทุบดินก็คือ เมื่อพระพุทธเจ้าเข้าถึงการดับทุกข์อย่างสิ้นเชิงและพาเหล่าบุรุษเข้าถึงการดับทุกข์มาแล้วหลายราย ฝ่ายสตรีก็ปรารถนาบ้าง ตอบแค่นี้ฟังเผินๆก็ดูเหมือนจะสมเหตุสมผล แต่อย่างว่ามันง่ายเกินไป หากท่านมองย้อนไปในอดีตเมื่อ 2500 ปีก่อนโน้น ในยุคสมัยที่สตรีเป็นสมบัติของชาย 3 คน คือ พ่อ สามีและลูกชาย ในยุคสมัยที่สตรีแม้เกิดในวรรณะสูงแต่ก็มีค่าแค่ “ศูทร” คือคนชั้นต่ำ ในยุคสมัยที่เชื่อว่าสิ่งที่ถูก “ตี” แล้วจะดี คือ ควาย ทาส กลองและสตรี เท่าที่เล่ามาก็คงพอให้ท่านได้เห็นภาพผู้หญิงในสมัยนั้นว่าเป็นอย่างไร สตรีถูกกำหนดให้เกิดมาใช้แรงกายมากกว่าแรงสมอง ความรู้ที่มีก็เพื่อการเป็นเมียกับแม่ที่ดีเท่านั้น ส่วนความรู้ที่สูงกว่านั้นอย่างความรู้ในทางศาสนา อย่าได้แม้แต่คิด แต่แล้ววันหนึ่งมีสตรีกลุ่มหนึ่งลุกขึ้นมาเรียกร้องว่าฉันอยากเป็นนักบวช ฉันอยากเข้าถึงการดับทุกข์เหมือนบุรุษบ้าง นี่ต้องเป็นเหตุการณ์ที่ผิดปกติมากๆ ในยุคสมัยนั้น แล้วอะไรที่ดลใจหรือเป็นแรงขับให้สตรีศากยวงศ์เหล่านี้ต้องการออกบวช? คงไม่ใช่แค่ความต้องการอย่างเดียว
อย่าลืมว่าการให้สตรีบวชได้นั้นเป็นเหตุการณ์ที่สั่นสะเทือนสังคมชมพูทวีปอย่างแรง เป็น shock of the town เลยทีเดียว ใครที่ทำใจไม่ได้เผลอๆจะหัวใจวายเอา ก็มีที่ไหนที่ปล่อยให้สตรีซึ่งเชื่อกันว่าเป็นผู้มีมลทินเข้ามาร่วมในศาสนากับบุรุษ ก่อนหน้านั้นอย่าว่าแม้แต่เข้ามาเลย เฉียดเข้าไปใกล้ยังไม่ได้ ศาสนาเปรียบเหมือนพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ที่กันไว้สำหรับบุรุษเท่านั้น ดังนั้นเหตุที่เหล่าสตรีศากยวงศ์ต้องการออกบวชจึงน่าจะมีปัจจัยอื่นเกื้อหนุนด้วย แล้วเหตุที่ว่านั้นคืออะไร?
กบิลพัสดุ์ของศากยวงศ์นั้นเป็นเมืองที่ปกครองแบบหมู่คณะ คงคล้ายสภาซีเนตของโรมันหรือสภาของพวกกรีก บางคนอธิบายว่าเป็นแบบสาธารณรัฐ ฝ่ายพุทธเองเรียกการปกครองรูปแบบนี้ว่า “สามัคคีธรรม” เอาเข้าจริงเราไม่ทราบได้แน่ชัดว่าการปกครองที่ว่านี้มีรายละเอียดอย่างไร ได้แต่ทราบคร่าวๆว่าเป็นการปกครองโดยคณะที่สมาชิกมาจากวรรณะกษัตริย์ ซึ่งไม่ใช่แบบราชาธิปไตย เหมือนรัฐใหญ่อย่างมคธหรือสาวัตถี รัฐหรือเมืองที่ปกครองรูปแบบนี้ก็เช่น วัชชี กบิลพัสดุ์ รามคาม กุสินารา ฯ เป็นที่น่าสังเกตว่ารัฐหรือเมืองเหล่านี้มักจะอยู่ทางเหนือของอินเดีย
