ถ้าให้พูดถึงเครื่องปริ้นแบบติดแท้งค์มาจากโรงงานเลย ก็คงจะหนีไม่พ้นยี่ห้อ Epson ซึ่งมีระบบแท้งค์แบบนี้ เรียกได้ว่าเป็นแบรนด์ต้นๆเลยก็ว่าได้ มีทั้งแท้งค์ติดมากับตัวเครื่องอย่างดี รวมถึงหมึกเติมของแท้แน่นอน ทำให้คนใช้ปริ้นเตอร์แบบติดแท้งค์หมดกังวลเรื่องหัวตัน ทำให้การเติมหมึก ขนย้าย และใช้งานได้สะดวกสบายกว่าเดิมมาก ซึ่งหลายคนอาจจะเคยผ่านตามาบ้างกับหมึกแท้งค์สีของ Epson แต่ในวันนี้เราจะมาแนะนำหมึกแท้งแบบ ขาวดำ ซึ่งประสิทธิภาพไม่ได้ด้อยไปกว่าแบบแท้งค์สีเลยล่ะ แล้วถามว่าทำไมไม่ทำแบบแท้งค์สีไปเลย? มีเฉพาะขาวดำไว้ทำไม? คำตอบก็คือ เพื่อตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าที่ต้องการงานพิมพ์ที่มีคุณภาพสูง ใช้เฉพาะสีขาวดำเท่านั้น และจุดเด่นของเครื่องปริ้นแท้งค์ขาวดำอีกอย่าง คือ ราคาต่อแผ่นค่อนข้างถูกมาก ขวดหมึกเติมครั้งเดียว ใช้กันจนลืมแก่กันเลยทีเดียว
เข้าเรื่องกันเลยดีกว่าสำหรับ Epson ที่เราจะมารีวิวในวันนี้เป็นรุ่น Epson Workforce M100 หรือเรียกสั้นๆว่า Epson M100 นั่นเองครับ ตัวนี้นอกจากความประหยัดคุ้มค่าของมันแล้ว ยังมีพอร์ตเชื่อมต่อ LAN มาให้ด้วย เหมาะกับออฟฟิศ หรือองค์กรขนาดไม่ใหญ่มาก ตามเรามาอ่านรีวิวกันเลยนะ
คุณลักษณะคร่าวๆของ Epson M100
• Epson M100 เป็นเครื่องปริ้นแบบอิงค์เจ็ทขาวดำ ที่ใช้เทคโนโลยีการพ่นหมึกแบบ Piezo Electric
• ขนาดกะทัดรัด 43.5 x 14.8 x 26.7 เซนติเมตร (กว้าง x สูง x ลึก)
• ความเร็วในการพิมพ์สูงสุด 15 แผ่นต่อนาที !! แต่ถ้าใช้กระดาษที่บางกว่านั้นก็จะได้มากถึง 34 แผ่นต่อนาที
• ความละเอียดในการพิมพ์ 1,440 x 720 ถือว่าละเอียดมากเลยทีเดียว
• รองรับการเชื่อมต่อผ่านสาย USB และสาย Ethernet หรือสาย LAN นั่นเอง
• ใส่กระดาษได้หลายรูปแบบ เช่น A4, A5, B5, ขนาดซองจดหมาย และนามบัตร
• ถาดรองกระดาษรองรับงานพิมพ์มากถึง 30 แผ่น ส่วนถาดใส่กระดาษใส่ได้สูงสุดประมาณ 100 แผ่น
• น้ำหนัก 3.4 กิโลกรัม
• ใช้ไฟฟ้า 1.7 วัตต์ (โหมดสแตนบาย) และ 12 วัตต์ (ช่วงที่กำลังพิมพ์)
• รอบรับทั้งระบบปฏิบัติการ Windows, Linux และ Mac OS
เริ่มลงมือสำรวจเครื่องปริ้น Epson M100
เริ่มลงมือแกะกล่อง Epson M100 กันเลยดีกว่า ตัวเครื่องบุโฟมรองรับแรงกระแทกมาเป็นอย่างดี ส่วนอุปกรณ์อื่นๆ เช่น สายพาวเวอร์, สาย USB, ซีดีติดตั้ง และคู่มือก็แยกใส่ถุงพลาสติกแยกมาให้ต่างหาก
ด้านหน้าของ Epson M100 มองแว๊บแรกจะรู้สึกทันทีเลยว่าขนาดเล็กกำลังดีเลย
มุมมองด้านข้าง เมื่อขยายถาดรองกระดาษแล้ว ขนาดก็ยังดูไม่ใหญ่มากอยู่ดี และตัวแท้งค์ที่ติดมาแข็งแรงทนทานมาก
นอกจากตัวเครื่องแล้วก็ยังมีสายพาวเวอร์, สาย USB, แผ่นซีดำหรับติดตั้งไดร์เวอร์, คู่มือการเริ่มต้นติดตั้ง, ใบประกัน และข้อควรระวัง เรียกได้ว่ามีครบทุกอย่างที่จำเป็น ตรงนี้ถือว่าเป็นจุดเด่นอีกหนึ่งอย่างที่ทางเอปสันมีให้ตลอด ซึ่งผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์มาก ก็สามารถใช้เครื่องปริ้นได้อย่างถูกต้องอย่างแน่นอน
เรามาสำรวจจุดอื่นๆกันต่อเลย ตรงนี้เป็นเหมือนกับสวิตซ์เปิดปิดหมึกที่ไหลจากตัวแท้งค์ไปยังเครื่องปริ้นก็ว่าได้ ถ้าเราต้องการขนย้ายให้หมุนมาด้านล่างเหมือนกับรูปด้านบน และเมื่อขนย้ายเสร็จแล้วก็หมุนกลับไปด้านบนเหมือนเดิม ตรงนี้จะมีขีดยาวๆอยู่ให้เราสังเกตดูว่าขีดชี้ไปทางไหนนะ
สำหรับวิธีการเติมหมึกสามารถเติมได้ที่ช่องสไลด์ด้านข้างนี้เลย และเราสามารถดูระดับหมึกว่าเหลือมากน้อยแค่ไหนได้ทันที ไม่ต้องเปิดคอมพิวเตอร์ เปิดโปรแกรมให้เสียเวลา
เลื่อนออกมาก็จะเจอกับจุกปิดแบบนี้ เวลาหมึกหมดก็ให้เราเปิดจุกแล้วก็เติมหมึกลงไปได้เลย สะดวกดีงามมากตรงจุดนี้
ถาดรองกระดาษด้านบน ในคุณลักษณะเขาเขียนบอกไว้ว่าใส่กระดาษได้สูงสุดถึง 100 แผ่น แต่ไม่เคยลองเยอะขนาดนั้นแฮะ ถ้าจะใส่เยอะขนาดนั้นก็ต้องใช้กระดาษที่คุณภาพดีหน่อย เพราะว่าอาจจะติดเอาได้ แนะนำใส่ทีละน้อยๆจะดีกว่านะ ลดความเสี่ยงที่เวลาเราใช้กระดาษที่คุณภาพไม่ค่อยดี แล้วจะทำให้กระดาษติดได้
คอนโทรลด้านหน้ามีปุ่มเปิดปิดเครื่อง, ไฟแสดงสถานะ Ethernet และปุ่มยกเลิกการพิมพ์ ซึ่งปุ่มเนี้ย ถ้ากดค้างไว้ประมาณ 3 วินาที จนไฟตรงปุ่มเปิดปิดกระพริบ
ถาดรองกระดาษพิมพ์ถอดเข้าออกง่าย และรองรับงานพิมพ์สูงสุด 35 แผ่น
ถาดรองกระดาษเมื่อขยายสุดก็จะเป็นในลักษณะแบบนี้
ส่วนช่องว่างๆตรงด้านขวานี้เอาไว้เปิดปิดสำหรับเกิดกรณีกระดาษติดขึ้นมา
เราก็ยกขึ้นง่ายๆแบบนี้เลย เพื่อดูว่าข้างในมีกระดาษติด หรือมีอะไรผิดปกติหรือเปล่า
ยกขึ้นมาแล้วจะเป็นลักษณะแบบนี้ จะเห็นได้ว่ามีสายจากตัวแท้งค์ต่อมายังหัวพิมพ์
ตรงนี้เป็นคำเตือนเล็กๆบอกประมาณว่าให้เราดูระดับน้ำหมึกให้ดีก่อนที่จะพิมพ์งานทุกครั้ง ถ้าหมึกใกล้หมดแล้วก็ให้เติมได้เลย ซึ่งขวดหมึกของรุ่นนี้ตกอยู่ที่ 690 บาท และปริ้นได้มากกว่า 5 พันแผ่นแน่นอน เฉลี่ยตกแผ่นละไม่ถึงบาท คุ้มซะยิ่งกว่าคุ้ม
มาดูด้านหลังกันบ้างมีพอร์ตสำหรับต่อสายพาวเวอร์ สายแลน และสาย USB ซึ่งถ้าเราตั้งค่าสายแลนแล้ว สาย USB ก็ไม่จำเป็นอีกต่อไป คอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกัน สามารถสั่งพิมพ์มาที่เครื่องปริ้นที่ตั้งค่าไว้แล้วได้เลย โดยจะรีวิวในส่วนต่อไปนะ