ลักษณะหนึ่งของการปกครองแบบนี้คือการให้เกียรติสตรี จะเห็นได้จากหลักอปริหานิยธรรม 7 หรือ “ธรรมที่ไม่ทำให้เสื่อม” ที่พระพุทธองค์ตรัสถึงพวกกษัตริย์ลิจฉวีแห่งแคว้นวัชชีว่าตราบใดที่พวกลิจฉวียังยึดหลักธรรมนี้อยู่ ตราบนั้นไม่มีใครมาทำลายได้ เชื่อว่าหลักอปริหานิยธรรมนี้เป็นหลักธรรมร่วมหรือลักษณะการปกครองของรัฐที่ปกครองแบบคณาธิปไตยในชมพูทวีป หนึ่งในหลักธรรมนี้กล่าวว่า “บรรดากุลสตรีกุลกุมารีทั้งหลายมิให้ถูกข่มเหงรังแก” นี่คงจะพอยืนยันได้ว่าสตรีในรัฐดังกล่าวซึ่งหมายรวมถึงเมืองกบิลพัสดุ์ด้วยนั้น คงมีสถานภาพและเสรีภาพที่ดีกว่าสตรีในรัฐอื่นที่อยู่ภายใต้การปกครองแบบราชาธิปไตยและศาสนาพราหมณ์
ด้วยปัจจัยเกื้อหนุนนี้จึงทำให้สตรีศากยวงศ์สามารถเข้าถึงความรู้ทางศาสนา โดยเฉพาะศาสนาใหม่ที่พระพุทธเจ้าได้สถาปนาขึ้น ประกอบกับพระพุทธเจ้าเองก็เป็นหนึ่งในศากยวงศ์ ความใกล้ชิดนี้ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ผลักดันให้สตรีศากยวงศ์กลุ่มนี้กล้าที่จะร้องขอเพื่อใช้สิทธิเข้าถึงการหลุดพ้นเหมือนบุรุษ และในที่สุดการเรียกร้องก็สมหวัง
ถ้าจะเรียกพระนางปชาบดีโคตมีและเหล่าสตรีศากยวงศ์ทั้ง 500 ว่าเป็น Feminist รุ่นแรกก็คงไม่ผิด เพราะพวกเธอกล้าที่จะ deconstruct อคติทางเพศจนมีชัยชนะ อย่างนี้ต้องยกนิ้วให้พร้อมตะโกนว่า “นางแน่มาก”
ความจริงเรื่องเหตุปัจจัยที่ทำให้เหล่าสตรีศากยวงศ์ลุกขึ้นมาขอบวช น่าจะมีการศึกษาให้มากกว่านี้ เพื่อที่จะเข้าใจที่มาที่ไปของการกำเนิดภิกษุณีสงฆ์ได้อย่างลุ่มลึก ที่นำเสนอมาเรื่องอำนาจของความรู้และสถานภาพทางสังคมนั้น ก็เพียงเพื่อเป็นการ “โยนหินถามทาง” เท่านั้น น่าจะมีปัจจัยอื่นอีก
ที่เล่าเรื่องสตรีศากยวงศ์กลุ่มนี้ก็เพื่อชี้ให้เห็นว่า สตรีหรือใครก็ตามที่ถูกกีดกันในสิทธิของความเป็นมนุษย์ เมื่อเหตุปัจจัยพร้อม เขาก็จะลุกขึ้นมาทวงสิทธิอันนั้น ความเชื่อที่เกิดจากอธรรมอันนำไปสู่อคติก็จะไร้น้ำยา เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชมพูทวีปเมื่อ 2500 ปีก่อน ก็ไม่ต่างจากเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในสังคมไทยขณะนี้
การสถาปนาภิกษุณีสงฆ์ครั้งแรกในพุทธศาสนา
เหตุการณ์ครั้งนี้เกิดในพรรษาที่ 5 ตอนที่พระพุทธองค์ประทับอยู่ที่เมืองไวศาลี ความจริงก่อนหน้านั้นตอนที่พระพุทธองค์เสด็จไปเมืองกบิลพัสดุ์ พระนางปชาบดีโคตรมีก็เคยทูลขอบวชมาครั้งหนึ่งแล้วแต่พระพุทธองค์ทรงปฏิเสธ พระนางเองก็ไม่ละความพยายามได้ตามเสด็จมาที่เมืองไวศาลีและได้มาทูลขอบวชอีกครั้ง ผลก็คือทรงปฏิเสธอีก การที่ทรงปฏิเสธถึง 2 ครั้ง 2 ครา