เปิดปิดเครื่องได้รวดเร็วทันใจดี
เครื่องเริ่มทำการวอร์มอัพแล้วววว
จะสังเกตเห็นไฟสีแดงตรงบริเวณรูปหยดน้ำ แสดงว่าระดับหมึกหมด หรือว่ายังไม่เติมหมึกนั่นเอง ส่วนถ้าไฟขึ้นที่รูปกระดาษด้วย หมายความว่ามีกระดาษติดอยู่ในเครื่อง หรือว่าไม่ได้ใส่กระดาษลงไปก่อนสั่งพิมพ์
เราลองเสียบสาย LAN และสาย USB เพื่อตั้งค่าเครือข่าย ตั้งไอพีให้กับเครื่องปริ้น และติดตั้งไดร์เวอร์ให้กับเครื่องเราด้วย ซึ่งจะอธิบายอย่างละเอียดในหัวข้อถัดไปนะ
เรามาดูขั้นตอนการเติมหมึกกันต่อครับ หมึกขวดนี้เป็นหมึกพิกเม้นท์ (Pigment Ink) หมึกประเภทนี้จะแห้งเร็วกว่าหมึกปกติมาก ไม่เลอะเทอะ จับได้ทันทีหลังปริ้นงานเสร็จ ที่สำคัญคือกันน้ำ และของเหลวต่างๆ ทำให้มั่นใจได้ว่างานพิมพ์ของคุณจะยังอยู่ครบถ้วน ชัดเจน
รหัสหมึก T774 รองรับทั้ง M100/ M105/ M200/ M205/ L655
บรรจุสุญญากาศมาอย่างดี
ขวดนี้จุ 140 มิลลิลิตร ราคาประมาณ 5 ร้อยต้นๆ
ลงมือเติมกันเลยครับ ว่าแต่ทำไมหมึกไม่ออกน้า
ปรากฏว่าต้องเปิดฝาด้านบนแล้วแกะพลาสติกออกก่อนนะครับ แหม่ ปล่อยไก่เลย ฮ่าๆๆ
เติมลงไปลักษณะแบบนี้ ถ้าหมึกไหลช้าก็ให้บีบขวดเบาเบา
ไม่นานก็เต็มแล้วครับ สังเกตได้จากปริมาณด้านข้างของเครื่องปริ้น
สำหรับวิธีการชาร์จหมึก ให้เรากดปุ่มด้านขวาสสุดค้างไว้ 3 วินาที รอให้ไฟสถานะเครื่องด้านซ้ายสุดกระพริบ
กระพริบแบบนี้แสดงว่าเริ่มขั้นตอนการชาร์จหมึก / ล้างหัวพิมพ์แล้วจ้า
และเมื่อเสียบสาย LAN ตั้งค่าเครือข่ายเสร็จไฟแสดงสถานะบนคำว่า Ethernet ก็จะขึ้น นั่นแสดงว่าคุณสามารถปริ้นผ่านเครือข่ายโดยที่ไม่ต้องเสียบสาย USB ของเครื่องปริ้นไปยังคอมพิวเตอร์ได้แล้ว
ได้สำรวจตัวเครื่อง Epson M100 มากันแบบทะลุปรุโปร่งแล้ว ต่อไปจะรีวิววิธีการติดตั้งไดร์เวอร์ทั้งผ่านเครือข่ายและแบบผ่านสาย USB ธรรมดา
วิธีการติดตั้งไดร์เวอร์ Epson M100
อันดับแรกให้ใส่แผ่นซีดีที่ติดมาในกล่องลงไปก่อนเลยจ้า
พอใส่แผ่นลงไปเรียบร้อยแล้ว ถ้าโปรแกรมไม่ออโต้รันขึ้นมา ก็ให้เราเปิด File Explorer แล้วดับเบิ้ลคลิกที่ไดร์ฟซีดี
เสร็จแล้วจะมีป็อปอัพหน้าตาแบบนี้ขึ้นมาให้เราคลิก Yes เพิ่มเริ่มการติดตั้งไดร์เวอร์ Epson M100
หน้านี้จะเป็นรายละเอียดของข้อตกลง ซึ่งปกติเราก็ไม่ค่อยอ่านกันอยู่แล้ว ฮ่าๆ ให้ติ๊ก “ฉันยอมรับในเนื้อหาข้อตกลงการใช้โปรแกรม” และคลิก “ถัดไป”
หน้านี้เป็นคำแนะนำว่าให้เราศึกษาการเติมหมึก การใช้งานเบื้องต้นจากคู่มือ คลิก “ถัดไป”
สำหรับการติดตั้งครั้งแรกให้เราคลิกที่ “เริ่มต้นและการเชื่อมต่อ” เพื่อเริ่มเข้าสู้กระบวนการติดตั้งไดร์เวอร์
มีต่อนะ....