ทำให้พวกที่ไม่สนับสนุนการบวชภิกษุณีหรือจะเรียกสั้นๆว่าฝ่ายค้านยกมาอ้างว่าพระพุทธองค์ไม่มีเจตนาที่จะให้มีภิกษุณีสงฆ์ ถ้าเราฟังความแค่นี้ เหตุผลที่ฝ่ายค้านยกมาอ้างก็ดูจะมีน้ำหนัก แต่ถ้าเราศึกษาไปถึงสังคม-วัฒนธรรมของชมพูทวีปในตอนนั้น เข้าใจสถานภาพของสตรีในตอนนั้น เข้าใจการสถาปนาพุทธศาสนาซึ่งเพิ่งตั้งมาเพียง 5 ปี เรียกได้ว่ายังไม่มั่นคงเพียงพอ เราก็จะเข้าใจเหตุผลที่พระพุทธองค์ทรงปฏิเสธการดังกล่าว
อย่าลืมว่าเป้าหมายหลักของพุทธศาสนานั้นก็เพื่อ “พหุชนหิตายะ พหุชนสุขายะ โลกานุกัมปายะ” เพื่อประโยชน์แก่พหุชน เพื่อความสุขของพหุชนและเกื้อกูลโลก นี่คือคำประกาศเจตนารมณ์ที่พระพุทธองค์ได้มอบให้แก่สมณฑูตชุดแรกที่จะออกไปเผยแพร่ศาสนา กล่าวโดยสรุปก็คือการเกิดขึ้นของพุทธศาสนาก็เพื่อความสุขและประโยชน์ของพหุชน ในบาลีใช้คำว่า “พหุชน” ก็หมายถึงมนุษย์ทุกคน ทั้งชายและหญิง ก็เมื่อความสุขที่สูงสุดของพุทธศาสนาคือพระนิพพาน พุทธศาสนาก็ต้องเปิดโอกาสให้มนุษย์ทุกคนที่หวังพระนิพพานได้มีโอกาสเข้าถึง ทางเข้าถึงที่ว่านี้ก็โดยการบวชเท่านั้น ด้วยเหตุนี้โดยหลักการแล้วพุทธศาสนาจึงเปิดโอกาสให้ทุกคนทั้งชายและหญิงได้เข้าถึงพระนิพพาน เพียงแต่ว่าโอกาสนั้นจะมีเมื่อไร พร้อมหรือยัง เหมาะสมหรือยัง โดยเฉพาะกรณีที่สตรีจะเข้ามาบวชนั้น ก็อย่างที่บอกแล้วว่าเหตุการณ์นี้เป็น shock of the town พระพุทธองค์ก็ต้องทรงรอบคอบหน่อย
อันที่จริงการบวชนั้นไม่ยากหรอก แต่ปัญหาอยู่ตรงที่ว่าเมื่อบวชแล้วจะได้รับการยอมรับมากน้อยแค่ไหน การบริหารจัดการจะเป็นอย่างไร ที่สำคัญสตรีเหล่านี้มีความจริงจังในเพศบรรพชิตมากน้อยแค่ไหน หากผลีผลามอาจส่งผลเสียต่อพุทธศาสนาซึ่งกำลังเริ่มผลิดอกออกใบอยู่ในขณะนั้นก็ได้
เหตุการณ์คล้ายๆกันนี้เกิดกับพวกทิเบตในปัจจุบันนี้ ฝ่ายทิเบตเองก็ไม่มีภิกษุณีสงฆ์ เมื่อองค์ดาไลลามะมีพระประสงค์จะให้มีการบวชภิกษุณีสงฆ์ในฝ่ายมูลสรวาสติวาทคือในนิกายของฝ่ายทิเบตเอง พระองค์ต้องตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาเรื่องนี้ แม้เวลาจะผ่านไปแล้วเกือบ 30 ปีเรื่องนี้ก็ยังไม่ได้ข้อสรุป เหตุผลใหญ่ก็คือเมื่อมีภิกษุณีสงฆ์แล้วต้องได้รับการยอมรับจากพุทธทิเบตอีก 3 นิกายนอกจาก “เกลุกปะ” ของพระองค์ คือ นิงมาปะ กากยูปะ และ ศากยะปะ เห็นไหมว่าการบวชนั้นไม่ยาก แต่เรื่องที่จะเกิดหลังการบวชนั้นต่างหากที่ยาก สำหรับกรณีของพระนางปชาบดีและพวกศากยธิดาทั้ง 500 นั้นถือว่าจบเร็วกว่าพวกทิเบตในตอนนี้เสียอีก
และที่อ้างว่าพระพุทธองค์ไม่มีเจตนาจะให้มีภิกษุณีสงฆ์มาตั้งแต่แรกนั้น ดูจะเป็นการหมิ่นพระบรมศาสดามากไปหน่อย ก็จะไม่หมิ่นได้อย่างไร ถ้าพระพุทธองค์ไม่มีเจตนาแล้วต่อมาให้บวชทำไม? อย่างนี้ก็กล่าวหาว่าพระพุทธองค์ทรงโลเลนะซิ หรือว่าที่ให้บวชนั้นเพราะสงสารด้วยเป็นศากยวงศ์ด้วยกัน เห็นแก่ญาติพี่น้องว่างั้นเถอะ ถ้าพระพุทธองค์มีเจตนาที่จะไม่ให้มีภิกษุณีสงฆ์จริงๆแล้วละก็ คงไม่อนุญาตต่อมาในภายหลังอย่างเด็ดขาด ความจริงตอนที่ทรงตรัสรู้แล้วใหม่ๆ พระพุทธองค์เคยกล่าวถึงภิกษุณีสงฆ์แล้วด้วยซ้ำ(ซึ่งแน่นอนว่าตอนนั้นยังไม่มีทั้งภิกษุและภิกษุณี) ไม่เชื่อไปอ่านมหาปรินิพพานสูตร ก็จะพบว่าหลังการตรัสรู้ใหม่ ในสัปดาห์หนึ่งตอนที่อยู่ไต้ต้นนิโครธ มารได้เข้ามาทูลให้ดับขันธ์ปรินิพพาน พระพุทธองค์ได้กล่าวกับมารว่าต้องรอให้พุทธบริษัทที่มี ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา รู้พระธรรมวินัย เผยแพร่พระธรรมวินัย และปกป้องพระธรรมวินัยได้ก่อน เมื่อไรที่พุทธบริษัททำได้อย่างนี้แล้วพระพุทธองค์ก็จะดับขันธ์ปรินิพพาน นี้อ้างจากพระไตรปิฎกนะ ไม่ได้คิดเอาเอง
เห็นไหมว่าพระพุทธองค์นั้นทรงมีเจตนาเรื่องภิกษุณีสงฆ์มาก่อนตั้งนานแล้ว ก่อนที่พระนางปชาบดีและเหล่าศากยธิดาจะมาขอบวชเสียอีก(คือก่อนตั้ง 5 ปี) ก็อย่างที่บอกถ้าไม่มีเจตนาแล้วพระพุทธองค์จะไม่ทรงอนุญาตให้บวชอย่างเด็ดขาด ไม่ว่านางนั้นจะเป็นใครก็ตาม
ในเรื่องเจตนานี้ทางพุทธศาสนากับฝ่ายกฎหมายมีมุมมองที่ต่างกัน ทางกฎหมายถือหลักว่า “กรรมส่อเจตนา” หมายความว่าพฤติกรรมที่แสดงออกมานั้นจะเป็นตัวชี้วัดถึงเจตนา โทษานุโทษก็ว่าไปตามเจตนานั้นๆ อย่างนาย ก.พกปืนเข้าไปบ้านนาย ข. ในบ้านไม่มีไครนอกจากนาย ข. ต่อมานาย ข. ถูกยิงเสียชีวิต นาย ก. ให้การกับตำรวจว่านาย ข. ฆ่าตัวตายเอง ดูจากพฤติกรรมแล้วใครจะไปเชื่อ การที่พกปืนเข้าไปในบ้านของคนอื่น ก็ส่อเจตนาไม่ดีแล้ว เรื่องนี้นายก.เป็นผู้ต้องหาแน่ๆ ส่วนทางพุทธศาสนาจะถือหลัก “เจตนาส่อกรรม” หมายความว่าเจตนาจะเป็นตัวตัดสินหรือชี้นำไปสู่การกระทำนั้นๆ ว่าเป็นกรรมดีหรือกรรมไม่ดี การที่พระพุทธองค์มีเจตนาเรื่องภิกษุณีสงฆ์มาก่อน ต่อมาก็ทรงอนุญาตให้สตรีบวชได้ นี่เป็นเจตนาที่ส่อกรรมอย่างชัดๆ ดังนั้นใครที่อ้างว่าพระพุทธองค์ไม่มีเจตนาที่จะให้มีภิกษุณีสงฆ์ ต้องศึกษาให้มากกว่านี้แล้วจะเข้าใจ
อ่านเนื้อหาต่อได้ที่ความเห็นถัดไปหรือจากลิงค์ด้านบนได้เลยครับ
ขอโทษที่อัพเนื้อหาต่อช้าด้วยนะครับเน็ตมือถือไม่ค่อยดีช่วงนี้จึงอัพโหลดไม่ค่อยขึ้นเลย