[SR] Epson M100 เครื่องปริ้นหมึกแท้งค์ขาวดำ ที่สุดแห่งความประหยัด
เข้าเรื่องกันเลยดีกว่าสำหรับ Epson ที่เราจะมารีวิวในวันนี้เป็นรุ่น Epson Workforce M100 หรือเรียกสั้นๆว่า Epson M100 นั่นเองครับ ตัวนี้นอกจากความประหยัดคุ้มค่าของมันแล้ว ยังมีพอร์ตเชื่อมต่อ LAN มาให้ด้วย เหมาะกับออฟฟิศ หรือองค์กรขนาดไม่ใหญ่มาก ตามเรามาอ่านรีวิวกันเลยนะ
คุณลักษณะคร่าวๆของ Epson M100
• Epson M100 เป็นเครื่องปริ้นแบบอิงค์เจ็ทขาวดำ ที่ใช้เทคโนโลยีการพ่นหมึกแบบ Piezo Electric
• ขนาดกะทัดรัด 43.5 x 14.8 x 26.7 เซนติเมตร (กว้าง x สูง x ลึก)
• ความเร็วในการพิมพ์สูงสุด 15 แผ่นต่อนาที !! แต่ถ้าใช้กระดาษที่บางกว่านั้นก็จะได้มากถึง 34 แผ่นต่อนาที
• ความละเอียดในการพิมพ์ 1,440 x 720 ถือว่าละเอียดมากเลยทีเดียว
• รองรับการเชื่อมต่อผ่านสาย USB และสาย Ethernet หรือสาย LAN นั่นเอง
• ใส่กระดาษได้หลายรูปแบบ เช่น A4, A5, B5, ขนาดซองจดหมาย และนามบัตร
• ถาดรองกระดาษรองรับงานพิมพ์มากถึง 30 แผ่น ส่วนถาดใส่กระดาษใส่ได้สูงสุดประมาณ 100 แผ่น
• น้ำหนัก 3.4 กิโลกรัม
• ใช้ไฟฟ้า 1.7 วัตต์ (โหมดสแตนบาย) และ 12 วัตต์ (ช่วงที่กำลังพิมพ์)
• รอบรับทั้งระบบปฏิบัติการ Windows, Linux และ Mac OS
เริ่มลงมือสำรวจเครื่องปริ้น Epson M100
เริ่มลงมือแกะกล่อง Epson M100 กันเลยดีกว่า ตัวเครื่องบุโฟมรองรับแรงกระแทกมาเป็นอย่างดี ส่วนอุปกรณ์อื่นๆ เช่น สายพาวเวอร์, สาย USB, ซีดีติดตั้ง และคู่มือก็แยกใส่ถุงพลาสติกแยกมาให้ต่างหาก
ด้านหน้าของ Epson M100 มองแว๊บแรกจะรู้สึกทันทีเลยว่าขนาดเล็กกำลังดีเลย
มุมมองด้านข้าง เมื่อขยายถาดรองกระดาษแล้ว ขนาดก็ยังดูไม่ใหญ่มากอยู่ดี และตัวแท้งค์ที่ติดมาแข็งแรงทนทานมาก
นอกจากตัวเครื่องแล้วก็ยังมีสายพาวเวอร์, สาย USB, แผ่นซีดำหรับติดตั้งไดร์เวอร์, คู่มือการเริ่มต้นติดตั้ง, ใบประกัน และข้อควรระวัง เรียกได้ว่ามีครบทุกอย่างที่จำเป็น ตรงนี้ถือว่าเป็นจุดเด่นอีกหนึ่งอย่างที่ทางเอปสันมีให้ตลอด ซึ่งผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์มาก ก็สามารถใช้เครื่องปริ้นได้อย่างถูกต้องอย่างแน่นอน
เรามาสำรวจจุดอื่นๆกันต่อเลย ตรงนี้เป็นเหมือนกับสวิตซ์เปิดปิดหมึกที่ไหลจากตัวแท้งค์ไปยังเครื่องปริ้นก็ว่าได้ ถ้าเราต้องการขนย้ายให้หมุนมาด้านล่างเหมือนกับรูปด้านบน และเมื่อขนย้ายเสร็จแล้วก็หมุนกลับไปด้านบนเหมือนเดิม ตรงนี้จะมีขีดยาวๆอยู่ให้เราสังเกตดูว่าขีดชี้ไปทางไหนนะ
สำหรับวิธีการเติมหมึกสามารถเติมได้ที่ช่องสไลด์ด้านข้างนี้เลย และเราสามารถดูระดับหมึกว่าเหลือมากน้อยแค่ไหนได้ทันที ไม่ต้องเปิดคอมพิวเตอร์ เปิดโปรแกรมให้เสียเวลา
เลื่อนออกมาก็จะเจอกับจุกปิดแบบนี้ เวลาหมึกหมดก็ให้เราเปิดจุกแล้วก็เติมหมึกลงไปได้เลย สะดวกดีงามมากตรงจุดนี้
ถาดรองกระดาษด้านบน ในคุณลักษณะเขาเขียนบอกไว้ว่าใส่กระดาษได้สูงสุดถึง 100 แผ่น แต่ไม่เคยลองเยอะขนาดนั้นแฮะ ถ้าจะใส่เยอะขนาดนั้นก็ต้องใช้กระดาษที่คุณภาพดีหน่อย เพราะว่าอาจจะติดเอาได้ แนะนำใส่ทีละน้อยๆจะดีกว่านะ ลดความเสี่ยงที่เวลาเราใช้กระดาษที่คุณภาพไม่ค่อยดี แล้วจะทำให้กระดาษติดได้
คอนโทรลด้านหน้ามีปุ่มเปิดปิดเครื่อง, ไฟแสดงสถานะ Ethernet และปุ่มยกเลิกการพิมพ์ ซึ่งปุ่มเนี้ย ถ้ากดค้างไว้ประมาณ 3 วินาที จนไฟตรงปุ่มเปิดปิดกระพริบ
ถาดรองกระดาษพิมพ์ถอดเข้าออกง่าย และรองรับงานพิมพ์สูงสุด 35 แผ่น
ถาดรองกระดาษเมื่อขยายสุดก็จะเป็นในลักษณะแบบนี้
ส่วนช่องว่างๆตรงด้านขวานี้เอาไว้เปิดปิดสำหรับเกิดกรณีกระดาษติดขึ้นมา
เราก็ยกขึ้นง่ายๆแบบนี้เลย เพื่อดูว่าข้างในมีกระดาษติด หรือมีอะไรผิดปกติหรือเปล่า
ยกขึ้นมาแล้วจะเป็นลักษณะแบบนี้ จะเห็นได้ว่ามีสายจากตัวแท้งค์ต่อมายังหัวพิมพ์
ตรงนี้เป็นคำเตือนเล็กๆบอกประมาณว่าให้เราดูระดับน้ำหมึกให้ดีก่อนที่จะพิมพ์งานทุกครั้ง ถ้าหมึกใกล้หมดแล้วก็ให้เติมได้เลย ซึ่งขวดหมึกของรุ่นนี้ตกอยู่ที่ 690 บาท และปริ้นได้มากกว่า 5 พันแผ่นแน่นอน เฉลี่ยตกแผ่นละไม่ถึงบาท คุ้มซะยิ่งกว่าคุ้ม
มาดูด้านหลังกันบ้างมีพอร์ตสำหรับต่อสายพาวเวอร์ สายแลน และสาย USB ซึ่งถ้าเราตั้งค่าสายแลนแล้ว สาย USB ก็ไม่จำเป็นอีกต่อไป คอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกัน สามารถสั่งพิมพ์มาที่เครื่องปริ้นที่ตั้งค่าไว้แล้วได้เลย โดยจะรีวิวในส่วนต่อไปนะ
เปิดปิดเครื่องได้รวดเร็วทันใจดี
เครื่องเริ่มทำการวอร์มอัพแล้วววว
จะสังเกตเห็นไฟสีแดงตรงบริเวณรูปหยดน้ำ แสดงว่าระดับหมึกหมด หรือว่ายังไม่เติมหมึกนั่นเอง ส่วนถ้าไฟขึ้นที่รูปกระดาษด้วย หมายความว่ามีกระดาษติดอยู่ในเครื่อง หรือว่าไม่ได้ใส่กระดาษลงไปก่อนสั่งพิมพ์
เราลองเสียบสาย LAN และสาย USB เพื่อตั้งค่าเครือข่าย ตั้งไอพีให้กับเครื่องปริ้น และติดตั้งไดร์เวอร์ให้กับเครื่องเราด้วย ซึ่งจะอธิบายอย่างละเอียดในหัวข้อถัดไปนะ
เรามาดูขั้นตอนการเติมหมึกกันต่อครับ หมึกขวดนี้เป็นหมึกพิกเม้นท์ (Pigment Ink) หมึกประเภทนี้จะแห้งเร็วกว่าหมึกปกติมาก ไม่เลอะเทอะ จับได้ทันทีหลังปริ้นงานเสร็จ ที่สำคัญคือกันน้ำ และของเหลวต่างๆ ทำให้มั่นใจได้ว่างานพิมพ์ของคุณจะยังอยู่ครบถ้วน ชัดเจน
รหัสหมึก T774 รองรับทั้ง M100/ M105/ M200/ M205/ L655
บรรจุสุญญากาศมาอย่างดี
ขวดนี้จุ 140 มิลลิลิตร ราคาประมาณ 5 ร้อยต้นๆ
ลงมือเติมกันเลยครับ ว่าแต่ทำไมหมึกไม่ออกน้า
ปรากฏว่าต้องเปิดฝาด้านบนแล้วแกะพลาสติกออกก่อนนะครับ แหม่ ปล่อยไก่เลย ฮ่าๆๆ
เติมลงไปลักษณะแบบนี้ ถ้าหมึกไหลช้าก็ให้บีบขวดเบาเบา
ไม่นานก็เต็มแล้วครับ สังเกตได้จากปริมาณด้านข้างของเครื่องปริ้น
สำหรับวิธีการชาร์จหมึก ให้เรากดปุ่มด้านขวาสสุดค้างไว้ 3 วินาที รอให้ไฟสถานะเครื่องด้านซ้ายสุดกระพริบ
กระพริบแบบนี้แสดงว่าเริ่มขั้นตอนการชาร์จหมึก / ล้างหัวพิมพ์แล้วจ้า
และเมื่อเสียบสาย LAN ตั้งค่าเครือข่ายเสร็จไฟแสดงสถานะบนคำว่า Ethernet ก็จะขึ้น นั่นแสดงว่าคุณสามารถปริ้นผ่านเครือข่ายโดยที่ไม่ต้องเสียบสาย USB ของเครื่องปริ้นไปยังคอมพิวเตอร์ได้แล้ว
ได้สำรวจตัวเครื่อง Epson M100 มากันแบบทะลุปรุโปร่งแล้ว ต่อไปจะรีวิววิธีการติดตั้งไดร์เวอร์ทั้งผ่านเครือข่ายและแบบผ่านสาย USB ธรรมดา
วิธีการติดตั้งไดร์เวอร์ Epson M100
อันดับแรกให้ใส่แผ่นซีดีที่ติดมาในกล่องลงไปก่อนเลยจ้า
พอใส่แผ่นลงไปเรียบร้อยแล้ว ถ้าโปรแกรมไม่ออโต้รันขึ้นมา ก็ให้เราเปิด File Explorer แล้วดับเบิ้ลคลิกที่ไดร์ฟซีดี
เสร็จแล้วจะมีป็อปอัพหน้าตาแบบนี้ขึ้นมาให้เราคลิก Yes เพิ่มเริ่มการติดตั้งไดร์เวอร์ Epson M100
หน้านี้จะเป็นรายละเอียดของข้อตกลง ซึ่งปกติเราก็ไม่ค่อยอ่านกันอยู่แล้ว ฮ่าๆ ให้ติ๊ก “ฉันยอมรับในเนื้อหาข้อตกลงการใช้โปรแกรม” และคลิก “ถัดไป”
หน้านี้เป็นคำแนะนำว่าให้เราศึกษาการเติมหมึก การใช้งานเบื้องต้นจากคู่มือ คลิก “ถัดไป”
สำหรับการติดตั้งครั้งแรกให้เราคลิกที่ “เริ่มต้นและการเชื่อมต่อ” เพื่อเริ่มเข้าสู้กระบวนการติดตั้งไดร์เวอร์
มีต่อนะ....